Skip to main content

                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และคุกคามประชาธิปไตย อย่างร้ายแรง

                กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 เป็น ซากอารยธรรมที่เหลือค้างมาตั้งแต่ก่อนประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง   ตัวกฎหมายมีเนื้อหาที่ จำกัดสิทธิ และขัดกับระบอบประชาธิปไตยมาก   ซึ่งจะขอเล่าให้เข้าใจกันง่ายๆ ดังนี้

1)      การประกาศใช้กฎอัยการศึก เป็นของฝ่ายทหารโดยแท้ ครั้งนี้ ผบ.ทบ. ประกาศใช้กฎอัยการศึก โดยไม่ปรึกษารัฐบาลรักษาการ

2)      การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก เป็นอำนาจของฝ่ายทหาร  หากจำได้สมัยอดีตนายกฯสมัคร เคยประกาศกฎอัยการศึก   แต่ ผบ. ในขณะนั้นแถลงออกโทรทัศน์ว่าจะไม่ใช้อำนาจใดๆ ในการยุติความรุนแรง    แต่ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์และรองนายกสุเทพ เทือกสุบรรณ  กองทัพใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามการชุมนุมจนทำให้ผู้ชุมนุม และผู้ไม่เกี่ยวข้อง ตาย! เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน คนเร่ร่อน ฯลฯ

3)      อำนาจในการออกกฎหมายลูกมาจำกัดสิทธิเพิ่มเติมอยู่ในมือของฝ่ายทหาร เช่น การประกาศห้ามออกอากาศ ห้ามเสนอข่าว ห้ามเดินทาง ห้ามอยู่อาศัย ไปจนถึงการยึดสถานที่ต่างๆ   อันเป็นการจำกัดสิทธิอย่างร้ายแรง โดยไม่มีระบบตรวจสอบถ่วงดุล   ลองเทียบกับรัฐบาลพลเรือน หากจะออกกฎหมายที่จำกัดสิทธิประชาชนต้องผ่าน รัฐสภา ซึ่งมีการอภิปราย ตรวจสอบหลายขั้นตอน

4)      การกีดกันกระบวนการยุติธรรมออกไปจากพื้นที่ เพราะให้อำนาจทหารตั้งป้อม สร้างด่าน ตรวจกัก ตรวจค้น   ที่ต่างจากการตั้งด่านปกติที่ต้องมีขั้นตอนและรายละเอียดชัดเจน    ทั้งยังมีอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล  และยืดเวลาฝากขังโดยไม่ต้องไปพบศาลได้ยาวนานกว่าปกติมาก แถมยังต่อเวลาได้อีกด้วย   ต่างจากรัฐธรรมนูญและกฎวิธีพิจารณาความอาญา

5)      การเลือกระงับสิทธิของประชาชนบางพื้นที่/บางเวลา โดยไม่ต้องบอกเหตุผลและรายละเอียดที่แน่ชัด ทำให้ประชาชนในพื้นที่นั้นเสียสิทธิหลายประการเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น  คนในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นผู้รับเคราะห์บ่อยครั้ง แต่ก็ไม่เท่ากับพี่น้องใน 3-4 จังหวัดชายแดนใต้ ที่ต้องอยู่กับภาวะนี้ยาวนาน  ครั้งนี้ประกาศใช้ทั้งประเทศ เท่ากับ ยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญหลายมาตรา! ทั้งประเทศ!!!

6)      ในบางกรณีไม่มีการระบุแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ต้องสงสัย มีหลักฐานชี้มูลความผิดเจาะจงไปที่ใคร แต่ใช้การประกาศหว่านคลุมหลายพื้นที่ หลายถนนเพื่อเข้าคุมพื้นที่ แล้วตรวจค้น จับกุม ประชาชาน  ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการจับผิดตัว ยัดหลักฐาน ปรักปรำคนผิด  พูดง่ายๆ  “จับแพะ”   หรือ จัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองได้ง่ายๆ

7)      การประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกต้องมีพระบรมราชโองการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีกลาโหมต้องเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  พูดง่ายๆ รัฐบาลต้องชนกับกองทัพในสถานการณ์ที่รัฐบาลรักษาการกำลังโงนเงน

8)      การยกเว้นโทษและความรับผิดทางกฎหมายทั้งหมด พูดง่ายๆ ถ้าเกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพย์สินกับประชาชน/บริษัทห้างร้านใดๆ   ทหารไม่ต้องรับผิดชอบ   แม้ประชาชนผู้เดือดร้อนจะพิสูจน์ได้ว่าเจ้าหน้าที่จะใช้อำนาจโดยทุจริต เลือกประติบัติ เกินสมควรแก่เหตุ  เพราะทหารทำไปเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จากศัตรูภายนอกและภายใน

 

อย่างไรก็ดี ต้องไม่ลืมว่า ภาวะอัยการศึกได้ทำลาย “ความจริง” ลงตั้งแต่แรกเพราะประกาศปิดสื่อได้ทุกรูปแบบ   ทำให้ประชาชนโดนปิดหู ปิดตา ปิดปาก ยากจะพิสูจน์ความจริง ว่า ประเทศกำลังประสบภัยคุกคามจาก "ศัตรู" ของประเทศ จริงหรือไม่   ฤาแท้จริงเป็นเพียงประชาชนผู้ต้องการใช้สิทธิทางการเมืองแต่ไม่ตรงใจกองทัพ?

