Skip to main content

ผมเห็นว่า ปัจจุบันคนไทยเลือกข้างทางการเมืองกันไปซะทุกเรื่องนะครับ สิ่งที่เห็นตลอดเวลา คือ การเที่ยวไปป้ายสีใส่ความเห็นหรือผลงานของคนอื่นเสียเลอะเทอะ จนเลยเถิดไปถึงไม่ดูรายละเอียด   จนบางครั้งเกิดปรากฏการณ์ "เงิบ" อย่างแพร่หลาย เพราะแชร์รัวๆ ด่ารัวๆ โดยไม่ตรวจสอบที่มาที่ไป

แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่า คือ มันลุกลามไปถึงการวิจารณ์เหตุการณ์ในประเทศอื่น ซึ่งผมเห็น คอมเม้นต์เกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครน ในพื้นที่ต่างๆ แล้วรู้สึกปวดใจยิ่งนัก

เพราะมีคนจำนวนมากเข้าไปเชียร์ให้ รัสเซียบุกเข้าไป ทำสงครามเลย เพื่อต่อต้านอิทธิพลของอเมริกา โดยเหมาเอาว่า ฟากที่จะนำพายูเครนเข้าสหภาพยุโรป นั้นเป็นทาสมะกัน แล้วหันมาบอกว่า Nato คือ กองกำลังบังหน้าของของสหรัฐอเมริกา อยากทำสงครามอะไรก็ทำได้ตามใจชอบ  งั้นหรือครับ?

ภาวะบ้าการเมืองแบบตื้นเขิน ชักไปกันใหญ่แล้วนะครับ ความคิดแบบ "คู่ตรงข้าม" ตื้นๆ แบบหาพระเอก หาตัวร้ายเนี่ยเป็นมรดกตกทอดของยุคสงครามเย็นซึ่งได้ทำลายคนตัวเล็กตัวน้อยไปโดยอาศัยข้ออ้างใหญ่ๆ แบบไม่สนใจรายละเอียดมานักต่อนัก

หากทบทวนสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลังสงครามเย็น จะเห็นเทรนด์หนึ่งที่ชัดเจน คือ 

1) การล่มสลายของรัฐขนาดใหญ่ที่รวมคนชาติพันธุ์หลากหลายเข้าไว้ในรัฐเดียว เราคงคำว่า อดีตรัโซเวียตสเซีย อดีตยูโกสลาเวีย หรืออดีตอินโดนีเซีย กันจนชินหูนะครับ ด้วยเหตุที่ไปใช้อำนาจทหารรวมคนที่ไม่ถูกกันมาอยู่ด้วยกัน สุดท้ายมีปัญหาบางกรณีถึงกับฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัน ดังนั้นสิ่งที่เห็น คือ การแยกประเทศโดยอาศัยหลัก Self-Determination เนื่องจากโดนฝ่ายที่มีอำนาจประหัตประหาร และกดขี่

2) การรวมกลุ่มของประเทศขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งบล็อคที่ใหญ่และมีความสำคัญ คือ บล็อคEU ที่เริ่มจากการต้องการรักษาสันติภาพภายในภูมิภาคด้วยการเปิดพรมแดนระหว่างกันภายในรัฐสมาชิก และเพิ่มพลังในเวทีโลกโดยการรวมกลุ่มให้ใหญ่ขึ้น Aggregation&Enlargement ซึ่งเป็นวิธีการซึ่งลอกเลียนมาจากการรวม 51 มลรัฐของสหรัฐอเมริกา ขึ้นเป็น 1 สหรัฐอเมริกา ที่ยิ่งใหญ่นั่นเอง ASEAN ก็พยายามแต่คงรู้ว่ายังมีขวากหนามอีกมาก รวมถึงปัญหาในข้อถัดไป เพราะการมีบล็อคใหญ่ๆ ต้องมีกฎหมาย เศรษฐกิจ และนโยบายระหว่างประเทศ/ความมั่นคง ร่วมกันให้ได้ 

3) การขยายเขตอิทธิพลของมหาอำนาจโดยไม่ใช้การทำสงครามโดยตรง เนื่องจากบูรณภาพแห่งดินแดนและประสบการณ์ช่วงสงครามเย็น ทำให้เห็นแล้วว่า การทำสงครามยึดครองไม่ง่ายอีกต่อไป ดังนั้นการขยายเขตอำนาจจึงต้องอาศัยจังหวะและโอกาส รวมถึงแผนระยะต่างๆ ให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลง เช่น ญี่ปุ่นเพิ่มความช่วยเหลือและลงทุนในเขตลุ่มน้ำโขงเพื่อรักษาพลังไว้ ในวันที่จีนพยายามลุกเข้ามาด้วยการลงทุนขนาดใหญ่ในโครงการเมกะโปรเจ็ค เช่น เมืองใหม่ เขื่อน หรือ รางรถไฟ เชื่อมต่อการคมนาคม ทำให้เห็นว่าบริเวณรอยต่อของอำนาจจะมีความร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่น แหลมไครเมียของยูเครน และ ทะเลจีนใต้/ลุ่มน้ำโขง

4) การสร้างมาตรฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ไม่มีการกลั่นแกล้ง รักแก เหยียดหยาม เพื่อคงไว้ซึ่งความหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรมและสังคม นั่นก็คือ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเพิ่มสวัสดิการสังคม สร้างความมั่นคงของมนุษย์ เพราะทุนนิยมของบรรษัทสามารถทำงานได้อย่างทะลุทะลวงในสังคมที่มีการเมืองมั่นคง การปล่อยให้ฆ่าฟันกันอาจกระทบผลประโยชน์ของบรรษัทขนาดใหญ่ได้
ดังที่ EU, ทวีป America บังคับทุกรัฐยอมรับสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนก่อนจะเข้าร่วมแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการรวมกลุ่ม

5) พื้นที่ซึ่งไม่มีอะไรให้แสวงหามากนัก กลับถูกหมางเมินไม่ใส่ใจ ปล่อยให้บรรษัทขนาดใหญ่ที่ผลประโยชน์สนับสนุนรัฐบาลเผด็จการให้ใช้กำลังจัดการฝ่ายตรงข้ามเพื่อยึดครองพื้นที่ แล้วบรรษัทตักตวงอยู่เบื้องหลังโดยส่งกำลังอาวุธ/เสบียงกรังให้ทุกฝ่าย ผ่านการแลกเปลี่ยนทรัพยากร เช่น น้ำมัน อัญมณี ซึ่งทวีความรุนแรงมากในทวีปอัฟริกา แต่เหมือนว่าถูก Left Behind ซึ่งมีการเป็นห่วงเรื่อง จีนไปทำข้อตกลงกับรัฐเผด็จการจำนวนมากเพื่อแลกกับข้อตกลงทางการลงทุนด้านพลังงานและโครงสร้างต่างๆ โดยไม่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน

 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
หากสังคมไทยมีแนวโน้มจะเป็น สังคมทุนนิยม องค์กร สถาบัน จารีต ต่างๆ เสื่อมลง คนสัมพันธ์ผ่านระบบตลาด แคร์คนอื่นน้อยลง ขาดสำนึกร่วมในความอยุติธรรมทางสังคม หรือ มีสำนึกเชิง “ปัจเจก” มากขึ้นเรื่อยๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
อาจจะดูแปลกประหลาดไปสักหน่อยสำหรับบางท่านเมื่อพูดว่ากฎหมายได้รับรอง “สิทธิที่จะพักผ่อน” ไว้เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง เพราะคนไทยถือว่าการขยันตั้งใจทำมาหากินหามรุ่งหามค่ำเป็นศีลธรรมอันดีงามประเภทหนึ่งที่ต้องยึดถือปฏิบัติ หรือต้องแสดงออกให้สังคมเห็นเป็นประจักษ์ และสังคมก็ยกย่องบุคคลสำคัญโดยพิจารณา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การลดช่องว่าง ด้วยการใช้อำนาจทางการเมืองมาจัดการเศรษฐกิจรัฐสวัสดิการ สร้างความมั่นคงขจัดความขัดแย้งด้วยแนวทางเจือจานบนพื้นฐานของภราดรภาพป้องกันการลุกฮือของมวลชน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
มหกรรมฟุตบอลโลกจบลงไปแล้วด้วยชัยชนะของกองเชียร์ฝ่ายสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกลุ่มสนับสนุนสิทธิของผู้อพยพ เนื่องทีมแชมป์โลกเป็นการรวมตัวของนักฟุตบอลที่มิได้มีพื้นเพเป็นคนฝรั่งเศส (พูดอย่างถึงที่สุด คือ มิได้มีบุพการีที่เกิดในดินแดนฝรั่งเศส)
ทศพล ทรรศนพรรณ
พอมาอยู่ที่ยุโรป ถึงได้รู้ว่า อิตาลี กับ สเปน มันไม่แคร์เรื่อง ขาดดุลตัวเลขเลย เพราะมันเอาไปลงทุนไว้กับคน รอถอนทุนคืน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเลือกตั้งท้องถิ่นในแคว้นคาตาลุนญ่า ราชอาณาจักรสเปน จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 2015 ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศสเปนประมาณ 2 เดือน ความตื่นตัวของประชาชนสูงเพราะอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบกันไปทั่ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรพันธสัญญาที่ดี มีการสร้างความร่ำรวยให้กับเกษตรกรจำนวนมาก ลดความไม่แน่นอนในการผลิตและประกันว่ามีตลาดขายสินค้าแน่นอน หากมีปัญหาระหว่างการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์จะมีการแบ่งรับความเสียหายกับบรรษัท นั้นมีจริง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผลิตบนหลักการอย่างหนึ่ง เช่น ทำกำไรจากกิจการอะไรที่ให้เงินเยอะ ไม่คำนึงถึงชีวิตเพื่อนมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อมบริโภคบนหลักการอีกอย่างหนึ่ง เช่น การอุดหนุนสินค้าที่โฆษณาว่าห่วงใยสังคม หรือแสดงออกว่าเสพกิจกรรมการกุศลอาการ พร่องความดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาชนบทถือเป็นภารกิจของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ยุคต้านภัยคอมมิวนิสต์ที่ต้องการขจัดภัยคุกคาม ด้วยการเปลี่ยนพื้นที่กันดารให้มี น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก เพื่อขับไล่พวกที่ปลุกระดมโดยอาศัยความแร้นแค้นเป็นข้ออ้างให้ฝ่อไปเพราะเชื่อว่าเมื่อ “การพัฒนา” มาถึง คอมมิวนิสต์ก็จะแทรกซึมไม่ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
กาลครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ ผมได้ตกเป็นเหยื่อ "ความมักง่าย" เข้าแล้วครับท่านผู้อ่าน
ทศพล ทรรศนพรรณ
            ความสัตย์ซื่อและยึดถือกฎหมายด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า            มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสำนักกฎหมายบ้านเมือง ว่า คำสั่งทั้งหลายของรัฐาธิปัตย์ถือเป็นกฎหมายอย่างเด็ดขาด