Skip to main content

ปกิณกะเรื่อง ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

คำชี้แจง : ข้อเขียนนี้ เป็นการบันทึกความคิดอ่านของผมที่มีต่อท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต ผ่านเส้นทางของเวลา ๑๐ กว่าปี ในบางแง่มุม อาจถือเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ความคิดของผมในเรื่องนี้ เพื่อทบทวนทรรศนะของตนเองในบางเรื่อง ข้อเขียนนี้จึงมีลักษณะชวนให้อ่านสบาย ๆ ยามว่าง ไม่ใช่บทความเชิงวิชาการ หรือชวนขบคิดปัญหาในปัจจุบันแต่อย่างใด

ช่วงนี้ นับแต่ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" นั้น ชื่อของท่านก็ปรากฏอยู่บนหน้าสื่ออยู่เนือง ๆ ท่ามกลางสถานการณ์ทางกฎหมายในการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.คณะสงฆ์ ฉบับล่าสุด เรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งพระสังฆราช

ผมขอย้อนความทรงจำของผมไปในสมัยเรียนมัธยมต้น ตอนที่พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยตฺโต) ได้สมณศักดิ์ "พระพรหมคุณาภรณ์" (ระดับรองสมเด็จฯ) ใหม่ๆ ผมก็อดปิติไม่ได้ ในฐานะแฟนคลับรุ่นเยาว์ (เห็นอย่างนี้ สมัยนั้นผมเคยโหนรถเมล์จากป้ายรถเมล์ย่านเดอะมอลล์ท่าพระ ไปตำบลบางกระทึก มาแล้วนะ ลงรถเมล์เดินเข้าซอยอันแสนไกลมุ่งหน้าไปวัดญาณเวศกวัน)

พอจะขึ้นมัธยมปลาย ได้เคยไล่สายสมณศักดิ์กับเพื่อนสนิทคนหนึ่ง ว่า ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต จะไต่ไปถึง "สมเด็จพระราชาคณะ" รึเปล่า และจะไต่เต้าถึง "สังฆราช" ต้องผ่านอีกกี่ด่าน (สายสมณศักดิ์คร่าวๆ จะไล่จาก ต่ำไปสูง : ราช-เทพ-ธรรม-พรหม-สมเด็จ-สังฆราช) ถือว่าไล่สายแล้ว ใกล้มาก

ตอนไล่สายอยู่นั้น ผมกับเพื่อนก็ลองชวนภิกษุที่สอนศาสนาในโรงเรียน (พระครู) คุยเรื่องนี้ดู จากความทรงจำ จำความได้ว่า แกบอกว่า "กรณีท่านประยุทธ์ ได้ขึ้นตำแหน่ง "พระพรหมคุณาภรณ์" นั้น ถือว่าเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากท่านเติบโตมาในสายวิชาการ ไม่ใช่สายปกครอง ดังนั้น ตำแหน่งที่ท่านได้นี้ นับเป็นตำแหน่งลอย และถึงแม้ สมเด็จพระราชาคณะ (๘ ตำแหน่ง) จะว่างลง ก็ต้องดูว่า ที่ว่างนั้นเป็นของธรรมยุติ หรือมหานิกาย เพราะแบ่งโควต้ากันครึ่งๆ ถ้าตกฟากมหานิกาย จึงมีลุ้น แต่มหาเถรจะต้องเลือกรองสมเด็จที่มาจากสายปกครองก่อน กว่าจะหมดสิ้นสายปกครอง ป่านนั้น ท่านประยุทธ์น่าจะเป็นปุ๋ยแล้ว" (ท่านประยุทธ์สุขภาพไม่ดีมาแต่ไหนแต่ไร สมัยนั้น ผมประเมินว่า อีกไม่กี่ปี - ๒-๓ ปี - ก็คงมรณภาพ)

อย่าลืมว่า สมัยนั้น สังฆราชเจริญ ยังไม่เป็นผักดีนัก แต่เดินเคลื่อนไหวไม่ได้แล้ว ทว่าพูดได้ แต่ฟังไม่รู้เรื่อง และสมเด็จเกี่ยวก็ยังแข็งแรง

ผมก็ประเมินกับเพื่อนซี้ว่า กว่าท่านประยุทธ์จะได้ขึ้นเป็นสังฆราช ถึงจะไม่ติดอุปสรรคอย่างที่พระครูพาดพิงถึง แต่จะว่าไปแล้ว ท่านประยุทธ์คงต้องฝ่าด่านถึง ๑๐ ศพ (สังฆราชเจริญ ต้องตาย และสมเด็จเกี่ยวขึ้นแทน เช่นนี้ ตำแหน่งสมเด็จจะว่างไป ๑ ถ้าจะเสียบท่านประยุทธ์ก็ต้องเสียบเร็วสุดในชั้นนี้ มิงั้นต้องรออีกหลายปีกว่าจะตายกันอีกศพ) หรือในทางเทคนิค อาจจะฝ่าด่านเพียง ๙ ศพ เพราะสมเด็จวัดสัมพันธวงศ์ แกเป็นผักมาตั้งแต่สมัยผมอยู่มัธยมต้นแล้ว ก็น่าแปลกที่ปัจจุบันแกก็ยังไม่ตายเสียที ดังนี้ ตัดวัดสัมพันธวงศ์ออกจากวงจรได้เลย เพราะถึงแม้อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ แต่เป็นผัก ไม่รู้เรื่องแล้ว คงขึ้นสังฆราชไม่ไหว

ตาม พรบ.คณะสงฆ์ ฉบับที่เพิ่งถูกยกเลิกสมัย คสช. นี้ ท่านประยุทธ์ดูจะห่างไกลตำแหน่งสังฆราชยิ่งนัก เว้นแต่จะมีเหตุให้สมเด็จพระราชาคณะที่เหลือ มีอันต้องตายโหงแบบคราวสิ้นสังฆราชจวน

หวนนึกถึงห้วงเวลา ณ ตอนนั้นสมัยเด็กๆ จวบจนบัดนี้ นึกแล้วใจหาย ตอนนี้ ตำแหน่งพระสังฆราชจ่อที่ปลายจมูกของท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต เสียแล้ว แต่ความปิติที่ผมเคยมีในวัยเยาว์นั้น มลายหายสิ้นไป ด้วยอิทธิพลของความรู้ที่มีมากขึ้น และถึงแม้จะพาผมในสมัยมัธยมมาในอนาคตมาเจอบรรยากาศแบบวันนี้ ผมเชื่อว่า ผมก็คงไม่รู้สึกปิติอย่างแน่แท้ ในการได้ตำแหน่งด้วยกระบวนการวิปริตแบบนี้.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