Skip to main content

 

ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย ไม่เคยมีครั้งใดที่ผู้ชุมนุมทางการเมืองจะถูกจับกุมคุมขัง มีคดีติดตัวต่อเนื่องจากการแสดงออกทางการเมือง เป็นระยะเวลานานเท่าครั้งนี้ 

 

 

แน่นอนว่า ณ วันนี้ ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงมีอยู่ และอาจจะยังคงดำรงอยู่ต่ออีกยาวนาน 

 

ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างสองพรรคการเมืองใหญ่ 

 

ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างสองขั้วความคิด 

 

แต่ความขัดแย้งเช่นว่า เป็นคนละเรื่องกันกับการนำคนไปขัง 

 

บุคคลที่ถูกจับกุมคุมขัง บุคคลที่มีคดีติดตัว นับตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยา ๔๙ ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะสังกัดจะสีใด จะมีความเชื่อทางการเมืองแบบใด พวกเขาไม่ใช่อาชญากรโดยสันดาน การกระทำที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นความผิดเหล่านี้ ล้วนเกิดจากแรงผลักดัน-มูลเหตุจูงใจทางการเมือง ทำให้เขากระทำการเหล่านั้นลงไป 

 

สังคมไทยจะไม่สามารถพูดคุย เจรจา หาหนทางแก้ไขปัญหาวิกฤตความขัดแย้งครั้งนี้ได้ ตราบใดที่ยังมีคนถูกจับกุมคุมขังและมีคดีติดตัวมากมายขนาดนี้ 

 

การนิรโทษกรรมพวกเขา เป็นก้าวแรกของเส้นทาง "ปรองดอง" 

 

หากเริ่มการปรองดองด้วยการที่หัวหน้าใหญ่ทั้งสองข้างเจรจากันลับๆ ทำข้อตกลงลับๆ นั่นไม่ใช่การปรองดองในความหมายที่ถูกต้อง แต่เป็นการเกี๊ยะเซียะในหมู่ชนชั้นนำ 

 

นิรโทษกรรมจะเกิดผลสำเร็จได้ จำเป็นต้องมีฉันทามติร่วมกันของสังคมระดับหนึ่ง ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน อาจเป็นการยากที่จะหาฉันทามติเช่นว่านั้น แต่การนั่งนับวันรอเจรจา หรือการรอวันปะทะแตกหัก โดยที่ยังมีคนคาคุก คนคาคดีแบบนี้ ก็เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง

 

การรณรงค์ให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้ชุมนุมทางการเมือง -ไม่ว่าจะโดยกลุ่มใด ไม่ว่าจะเสนอรูปแบบใด โมเดลของใคร- เป็นก้าวแรกที่ดีที่จะหาฉันทามติให้ได้

 

การรณรงค์อย่างหนักแน่นว่า นี่เป็นการนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมเท่านั้น ย่อมบีบให้กลุ่มคนที่มีนิสัย "ขวาง" ทุกเรื่อง เพราะคิดแต่ "การเมืองเอาชนะคะคานกัน" ให้พวกเขาต้องยอมรับ

 

หากพวกเขาปฏิเสธ ก็จะแสดงให้เห็นถึงความอำมหิต 

 

...

 

อาจารย์หวาน - สุดา รังกุพันธุ์ ทำกิจกรรมรณรงค์เรื่อง "นักโทษการเมือง" มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน 

 

อาจมีผู้เห็นด้วย อาจมีผู้เห็นต่าง

 

อามีผู้ชมชอบ อาจมีผู้ชิงชัง

 

สำหรับผม ผมเห็นว่า อาจารย์หวาน และกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล ทำเรื่องนี้โดยไม่มีประโยชน์ส่วนตัวแอบแฝง ด้วยสถานะแบบอาจารย์หวาน แกสอนหนังสืออย่างเดียวก็น่าจะสบายกว่าที่จะมาทำเรื่องพวกนี้ 

 

การทุ่มเทกายใจทำเรื่องพวกนี้ ไม่ได้ทำให้สบายขึ้น มีแต่ต้องรับแรงปะทะมากขึ้นๆ ทั้งจากฝ่ายตรงข้าม และฝ่ายเดียวกันเอง

 

"แนวร่วม ๒๙ มกรา หมื่นปลดปล่อยนักโทษการเมือง" ในวันพรุ่งนี้

 

ไม่ใช่กิจกรรมที่ "ล้มรัฐบาล" 

 

ไม่ใช่กิจกรรมที่ "แย่งมวลชน" 

 

ไม่ใช่กิจกรรมที่ "ชิงการนำ" 

 

ไม่ใช่กิจกรรมที่ "ป่วนบ้านเมือง" 

 

แต่เป็นกิจกรรมของ "มนุษยธรรม" 

 

โปรดช่วยกัน ออกไปแสดงพลัง เพื่อปลดปล่อยนักโทษการเมืองทุกกลุ่ม ทุกสี 

 

 
ภาพโดย : Pruay Salty Head

 

 

 

 

บล็อกของ ปิยบุตร แสงกนกกุล

ปิยบุตร แสงกนกกุล
Philippe RAIMBAULTProfesseur de Droit publicDirecteur de Sciences Po Toulouseแปลโดย ปิยบุตร แสงกนกกุล
ปิยบุตร แสงกนกกุล
 ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยและเป็นนิติรัฐทั้งหลาย ล้วนแล้วแต่ต้องมีศาล และศาลต้องเป็นกลางและเป็นอิสระ
ปิยบุตร แสงกนกกุล
 ในระยะหลัง มักเชื่อกันว่าคนกรุงเทพมหานครนิยมพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด และผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ก็เป็นบทพิสูจน์อีกครั้ง แต่หากลองย้อนกลับไปดูผลการเลือกตั้งในอดีต จะพบว่าคนกรุงเทพฯไม่ได้นิยมพรรคประชาธิปัตย์ราวกับสนาม กทม เป็นของตายของพรรคประชาธิปัตย์