Skip to main content

มหาวิทยาลัยเคอีโอ วิทยาเขตฟูจีซาวะ (慶応大学湘南藤沢キャンパス) ซึ่งเป็นที่เรียนของผมสำหรับระดับปริญญาตรี ตั้งอยู่ในจังหวัดคานางาวะ (神奈川県) ส่วนบ้านผมอยู่ในโตเกียว ดังนั้น ผมต้องใช้เวลาการเดินทางประมาณสองชั่วมองครึ่งสำหรับขาไปอย่างเดียว เพราะฉะนั้น วันใดที่มีคาบเรียน ผมก็ต้องใช้เวลาเกือบห้าชั่วโมงสำหรับการเดินทาง ด้วยเหตุนี้ ผมก็อยากจะเช่าห้องที่อยู่ใกล้วิทยาเขต แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยของผมเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน (ซึ่งมีค่าเทอมแพงกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐสามเท่า) และฐานะการเงินของครอบครัวผมก็อยู่ในระดับไม่เกินชนชั้นกลางชั้นล่าง (lower middle class) ดังนั้น ไม่อาจสามารถจ่ายค่าเช่า ส่วนค่าเดินทางนั้นไม่แพงมาก เพราะมีส่วนลดพิเศษสำหรับนักศึกษา ถ้าเปรียบเทียบกับค่าเช่าห้อง ยังถูกกว่าไม่ตำกว่าห้าเท่า ในสุดท้าย ผมก็ตัดสินใจจะไปกลับระหว่างบ้านกับวิทยาเขตทุกวัน

การเดินทางเริ่มต้นจากการปั่นจักรยานจากบ้านถึงสถานีประมาณสิบนาที หลังจากนั้น ขึ้นรถไฟสายชูโอ (中央線) ของบริษัท JR ซึ่งเป็นหนึ่งในสายที่แออัดที่สุดในประเทศญี่ปุ่น (ขอบอกว่า ระดับโลกก็ว่าได้) ไปถึงสถานีซินจูกุ (新宿) ประมาณ 20 นาที ช่วงนี้เป็นช่วงที่ทำอะไรก็ไม่ได้ ยกเว้นยืนเฉยๆ ในตู้รถไฟซึ่งมีผู้คนแออัดมาก (ขนาดที่มองเท้าของตัวเองไม่เห็น) ต่อจากนั้นก็ขึ้นรถไฟของอีกบริษัทหนึ่งชื่อโอดาคิว (小田急線) ไปถึงสถานที่ที่ใกล้ที่สุดจากมหาวิทยาลัยประมาณหนึ่งชั่วโมงสิบนาที และสุดท้ายก็ขึ้นรถประจำทางประมาณ 25 นาทีถึงครึ่งชั่วโมง รวมเวลารอรถก็ประมาณสองชั่วโมงครึ่งกว่าจะถึงมหาวิทยาลัย

ถามว่าเหนื่อยไหม ก็ไม่เท่าไร เพราะผมสามารถนั่งรถไฟโอดาคิวชั่วโมงกว่า และรถประจำทางก็ไม่แอดันมาก (มีแต่นักศึกษา) นอกจากนี้ ในขณะนั้นผมก็ยังเป็นวัยรุนตอนต้น (ไม่เหมือนวัยรุ่นตอนปลายเหมือนปัจจุบันนี้)

เวลาสองชั่วโมงครึ่งนี้เป็นเวลาอันมีประโยชน์มาก เพราะเมื่อวันสอบ ผมยังมีเวลาทบทวนในรถไฟ แต่ประโยชน์อันมีค่ามากที่สุดก็ช่วงธรรมดา เนื่องจากผมสามารถอ่านหนังสือได้ในรถไฟและรถประจำทาง ในตู้รถไฟ หนังสือเกี่ยวกับปรัชญาหรือวิชาการ (มาก) ไม่ค่อยเหมาะสม เพราะมีสิ่งต่างๆ ที่จะรบกวนสมาธิของเราได้ แต่เหมาะสำหรับอ่านหนังสือวรรณคดี ผมจำไม่ได้ว่าผมได้อ่านกี่เล่ม แต่หนึ่งปีสามารถอ่านหนังสือได้ไม่ต่ำกว่า 100 เล่ม เฉพาะในรถไฟอย่างเดียว

