Skip to main content

จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โดยให้เหตุผลว่า ถ้าอยากผลิตก็ให้ทำตามกฎหมาย   ซึ่งก็เป็นที่ทราบดีว่า พรบ.สุราฯ นั้นเอื้อต่อผู้ผลิตรายใหญ่

                กรณีนี้มิได้มีอะไรใหม่ในแง่กฎหมาย เพราะเคยมีคดีสุราชุมชนที่ถูกดำเนินคดีจนต่อสู้กันไปจนถึงศาลรัฐธรรมนูญแล้วเช่นกัน  แต่ประเด็นที่ทำให้รัฐยังหวงอำนาจในการกำหนดผู้ผลิตได้อยู่ที่ข้ออ้างว่า “สินค้านี้หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมอันดี” รัฐต้องเข้ามาควบคุม

                ประเด็นอยู่ที่ รัฐไทยควรมีบทบาทอย่างไรต่อการประกอบธุรกิจของประชาชน โดยเฉพาะธุรกิจที่หมิ่นเหม่ต่อ “เส้นศีลธรรม” นั่นเอง

                หากวิเคราะห์ตามปรัชญากฎหมายสมัยใหม่นั้นง่าย เพราะเถียงจบไปเกือบสามทศวรรษแล้วว่า “รัฐไม่ควรใช้กฎหมายกำหนดมาตรฐานศีลธรรมของประชาชน”   แต่เป็น “สิทธิและหน้าที่” ต่างหากที่กฎหมายทำหน้าที่กำหนด

สินค้า/บริการ ที่มีความต้องการสูงแต่รัฐทำให้กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เช่น Criminalize เหล้า กัญชา และการค้าบริการทางเพศ นำไปสู่ การเกิดผู้ค้าสิ่งของ/บริการผิดกฎหมาย

                ความเสี่ยงในการถูกจับ และกฎหมายไม่คุ้มครองการทำนิติกรรม ถ้าผู้ซื้อ/ผู้ขายเบี้ยวหนี้ หรือเกิดอันตรายความเสียหายจากสินค้า/บริการ ก็ไปเรียกร้องเอาจากศาลหรือกระบวนการยุติธรรมไม่ได้

เป็นที่มาให้ต้องใช้กำลังในการบังคับหนี้ และรักษาความปลอดภัย หากผู้ผลิตไม่มีความสามารถก็ต้องการใช้นักเลงมาเฟียคุ้มครองความปลอดภัย

                ต่อมานักเลงและมาเฟียกลายเป็นเสือนอนกินเก็บค่าคุ้มครอง หรือเป็นเจ้าของกิจการเสียเอง แล้วเปลี่ยนผู้ค้ารายย่อยให้กลายเป็น แรงงาน หรือดาวน์ไลน์ภายใต้ตัวเอง มีเงินทองมหาศาล

                เจ้าหน้าที่ของรัฐจะบังคับใช้กฎหมายก็เกิดการต่อต้าน ใช้ความรุนแรง จัดหาอาวุธและจัดจ้างมือปืน ไปจนถึงติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่บังคับใช้กฎหมาย ไม่ปราบปรามอาชญากรรม แต่เก็บกินรายได้จากสินค้าและบริการผิดกฎหมาย ทำให้สินค้าและบริการผิดกฎหมายมีอย่างแพร่หลาย เพราะกลายเป็นเจ้าหน้าที่ต้องคุ้มครองเพื่อให้แหล่งรายได้ยังงอกงามเช่นเดิม

                พอมีคนเห็นช่องทางทำกิน พยายามขยายเขตเข้ามาแข่งขัน ก็จะไม่ใช้วิธีพัฒนาสินค้าบริการ แต่อาจใช้วิธีการผิดกฎหมาย เช่น ฆ่า ทำร้าย ข่มขู่ เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น หรือดึงนักฆ่าที่มีใบอนุญาตเข้ามาช่วยสนับสนุน

ฆ่ากันไปฆ่ากันมา หรือว่าดึงทุกกลุ่มเข้ามาเคลียร์อยู่ใต้บารมีคุ้มครอง ของโคตรอภิมหามาเฟียเพียงกลุ่มเดียว แล้วส่งส่วยขึ้นไปเป็นทอดๆ

