Skip to main content

ผมเห็นว่า ปัจจุบันคนไทยเลือกข้างทางการเมืองกันไปซะทุกเรื่องนะครับ สิ่งที่เห็นตลอดเวลา คือ การเที่ยวไปป้ายสีใส่ความเห็นหรือผลงานของคนอื่นเสียเลอะเทอะ จนเลยเถิดไปถึงไม่ดูรายละเอียด   จนบางครั้งเกิดปรากฏการณ์ "เงิบ" อย่างแพร่หลาย เพราะแชร์รัวๆ ด่ารัวๆ โดยไม่ตรวจสอบที่มาที่ไป

แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่า คือ มันลุกลามไปถึงการวิจารณ์เหตุการณ์ในประเทศอื่น ซึ่งผมเห็น คอมเม้นต์เกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครน ในพื้นที่ต่างๆ แล้วรู้สึกปวดใจยิ่งนัก

เพราะมีคนจำนวนมากเข้าไปเชียร์ให้ รัสเซียบุกเข้าไป ทำสงครามเลย เพื่อต่อต้านอิทธิพลของอเมริกา โดยเหมาเอาว่า ฟากที่จะนำพายูเครนเข้าสหภาพยุโรป นั้นเป็นทาสมะกัน แล้วหันมาบอกว่า Nato คือ กองกำลังบังหน้าของของสหรัฐอเมริกา อยากทำสงครามอะไรก็ทำได้ตามใจชอบ  งั้นหรือครับ?

ภาวะบ้าการเมืองแบบตื้นเขิน ชักไปกันใหญ่แล้วนะครับ ความคิดแบบ "คู่ตรงข้าม" ตื้นๆ แบบหาพระเอก หาตัวร้ายเนี่ยเป็นมรดกตกทอดของยุคสงครามเย็นซึ่งได้ทำลายคนตัวเล็กตัวน้อยไปโดยอาศัยข้ออ้างใหญ่ๆ แบบไม่สนใจรายละเอียดมานักต่อนัก

หากทบทวนสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลังสงครามเย็น จะเห็นเทรนด์หนึ่งที่ชัดเจน คือ 

1) การล่มสลายของรัฐขนาดใหญ่ที่รวมคนชาติพันธุ์หลากหลายเข้าไว้ในรัฐเดียว เราคงคำว่า อดีตรัโซเวียตสเซีย อดีตยูโกสลาเวีย หรืออดีตอินโดนีเซีย กันจนชินหูนะครับ ด้วยเหตุที่ไปใช้อำนาจทหารรวมคนที่ไม่ถูกกันมาอยู่ด้วยกัน สุดท้ายมีปัญหาบางกรณีถึงกับฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัน ดังนั้นสิ่งที่เห็น คือ การแยกประเทศโดยอาศัยหลัก Self-Determination เนื่องจากโดนฝ่ายที่มีอำนาจประหัตประหาร และกดขี่

2) การรวมกลุ่มของประเทศขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งบล็อคที่ใหญ่และมีความสำคัญ คือ บล็อคEU ที่เริ่มจากการต้องการรักษาสันติภาพภายในภูมิภาคด้วยการเปิดพรมแดนระหว่างกันภายในรัฐสมาชิก และเพิ่มพลังในเวทีโลกโดยการรวมกลุ่มให้ใหญ่ขึ้น Aggregation&Enlargement ซึ่งเป็นวิธีการซึ่งลอกเลียนมาจากการรวม 51 มลรัฐของสหรัฐอเมริกา ขึ้นเป็น 1 สหรัฐอเมริกา ที่ยิ่งใหญ่นั่นเอง ASEAN ก็พยายามแต่คงรู้ว่ายังมีขวากหนามอีกมาก รวมถึงปัญหาในข้อถัดไป เพราะการมีบล็อคใหญ่ๆ ต้องมีกฎหมาย เศรษฐกิจ และนโยบายระหว่างประเทศ/ความมั่นคง ร่วมกันให้ได้ 

3) การขยายเขตอิทธิพลของมหาอำนาจโดยไม่ใช้การทำสงครามโดยตรง เนื่องจากบูรณภาพแห่งดินแดนและประสบการณ์ช่วงสงครามเย็น ทำให้เห็นแล้วว่า การทำสงครามยึดครองไม่ง่ายอีกต่อไป ดังนั้นการขยายเขตอำนาจจึงต้องอาศัยจังหวะและโอกาส รวมถึงแผนระยะต่างๆ ให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลง เช่น ญี่ปุ่นเพิ่มความช่วยเหลือและลงทุนในเขตลุ่มน้ำโขงเพื่อรักษาพลังไว้ ในวันที่จีนพยายามลุกเข้ามาด้วยการลงทุนขนาดใหญ่ในโครงการเมกะโปรเจ็ค เช่น เมืองใหม่ เขื่อน หรือ รางรถไฟ เชื่อมต่อการคมนาคม ทำให้เห็นว่าบริเวณรอยต่อของอำนาจจะมีความร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่น แหลมไครเมียของยูเครน และ ทะเลจีนใต้/ลุ่มน้ำโขง

4) การสร้างมาตรฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ไม่มีการกลั่นแกล้ง รักแก เหยียดหยาม เพื่อคงไว้ซึ่งความหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรมและสังคม นั่นก็คือ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเพิ่มสวัสดิการสังคม สร้างความมั่นคงของมนุษย์ เพราะทุนนิยมของบรรษัทสามารถทำงานได้อย่างทะลุทะลวงในสังคมที่มีการเมืองมั่นคง การปล่อยให้ฆ่าฟันกันอาจกระทบผลประโยชน์ของบรรษัทขนาดใหญ่ได้
ดังที่ EU, ทวีป America บังคับทุกรัฐยอมรับสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนก่อนจะเข้าร่วมแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการรวมกลุ่ม

5) พื้นที่ซึ่งไม่มีอะไรให้แสวงหามากนัก กลับถูกหมางเมินไม่ใส่ใจ ปล่อยให้บรรษัทขนาดใหญ่ที่ผลประโยชน์สนับสนุนรัฐบาลเผด็จการให้ใช้กำลังจัดการฝ่ายตรงข้ามเพื่อยึดครองพื้นที่ แล้วบรรษัทตักตวงอยู่เบื้องหลังโดยส่งกำลังอาวุธ/เสบียงกรังให้ทุกฝ่าย ผ่านการแลกเปลี่ยนทรัพยากร เช่น น้ำมัน อัญมณี ซึ่งทวีความรุนแรงมากในทวีปอัฟริกา แต่เหมือนว่าถูก Left Behind ซึ่งมีการเป็นห่วงเรื่อง จีนไปทำข้อตกลงกับรัฐเผด็จการจำนวนมากเพื่อแลกกับข้อตกลงทางการลงทุนด้านพลังงานและโครงสร้างต่างๆ โดยไม่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน

 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา