Skip to main content

ผลิตบนหลักการอย่างหนึ่ง เช่น ทำกำไรจากกิจการอะไรที่ให้เงินเยอะ ไม่คำนึงถึงชีวิตเพื่อนมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม


บริโภคบนหลักการอีกอย่างหนึ่ง เช่น การอุดหนุนสินค้าที่โฆษณาว่าห่วงใยสังคม หรือแสดงออกว่าเสพกิจกรรมการกุศล

อาการ พร่องความดี

อาการ กระหายอยากเชื่อต่อกับทุกความหายทุกหลักการ

สะท้อน “ความไม่มั่นคงในชีวิต จิตใจ” เพราะเชื่อว่า สังคมมีความเสี่ยงสูง    ต้องสะสมมันไปทุกอย่าง แม้การกระทำมันจะยืนอยู่บนหลักการที่ขัดกัน

ครับ ลองไปคุยกับเกษตรกรสิครับ  เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ยังมาถามเลยครับ  ว่า  "ทำไมชาวบ้านพูดกับข้าราชการแบบหนึ่ง พูดกับนักวิจัยอีกแบบ"

ก็ ชาวบ้านเขาไม่กล้าพูดตรงๆ กับคนที่ไม่ไว้ใจไงครับ

กว่าจะได้ความจริง ต้องเข้าไปใช้ชีวิตเสี่ยงภัยร่วมกับเขาเป็นเดือนๆ

ลองถามเขมชาติดูสิครับ วาต้องไปอยู่กับลุงๆ ป้าๆ เป็นปีๆ เห็นอะไรบ้าง

ส่วน ข้าราชการ เป็น พญาเหยียบเมือง ลงไปแป้บๆ แล้วหาย แถม บรรษัทส่งคนมาเฝ้า ว่าใครเอาความจริงไปบอก จะโดนเชือด   ชาวบ้านที่ไหนจะกล้าเสี่ยงพูดความจริงล่ะครับ

ผมถึงบอกไงครับว่า   "ความจริง"   ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาง่ายๆ

ถ้าสบายใจจะเสพกับข้อมูลแบบนั้น  ก็แล้ว 

ส่วนที่อ้าง ดาวน์โจนส์ อ้างต่างประเทศ อะไรนั่น มันกลุ่มประเทศที่บีบให้เหลือเกษตรกร ไม่ถึง 5% ของประชากรแล้วครับ (เขาคือ ผู้จัดการฟาร์ม  ไม่ใช่เกษตรกรแบบในไทย)

ส่วนในยุโรป และญี่ปุ่น  เกษตรกรเป็นเจ้าของหุ้นในบรรษัทเองเลยครับ

โมเดลที่ใช้ในไทย มันโมเดล บรรษัทแบบ East India ใช้กับประเทศใต้อาณานิคม น่ะครับนะ

ส่วนกระแสสังคมนี่ แค่เห็น CP All ปล่อยหุ้น ออกมาให้ถือ นี่ก็เงียบกริบ ไม่ต้องพูดถงสื่อที่โดนซื้อเลยครั่บ

ถึงบอกไงครับ นี่มันสังคมทุนนิยมแบบยุโรป ยุคก่อนสงครามโลกชัดๆ

ส่วนตัวผม มีคนทำลายกำลังใจเยอะครับ ด้วยคำประเภท อิจฉาเขารวยล่ะสิ ทำให้ได้อย่างเขาแล้วค่อยมาด่าเขา หรือ ถ้าที่คุณพูดมันจริงคงเป็นกระแสสังคมแล้ว   หนักกว่านั้น บอกว่า เอาแต่ด่า ไม่มีข้อมูล ไม่ทำวิจัย   เอ่อ..........นี่กำลังด่าว่า สิบปีมานี้ ผมไม่ได้ทำงานเลยสินะ

ดูถูกกันเกินไปรึเปล่า

เป็นคนอื่นเขาไม่สละเวลามาคุยด้วยนะครับ  นี่ก็ถือว่า เป็น ศิษย์เก่า ม.ช. ในวิชาชีพกฎหมาย ก็มาให้ข้อมูลนะครับ

หลังจากนี้ ก็เลือกเอาเอง ผมคงไม่พูดซ้ำอีกแล้ว

แล้วแต่ครับ ถ้าไม่รู้ คือ ไม่มีเจตนา ถ้ารู้แล้วทำ ก็รับเต็ม แต่จะดี จะชั่ว ก็แล้วแต่คิดละกันครับ

แต่คนที่อาฆาต สาปแช่ง นี่มีจริง คือ คนที่ชีวิตพังกับบรรษัทเหล่านั้น

ขนาดอเมริกา ที่ชอบด่าเขาว่าทุนนิยม นี่เขายังก้าวข้ามมาได้ และมีการเลือกซื้อสินค้า บริการ หุ้น เฉพาะบรรษัทที่รักษาจริยธรรมด้าน แรงงาน สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม เลยครับ 

ประเทศไทยยังเข้ายุคตื่นทองของการลงทุนในตลาดหุ้น ก็พอเข้าใจได้ครับ แถมธนาคารก็เหยียบดอกเบี้ยเงินฝากไว้ต่ำขนาดนั้น ก็ไม่แปลกที่จะแห่ไปซื้อหุ้นกัน

การควบคุมการผูกขนาดตลาด หรือการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมต่างๆไม่ให้ละเมิดสิทธิคนอื่นก็ทำได้ไม่เต็มที่

ก็ไม่แปลกใจว่า ทำไมบริษัทที่มีผลประกอบการดี ปันผลเยอะ จะเป็นบริษัทที่สร้างผลกำไรจากการเบียดบังชีวิตคนอื่น
 

ยิ่งเมื่อเกิดการรัฐประหาร แล้วมีกองเชียร์ที่เคยต้านทุนนิยมสามานย์มาก่อน กลับมาสนับสนุนโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่อาจบดขยี้ชีวิตคนในท้องถิ่น ยิ่งสะท้อนให้เห็น

อาการ Schizophrenia ของคนในสังคมทุนนิยมเผด็จการ อย่างชัดแจ้ง

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา