Skip to main content

อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”


แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร

 

ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ

 


ที่บ้านตีนผา บ้านหลังดอยอินทนนท์ ชาวบ้านส่วนหนึ่งปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด และในช่วงหน้าแล้งก็ทำอะไรไม่ได้เพราะขาดน้ำ จึงต้องออกไปทำงานรับจ้างนอกชุมชน บางคนเดินทางเข้าเมือง


เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ถูกกำหนดเงื่อนไขจากภายนอกชุมชน ไม่สามารถอยู่รอดด้วยเศรษฐกิจภายในชุมชน หรืออยู่แบบพึ่งตนเองไม่ได้เหมือนเดิม


แต่หมู่บ้านนี้ยังรักษาความเขียวของหมู่บ้านเอาไว้ได้บางส่วน คือบริเวณที่เป็นชุมชนตั้งบ้านเรือน และผู้คนส่วนหนึ่งทำการเกษตรผสมผสาน

 

ชาวบ้านตีนผามีที่ดินทำกินไม่มากนัก ครอบครัวหนึ่งประมาณ 5-6 ไร่ มีเพียงหนึ่งหรือสองครอบครัวที่มีมากที่สุดคือ 15 ไร่ ทุกครอบครัวจะปลูกข้าวเป็นหลัก ทั้งนาข้าวและข้าวไร่ ดังนั้นทุกครอบครัวจึงมีข้าวกิน


แม้จะปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือปลูกพืชชนิดอื่น แต่พื้นที่ส่วนหนึ่งต้องกันไว้ปลูกข้าว เพราะการมีข้าวกินคือหลักประกันของชีวิต

ซื้อแต่เกลือกับผงชูรส อย่างอื่นไม่ซื้อก็อยู่ได้ มีพริกมีผัก” พะตีคนหนึ่งว่า

 

หลายครอบครัวหันไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ และประสบกับปัญหาหนี้สินที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะลงทุนสูง และสูงขึ้นเรื่อยๆ ปุ๋ยมีราคาสูง ในทุกปีการใช้ปุ๋ยจะเพิ่มขึ้นเพราะพื้นดินเสื่อมลงเรื่อยๆ ดินแข็งและแห้ง นอกจากปุ๋ยแล้วยังต้องใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงด้วย อีกทั้งผลผลิตทางการเกษตรอย่างข้าวโพดก็ราคาตกต่ำลงด้วย


ที่หมู่บ้านแห่งนี้มีอัตราการแลกเปลี่ยนปุ๋ยกับข้าวเปลือก คือปุ๋ยหนึ่งกระสอบต่อข้าวเปลือก 13 กระสอบ และหากซื้อเป็นเงินก็ 1,300 บาท

 

อย่างเช่น ชุมพล และผ่องศรี นัดดาศรี สามีภรรยาที่มีลูกชายสองคน


ผ่องศรีบอกว่า “ปีนี้ทำข้าวสองไร่ครึ่ง แค่พอกิน แต่ยังต้องปลูกข้าวโพดอยู่เพราะว่ามีหนี้เยอะ เผื่อข้าวโพดราคาดีจะได้ใช้หนี้ เป็นหนี้จากซื้อรถมอเตอร์ไชค์ ไปยืมเงินของญาติพี่น้องมาซื้อก็เลยติดหนี้ญาติพี่น้องหลายราย ไม่ซื้อก็ไม่ได้เพราะลูกป่วยบ่อย ไปโรงพยาบาลบ่อย เป็นโรคหืดหอบ”

 

แต่ชุมพลสามีของเธอบอกว่า “ข้าวโพดราคาตกต่ำเหลือ 4 บาท คิดแล้วไม่คุ้ม ปีนี้ขาดทุนเพราะปุ๋ยแพง ราคาข้าวโพดถูก ใช้ปุ๋ยไป 11 กระสอบ กระสอบละ 1,300 บาท ที่คิดว่าจะใช้หนี้ก็ไม่ได้ใช้”

 

หนี้สินของผู้คนที่นี่ส่วนหนึ่งมาจากการกู้เงินกองทุนของรัฐบาล เช่น กองทุน กขคจ (กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน) แต่กลายเป็นหนี้กัน

 


ชาวบ้านตีนผาส่วนหนึ่งจึงหันกลับมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน แทนพืชเชิงเดี่ยว อย่างเช่น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านนายยืนยง ลำเนาพงศ์ไพรงาม

 

 

ผู้ช่วยเล่าว่า “เคยปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือปลูกข้าวโพด ปลูกอยู่ปีเดียวและเลิกกลับมาทำการเกษตรผสมผสานเหมือนเก่าเพราะคิดดูแล้วไม่คุ้ม มันเป็นของคนอื่น จะเอาของคนอื่นมาเป็นของเราจะได้อย่างไร ทุกอย่างเป็นของเขาหมดเลย”


ผู้ช่วยยืนยงกลับมาทำการเกษตรผสมผสานเหมือนเดิม ทำข้าวไร่ ปลูกผักต่างๆ ไว้กินและขาย ในสวนของผู้ช่วยมีทั้งถั่ว มะเขือ และที่มีมากเป็นไร่ๆ คือ ฟักทอง และเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ


การกลับมาทำการเกษตรผสมผสานหรือการทำเกษตรยั่งยืนน่าจะเป็นทางรอดหนึ่งเพราะเป็นการพึ่งตนเองมากกว่าการพึ่งตลาดภายนอก ปลูกเพื่อกินก่อนที่จะปลูกเพื่อขาย ทำปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมี และหยุดการใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ต้องใช้สารเคมีใด ๆ ในการเร่งผลผลิต ค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรก็ลดน้อยลง

 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
  แล้วฉันก็คิดว่าทุกอย่างยังเหมือนเดิน ฉันเดินทางไปหาเพื่อนที่กรุงเทพฯ  และบอกเธอว่า ฉันอยากจะไปเยี่ยมนักเขียนผู้ใหญ่รุ่นพี่คนหนึ่ง  เพื่อนบอกว่า ไม่ได้ไปนานแล้ว ช่วงหลังๆ ไม่ค่อยมีใครไปหาใครกัน  เมื่อถามว่าทำไม
แพร จารุ
ป่าสนวัดจันทร์   หลังจากที่เขียนเรื่องป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นผืนป่าสนแห่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีชนเผ่าใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ
แพร จารุ
เมื่อเขียนเรื่อง “ป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นที่สุด”  ฉันก็ได้รับจดหมายฉบับหนึ่ง เขียนถึงเรื่องอำเภอใหม่ส่งเข้ามา วันนี้จึงนำจดหมายฉบับนี้มาให้อ่านกันค่ะ  เธอเขียนมาว่า ลองเขียนเรื่องอำเภอใหม่มาให้อ่าน
แพร จารุ
ป่าสนผืนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มองขึ้นบนต้นสนเหมือนหนึ่งว่ามีนกเกาะอยู่บนนั้นเต็มไปหมด จนใครบางคนเผลอถามว่า นั่นนกอะไรเกาะอยู่เต็มไปหมด หลายคนหัวเราะ ไม่ใช่นกหรอกมันคือลูกสน ที่นี่มีชื่อว่า ป่าสนวัดจันทร์ เป็นครั้งที่สองที่ฉันเดินทางมาที่นี้ห่างจากครั้งแรกเกือบยี่สิบปี ฉันไม่กล้าเดินทางไปที่นั่นเพราะรู้สึกว่ามันลำบากยากเย็นเหลือเกิน เป็นการเดินทางที่โหด ๆ ในช่วงวัยเยาว์ เพราะต้องนั่งรถไฟชั้นสามมาจากกรุงเทพฯ นานกว่าสิบสองชั่วโมง ก็รู้กันอยู่ว่ารถไฟไทยเสียเวลาเสมอ ๆ ลงจากรถไฟมีนักเขียนจากเมืองเหนือรอรับอยู่
แพร จารุ
มุสโต๊ะ (มุส-สะ-โต๊ะ) อาหารมื้อไหน ๆ ก็ต้องมีมุสโต๊ะ มุสโต๊ะก็คือน้ำพริกนั่นเอง ฉันรู้จักมุสโต๊ะครั้งแรกเมื่อเที่ยวบ้านปกาเกอญอ และนับจากวันนั้นก็ชอบมุสโต๊ะแบบปกาเกอญอทันที่
แพร จารุ
คุณทำอะไรเมื่อเช้านี้  ส่วนฉันตื่นขึ้นมาพร้อมกับหยิบหนังสือเล่มเล็ก ๆ จากโต๊ะกินข้าวติดมือไปนอนอ่านในเปลใต้ต้นมะขามเล็ก  หนังสือชื่อ ไม่รักไม่บอก 5 เป็นของกลุ่มภาคีคนฮักเจียงใหม่  ฉันเป็นอาสาสมัครในกลุ่มนี้กับเขาด้วย แต่ฉันไม่ได้ทำหนังสือเล่มนี้ ดังนั้นฉันจึงเพิ่งได้อ่านจริง ๆ ครูโรงเรียนอนุบาลเพิ่งให้มาสิบเอ็ดเล่ม วันนั้นมีน้อง ๆ หนุ่ม ๆ จากไหนก็ไม่รู้มาช่วยกันขนหนังสือหลายกล่องที่นำมาขายในงานอำลา ‘รงค์ วงษ์สวรรค์  ฉันไม่มีของอะไรตอบแทนน้องจึงแจกพวกเขาไปคนละเล่มเหลือเก็บไว้เล่มหนึ่ง ภาพปกเป็นแม่มดหน้าตาน่ารักถือไม้เท้าวิเศษ มีข้อเขียนว่า จงสุภาพกับโลกใบนี้ (คำจากสาร…
แพร จารุ
  เล่าเรื่องงาน อำลา ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เปิดงานไปเมื่อวันที่ 9 มกราคม ยามแดดร่มลมตก หน้าที่ของฉันในงานนี้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลงานขายหนังสือ ฉันรับปากไปว่า “ได้ค่ะ” ทั้งที่ไม่มีความชำนาญเรื่องการขาย หรือเรียกว่าไม่มีทักษะสักนิดเดียว และมักจะคิดตัวเลขผิด วิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่บวกลบคูณหารไม่เก่งเลย ยิ่งวิชาเลขคณิตคิดในใจนี้ไม่ได้เลย แต่ เพราะว่าในช่วงที่เขาประชุมเรื่องการดำเนินการจัดงานฉันไมได้เข้าร่วมประชุม…
แพร จารุ
ฤดูร้อนในเมืองเชียงใหม่ค่อนข้างน่าสยองค่ะ เพราะนอกจากความแห้งแล้งที่เริ่มขึ้นในปลายฤดูหนาวนี้แล้ว เมื่อฤดูร้อนมาถึงเราก็จะพบกับกลุ่มหมอกควันที่มีทั่วเมือง สำหรับประชาชนในชนชั้นเรา ๆ นั้น เตรียมอะไรได้บ้างคะ
แพร จารุ
สวัสดีนักท่องเที่ยว ระหว่างทางนักท่องเที่ยวเจออะไรมาบ้าง ฉันมาอยู่เชียงใหม่สิบกว่าปี แต่บ่อยครั้งที่รู้สึกว่า ตัวเองเหมือนนักท่องเที่ยว
แพร จารุ
  หญิงสาวมักจะกลัวอ้วนเพราะอยากสวย เราถูกทำให้เชื่อกันว่าคนอ้วนจะไม่สวย เป็นสาวเป็นนางต้องผอมเข้าไว้ ใครไม่ผอมเหมือนนางแบบ หรือนักแสดงหน้าจอโทรทัศน์ก็จะไมได้มาตรฐาน ซึ่งความจริงแล้วบางคนผอมจนเกินไป เรียกว่าแห้งแรงน้อยไม่แข็งแรง ขาแขนมีแต่กระดูก คอโปน ไหปลาร้าลึกขนาดน้ำขังยามเมื่ออาบน้ำ
แพร จารุ
ชวนมากินกันต่อค่ะ เพื่อนนักเขียนรุ่นน้องที่เชียงดาว เล่าว่าเธอปลูกข้าวไร่ที่บ้านของเธอ แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่ฉันคิดว่าแค่เธอเริ่มต้นปลูกข้าวความมั่นคงทางอาหารก็เริ่มมีแล้ว ต่อมาน้องนักเขียนที่เพิ่งรู้จักยังไม่ได้เห็นหน้ากันเลย เขียนมาบอกว่า เธอปลูกข้าวได้เจ็ดกระสอบ ฉันชื่นชมยินดีกับเธออย่างจริงจังและจริงใจยิ่ง เพราะฉันมีความฝันที่จะปลูกข้าวปลูกผักไว้กินเอง แต่ไม่ได้ทำ และคิดว่าคงไม่ได้ทำ เพราะอายุปูนนี้แล้ว กล้ามเนื้อเป็นไขมัน เรี่ยวแรงหมดไปแล้ว ที่ทำได้ก็คือปลูกกล้วย ซึ่งก็เหมาะสมอยู่เพราะกล้วยเป็นอาหารนิ่ม ๆ กินง่าย…
แพร จารุ
ชวนมากินกันต่อดีกว่า   คราวนี้กินถั่วงอกผัดเห็ดสามอย่างค่ะ ดูเป็นอาหารธรรมดา ๆ นะคะ แต่พิเศษก็ตรงที่ เป็นอาหารที่ประกอบด้วยเห็ดสามอย่างนะคะ ความจริงแล้วอาหารเห็ดสามอย่างที่กินเป็นยานี้ เขาว่าหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันเป็นดีค่ะ แต่ไม่เป็นไรใช้น้อย ๆ เราเน้นความอร่อยด้วยค่ะ