                ดังนั้น การทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า/บริการผิดกฎหมาย จึงกลายเป็น "สถาบันไม่เป็นทางการ" เพราะเป็นองค์กรทางธุรกิจที่มีการปกป้องคุ้มครองและมีความสามารถในการใช้ความรุนแรงได้อย่างเป็นระบบ มีสายบังคับบัญชา และสามารถนำบุคลากรและอาวุธที่มาจากเงินภาษีของประชาชน มาปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง

                หากมีใครอยากล้มล้างองค์กรอาชญากรรมเหล่านี้ ก็ต้องปะทะกับผู้ปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้โดยตรง ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ นั่นคือ ประชาชนทำงานสุจริตเสียภาษีเพื่อให้รัฐเอาไปฝึกคนและจัดหาอาวุธให้อาชญากร(มาเฟียมีสี) มาก่ออาชญากรรมกับเรา หรือบีบให้เราลุกขึ้นสู้ แล้วอาจถูกจับเข้าไปอยู่ในเรือนจำ

                ฤาเรือนจำ มีแต่ ผู้พยายามเข้ามาเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่เกี่ยวข้องธุรกิจผิดกฎหมาย ที่ไม่ยอมส่งส่วย หรือสยบยอมโคตรอภิมหามาเฟีย กันแน่

                ถามกลับกันว่า ถ้า Legalize สินค้า/บริการ ผิดกฎหมายที่มี Demand สูง แล้วมีระบบควบคุมความปลอดภัยและจัดเก็บภาษีเข้ารัฐเพื่อนำไปสู่การบรรเทาผลกระทบ และเยียวยาผู้ได้รับความเดือดร้อนจากสินค้าบริการเหล่านี้ จะเป็นอย่างไร

                ส่วนอาชญากรที่ก่ออาชญากรรมโดยใช้ความรุนแรงในชีวิตประจำวัน ก็ต้องถามว่า เขาเหล่านั้นซึมซับ "ความรุนแรง" การใช้อำนาจดิบเถื่อนมาจากไหน "ใครเป็นแบบอย่าง" หรือทำให้เขาคิดว่าทำผิดยังไงก็ลอยนวลได้?

                ไม่ว่าจะลอยนวลเพราะเส้นใหญ่ หรือความสามารถในการหาหลักฐานมาปรักปรำอาชญากรต่ำ หรือมีการอภัยโทษแบบมิได้พิจารณาก่อนปล่อยอย่างถี่ถ้วนและไม่มีระบบบำบัดในขณะจองจำ

                แต่มันก็นำมาสู่คำถามที่ว่า "กล้าพูดความจริง" กันรึเปล่าล่ะ  เสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในชีวิตทรัพย์สินจะได้รับการปกป้องหรือไม่

                ในทางกลับกัน การก่ออาชญากรรมเล็กๆน้อยๆ ใช้ความรุนแรงด้วยความคึกคะนอง แบบ "เกรียน" ของเยาวชน ทำไมเขามาทำแบบนี้ ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าให้เขาไปทำกันบ้างหรือ แก๊งค์สปาร์ต้าซามูไร ในเขตภาคเหนือหายไปไหน ใครเคยไปหาคำตอบไหมว่าคนเหล่านั้นโดนดูดซับเข้าไปกับการขยายตัวของธุรกิจบริการ/การท่องเที่ยว ที่ขยายตัวมากแค่ไหน

                ใครจะอยากไปก่ออาชญากรรม ถ้า "เสี่ยง" ว่าจะเสียทุกอย่างที่มีไป รวมถึง "อนาคต"
คำตอบจึงน่าจะอยู่ที่การสร้างสังคมที่ คนมีความหวัง มีเป้าหมาย จะได้เดินไปสู่อนาคต

มิใช่ ไร้อนาคต หมดหวัง ดังที่รู้สึกได้แพร่กระจายไปทั่ว

                ในประเทศพัฒนาแล้ว มีทางเลือกให้คนรุ่นใหม่ทำอะไรอีกเยอะแยะ และถ้าเขาจะใช้พลังงานไปกับเรื่องอะไร รัฐและองค์กรทั้งหลายก็ช่วยได้โดยการชี้ทาง และเป็นสปริงบอร์ดให้เขากระโดดไป พอหันมาดูเมืองไทย สงสัยต้องฝึกร้องเพลง หรือไปศัลยกรรมถ่ายเดียวละครับ

                คุก กับ ความตาย คือ ปลายทางสังคมหรือ?

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว 
ทศพล ทรรศนพรรณ
วิกฤตการเมืองการปกครองไทยในหลากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นช่วง 4-5 ปีหลัง   ประเด็นทางกฎหมายที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนนั้นมุ่งตรงมาที่ “การใช้อำนาจอธิปไตยในการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล”   เนื่องจากการทำหน้าที่ของศาลนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ได้อยู่ในความสนใจของสังคมเป็นอย่างยิ่ง &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งพึ่งมารู้จักกันด้วยเหตุแห่งความซวยครับ   ปัญหาจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์นั่นเอง แต่ไม่ใช่การประสบอุบัติเหตุหรอกนะครับ แต่เป็นเรื่องของความซวยที่มากระแทกหน้าเสียมากกว่า   คงสงสัยกันแล้วว่าเป็นมาอย่างไร ไปติดตามเรื่องที่น้องเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปรัชญากฎหมาย สำนักกฎหมายธรรมชาติ และสำนักกฎหมายบ้านเมือง ในการตอบโต้ทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง   และตำราด้านปรัชญากฎหมายไทยก็มีความเฉื่อยกว่าพัฒนาการด้านปรัชญากฎหมายที่ถกเถียงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในระดับโลก   จึงขออธิบายให้เข้าใจดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเกี่ยวเนื่องกับการใช้โทรศัพท์มือถือนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้จะเห็นแผงขายมือถือ บัตรเติมเงิน และการออกประกาศแจกซิมการ์ดโทรศัพท์ฟรีๆ กันตามสถานที่ทั่วไป ทั้งป้ายรถเมล์ ในห้าง วินมอเตอร์ไซค์ ท่าน้ำ ในตลาด และแหล่งชุมชนที่คนพลุกพล่าน   พอมารับเรื่องร้องทุกข์จึงได้รู้ว่ามีคนจำนวนมากที
ทศพล ทรรศนพรรณ
ค่าไฟ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากในสมัยนี้ เพราะ ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่ว่าบ้านไหนก็คงต้องใช้ขับเคลื่อนเครื่องใช้ไฟฟ้ากันใช่ไหมครับ แต่ผมก็เคยออกไปลงพื้นที่กับคลินิกกฎหมายในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าอยู่บ้างเหมือนกันครับ ซึ่งชีวิตของคนในพื้นที่นั้นจะต่างจากในเมืองหรือบ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงเลยครั
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องราวความสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งที่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ประการใด หลังจากนั้นมีปัญหาเรื่องมือที่สามเข้ามา ทำให้ครอบครัวฝ่ายชายมาปรึกษาเพราะกลัวว่าจะถูกหลอกและปอกลอกทรัพย์สินไปจนหมด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้ผู้ที่มาปรึกษาเล่าว่า “บิดาข้าพเจ้าไปเซ็นค้ำประกันการซื้อรถยนต์ให้กับเพื่อนที่สนิทกันมานาน เนื่องจากเพื่อนไม่มีญาติเป็นข้าราชการ อีกทั้งสินทรัพย์ต่างๆก็ไม่มีจะเอาไปค้ำประกัน   แต่จำเป็นต้องซื้อรถเพื่อเอามาขนส่งของทำมาหากิน พ่อของข้าพเจ้าเห็นว่าควรช่วยให้เพื่อนมีช่องทางทำมาหากิน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมที่ขับเคลื่อนโดยระบบตลาดทุนนิยมเสรีนั้น ฝากความหวังไว้กับผู้บริโภคในการคัดเลือกสิ่งที่ดีให้คงอยู่ในตลาด  ผ่านการจ่ายเงินซื้อและสนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตอย่างมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม หรือที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า จะมีเพียง “ผู้ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” เท่านั้นที่จะคงเหลืออยู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้ขยายวงกว้างไปมากหลังจากบัตรเครดิต/เดบิต กลายเป็นเงินพลาสติกที่เราพกพาไปไหนได้ง่าย ไม่ต้องกลัวว่าแบบพกเงินสดว่าถ้าตกหายไปแล้วมันจะสูญเสียไปทันที  แถมยังมีข้อดีตรงที่เรามีวงเงินเพิ่มเติมได้หากต้องการใช้เงินฉุกเฉินหรือใช้เงินเกินกวาที่วางแผนล่วงหน้าไว้นิดหน่อย   แม้มีหลา
ทศพล ทรรศนพรรณ
คราวนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องใด?