Skip to main content

ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป”


ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ


ส่วนที่ไม่ควรสร้างก็คือ อันดับแรก ไม่เห็นด้วยกับการเอาสัตว์ป่าเลี้ยงในกรงยิ่งเป็นสัตว์ในต่างแดนอีกยิ่งไม่ควร และสอง เห็นว่าไม่มีความจำเห็นใดๆ ที่จะสร้างเพราะใช้งบประมาณมากถึงสองร้อยกว่าล้าน และสาม พื้นที่ที่จะใช้เป็นพื้นที่ป่าที่ควรดูแลรักษาไว้เป็นป่าใกล้เมืองเชียงใหม่ รู้มาว่ามีพรรณไม้ในวรรณคดีอีกหลายอย่าง และสี่ การดูแลสัตว์จะต้องใช้น้ำจำนวนมาก ในขณะที่น้ำไม่เพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภคอยู่แล้ว


ปลายปี 2551

เช้าวันที่ 26 ธันวาคม 2551องค์กรด้านการอนุรักษ์หลายองค์กรเช่นเครือข่ายคุ้มครองสัตว์ป่าไทย ภาคีคนฮักเชียงใหม่ ชมรมอนุรักษ์นกและสิ่งแวดล้อมล้านนา สถาบันสิทธิชุมชน และกลุ่ม Lanna Dog Rescue มีการวางหรีดอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์ป่าที่เสียชีวิตในไนท์ซาฟารี และยื่นหนังสือกับผู้บริหารให้เปิดเผยข้อมูลในการทำงานการดูแลสัตว์ โดยมีองค์การกลางที่แต่งตั้งขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมและตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส



ไว้อาลัยแด่สัตว์ป่าที่มาตายในไนท์ซาฟารี”

พวงหรีด ที่เขียนว่า “ไว้อาลัยแด่...สัตว์ป่าที่มาตายในไนท์ซาฟารี” มีกระถางธูปอยู่ใกล้ๆ มีพระสวดบังสกุล ผู้คนที่ผ่านไปมาหยุดไว้อาลัยด้วย เด็กๆ จากปางแฟนและหนองควายคิดส์ร่วมไว้อาลัย โดยมีการแสดงหุ่นสัตว์ สวมหัวสัตว์นอนตายเกลื่อน


ผู้จัดการพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และเจ้าหน้าที่ออกมารับจดหมายและบอกว่า เขาย้ายมาใหม่ มีทีมงานย้ายมาใหม่หลายคน และตั้งใจจะมาแก้ปัญหาในไนท์ซาฟารี และยินดีให้มีการแต่งตั้งคนนอกเป็นคณะกรรมการที่มาจากประชาชนหลายภาคส่วน เพื่อการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น

 


เกิดมาแล้วจะอยู่อย่างไร

ไนท์ซาฟารีเกิดขึ้นมาแล้วในเมืองเชียงใหม่ คำถามต่อไปคือ แล้วอนาคตจะอยู่อย่างไร เมื่อมีสัตว์ตายจำนวนมากถึง 300 ตัว ภาพข่าวสร้างความรันทดหดหู่ยิ่ง แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าเป็นของเก่า ภาพเก่า ตอนนี้ได้มีการปรับปรุงการดูแลและมีการทำงานร่วมกับองค์กรส่วนสัตว์


นายแพทย์ รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ (หมอหม่อง) ประธานชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา ได้กล่าวกับผู้บริหารว่า หากไนท์ซาฟารีไม่สามารถจัดการดูแลสัตว์ให้ดีได้ ก็เสนอว่าให้ปิดไป และดำเนินการไนท์ฟาซารีให้เป็นอย่างอื่น สัตว์ที่มีอยู่ก็พิจารณาส่งคืนไป หรือเอาไปไว้ตามที่ต่างๆ


ข้อเสนออีกอย่างหนึ่งคือ เปิดเวทีให้ภาคประชาชนได้รับรู้เรื่องราวในไนท์ซาฟารีและร่วมกำหนดอนาคตของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี


ได้มีการเชิญตัวแทนที่มายื่นหนังสือเรียกร้องเข้าไปข้างใน และฉันก็ได้ติดตามเข้าไปด้วย เจ้าหน้าที่ที่นั่นบอกว่า ไนท์ซาฟารีไม่สามารถเลี้ยงตัวเองด้วยธุรกิจการเก็บเงินคนเพื่อมาดูสัตว์ได้ แต่จะอยู่ได้ถ้าพัฒนาพื้นที่เพื่ออย่างอื่นด้วย เช่น ทำร้านอาหาร ขายของที่ระลึก จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ และตอนนี้ได้เปิดให้โรงเรียนต่างๆ นำเด็กเข้ามาจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ในวันนี้มีเด็กอนุบาลอยู่จำนวนหนึ่ง


ข้อสรุป

ฉันคิดไปเองว่าต่อไปนี้น่าจะเป็นเรื่องดีๆ บ้าง เมื่อต่างพูดคุยกันดีๆ มีท่าทีที่ดีต่อกันในการจัดการเพราะเราต้องยอมรับว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นมาแล้ว และสัตว์ต่างๆ ก็จากไปแล้วหลายตัว ผู้คนที่ทำงานก็ผ่านไปแล้วหลายรุ่น ที่สรุปกันว่า จะมีการแต่งตั้งกลุ่มคนภายนอกเข้าไปรับรู้รับฟังและร่วมดำเนินงานด้วยน่าจะเป็นทางออกที่ดีและเป็นจริงได้ แต่ก่อนอื่นต้องข้ามพ้นความไม่ไว้วางใจ และการกล่าวโทษซึ่งกันและกันก่อน ความร่วมมือจึงจะเกิดขึ้นได้






บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
บทความที่พยายามนำพาผู้อ่านฝ่าม่านมายาคติว่าด้วยการจัดการทรัพยากรป่าไม้ด้วยการป้องกันไฟป่าสู่รูปแบบการจัดการแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพด้วยการ"ชิงเผา"  
แพร จารุ
บน ฟ้า มี เมฆ ลอย บน ดอย มี เมฆ บัง มี สาว งาม ชื่อ ดัง อยู่ หลัง แดน ดง ป่า     เนื้อเพลงมิดะค่ะ สองบรรทัด....เพราะเหลือเกิน และเข้าไปอยู่ในหัวใจใครต่อใครได้ไม่ยาก บนฟ้ามีเมฆลอยบนดอยมีเมฆบัง ฟังเพียงแค่นี้ก็จินตนาการได้กว้างไกล หัวใจก็ลอยไปถึงไหน ๆ แล้ว  
แพร จารุ
 ฉันเชื่อว่า หากคนเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทุกอย่างก็จะดีได้ไปกว่าครึ่ง บางคนบอกว่า ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน เช่น เรื่องทัศนคติที่มีต่อคนอื่น และตัดสินอย่างช้า ๆ   สามีของฉันบอกว่า จงรวดเร็วในการฟัง แต่จงเชื่องช้าในการตอบ คือให้ความสำคัญในการฟังมากๆ ก่อนจะตอบจึงจะดี จริงของเขาเพราะเดี๋ยวนี้มีแต่คนพูดและพูด แต่ไม่ค่อยฟังคนอื่น ฉันเอาเรื่องนี้มาเขียนเพราะได้แรงบันดาลใจมาจากไปสังเกตการณ์เขาพูดคุยทบทวนประสบการณ์การทำงานกันของโครงการ (CHAMPION/MSM) และสมาคมฟ้าสีรุ้ง    
แพร จารุ
  1   เหมือนเมืองบาป ฉันบอกเพื่อน ๆ จากเมืองกรุงว่า มาเชียงใหม่ อย่าลืมไปกินข้าวที่สุดสะแนนนะ อาหารหลายอย่างอร่อย และพบใครๆ ที่สุดสะแนนได้ไม่ยาก นักเขียน นักข่าว นักดนตรี นักร้อง ศิลปินวาดภาพ งานปั้น และคนที่ยังไม่มีงานทำและไม่อยากทำงานอะไรเลย
แพร จารุ
เก็บดอกไม้สีขาวแล้วไปฟังดนตรีกันค่ะ ใครมาเชียงใหม่ช่วงนี้ มีดอกไม้สีขาวบานรับ เช่น ดอกปีบ มองขึ้นไปออกดอกพราวเต็มต้น สวยงาม หอม ชวนเด็ก ๆ ไปเก็บดอกปีบที่ร่วงอยู่ตามพื้นมาร้อยมาลัยเล่น ปีบเป็นต้นไม้ที่ทนความแห้งแล้งได้ดียิ่ง เรียกว่าแทบไม่ต้องดูแลกันเลยทีเดียว ต้นไม้แกร่งแต่ให้ดอกขาวสวยบอบบางและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เดินไปที่ไหนทั่วเชียงใหม่ก็พบดอกปีบได้ไม่ยากค่ะ คราวนี้ ก็มาถึงฟังดนตรีค่ะ ดนตรีในเมืองเชียงใหม่ก็มีฟังทุกแห่งเหมือนกันค่ะ เรียกว่าหาฟังกันไม่ยาก เพราะนักดนตรีในเมืองเชียงใหม่มีเยอะ ไม่ต้องจ่ายเงินก็ฟังได้ เรียกว่ามีดนตรีฟรีอยู่ทั่วไป…
แพร จารุ
    อย่าเชื่อว่าผู้คนต้องการความร่ำรวยมากกว่าอย่ในบ้านของตัวเองอย่างเป็นสุข แต่ขออภัยก่อนฉันมัวแต่ปลูกต้นไม้ หน้าบ้านของฉันเป็นผืนดินที่มีต้นไม้หนาแน่น เมื่อที่ดินถูกเปลี่ยนมือเป็นของธนาคารกสิกรไทย มันถูกไถจนหมดสิ้นภายในวันเดียว ฉันจึงเริ่มปลูกต้นไม้ใหม่เป็นรั้วแทนกำแพงบ้านอีกชั้นหนึ่ง เพื่อหวังว่ามันจะช่วยให้คลายร้อนได้บ้าง
แพร จารุ
    เปิดเมล์พบข้อความนี้ถูกส่งเข้ามา *** หนูเป็นคนกรุงเทพฯ เคยมีแฟนเป็นหนุ่มกลายสมัยที่เรียนด้วยกัน เขาเคยชวนไปเที่ยวบ้านกลาย หนูอ่านเรื่องบ้านกลายที่พี่เขียนในประชาไท รู้สึกเดือดร้อนแม้ว่าหนูจะไม่ไปที่นั่นแล้ว เพราะหนุ่มกลาย คนที่หนูรักไม่น่ารัก ไม่ดี แต่ทะเลกลายดีสวยงาม อาหารทะเลมีมาก คนอื่น ๆ ที่กลายที่หนูรู้จักก็ดีค่ะ เขาดีกับหนูมาก คนใจดี หนูจึงอยาจะร่วมปกป้องด้วย หนูอ่านพบเรื่อง SSB และลองเขียนสรุปมาให้พี่ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือในชื่อเต็มว่า การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard : SSB)…
แพร จารุ
  งานชั้นนี้ “แพรจารุ” ไม่ได้เขียนเองค่ะ เป็นของคุณวิชัย จันทวาโร ถือโอกาสเอามาลงที่นี่ เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงเผยแพร่ให้ผู้อ่านรู้จักทะเลกลาย ทะเลไทย ที่กำลังถูกมือร้ายอย่างเซฟรอนบริษัทขุดเจาะน้ำมันข้ามชาติทำลาย ภายใต้นโยบายของรัฐไทย ***************
แพร จารุ
  บ้านกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 30 สิงหาคม 2553              คุณหญิงที่รัก  
แพร จารุ
โลกนี้คนชั่วมากเหลือเกิน และบรรดาคนชั่ว ๆ ก็ล้วนเป็นผู้มีอำนาจ พวกเขามีอำนาจที่จะอนุมัติโครงการใหญ่ ๆ ทำลายฐานทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งอาหารที่คนพอจะทำมาหากินได้ พวก เขาขุดภูเขา ถมทะเล โดยไม่สนใจว่าเจ้าของเขาอยู่กันอย่างไร ต่อไปกะปิอร่อยๆ ที่ฉันเอามาฝากคุณก็จะไม่มีแล้ว เพราะที่บ้านฉันจะมี เซฟรอน คุณรู้ไหมมันคืออะไร คือบริษัทยักษ์ใหญ่ของต่างชาติ ที่เข้ามาถมทะเลสร้างท่าเรือ เพื่อขุดเจาะหาพลังงานไปขาย โดยไม่สนใจว่าเป็นแหล่งอาหารของชุมชน ป้าของฉัน แกบอกว่า นอนไม่หลับมานานแล้ว แกกังวลว่าจะอยู่อย่างไร แม่ของฉันอายุเก้าสิบปี ฉันไม่กลับบ้านมาสองปี แม่เก็บกระดาษไว้ให้ฉันสามแผ่น…