Skip to main content

ผลิตบนหลักการอย่างหนึ่ง เช่น ทำกำไรจากกิจการอะไรที่ให้เงินเยอะ ไม่คำนึงถึงชีวิตเพื่อนมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม


บริโภคบนหลักการอีกอย่างหนึ่ง เช่น การอุดหนุนสินค้าที่โฆษณาว่าห่วงใยสังคม หรือแสดงออกว่าเสพกิจกรรมการกุศล

อาการ พร่องความดี

อาการ กระหายอยากเชื่อต่อกับทุกความหายทุกหลักการ

สะท้อน “ความไม่มั่นคงในชีวิต จิตใจ” เพราะเชื่อว่า สังคมมีความเสี่ยงสูง    ต้องสะสมมันไปทุกอย่าง แม้การกระทำมันจะยืนอยู่บนหลักการที่ขัดกัน

ครับ ลองไปคุยกับเกษตรกรสิครับ  เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ยังมาถามเลยครับ  ว่า  "ทำไมชาวบ้านพูดกับข้าราชการแบบหนึ่ง พูดกับนักวิจัยอีกแบบ"

ก็ ชาวบ้านเขาไม่กล้าพูดตรงๆ กับคนที่ไม่ไว้ใจไงครับ

กว่าจะได้ความจริง ต้องเข้าไปใช้ชีวิตเสี่ยงภัยร่วมกับเขาเป็นเดือนๆ

ลองถามเขมชาติดูสิครับ วาต้องไปอยู่กับลุงๆ ป้าๆ เป็นปีๆ เห็นอะไรบ้าง

ส่วน ข้าราชการ เป็น พญาเหยียบเมือง ลงไปแป้บๆ แล้วหาย แถม บรรษัทส่งคนมาเฝ้า ว่าใครเอาความจริงไปบอก จะโดนเชือด   ชาวบ้านที่ไหนจะกล้าเสี่ยงพูดความจริงล่ะครับ

ผมถึงบอกไงครับว่า   "ความจริง"   ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาง่ายๆ

ถ้าสบายใจจะเสพกับข้อมูลแบบนั้น  ก็แล้ว 

ส่วนที่อ้าง ดาวน์โจนส์ อ้างต่างประเทศ อะไรนั่น มันกลุ่มประเทศที่บีบให้เหลือเกษตรกร ไม่ถึง 5% ของประชากรแล้วครับ (เขาคือ ผู้จัดการฟาร์ม  ไม่ใช่เกษตรกรแบบในไทย)

ส่วนในยุโรป และญี่ปุ่น  เกษตรกรเป็นเจ้าของหุ้นในบรรษัทเองเลยครับ

โมเดลที่ใช้ในไทย มันโมเดล บรรษัทแบบ East India ใช้กับประเทศใต้อาณานิคม น่ะครับนะ

ส่วนกระแสสังคมนี่ แค่เห็น CP All ปล่อยหุ้น ออกมาให้ถือ นี่ก็เงียบกริบ ไม่ต้องพูดถงสื่อที่โดนซื้อเลยครั่บ

ถึงบอกไงครับ นี่มันสังคมทุนนิยมแบบยุโรป ยุคก่อนสงครามโลกชัดๆ

ส่วนตัวผม มีคนทำลายกำลังใจเยอะครับ ด้วยคำประเภท อิจฉาเขารวยล่ะสิ ทำให้ได้อย่างเขาแล้วค่อยมาด่าเขา หรือ ถ้าที่คุณพูดมันจริงคงเป็นกระแสสังคมแล้ว   หนักกว่านั้น บอกว่า เอาแต่ด่า ไม่มีข้อมูล ไม่ทำวิจัย   เอ่อ..........นี่กำลังด่าว่า สิบปีมานี้ ผมไม่ได้ทำงานเลยสินะ

ดูถูกกันเกินไปรึเปล่า

เป็นคนอื่นเขาไม่สละเวลามาคุยด้วยนะครับ  นี่ก็ถือว่า เป็น ศิษย์เก่า ม.ช. ในวิชาชีพกฎหมาย ก็มาให้ข้อมูลนะครับ

หลังจากนี้ ก็เลือกเอาเอง ผมคงไม่พูดซ้ำอีกแล้ว

แล้วแต่ครับ ถ้าไม่รู้ คือ ไม่มีเจตนา ถ้ารู้แล้วทำ ก็รับเต็ม แต่จะดี จะชั่ว ก็แล้วแต่คิดละกันครับ

แต่คนที่อาฆาต สาปแช่ง นี่มีจริง คือ คนที่ชีวิตพังกับบรรษัทเหล่านั้น

ขนาดอเมริกา ที่ชอบด่าเขาว่าทุนนิยม นี่เขายังก้าวข้ามมาได้ และมีการเลือกซื้อสินค้า บริการ หุ้น เฉพาะบรรษัทที่รักษาจริยธรรมด้าน แรงงาน สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม เลยครับ 

ประเทศไทยยังเข้ายุคตื่นทองของการลงทุนในตลาดหุ้น ก็พอเข้าใจได้ครับ แถมธนาคารก็เหยียบดอกเบี้ยเงินฝากไว้ต่ำขนาดนั้น ก็ไม่แปลกที่จะแห่ไปซื้อหุ้นกัน

การควบคุมการผูกขนาดตลาด หรือการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมต่างๆไม่ให้ละเมิดสิทธิคนอื่นก็ทำได้ไม่เต็มที่

ก็ไม่แปลกใจว่า ทำไมบริษัทที่มีผลประกอบการดี ปันผลเยอะ จะเป็นบริษัทที่สร้างผลกำไรจากการเบียดบังชีวิตคนอื่น
 

ยิ่งเมื่อเกิดการรัฐประหาร แล้วมีกองเชียร์ที่เคยต้านทุนนิยมสามานย์มาก่อน กลับมาสนับสนุนโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่อาจบดขยี้ชีวิตคนในท้องถิ่น ยิ่งสะท้อนให้เห็น

อาการ Schizophrenia ของคนในสังคมทุนนิยมเผด็จการ อย่างชัดแจ้ง

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
หากสังคมไทยมีแนวโน้มจะเป็น สังคมทุนนิยม องค์กร สถาบัน จารีต ต่างๆ เสื่อมลง คนสัมพันธ์ผ่านระบบตลาด แคร์คนอื่นน้อยลง ขาดสำนึกร่วมในความอยุติธรรมทางสังคม หรือ มีสำนึกเชิง “ปัจเจก” มากขึ้นเรื่อยๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
อาจจะดูแปลกประหลาดไปสักหน่อยสำหรับบางท่านเมื่อพูดว่ากฎหมายได้รับรอง “สิทธิที่จะพักผ่อน” ไว้เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง เพราะคนไทยถือว่าการขยันตั้งใจทำมาหากินหามรุ่งหามค่ำเป็นศีลธรรมอันดีงามประเภทหนึ่งที่ต้องยึดถือปฏิบัติ หรือต้องแสดงออกให้สังคมเห็นเป็นประจักษ์ และสังคมก็ยกย่องบุคคลสำคัญโดยพิจารณา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การลดช่องว่าง ด้วยการใช้อำนาจทางการเมืองมาจัดการเศรษฐกิจรัฐสวัสดิการ สร้างความมั่นคงขจัดความขัดแย้งด้วยแนวทางเจือจานบนพื้นฐานของภราดรภาพป้องกันการลุกฮือของมวลชน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
มหกรรมฟุตบอลโลกจบลงไปแล้วด้วยชัยชนะของกองเชียร์ฝ่ายสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกลุ่มสนับสนุนสิทธิของผู้อพยพ เนื่องทีมแชมป์โลกเป็นการรวมตัวของนักฟุตบอลที่มิได้มีพื้นเพเป็นคนฝรั่งเศส (พูดอย่างถึงที่สุด คือ มิได้มีบุพการีที่เกิดในดินแดนฝรั่งเศส)
ทศพล ทรรศนพรรณ
พอมาอยู่ที่ยุโรป ถึงได้รู้ว่า อิตาลี กับ สเปน มันไม่แคร์เรื่อง ขาดดุลตัวเลขเลย เพราะมันเอาไปลงทุนไว้กับคน รอถอนทุนคืน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเลือกตั้งท้องถิ่นในแคว้นคาตาลุนญ่า ราชอาณาจักรสเปน จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 2015 ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศสเปนประมาณ 2 เดือน ความตื่นตัวของประชาชนสูงเพราะอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบกันไปทั่ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรพันธสัญญาที่ดี มีการสร้างความร่ำรวยให้กับเกษตรกรจำนวนมาก ลดความไม่แน่นอนในการผลิตและประกันว่ามีตลาดขายสินค้าแน่นอน หากมีปัญหาระหว่างการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์จะมีการแบ่งรับความเสียหายกับบรรษัท นั้นมีจริง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผลิตบนหลักการอย่างหนึ่ง เช่น ทำกำไรจากกิจการอะไรที่ให้เงินเยอะ ไม่คำนึงถึงชีวิตเพื่อนมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อมบริโภคบนหลักการอีกอย่างหนึ่ง เช่น การอุดหนุนสินค้าที่โฆษณาว่าห่วงใยสังคม หรือแสดงออกว่าเสพกิจกรรมการกุศลอาการ พร่องความดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาชนบทถือเป็นภารกิจของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ยุคต้านภัยคอมมิวนิสต์ที่ต้องการขจัดภัยคุกคาม ด้วยการเปลี่ยนพื้นที่กันดารให้มี น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก เพื่อขับไล่พวกที่ปลุกระดมโดยอาศัยความแร้นแค้นเป็นข้ออ้างให้ฝ่อไปเพราะเชื่อว่าเมื่อ “การพัฒนา” มาถึง คอมมิวนิสต์ก็จะแทรกซึมไม่ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
กาลครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ ผมได้ตกเป็นเหยื่อ "ความมักง่าย" เข้าแล้วครับท่านผู้อ่าน
ทศพล ทรรศนพรรณ
            ความสัตย์ซื่อและยึดถือกฎหมายด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า            มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสำนักกฎหมายบ้านเมือง ว่า คำสั่งทั้งหลายของรัฐาธิปัตย์ถือเป็นกฎหมายอย่างเด็ดขาด