Skip to main content

 

 

หลักการว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมในศาลทหาร หรือ "หลักการ Decaux" ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลขั้นต่ำของระบบศาลทหาร มี 20 ข้อ ดังนี้

1. การก่อตั้งศาลทหารโดยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติ เคารพหลักการแบ่งแยกอำนาจ และเป็นองค์กรสังกัดฝ่ายตุลาการ อิสระจากฝ่ายนิติบัญญัติและบริหาร
ไทย - รัฐธรรมนูญรับรองศาลทหารไว้ มีพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร 2498 ก่อตั้งศาลทหาร แม้จะกำหนดให้เป็นองค์กรตุลาการ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่อิสระจากฝ่ายบริหาร

2. ระบบศาลทหารต้องเคารพกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ
ไทย - ไม่ผ่าน ไม่เคารพ ICCPR

3. การประกาศใช้กฎอัยการศึกไม่เป็นเหตุให้ยกเว้นการประกันสิทธิในการได้รับพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม
ไทย - ไม่ผ่าน ประกาศกฎอัยการศึกแล้ว ให้อำนาจในการกำหนดให้พลเรือนต้องถูกพิจารณาพิพากษาโดยศาลทหาร และกระบวนการยุติธรรมทางทหารก็ไม่ประกันสิทธิอย่างเพียงพอ

4. ในสภาวะสงคราม หลักการตามกฎหมายมนุษยธรรม โดยเฉพาะบทบัญญัติในอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยสงคราม ต้องนำมาใช้ในศาลทหารด้วย
ไทย - ไม่ค่อยเกิดขึ้น เพราะ ไม่ค่อยได้รบกับประเทศอื่น

5. ศาลทหารไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาพลเรือน
ไทย - ไม่ผ่าน ปัจจุบัน คสช ออกประกาศ 37/2557, 38/2557, 50/2557 กำหนดให้ความผิดบางประเภทอยู่ในอำนาจศาลทหาร และพลเรือนถูกพิจารณาพิพากษาโดยศาลทหาร

6.ผู้คัดค้านทางมโนธรรมจิตสำนึก (conscientious objector) บุคคลที่ปฏิเสธไม่ยอมถูกเกณฑ์เป็นทหารโดยอ้างว่าการเป็นทหารนั้นขัดแย้งต่อมโนธรรมสำนึกหรือศาสนาที่ตนนับถือ หรือนายทหารที่ไม่ยินยอมปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการโดยอ้างว่าการปฏิบัติหน้าที่นั้นขัดขัดแย้งต่อมโนธรรมสำนึกหรือศาสนาที่ตนนับถือ บุคคลเหล่านั้นต้องได้รับการพิจารณาคดีโดยศาลพลเรือน
ไทย - กรณีทหารไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ขึ้นศาลทหารเสมอ

7. ศาลทหารไม่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาเยาวชนที่อายุไม่เกิน 18 ปี
ไทย - ผ่าน

8. ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาการกระทำความผิดที่มีลักษณะทางทหารอย่างเคร่งครัดซึ่งกระทำโดยบุคลากรทางทหาร
ไทย - ไม่ผ่าน ทหารทำผิดหลายกรณีที่ไม่เกี่ยวกับความผิดทางทหาร แต่ก็มาขึ้นศาลทหาร

9. ศาลทหารไม่มีอำนาจพิจารณาการกระทำความผิดที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ได้แก่ วิสามัญฆาตกรรม การบังคับให้บุคคลสูญหาย และการทรมานทารุณกรรม
ไทย - ไม่ผ่าน เพราะ ศาลทหารอาจตีความว่าตนมีอำนาจในกรณีนี้

10. มาตรการในการรักษาความลับทางทหารไม่อาจถูกนำมาใช้เพื่อยกเว้นการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมหรือเพื่อกระทบสิทธิมนุษยชน
ไทย - ไม่ผ่าน

11. ระบบคุกของศาลทหารต้องสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ
ไทย - ไม่ผ่าน คุกไหนๆในประเทศไทย ก็ไม่ผ่านเกณฑ์นี้

12. หลักประกันเรื่องการจับกุมคุมขัง
ไทย - ไม่ผ่าน

13. ศาลทหารต้องมีความสามารถ เป็นกลาง และเป็นอิสระ
ไทย - ไม่ผ่าน ศาลทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม ตุลาการศาลทหารเป็นข้าราชการทหาร อยู่ภายใต้ระบบการบังคับบัญชาทางทหาร ในองค์คณะ มีตุลาการทหารที่ไม่จบนิติศาสตร์

14. การพิจารณาคดีโดยเปิดเผย
ไทย - ไม่ผ่าน ปัจจุบัน คดี 112 พิจารณาโดยลับ ส่วนคดีอื่นๆ ศาลทหารสั่งห้ามจดกระบวนพิจารณา

15. คู่ความมีสิทธิในการโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานได้เต็มที่
ไทย - ไม่ผ่าน

16. ระบบศาลทหารต้องไม่ขัดขวางผู้เสียหายได้กล่าวโทษหรือฟ้องร้องดำเนินคดีทหาร หรือเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ไทย - ไม่ผ่าน การฟ้องทหารเป็นจำเลย ต้องผ่านอัยการทหาร หากอัยการทหารไม่ฟ้อง ก็ฟ้องเองไม่ได้

17. สิทธิในการอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลทหารต่อศาลพลเรือนในระบบปกติ
ไทย - ไม่ผ่าน ศาลทหารสภาวะไม่ปกติ พิพากษาชั้นเดียวจบ ในทุกกรณี การโต้แย้งคำพิพากษาศาลทหาร ก็ไปที่ศาลทหารกลาง ศาลทหารสูงสุด ไม่ใช่ศาลพลเรือน

18. หน้าที่ในการเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่อาจยกเว้นความรับผิดทางอาญาของทหารได้
ไทย - ไม่ผ่าน

19. ธรรมนูญศาลทหารต้องถูกทบทวนตามพัฒนาการในทางสากลอยู่เสมอเพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิต ในทุกกรณี โทษประหารชีวิตต้องไม่นำมาใช้แก่บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ผู้หญิงตั้งครรภ์และแม่ที่มีลูกอายุน้อย และบุคคลที่มีปัญหาทางจิตและสติปัญญา
ไทย - ผ่าน

20. ธรรมนูญศาลทหารต้องถูกพิจารณาทบทวนแก้ไขให้ดีขึ้น
ไทย - ไม่ผ่าน

 

บล็อกของ ปิยบุตร แสงกนกกุล

ปิยบุตร แสงกนกกุล
 ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย ไม่เคยมีครั้งใดที่ผู้ชุมนุมทางการเมืองจะถูกจับกุมคุมขัง มีคดีติดตัวต่อเนื่องจากการแสดงออกทางการเมือง เป็นระยะเวลานานเท่าครั้งนี้ 
ปิยบุตร แสงกนกกุล
 Robert-François Damiens พยายามลอบฆ่าหลุยส์ ๑๕ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๑๗๕๗ แต่ไม่สำเร็จ เขาถูกจับ
ปิยบุตร แสงกนกกุล
 ปิยบุตร แสงกนกกุล  
ปิยบุตร แสงกนกกุล
 
ปิยบุตร แสงกนกกุล
ปิยบุตร แสงกนกกุล นำเสนอประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง 3 จี ที่วุ่นวายไม่เลิก ตอนที่ 1 จะอภิปรายว่าบุคคลทั่วไปมีสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะได้หรือไม่?