Skip to main content

 

Claude Lefort เห็นว่า totalitarisme แสดงออกด้วย Corps ซึ่งมีการจัดองค์กร มีเอกภาพ เป็น Corps ที่เหนือ Corps ทางกายภาพ เป็นอมตะ ในรูปของ peuple-Un (ประชาชนรวมเป็นหนึ่งเดียว) 

 

เพื่อให้ระบบนี้มั่นคงสถาพรทำงานได้ดี ก็ต้องสร้าง "คนอื่น" ขึ้นมาเป็นศัตรู ศัตรูเก่าตายก็สร้างตัวใหม่ 

 

totalitarisme ทำลาย การแบ่งแยกระหว่าง "รัฐ" กับ "สังคม" อำนาจรัฐดูดสังคมเข้ามาหมด ทุกๆความสัมพันธ์ทางสังคม (เช่น ชนชั้น โซลิดาริตี้ระหว่างชนชั้น) ถูกแทนที่ด้วย ลำดับชั้นของระเบียบ ซึ่งแสดงออกด้วย การสั่ง การบังคับให้เชื่อฟัง 

 

กุญแจสำคัญของ totalitarisme คือ เข้าไปทำลาย public space

 

totalitarisme ยังปฏิเสธไม่ให้มีการแบ่งแยกภายในสังคม ทุกองค์กร ทุกสมาคม ทุกอาชีพ ต้องขึ้นต่อโครงการของรัฐ ความหลากหลายทางความคิดและรสนิยม ต้องไม่มี แต่รวมรสนิยมให้เป็นหนึ่งเดียว

 

ประชาธิปไตย ของ Lefort ก็คือ ภาพตรงข้ามในกระจกของ totalitarisme นั่นเอง

 

ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบสังคมที่มีแต่ความขัดแย้งกัน ไม่มีความแน่นอน เป็นสังคมที่มนุษย์ยินยอมพร้อมใจมาอยู่กับความไม่แน่นอน 

 

ความไม่แน่นอนเหล่านี้ ต้องถูกยอมรับ ไม่ควรไปรังเกียจ เป็นที่ที่มีความหลากหลายทางความคิด รสนิยม ความเชื่อ ผลประโยชน์

 

จุดเริ่มต้นของประชาธิปไตย คือ ต้องทำให้ Corps ของท่านผู้นำ (ตามระบบ totalitarisme) หายไป เพราะ นั่งทับอยู่ในที่ที่ของอำนาจ แล้วก็กำหนดนั่นนี่นู่น 

 

ต้องทำให้ Corps นี้หายไป และแทนที่ด้วยที่ว่างๆ และที่ว่างๆนี้ ก็จะมีทุกรสนิยม ทุกผลประโยชน์เข้ามาแชร์กัน เข้ามาดีเบต นำเสนอกัน 

 

.........

 

ใน "Démocratie et Totalitarisme" (1965, pp.284-285) Raymond Aron สรุปลักษณะ 5 ประการของระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ (Totalitarisme) ดังนี้

 

"ปรากฏการณ์แบบเผด็จการประกอบด้วยอะไรบ้าง? ปรากฏการณ์นี้ก็เหมือนกับทุกปรากฏการณ์ทางสังคม ที่อาจมีนิยามหลากหลายไปตามแง่มุมที่ผู้สังเกตการณ์ยึดถือ ข้าพเจ้าเห็นว่ามีปัจจัยหลัก ๕ ประการดังนี้ : 

 

1. ปรากฏการณ์เผด็จการเบ็ดเสร็จเข้าแทรกแซงในระบอบการเมืองได้โดยผ่านพรรคการเมืองผู้ผูกขาดกิจกรรมทางการเมือง 

 

2. พรรคการเมืองผูกขาด ถูกทำให้มีชีวิตหรือถูกติดอาวุธด้วยอุดมการณ์สร้างให้พรรคการเมืองนี้มีอำนาจสูงสุด และด้วยอำนาจสูงสุดนี้เองก็นำมาซึ่ง "ความจริงแบบทางการของรัฐ" (La vérité officielle de l'Etat) 

 

3. เพื่อเผยแพร่-ขยาย "ความจริงแบบทางการของรัฐ" รัฐจำต้องสงวนการผูกขาดในสองลักษณะ หนึ่ง ผูกขาดด้วยกำลัง และ สอง ผูกขาดด้วยการเชื้อชวน ทั้งสองลักษณะนี้กระทำการผ่านเครื่องมือ เช่น สื่อสารมวลชน วิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งถูกอำนวยการและสั่งการโดยรัฐหรือตัวแทนของรัฐ

 

4. กิจกรรมทางเศรษฐกิจหรืออาชีพอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ และกลายสภาพเป็นบางส่วนของรัฐ ด้วยเหตุที่ว่ารัฐไม่อาจแยกออกจากอุดมการณ์ของรัฐ กิจกรรมทางเศรษฐกิจหรืออาชีพจึงถูกย้อมสีด้วย "ความจริงแบบทางการของรัฐ" 

 

5. จากนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกิจกรรมของรัฐ และทุกกิจกรรมอยู่ภายใต้อุดมการณ์ ความผิดที่เกิดขึ้นในกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรืออาชีพจึงแยกไม่ออกขากความผิดทางอุดมการณ์ เมื่อนั้นสิ่งที่ตามมา ก็คือ กระบวนการทำให้เป็นการเมืองหรือการปรับรูปแบบ-เปลี่ยนโฉมหน้าต่อทุกความผิดที่เป็นไปได้ของปัจเจกชน ด้วยการสร้างความน่าสะพรึงกลัว ทั้งในด้านอำนาจตำรวจและทางอุดมการณ์ 

 

.... ปรากฏการณ์เผด็จการเบ็ดเสร็จจะบรรลุและสมบูรณ์ที่สุดเมื่อมีลักษณะเข้าเงื่อนไขครบทั้ง ๕ ประการ"

 

สรุป Aron เป็นภาษาคนมากขึ้น แบบสามบรรทัด คือ 

 

1. พรรคการเมืองพรรคเดียวผูกขาด 

 

2. พรรคถูกติดตั้งอุดมการณ์และแปรอุดมการณ์พวกนั้นให้อยู่ในรูป "ความจริง" 

 

3.แพร่ขยายอุดมการณ์ด้วย "กำลัง" และ "เชื้อชวน" - ทั้งโหดทั้งเบานั่นเอง

 

4. กิจกรรมต่างๆเป็นของรัฐ ก็เลยถูกครอบไว้ด้วยอุดมการณ์ชุดนั้นทั้งหมด 

 

5. หากมีใครออกนอกแถว ก็จะเจอมาตรการอันน่าสะพรึงกลัว ซึ่ง อาจมาในรูปแบบกำลังตำรวจ จับ ลงโทษ หรือ อาจมาในรูปนุ่มๆแบบอุดมการณ์

 

หากพิจารณาด้วยใจเป็นธรรม ไม่จำกัดการวิเคราะห์ว่า "การเมือง" คือ "นักการเมืองในระบบผู้แทน" หรือ "คณะรัฐประหาร" หรือ "อำมาตย์"

 

และ "พรรคการเมือง" ไม่ได้มีแต่พรรคที่จดทะเบียนกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง...

 

ประเทศไทย เข้าข่ายลักษณะ 5 ประการของการเป็นระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จนี้หรือไม่? 

 

กี่ข้อ? 

 

เข้าทุกข้อ?

บล็อกของ ปิยบุตร แสงกนกกุล

ปิยบุตร แสงกนกกุล
Philippe RAIMBAULTProfesseur de Droit publicDirecteur de Sciences Po Toulouseแปลโดย ปิยบุตร แสงกนกกุล
ปิยบุตร แสงกนกกุล
 ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยและเป็นนิติรัฐทั้งหลาย ล้วนแล้วแต่ต้องมีศาล และศาลต้องเป็นกลางและเป็นอิสระ
ปิยบุตร แสงกนกกุล
 ในระยะหลัง มักเชื่อกันว่าคนกรุงเทพมหานครนิยมพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด และผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ก็เป็นบทพิสูจน์อีกครั้ง แต่หากลองย้อนกลับไปดูผลการเลือกตั้งในอดีต จะพบว่าคนกรุงเทพฯไม่ได้นิยมพรรคประชาธิปัตย์ราวกับสนาม กทม เป็นของตายของพรรคประชาธิปัตย์