Skip to main content

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว

                แต่เมื่อถึงมหกรรมกีฬาระดับโลกอย่างโอลิมปิก เอเชียนเกมส์ ซีเกมส์ และตอนนี้ก็คือฟุตบอลโลก ก็ดูเหมือนสีสันของธงชาติกลับโบกสะบัดพลิ้วไหวให้คึกคักไปกับภาวะชาตินิยมกลายๆไปด้วย

                ในอารยประเทศ นี่อาจเป็นโอกาสเดียวที่ประชาชนสามารถแสดงออกความคลั่งชาติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายเพราะถือว่าเป็นกิจกรรมบันเทิงส่วนตัวที่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น และไม่นำไปสู่การเหยียดหยามเชื้อชาติ   จะเป็นก็แต่เพียงการล้อเล่นเย้ยหยันเพื่อความบันเทิงเท่านั้น โดยมีกติการ่วมกันในใจว่า นี่คือ กีฬา จบแล้วก็เหลือเพียงน้ำใจในฐานะคอกีฬาเดียวกัน 

                แต่หากอารมณ์ไม่จบในสนามลุกลามออกมานอกพื้นที่จำกัด แล้วแสดงออกมาด้วยความรุนแรง ไม่ว่าจะด้วยวาจาเหยียดหยาม อาฆาตมาดร้าย หรือใช้กำลังเข้าทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สินแล้วล่ะก็ อันธพาลเหล่านั้นจำต้องได้รับโทษทัณฑ์จากบ้านเมืองและถูกประณามจากสังคมเป็นแน่แท้

                สิ่งหนึ่งที่ใกล้เคียงและจำต้องพูดเพราะเป็นปัญหาที่เกิดควบคู่กับทุนนิยมแบบโลกาภิวัฒน์นั่นก็คือ การเคลื่อนย้ายของผู้คนในนามของ ผู้อพยพ หรือแรงงานข้ามชาติ ซึ่งกระจายเข้าไปรับงานสกปรก ด้อยศักดิ์ศรี และอันตรายในประเทศที่มีรายได้หรือคุณภาพชีวิตดีกว่า   และในทางกลับกันพลเมืองของประเทศพัฒนาแล้วก็กำลังสูญเสียอาชีพและรายได้เนื่องจากกลุ่มทุนได้ย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศไปแสวงหาต้นทุนราคาถูกในประเทศที่มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อมต่ำกว่า

                เมื่อคนสองกลุ่มเผชิญหน้ากันบนพื้นฐานของ “การได้เสีย” ย่อมเกิดการเปรียบเทียบและเดียดฉันท์กันขึ้นมาหากไม่อาจวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะการบีบคั้นของทุนข้ามชาติได้อย่างถ่องแท้  โวหาร “แรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนท้องถิ่น”  หรือ “ผู้อพยพเข้ามาก่อปัญหาสังคม”  ที่ดังก้องย่อมสะท้อนให้เห็นถึงการขาดไร้จินตนาการในการพิเคราะห์ปัญหาอย่างทะลุปรุโปร่ง

                สิ่งที่เกิด ณ ขณะปัจจุบันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนของเครื่องจักรขนาดใหญ่ในการเปลี่ยนมนุษย์ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิต แลกเปลี่ยน บริโภคภายใต้ตรรกะของทุนนิยมแบบตลาดที่ได้กระจายเข้าไปอยู่ในชีวิตจิตใจของใครหลายคน   ดังปรากฏการสร้างภาพฝันเรื่องการ ลงทุนโดยไม่ต้องลงแรง เป็นอิสระจากการเข้างานเป็นเวลาตอกบัตร หรือติดแหง็กอยู่ในที่ทำงาน และแน่นอนจะต้องรวยเร็วด้วย เพื่อจะได้ใช้ชีวิตที่เหลืออย่างมีความสุขไปด้วยการกิน เที่ยว และเอ็นเตอร์เทนตัวเองด้วยการโชว์ออฟผ่านสื่อ

                ภาพฝันเหล่านี้ได้ผลักดันให้เกิดงานใหม่ๆที่กระจายไปตามครัวเรือน และร้านกาแฟอย่างรวดเร็ว แต่เดิมที่ผู้ประกอบการต้องลงทุนสร้าง/เช่าสำนักงานเพื่อให้ทุกคนมาทำงานร่วมกันแล้วควบคุมตารางเวลางานเพื่อจ่ายค่าจ้างตามเวลาที่กำหนดไว้ชัดเจน   กลายเป็นคนรุ่นใหม่ยินดีรับงานไปทำเอง บนค่าใช้จ่ายของตัวเอง และแบกรับภาระงานเข้าไปผสมกับเวลาที่ใช้ชีวิตประจำวันหามรุ่งหามค่ำเพื่อให้ได้ผลงานออกมาตามเป้าหมาย โดยรายได้ก็ต้องบี้กับคู่แข่งรายอื่นที่ล่องลอยอยู่ในตลาดแรงงานอิสระอีกมากมายเช่นกัน

                คนรุ่นใหม่อีกไม่น้อยก็ใช้ทักษะทุกอย่างที่ตนมีผลักดันให้ตนขึ้นเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าและบริการออนไลน์โดยไม่ต้องอยู่ใต้นายจ้างคนไหนแต่ข้อมูลที่ตนผลิตและเรียกลูกค้าเข้ามาใช้เวลาในสื่อโซเชียลเหล่านั้นเข้ากระเป๋าเจ้าของแพลตฟอร์มเต็มๆ 

เช่นเดียวกับ ผู้รับจ้างขับรถภายใต้แอพพลิเคชั่น หรือการนำที่อยู่อาศัยของตนมาปล่อยเช่าในเว็บไซต์ระดับโลก  โดยที่ต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่ง และข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดให้กับผู้ประกอบการที่อยู่จุดใดของโลกก็ไม่อาจทราบได้

ที่ร่ายยาวมาทั้งหมดต้องการสะท้อนว่า “ไม่มีของฟรีในโลกฉันใด ไม่มีงานประจำก็ไม่มีสวัสดิการฉันนั้น”   ความอิสระและความสุขที่เกิดจากการไร้เจ้านายไม่ผูกติดกับสถานประกอบการนั้น แท้จริงคือ การอยู่ในระบบการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ต้องแบกรับความเสี่ยงในชีวิตและสุขภาพเอาเอง และเมื่อยังไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเร็ววันก็ยิ่งไปเพิ่มความเครียดสะสมจนกลายเป็นความเครียดและซึมเศร้านั่นเอง

ประสบการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาเป็นทศวรรษในประเทศพัฒนาแล้ว จนคนท้องถิ่นที่สูญเสียงานและคนรุ่นใหม่ที่รู้สึกชีวิตเสี่ยง หันไปชี้เป้าที่คนอพยพแรงงานข้ามชาติว่าเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์   โดยที่ไม่ได้มองไปยังสาเหตุที่แท้นั่นคือ การขูดรีดของกลุ่มทุนข้ามชาติ ผสมโรงด้วยการผลักภาระในการดูแลสวัสดิการแรงงานทั้งจากผู้ประกอบการและรัฐ นั่นเอง

ความเจ็บแค้นนี้นำไปสู่ภาวะเหยียดผู้ที่มาใหม่แล้วไปเร้าอารมณ์คลั่งชาติที่สะท้อนผ่านการตัดสินใจทางการเมืองจำนวนมากที่น่าตกใจ เช่น การลงคะแนนเอาสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป การเลือกผู้นำขวาจัดที่มีนโยบายชาตินิยมรุนแรง ซึ่งล้วนแต่สร้างปัญหาเพิ่มเติม โดยที่ไม่ได้แก้ปัญหาต้นทางที่เกิดจากระบบทุนนิยมที่มิได้กระจายโอกาสในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตอย่างเท่าเทียม และไม่มีระบบเปลี่ยนผลกำไรของกลุ่มทุนให้ย้อนมาเป็นสวัสดิการของคนในสังคม

พลเมืองโลกควรควบคุมความคลั่งชาติให้อยู่ในสนามก่อนเกมส์จบเท่านั้น

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว 
ทศพล ทรรศนพรรณ
วิกฤตการเมืองการปกครองไทยในหลากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นช่วง 4-5 ปีหลัง   ประเด็นทางกฎหมายที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนนั้นมุ่งตรงมาที่ “การใช้อำนาจอธิปไตยในการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล”   เนื่องจากการทำหน้าที่ของศาลนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ได้อยู่ในความสนใจของสังคมเป็นอย่างยิ่ง &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งพึ่งมารู้จักกันด้วยเหตุแห่งความซวยครับ   ปัญหาจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์นั่นเอง แต่ไม่ใช่การประสบอุบัติเหตุหรอกนะครับ แต่เป็นเรื่องของความซวยที่มากระแทกหน้าเสียมากกว่า   คงสงสัยกันแล้วว่าเป็นมาอย่างไร ไปติดตามเรื่องที่น้องเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปรัชญากฎหมาย สำนักกฎหมายธรรมชาติ และสำนักกฎหมายบ้านเมือง ในการตอบโต้ทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง   และตำราด้านปรัชญากฎหมายไทยก็มีความเฉื่อยกว่าพัฒนาการด้านปรัชญากฎหมายที่ถกเถียงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในระดับโลก   จึงขออธิบายให้เข้าใจดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเกี่ยวเนื่องกับการใช้โทรศัพท์มือถือนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้จะเห็นแผงขายมือถือ บัตรเติมเงิน และการออกประกาศแจกซิมการ์ดโทรศัพท์ฟรีๆ กันตามสถานที่ทั่วไป ทั้งป้ายรถเมล์ ในห้าง วินมอเตอร์ไซค์ ท่าน้ำ ในตลาด และแหล่งชุมชนที่คนพลุกพล่าน   พอมารับเรื่องร้องทุกข์จึงได้รู้ว่ามีคนจำนวนมากที
ทศพล ทรรศนพรรณ
ค่าไฟ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากในสมัยนี้ เพราะ ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่ว่าบ้านไหนก็คงต้องใช้ขับเคลื่อนเครื่องใช้ไฟฟ้ากันใช่ไหมครับ แต่ผมก็เคยออกไปลงพื้นที่กับคลินิกกฎหมายในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าอยู่บ้างเหมือนกันครับ ซึ่งชีวิตของคนในพื้นที่นั้นจะต่างจากในเมืองหรือบ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงเลยครั
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องราวความสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งที่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ประการใด หลังจากนั้นมีปัญหาเรื่องมือที่สามเข้ามา ทำให้ครอบครัวฝ่ายชายมาปรึกษาเพราะกลัวว่าจะถูกหลอกและปอกลอกทรัพย์สินไปจนหมด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้ผู้ที่มาปรึกษาเล่าว่า “บิดาข้าพเจ้าไปเซ็นค้ำประกันการซื้อรถยนต์ให้กับเพื่อนที่สนิทกันมานาน เนื่องจากเพื่อนไม่มีญาติเป็นข้าราชการ อีกทั้งสินทรัพย์ต่างๆก็ไม่มีจะเอาไปค้ำประกัน   แต่จำเป็นต้องซื้อรถเพื่อเอามาขนส่งของทำมาหากิน พ่อของข้าพเจ้าเห็นว่าควรช่วยให้เพื่อนมีช่องทางทำมาหากิน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมที่ขับเคลื่อนโดยระบบตลาดทุนนิยมเสรีนั้น ฝากความหวังไว้กับผู้บริโภคในการคัดเลือกสิ่งที่ดีให้คงอยู่ในตลาด  ผ่านการจ่ายเงินซื้อและสนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตอย่างมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม หรือที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า จะมีเพียง “ผู้ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” เท่านั้นที่จะคงเหลืออยู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้ขยายวงกว้างไปมากหลังจากบัตรเครดิต/เดบิต กลายเป็นเงินพลาสติกที่เราพกพาไปไหนได้ง่าย ไม่ต้องกลัวว่าแบบพกเงินสดว่าถ้าตกหายไปแล้วมันจะสูญเสียไปทันที  แถมยังมีข้อดีตรงที่เรามีวงเงินเพิ่มเติมได้หากต้องการใช้เงินฉุกเฉินหรือใช้เงินเกินกวาที่วางแผนล่วงหน้าไว้นิดหน่อย   แม้มีหลา
ทศพล ทรรศนพรรณ
คราวนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องใด?