จริงๆ แล้ว ถึงแม้ว่าการเดินทางแบบนี้ก็เหนื่อยนิดหน่อย แต่ผมยังมีความสุขกับการอ่านในรถไฟ ในตู้รถไฟผมก็ได้เจอหนังสือดีๆ หลายๆ เล่ม อีกนัยหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า ตู้รถไฟกลายเป็นห้องอ่านหนังสือที่สำคัญสำหรับนักศึกษาคนหนึ่ง เช่นเดียวกันกับประชาชนอีกหลายๆ คนในประเทศญี่ปุ่นซึ่งต้องใช้ระบบขนส่งมวลชนในชีวิตประจำวัน ถ้าท่านไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นและใช้บริการระบบขนส่งมวลชน สิ่งที่ท่านจะเจอแน่คือ คนจำนวนไม่น้อยที่หยิบหนังสืออ่านในรถไฟหรือรถประจำทาง แม้ว่าจำนวนของคนเหล่านี้เริ่มลดลงหลังจากมีการเล่นโทรศัพท์มือถือก็ตาม

ผมอยากเห็นวัฒนธรรมแบบนี้ในประเทศที่ผมใช้ชีวิต แต่ดูเหมือนว่า นับวันก็ยิ่งฝ่ายระบบขนส่งมวลชนทำให้สิ่งแวดล้อมในระบบไม่เอื้อต่อการอ่าน

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมนั่งคนเดียวอยู่ในตู้รถไฟ BTS เพื่อไปถึงสถานีหมอชิด เวลาที่ต้องใช้ในการเดินทางก็นานพอสมควร ดังนั้น ผมตั้งใจจะอ่านหนังสือ แต่เสียงดังที่รั่วออกมาจากลำโพงข้างตู้โทรทัศน์ที่ตั้งบนหัวผู้โดยสาร ส่งเสียงรบกวนจากโฆษณาตลอดทางเดินทาง และปรากฏว่า นี่คือครั้งแรกในชีวิตของผมที่ผมไม่สามารถอ่านหนังสือแม้แต่หน้าเดียวในเวลากว่าครึ่งชั่วโมงในตู้รถไฟทั้งๆ ที่ผมมีความตั้งใจว่าจะอ่านหนังสือก็ตาม

ขนส่งมวลชน แม้ว่าบริหารโดยบริษัทเอกชนก็ตาม เป็นขนส่งมวลชน ไม่ใช่ขนส่งเอกชน ดังนั้น สิ่งแวดล้อมในระบบก็ถือว่าเป็นที่สาธารณะ ผมคงจะไม่ว่าอะไรถ้าฝ่ายบริษัทจะติดป้ายโฆษณาในสถานีหรือในตู้รถไฟ (ถึงแม้ว่าโฆษณาเหล่านี้ทำลายความสวยงามของสิ่งแวดล้อมก็ตาม) เพราะผมไม่เคยใส่ใจต่อโฆษณาเหล่านี้และผมไม่ต้องดูสิ่งรบกวนเหล่านี้ด้วย พูดง่ายๆ ก็สิ่งเหล่านี้ไม่รบกวนการอ่านของผม แต่เสียงดังเกินเหตุผลในตู้รถไฟ BTS นั้นเป็นมลพิษทางเสียงซึ่งผู้โดยสารไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะเราปิดมันไม่ได้ แต่เสียงนั้นเข้ามาในหูของเราตลอดเวลา ไม่ว่าผู้โดยสารสนใจหรือไม่สนใจต่อเนื้อหาโฆษณาก็ตาม

ไม่ทราบว่า กรุงเทพมหานครฯ ยังต้องการเป็นเมืองหลวงแห่งหนังสือหรือไม่ แต่ตราบใดที่ระบบขนส่งที่สำคัญที่สุดประเทศหนึ่งไม่อำนวยสิ่งแวดล้อมซึ่งเอื้อต่อการอ่าน ผมแน่ใจว่า ถึงเมื่อไรก็เมืองแห่งนี้จะเป็นเมืองหลวงแห่งหนังสือไม่ได้ เพราะวัฒนธรรมทุกรูปแบบก็ต้องเกิดจากสิ่งแวดล้อมอันเหมาะสม

การเปิดโฆษณาลักษณะนี้มีอยู่หลายๆ แห่ง หรือ “บริการเปิดเพลง” ในร้านอาหาร ลานอาหาร หรือร้านกาแฟต่างๆ ในระดับเสียงสูงเกินไปนั้น ทั้งหมดนี้ทำให้ประชาชนไม่อยากจะอ่านหนังสือ ผมอยากจะให้ตรวจสอบสิ่งแวดล้อมของคนเมืองหลวงว่า มันเป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถสร้างนักอ่านพันธุ์แท้ได้หรือไม่ สำหรับตอนนี้ ผมต้องประเมินว่า มันไม่สะดวกสำหรับการอ่านอย่างยิ่ง

 

 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
มหาวิทยาลัยเคอีโอ วิทยาเขตฟูจีซาวะ (慶応大学湘南藤沢キャンパス) ซึ่งเป็นที่เรียนของผมสำหรับระดับปริญญาตรี ตั้งอยู่ในจังหวัดคานางาวะ (神奈川県) ส่วนบ้านผมอยู่ในโตเกียว ดังนั้น ผมต้องใช้เวลาการเดินทางประมาณสองชั่วมองครึ่งสำหรับขาไปอย่างเดียว เพราะฉะนั้น วันใดที่มีคาบเรียน ผมก็ต้องใช้เวลาเกือบห้าชั่วโมงสำหรับการเดิน
Shintaro Hara
ณ ปัจจุบันนี้ สังคมไทยกับสังคมญี่ปุ่นก็ตกอยู
Shintaro Hara
ตั้งแต่มีหนังสือพิมพ์ ชาวอังกฤษแสดงความเห็นกันว่า ภาษาอังกฤษอยู่ในภาวะ “วิกฤต” โดยอ้างว่า ผู้ใช้ภาษาอังกฤษมีการออกเสียงไม่ถูกต้อง หรือมีการสะกดผิดมากมาย แนวคิดแบบนี้มีอยู่ในเกือบทุกภาษา ผู้ใช้ของภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยเฉพาะบรรดาเจ้าของภาษาที่หวังดีกับภาษาของตน เป็นห่วงกับ “คุณภาพการใช้ภาษา” ในสังคม ซ
Shintaro Hara
Shintaro Hara
คนในแอเชีย โดยเฉพาะแอเชียตะวันออก เช่น คนญี่ปุ่น คนเกาหลีหรือคนจีน มักจะประเมิณว่า โค้ชที่ใช้ความรุนแรงกับลูก
Shintaro Hara
ตามพจนานุกรม Cambridge Advanced Learner's Dictionary & Thesaurus (http://dictionary.cambridge.org/dictionary/british/potential_2) ให้คำจำกัดความต่อคำว่า potential (คำนาม) ดังต่อไปนี้: someone's or something's ability to develop , achieve , or succeed ความสามารถของคนใดคนหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่
Shintaro Hara
สมาคมผู้ปกครองและครู ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า PTA (พี.ที.เอ.) ซึ่งเป็นคำย่อของทัพศัพท์ Parents and Teachers Association สมาคมนี้มีอยู่ในทุกโรงเรียน โดยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าบรรดาผู้ปกครองก็ให้ความรวมมือต่อฝ่ายโรงเรียนโดยสมัครเป็นสมาชิกของ PTA วิสัยทัศน์การจัดตั้งสมาคมดังกล่าวคือเพื่อให้เป็นเวทีการเรียน
Shintaro Hara
หลังจาก นาย ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) ได้ครองตำแหน่งประธรานาธิบดีเป็นเวลาสองสมัย ในสุดท้าย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมนี้ จะมีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่สำหรับประเทศอินโดนีเซีย
Shintaro Hara
ผมเองก็ไม่ทราบครับ ว่า ทำไมคนญี่ปุ่นเข้าคิวทุกครั้ง และแทบจะไม่มีใครกล้าแซงคิว มันเป็นหัวข้อที่น่าสนใจสำหรังงานวิ
Shintaro Hara
ในคำปราศรัยโดยหัวหน้าคณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา ท่าน ผบ.ทบ.