Skip to main content

อาจจะดูแปลกประหลาดไปสักหน่อยสำหรับบางท่านเมื่อพูดว่ากฎหมายได้รับรอง “สิทธิที่จะพักผ่อน” ไว้เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง เพราะคนไทยถือว่าการขยันตั้งใจทำมาหากินหามรุ่งหามค่ำเป็นศีลธรรมอันดีงามประเภทหนึ่งที่ต้องยึดถือปฏิบัติ หรือต้องแสดงออกให้สังคมเห็นเป็นประจักษ์ และสังคมก็ยกย่องบุคคลสำคัญโดยพิจารณาว่าเขาทำงานหนักด้วยหรือไม่

แต่มนุษย์ก็ยังมีอีกหลายหลายมิติที่ต้องคำนึง หากพิจาณาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสังคมจะพบว่า การพักผ่อน หรือกิจกรรมนันทนาการทั้งหลาย กลายเป็นที่มาของ “อารยธรรม” ของมนุษย์ เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญงอกงามด้านความคิดสติปัญญา และสุนทรียภาพของสังคมนั้นๆด้วย

ในสังคมเกษตรกรรมและปศุสัตว์ คนใช้เวลาในการเพาะปลุกหรือดูแลสัตว์เลี้ยงตามแสงอาทิตย์ และฤดูกาล กิจกรรมทางการผลิตย่อมต้องสอดคล้องกับระยะเวลาเฉพาะเจาะจง เช่น หลังฤดูหว่านไถ ชาวนาก็จะเปลี่ยนไปทำกิจกรรมจักสาน หรือทำงานอื่นๆ  หรือฤดูเก็บเกี่ยวก็จะต้องมีกิจกรรมทำร่วมกันกับคนในชุมชนที่มาลงแขก หมดฤดูเก็บเกี่ยวก็ต้องเฉลิมฉลอง   ประเพณีและขนบธรรมเนียมจำนวนมากจึงเกิดขึ้น และกลายเป็นสายใยที่เชื่อมโยงคนในชุมชนไว้  เสมือนเป็นประชาธิปไตยในหมู่บ้าน ที่คนสามารถมาร่วมกันแสดงออก รับรู้ตัวตนซึ่งกันและกัน

แต่บางพิธีกรรมก็แสดงให้เห็นอำนาจบารมีของคนในชุมชนนั้นๆ   ผ่านการเป็นเจ้าภาพ แม่งาน ครูบาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ จนกลายเป็น “การเมือง” ของคนในชุมชนไปในตามลำดับศักดิ์สูงต่ำ 

ในสังคมอุตสาหกรรมเวลาในสถานประกอบการมีความชัดเจนมากขึ้น มีการทำงานเดิมๆซ้ำๆซากตลอดทั้งปี การง่วนแต่กับงานประจำเป็นที่มาของสารพัดโรคอย่างที่ข้อมูลด้านชีวอนามัยบ่งชี้  การกำหนดระยะเวลาพัก เปลี่ยนอิริยาบถจึงสำคัญ   เช่นเดียวกับการมีกิจกรรมกีฬา ศิลปวัฒนธรรมร่วมกันของคนในสถานประกอบการเพื่อเพิ่มความเป็น “ทีมเวิร์ค” ให้คนทำงานร่วมกันเป็นระบบประสานสอดคล้องกันไปได้ดีขึ้น   และป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงเรื้อรังที่ทำให้แรงงานไม่อาจเพิ่มประสิทธิภาพได้ตามที่ผู้ประกอบการต้องการ

กฎหมายที่เกิดขึ้นหลังเห็นพัฒนาการของสังคมอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัวแล้ว จึงเล็งเห็นความสำคัญของการสร้าง “เวลาว่าง” ขึ้นมาเป็นวาล์วระบายความกดดันที่ถาโถมมาตลอดทั้งวันในชั่วโมงทำงาน จึงปรากฏ “สิทธิในการพักผ่อนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมนันทนาการ” ควบคู่ไปกับสิทธิต่างๆที่เกี่ยวกับการทำงานหรือสิทธิแรงงานนะครับ โดยเฉพาะในประเด็นแรงงาน สภาพการจ้างงานนี่สำคัญมาก  

องค์กรแรงงานสากล (ILO) จึงพูดเรื่องนี้ทั้งทางตรง และทางอ้อมผ่านเรื่องจำนวนชั่วโมงการทำงานเอาไว้เกือบร้อยปีแล้ว   หลังประเทศสมาชิกสหประชาชาติก็รับรองสิทธิโดยปฏิญญาสากลและกติกาสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม นะครับ ผม ไม่ได้แต่งเอง

ประเทศไทยไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้ เพราะแม้แต่ค่าตอบแทน หรือความมั่นคงในการทำงานยังไม่ค่อยมีเลย  แต่ประเด็นนี้สำคัญมากในการพัฒนา คือ พัฒนาทั้งคุณภาพชีวิตคนทำงาน และพัฒนาคุณภาพเนื้องาน   และเป็นตัวบ่งชี้ด้วยซ้ำว่า ผู้ประกอบการไทยพร้อมจะก้าวให้พ้นกับดักของการรับจ้างผลิตสินค้าโหล สินค้าความประณีตต่ำ หรือปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจเชิงประณีตและสร้างสรรค์หรือยัง ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเศรษฐกิจดิจิตัลที่บอกในตัวอยู่แล้วว่ามีคนอีกจำนวนมากปฏิเสธความจำเจของการทำงานซ้ำซากหนักหน่วงของชั่วโมงทำงานในสำนักงานและโรงงาน

หากจุดแข็งของประเทศไทย คือ ภาคบริการโดยเฉพาะแรงงานอารมณ์ที่สามารถรองรับความต้องการที่มากมายของลูกค้าที่มีเข้ามาอย่างหลากหลาย พร้อมเผชิญกับลูกค้าพรีเมี่ยม ไฮเอนด์ที่มี “ความพึงพอใจของตน” เป็นที่ตั้งเข้าไปอีก การวางแผนผ่อนหนักผ่อนเบาให้คนทำงานจึงเป็นเคล็ดลับความสำเร็จในการสร้างความพึงพอใจไปไม่น้อยกว่า “การบังคับประเมินความพึงพอใจ” ที่ทำให้คนทำงานอกสั่นขวัญแขวนเช่นกัน

คนเหนื่อยคนล้า "เกินไป" แสดงออกมาได้ไม่เนียนหรอกครับ หรือถ้าเนียนก็คือเก็บกดไว้มากรอวันระเบิด ก็คือ ลาออก แล้วผู้ประกอบการก็ต้องหาคนใหม่มาฝึกหัดให้เสียเวลาและงบประมาณอบรมอีก

หากนายจ้างดูแลสภาพการทำงานและชีวิตของลูกจ้างดี งานก็จะออกมาดี  เช่นเดียวกับงานประเภทช่างฝีมือปัจจุบันเป็นงานบริการ/ช่างฝีมือ/ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เน้นกันที่รายละเอียดละเอียด ต้องรองรับความยิบย่อยของลูกค้าแต่ละราย แต่ตัวคนให้บริการหรือช่างเองอาจจะไม่สามารถซื้อบริการหรือสินค้าแบบนี้ได้เลยในชีวิต กลายเป็นความหดหู่ทางจิตวิทยาเพิ่มมาอีก   การสร้างบรรยากาศแห่งความผ่อนคลายก็จะส่งเสริมให้ช่าง/ผู้เชี่ยวชาญได้มีความสุขไว้เผื่อเป็นกำลังใจในการทำงานที่ตึงเครียดมาก

นอกจากสิทธิในการพักผ่อนสำหรับคนทำงานแล้ว  ยังมีสิทธิหนึ่งที่มักพูดถึงควบคู่ไปด้วย ก็คือ สิทธิในการได้ทำกิจกรรมนันทนาการ และสร้างสรรค์ ของผู้พึ่งพิงแรงงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้คนทำงานหายห่วง ไม่เป็นกังวลยามทำงาน ทั้งกลุ่มเด็ก และคนชรา

ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1) การแบ่งเวลาให้เด็ก คนชรามีเวลาเล่นกีฬา ศิลปะ บันเทิง ทำกิจกรรมทางวัฒนธรรม
2) ที่สถานประกอบการ จัดให้มีสถานที่และคนคอยดูแลลูกหลาน คนชราของคนทำงาน

                ในปัจจุบันรัฐไทยได้เข้ามาอุดช่องว่างแทนผู้ประกอบการ โดยการมีสถานดูแล โรงเรียน หรือโรงพยาบาลที่ดูแลคนชราและเด็ก   แต่แนวโน้มของสังคมผู้สูงอายุ และการหาแรงงานราคาถูกดูแลเด็กจะยิ่งยากขึ้นไปเรื่อย   ก็ต้องลองคิดว่าภาระและค่าใช้จ่ายในการสร้าง จ้าง และพัฒนาบุคลากรด้านนี้ควรเป็นของใคร 

ใครได้ประโยชน์ก็ควรต้องจ่าย จะจ่ายทางตรงหรือทางอ้อม ต้องตัดสินใจเสียที

 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา