Skip to main content

ผมเห็นว่า ปัจจุบันคนไทยเลือกข้างทางการเมืองกันไปซะทุกเรื่องนะครับ สิ่งที่เห็นตลอดเวลา คือ การเที่ยวไปป้ายสีใส่ความเห็นหรือผลงานของคนอื่นเสียเลอะเทอะ จนเลยเถิดไปถึงไม่ดูรายละเอียด   จนบางครั้งเกิดปรากฏการณ์ "เงิบ" อย่างแพร่หลาย เพราะแชร์รัวๆ ด่ารัวๆ โดยไม่ตรวจสอบที่มาที่ไป

แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่า คือ มันลุกลามไปถึงการวิจารณ์เหตุการณ์ในประเทศอื่น ซึ่งผมเห็น คอมเม้นต์เกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครน ในพื้นที่ต่างๆ แล้วรู้สึกปวดใจยิ่งนัก

เพราะมีคนจำนวนมากเข้าไปเชียร์ให้ รัสเซียบุกเข้าไป ทำสงครามเลย เพื่อต่อต้านอิทธิพลของอเมริกา โดยเหมาเอาว่า ฟากที่จะนำพายูเครนเข้าสหภาพยุโรป นั้นเป็นทาสมะกัน แล้วหันมาบอกว่า Nato คือ กองกำลังบังหน้าของของสหรัฐอเมริกา อยากทำสงครามอะไรก็ทำได้ตามใจชอบ  งั้นหรือครับ?

ภาวะบ้าการเมืองแบบตื้นเขิน ชักไปกันใหญ่แล้วนะครับ ความคิดแบบ "คู่ตรงข้าม" ตื้นๆ แบบหาพระเอก หาตัวร้ายเนี่ยเป็นมรดกตกทอดของยุคสงครามเย็นซึ่งได้ทำลายคนตัวเล็กตัวน้อยไปโดยอาศัยข้ออ้างใหญ่ๆ แบบไม่สนใจรายละเอียดมานักต่อนัก

หากทบทวนสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลังสงครามเย็น จะเห็นเทรนด์หนึ่งที่ชัดเจน คือ 

1) การล่มสลายของรัฐขนาดใหญ่ที่รวมคนชาติพันธุ์หลากหลายเข้าไว้ในรัฐเดียว เราคงคำว่า อดีตรัโซเวียตสเซีย อดีตยูโกสลาเวีย หรืออดีตอินโดนีเซีย กันจนชินหูนะครับ ด้วยเหตุที่ไปใช้อำนาจทหารรวมคนที่ไม่ถูกกันมาอยู่ด้วยกัน สุดท้ายมีปัญหาบางกรณีถึงกับฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัน ดังนั้นสิ่งที่เห็น คือ การแยกประเทศโดยอาศัยหลัก Self-Determination เนื่องจากโดนฝ่ายที่มีอำนาจประหัตประหาร และกดขี่

2) การรวมกลุ่มของประเทศขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งบล็อคที่ใหญ่และมีความสำคัญ คือ บล็อคEU ที่เริ่มจากการต้องการรักษาสันติภาพภายในภูมิภาคด้วยการเปิดพรมแดนระหว่างกันภายในรัฐสมาชิก และเพิ่มพลังในเวทีโลกโดยการรวมกลุ่มให้ใหญ่ขึ้น Aggregation&Enlargement ซึ่งเป็นวิธีการซึ่งลอกเลียนมาจากการรวม 51 มลรัฐของสหรัฐอเมริกา ขึ้นเป็น 1 สหรัฐอเมริกา ที่ยิ่งใหญ่นั่นเอง ASEAN ก็พยายามแต่คงรู้ว่ายังมีขวากหนามอีกมาก รวมถึงปัญหาในข้อถัดไป เพราะการมีบล็อคใหญ่ๆ ต้องมีกฎหมาย เศรษฐกิจ และนโยบายระหว่างประเทศ/ความมั่นคง ร่วมกันให้ได้ 

3) การขยายเขตอิทธิพลของมหาอำนาจโดยไม่ใช้การทำสงครามโดยตรง เนื่องจากบูรณภาพแห่งดินแดนและประสบการณ์ช่วงสงครามเย็น ทำให้เห็นแล้วว่า การทำสงครามยึดครองไม่ง่ายอีกต่อไป ดังนั้นการขยายเขตอำนาจจึงต้องอาศัยจังหวะและโอกาส รวมถึงแผนระยะต่างๆ ให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลง เช่น ญี่ปุ่นเพิ่มความช่วยเหลือและลงทุนในเขตลุ่มน้ำโขงเพื่อรักษาพลังไว้ ในวันที่จีนพยายามลุกเข้ามาด้วยการลงทุนขนาดใหญ่ในโครงการเมกะโปรเจ็ค เช่น เมืองใหม่ เขื่อน หรือ รางรถไฟ เชื่อมต่อการคมนาคม ทำให้เห็นว่าบริเวณรอยต่อของอำนาจจะมีความร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่น แหลมไครเมียของยูเครน และ ทะเลจีนใต้/ลุ่มน้ำโขง

4) การสร้างมาตรฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ไม่มีการกลั่นแกล้ง รักแก เหยียดหยาม เพื่อคงไว้ซึ่งความหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรมและสังคม นั่นก็คือ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเพิ่มสวัสดิการสังคม สร้างความมั่นคงของมนุษย์ เพราะทุนนิยมของบรรษัทสามารถทำงานได้อย่างทะลุทะลวงในสังคมที่มีการเมืองมั่นคง การปล่อยให้ฆ่าฟันกันอาจกระทบผลประโยชน์ของบรรษัทขนาดใหญ่ได้
ดังที่ EU, ทวีป America บังคับทุกรัฐยอมรับสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนก่อนจะเข้าร่วมแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการรวมกลุ่ม

5) พื้นที่ซึ่งไม่มีอะไรให้แสวงหามากนัก กลับถูกหมางเมินไม่ใส่ใจ ปล่อยให้บรรษัทขนาดใหญ่ที่ผลประโยชน์สนับสนุนรัฐบาลเผด็จการให้ใช้กำลังจัดการฝ่ายตรงข้ามเพื่อยึดครองพื้นที่ แล้วบรรษัทตักตวงอยู่เบื้องหลังโดยส่งกำลังอาวุธ/เสบียงกรังให้ทุกฝ่าย ผ่านการแลกเปลี่ยนทรัพยากร เช่น น้ำมัน อัญมณี ซึ่งทวีความรุนแรงมากในทวีปอัฟริกา แต่เหมือนว่าถูก Left Behind ซึ่งมีการเป็นห่วงเรื่อง จีนไปทำข้อตกลงกับรัฐเผด็จการจำนวนมากเพื่อแลกกับข้อตกลงทางการลงทุนด้านพลังงานและโครงสร้างต่างๆ โดยไม่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน

 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว 
ทศพล ทรรศนพรรณ
วิกฤตการเมืองการปกครองไทยในหลากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นช่วง 4-5 ปีหลัง   ประเด็นทางกฎหมายที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนนั้นมุ่งตรงมาที่ “การใช้อำนาจอธิปไตยในการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล”   เนื่องจากการทำหน้าที่ของศาลนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ได้อยู่ในความสนใจของสังคมเป็นอย่างยิ่ง &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งพึ่งมารู้จักกันด้วยเหตุแห่งความซวยครับ   ปัญหาจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์นั่นเอง แต่ไม่ใช่การประสบอุบัติเหตุหรอกนะครับ แต่เป็นเรื่องของความซวยที่มากระแทกหน้าเสียมากกว่า   คงสงสัยกันแล้วว่าเป็นมาอย่างไร ไปติดตามเรื่องที่น้องเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปรัชญากฎหมาย สำนักกฎหมายธรรมชาติ และสำนักกฎหมายบ้านเมือง ในการตอบโต้ทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง   และตำราด้านปรัชญากฎหมายไทยก็มีความเฉื่อยกว่าพัฒนาการด้านปรัชญากฎหมายที่ถกเถียงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในระดับโลก   จึงขออธิบายให้เข้าใจดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเกี่ยวเนื่องกับการใช้โทรศัพท์มือถือนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้จะเห็นแผงขายมือถือ บัตรเติมเงิน และการออกประกาศแจกซิมการ์ดโทรศัพท์ฟรีๆ กันตามสถานที่ทั่วไป ทั้งป้ายรถเมล์ ในห้าง วินมอเตอร์ไซค์ ท่าน้ำ ในตลาด และแหล่งชุมชนที่คนพลุกพล่าน   พอมารับเรื่องร้องทุกข์จึงได้รู้ว่ามีคนจำนวนมากที
ทศพล ทรรศนพรรณ
ค่าไฟ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากในสมัยนี้ เพราะ ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่ว่าบ้านไหนก็คงต้องใช้ขับเคลื่อนเครื่องใช้ไฟฟ้ากันใช่ไหมครับ แต่ผมก็เคยออกไปลงพื้นที่กับคลินิกกฎหมายในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าอยู่บ้างเหมือนกันครับ ซึ่งชีวิตของคนในพื้นที่นั้นจะต่างจากในเมืองหรือบ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงเลยครั
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องราวความสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งที่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ประการใด หลังจากนั้นมีปัญหาเรื่องมือที่สามเข้ามา ทำให้ครอบครัวฝ่ายชายมาปรึกษาเพราะกลัวว่าจะถูกหลอกและปอกลอกทรัพย์สินไปจนหมด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้ผู้ที่มาปรึกษาเล่าว่า “บิดาข้าพเจ้าไปเซ็นค้ำประกันการซื้อรถยนต์ให้กับเพื่อนที่สนิทกันมานาน เนื่องจากเพื่อนไม่มีญาติเป็นข้าราชการ อีกทั้งสินทรัพย์ต่างๆก็ไม่มีจะเอาไปค้ำประกัน   แต่จำเป็นต้องซื้อรถเพื่อเอามาขนส่งของทำมาหากิน พ่อของข้าพเจ้าเห็นว่าควรช่วยให้เพื่อนมีช่องทางทำมาหากิน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมที่ขับเคลื่อนโดยระบบตลาดทุนนิยมเสรีนั้น ฝากความหวังไว้กับผู้บริโภคในการคัดเลือกสิ่งที่ดีให้คงอยู่ในตลาด  ผ่านการจ่ายเงินซื้อและสนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตอย่างมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม หรือที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า จะมีเพียง “ผู้ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” เท่านั้นที่จะคงเหลืออยู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้ขยายวงกว้างไปมากหลังจากบัตรเครดิต/เดบิต กลายเป็นเงินพลาสติกที่เราพกพาไปไหนได้ง่าย ไม่ต้องกลัวว่าแบบพกเงินสดว่าถ้าตกหายไปแล้วมันจะสูญเสียไปทันที  แถมยังมีข้อดีตรงที่เรามีวงเงินเพิ่มเติมได้หากต้องการใช้เงินฉุกเฉินหรือใช้เงินเกินกวาที่วางแผนล่วงหน้าไว้นิดหน่อย   แม้มีหลา
ทศพล ทรรศนพรรณ
คราวนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องใด?