Skip to main content

การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ 

บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี

นี่คือ 2 เรื่องที่ช็อคคนทั้งโลกไปไม่น้อย แม้กระทั่งเจ้าตัวเองยังตะลึงไม่หาย ดีแลนออกมาชี้แจงหลังเงียบไม่พูดอะไรหลังได้รางวัลถึง 2 สัปดาห์โดยบอกว่า ยังอึ้งและตั้งตัวไม่ทันว่าจะมีปฏิกิริยาเรื่องนี้อย่างไรในฐานะนักดนตรี มิใช่นักเขียนตามขนบการมอบรางวัลสาขาวรรณกรรม   ส่วนโดนัลด์ ทรัมป์ นอกจากการประกาศชื่อ ไมค์ เพนซ์ เป็นรองประธานาธิบดีแล้ว ก็ไม่ได้วางตัวใครในตำแหน่งรัฐมนตรี หรือคณะบริหารงาน เลย จนเพิ่งมีข่าวว่ามอบหมายให้ทีมลอบบี้ยิสต์ของบรรษัทชื่อดังสหรัฐให้หาคนมารับตำแหน่งต่างๆ หลังจากชนะเลือกตั้งแล้ว

สิ่งที่ต้องเข้าใจ คือ รางวัลที่ ทรัมป์ และ ดีแลน ได้รับต่างมีนัยยะทางการเมืองทั้งคู่ กล่าวคือ แน่นอนว่าทรัมป์ได้ชนะทางการเมืองจากคะแนนเสียงพลเมืองอเมริกัน แบบการเลือกตั้งโดยมหาชน   แต่การมอบรางวัลโนเบลให้ดีแลน เป็นการเมืองของชนชั้นนำในยุโรปที่เลือกคนและประเด็นว่าจะให้ใครเพื่อสะท้อน “ประเด็น” อะไร

บ็อบ ดีแลน เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลทางการเมืองและการเคลื่อนไหวสังคมผ่าน “เนื้อเพลง” ที่สื่อสารผ่านท่วงทำนองดนตรีบอกเล่าถึงการต่อสู้ สันติภาพ และสภาพชีวิตพลเมืองอเมริกันและคนร่วมสมัย ในยุคที่เต็มไปด้วยความผันผวนทางการเมือง ทั้งการเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง และการเมืองระหว่างประเทศ

คณะกรรมการโนเบลให้เหตุผลอย่างเป็นทางการที่ให้รางวัลว่า “เพื่อเป็นเกียรติแก่การรังสรรค์กวีนิพนธ์รูปแบบใหม่ที่แสดงออกทางผ่านขนบดนตรีอเมริกันอันยิ่งใหญ่”  แปลให้เข้าใจง่ายๆ คือ ดีแลน ใช้รูปดนตรีโพลค์คันทรี่ที่ใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้น ตามไสตลส์พื้นบ้านของอเมริกัน ที่สามารถแสดงที่ไหน เมื่อไหร่ ก็ได้เพราะใช้ทุนต่ำ แต่สอด “เนื้อหา” ผ่านคำร้องที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกจับใจผู้คนจนกลายเป็นเพลงฮิต

บทเพลงของดีแลน กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการเรียกร้องสันติภาพ และความเป็นธรรมในสังคม ที่ผู้คนนำมาร้องต่อๆกันไปทั่วโลก  แถมเนื้อหาเหล่านั้นยังมีผู้นำมาใช้เป็นบทเพลงเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลายในสังคม นำมาสู่ความเข้าใจอันดี ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่รางวัลโนเบลตอกย้ำเสมอมา โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงอีกรางวัลทางสังคม ก็คือ โนเบลสันติภาพ

บุคคลสำคัญที่ได้รางวัลโนเบลสันติภาพ ในสมัยที่ บ็อบ ดีแลน โลดแล่นผ่านเสียงเพลง คือ ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ผู้ถูกจารึกชื่อไว้เป็นตำนานแห่งสังคมอเมริกัน และขบวนการต่อต้านเหยียดเชื้อชาติสีผิวทั่วโลก  เป็นที่ทราบกันดีว่าในปี ค.ศ.1964 ที่ ดร.คิง ได้รับรางวัลจากยุโรป สหรัฐยังมีกฎหมายและนโยบายที่เอื้อให้มีการแบ่งแยกสีผิวในหลายพื้นที่ หลายประเด็นอยู่   ดังนั้นการให้รางวัลพลเมืองอเมริกันที่ต่อต้านนโยบายรัฐบาลสหรัฐ จึงเป็นเกมส์การเมืองผ่านรางวัลอย่างชัดเจน

การมอบรางวัลให้กับ “ใคร” เพื่อเป็นการสนับสนุน “ผลงาน” หรือ “การกระทำใด”  จึงเป็นสิ่งที่น่าจับตามองในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  เช่นเดียวกับ สหประชาชาติมอบรางวัล “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ให้กับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นต้น  และ องค์การอนามัยโลกมอบรางวัลให้กับโครงการ “ประกันหลักสุขภาพถ้วนหน้า” เป็นต้น

สิ่งสำคัญที่เราต้องมาวิเคราะห์ คือ ทำไมคณะกรรมการจึงเลือกมอบรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมให้ ดีแลน ในปี ค.ศ. 2016 ปีที่มีวิกฤตสันติภาพในหลายพื้นที่ทั่วโลก (ระดับโลกน่าจะหนักที่สุดหลังสิ้นสุดสงครามเย็น ระดับประเทศสหรัฐก็ขัดแย้งมากนับจากยุคหลังสงครามเวียดนาม)   และกำลังจะมีเหตุการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองคือเลือกตั้งประธานาธิบดี   ก็ต้องลองย้อนกลับไปดูการมอบรางวัลให้นักการเมืองอเมริกันอีกคนในช่วงก่อนหน้านี้ ก็คือ บารัค โอบาม่า

บารัค โอบาม่า ได้โนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ.2009 เพียงไม่ถึงปี หลังรับตำแหน่งประธานาธิบดี แทบจะเรียกได้ว่า ยังไม่ได้ทำอะไรให้ “โลก” เป็นชิ้นเป็นอันก็ได้รับรางวัลไปแล้ว    โนเบลให้เหตุผลว่า “เป็นเกียรติแก่ความอุตสาหะในการสร้างความเข้มแข็งของการทูตระหว่างประเทศ (ไม่ใช่การทหาร) และความร่วมมือระหว่างประชาชน (หลากหลายกลุ่ม)”   เราคงเข้าใจวัฒนธรรม “ปรบมือกดดัน” กันใช่ไหมครั่บ เวลาเราอยากเรียกร้องให้ใครขึ้นเวที หรือแสดงออก หรือทำอะไร แล้วใช้การชื่นชมยินดีด้วยการปรบมือให้เขา “ลงมือกระทำ” อย่างเสียมิได้

การเลือก บ็อบ ดีแลน มาเป็นตัวแทนแห่งการ “แสดงออกทางสุนทรียะเพื่อสันติภาพ” ท่ามกลางสงคราม “ผรุสวาท” ของผู้ลงสมัครเลือกตั้งทั้งสองของสหรัฐอเมริกา จึงเป็นการเมืองของการบอกแก่คนทั่วโลกว่า เราสามารถเลือกที่จะให้รางวัลกับ พลเมืองอเมริกันที่รังสรรค์สิ่งงดงามให้กับโลกได้ เพื่อเป็น “สาสน์ส่งความจริง” แบบที่ธำนุความดีงามในสังคมให้อยู่สืบต่อไปบนพื้นฐานแห่ง “สันติภาพ”

มิใช่การหลงไปกับดราม่าการหาเสียงเลือกตั้ง แบบเน้นความดุดัน เดือดดาล รุนแรง ตามวิถีแห่งการตลาดการเมืองเรื่องแข่งขันของธุรกิจโฆษณาอเมริกัน ที่โหดร้ายรุนแรงมุ่งเอาชนะคะคานกันจน ละเลยความหลากหลายและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ ของผู้คนจากหลายที่มาอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้อยู่ชื่อว่า “สร้างชาติจากผู้อพยพ”

นโยบายแข็งกร้าวจำนวนมาก ที่โดนัลด์ ทรัมป์ ใช้หาเสียงเพื่อเรียกคะแนนเลือกตั้งจากผู้คนที่เดือดดาลจากการสูญเสียงาน และสิ้นหวัง  ไม่ควรจะเป็นพลังเดียวในการกำหนดทิศทางโลก   ดังคำที่นักวิจารณ์การเมืองอัฟริกันอเมริกันท่านหนึ่งกล่าวว่า

“ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานของท่านให้ดี เพราะสี่ปีต่อจากนี้จะต้องฟัง โดนัลด์ ทรัมป์ พูดผ่านสื่อทุกวัน”

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงไซเบอร์” ได้กล่าวอ้างว่า ในปัจจุบันมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม และมีความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของบุคคลและชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลกเนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) กำหนดหัวข้อจับ “ตามหาอำนาจจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา” โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มุ่งเน้นในประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา/TPP/อุตสาหกรรมอาวุธ