โดยศึกนี้มี "ต้นทุน" สูงลิบ คือการทำลายอำนาจของ ฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ลงทันที   โดยมี สิทธิเสรีภาพของประชาชนและความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย เป็น "ดอกเบี้ย"   ที่แพงลิบ!!!

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว 
ทศพล ทรรศนพรรณ
วิกฤตการเมืองการปกครองไทยในหลากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นช่วง 4-5 ปีหลัง   ประเด็นทางกฎหมายที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนนั้นมุ่งตรงมาที่ “การใช้อำนาจอธิปไตยในการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล”   เนื่องจากการทำหน้าที่ของศาลนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ได้อยู่ในความสนใจของสังคมเป็นอย่างยิ่ง &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งพึ่งมารู้จักกันด้วยเหตุแห่งความซวยครับ   ปัญหาจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์นั่นเอง แต่ไม่ใช่การประสบอุบัติเหตุหรอกนะครับ แต่เป็นเรื่องของความซวยที่มากระแทกหน้าเสียมากกว่า   คงสงสัยกันแล้วว่าเป็นมาอย่างไร ไปติดตามเรื่องที่น้องเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปรัชญากฎหมาย สำนักกฎหมายธรรมชาติ และสำนักกฎหมายบ้านเมือง ในการตอบโต้ทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง   และตำราด้านปรัชญากฎหมายไทยก็มีความเฉื่อยกว่าพัฒนาการด้านปรัชญากฎหมายที่ถกเถียงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในระดับโลก   จึงขออธิบายให้เข้าใจดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเกี่ยวเนื่องกับการใช้โทรศัพท์มือถือนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้จะเห็นแผงขายมือถือ บัตรเติมเงิน และการออกประกาศแจกซิมการ์ดโทรศัพท์ฟรีๆ กันตามสถานที่ทั่วไป ทั้งป้ายรถเมล์ ในห้าง วินมอเตอร์ไซค์ ท่าน้ำ ในตลาด และแหล่งชุมชนที่คนพลุกพล่าน   พอมารับเรื่องร้องทุกข์จึงได้รู้ว่ามีคนจำนวนมากที
ทศพล ทรรศนพรรณ
ค่าไฟ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากในสมัยนี้ เพราะ ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่ว่าบ้านไหนก็คงต้องใช้ขับเคลื่อนเครื่องใช้ไฟฟ้ากันใช่ไหมครับ แต่ผมก็เคยออกไปลงพื้นที่กับคลินิกกฎหมายในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าอยู่บ้างเหมือนกันครับ ซึ่งชีวิตของคนในพื้นที่นั้นจะต่างจากในเมืองหรือบ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงเลยครั
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องราวความสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งที่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ประการใด หลังจากนั้นมีปัญหาเรื่องมือที่สามเข้ามา ทำให้ครอบครัวฝ่ายชายมาปรึกษาเพราะกลัวว่าจะถูกหลอกและปอกลอกทรัพย์สินไปจนหมด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้ผู้ที่มาปรึกษาเล่าว่า “บิดาข้าพเจ้าไปเซ็นค้ำประกันการซื้อรถยนต์ให้กับเพื่อนที่สนิทกันมานาน เนื่องจากเพื่อนไม่มีญาติเป็นข้าราชการ อีกทั้งสินทรัพย์ต่างๆก็ไม่มีจะเอาไปค้ำประกัน   แต่จำเป็นต้องซื้อรถเพื่อเอามาขนส่งของทำมาหากิน พ่อของข้าพเจ้าเห็นว่าควรช่วยให้เพื่อนมีช่องทางทำมาหากิน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมที่ขับเคลื่อนโดยระบบตลาดทุนนิยมเสรีนั้น ฝากความหวังไว้กับผู้บริโภคในการคัดเลือกสิ่งที่ดีให้คงอยู่ในตลาด  ผ่านการจ่ายเงินซื้อและสนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตอย่างมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม หรือที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า จะมีเพียง “ผู้ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” เท่านั้นที่จะคงเหลืออยู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้ขยายวงกว้างไปมากหลังจากบัตรเครดิต/เดบิต กลายเป็นเงินพลาสติกที่เราพกพาไปไหนได้ง่าย ไม่ต้องกลัวว่าแบบพกเงินสดว่าถ้าตกหายไปแล้วมันจะสูญเสียไปทันที  แถมยังมีข้อดีตรงที่เรามีวงเงินเพิ่มเติมได้หากต้องการใช้เงินฉุกเฉินหรือใช้เงินเกินกวาที่วางแผนล่วงหน้าไว้นิดหน่อย   แม้มีหลา
ทศพล ทรรศนพรรณ
คราวนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องใด?