Skip to main content

การลดช่องว่าง ด้วยการใช้อำนาจทางการเมืองมาจัดการเศรษฐกิจ

รัฐสวัสดิการ สร้างความมั่นคง

ขจัดความขัดแย้งด้วยแนวทางเจือจานบนพื้นฐานของภราดรภาพป้องกันการลุกฮือของมวลชน

 

หากมองไปถึงรากของมาร์กซ ในมุมของวิทยาศาสตร์สังคม และการวิเคราะห์ปรัชญาวัตถุนิยม เห็นจะเป็นยุโรปเหนือสแกนดิเนเวียนที่ใช้กรอบคิดนี้เป็นแนวทางและพัฒนาโครงสร้างรัฐไปสู่การสังคมอุดมคติผ่านเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย   พรรคแรงงาน พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย และรัฐสภารัฐ ไปจนถึงการสร้างแนวร่วมในสภายุโรป ผ่านแนวร่วมสหภาพและองค์กรประชาสังคมต่างๆ   ร่วมกันคิดร่วมกันแก้

แต่กระแสที่มาแรงในตอนนี้ คือ ยุโรปใต้ที่เริ่มย้อนกลับไปถอดบทเรียนของลาตินอเมริกา ที่ใช้แนวทางโรแมนติคเกี่ยวกับการปลุกระดมมวลชนที่ถูกระบบตลาดทุนนิยมโลกเบียดขับขูดรีดจนรู้สึกแปลกแยกกับตัวเอง รู้สึกได้ถึงความไม่เป็นธรรม แล้วเกิดความรู้สึกรุนแรงในการลุกฮือขึ้นยึดอำนาจรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ    เริ่มจากการเดินขบวน การยึด ไปจนถึงการจัดตั้งองค์กรนำแนวพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายเพื่อไปยึดอำนาจในสภา และมีแนวโน้มในการขัดแย้งกับชนชั้นนำทางการเมืองในระดับยุโรป เทคโนแครตในองค์การระหว่างประเทศ และระบบราชการในประเทศ   แต่มีแนวร่วมเป็นขบวนการเคลื่อนไหวในประเทศและข้ามไปถึงประเทศอื่นๆในโลก    มีความรักและเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์

 

สิ่งที่ต้องทำก่อน คือ การก้าวข้ามกับดักทางความคิด เชิงตัวเลขเศรษฐกิจของนักคิดฝ่ายขวา หรือเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก

 

อย่างไรก็ดี ฝ่ายซ้ายเหล่านี้ที่ประสบความสำเร็จ ก็เพราะชี้ให้เห็นปัญหาของโครงสร้างปัจจุบันอย่างชัดเจน มีแนวทางแก้ไขเป็นรูปธรรม และสร้างความเชื่อมั่นให้คนในสังคมว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์รุกฮือบานปลายเป็นการใช้กำลังปล้นสะดมใดๆ แต่จะใช้แนวทางเปลี่ยนแปลงเชิงสันติวิธี ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายเข้ามามีส่วนร่วมได้ตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย และเคารพสิทธิมนุษยชนขันพื้นฐานของคนทั้งสังคม

 

นั่นคือ ใช้ภราดรภาพเป็นธงนำ

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา