Skip to main content

กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง

ภาวะนึกถึงอดีต (Nostalgia) มักแฝงไปด้วยความทรงจำร่วมที่คนในรุ่นราวเดียวกันเคยสัมผัสร่วมกัน จนกลายเป็นประวัติศาสตร์อันเป็นส่วนหนึ่งของความคิดและตัวตนของคนที่เคยผ่านช่วงนั้นมา

สำหรับคนรุ่นที่เกิดตั้งแต่ 2523 (Gen Y) ขึ้นไป ก็คงพอจำความหลังได้ว่าทศวรรษนั้นเริ่มต้นด้วยวลีฮิต “เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า” พร้อมกับภาวะเศรษฐกิจที่บูมสุดขีด หลายครอบครัวตั้งตัวกลายเป็นเจ้าสัวน้อยได้ก็ช่วงนี้ กิจการน้อยใหญ่พลอยได้รับอานิสงส์ ขยายกิจการออกไปอย่างก้าวกระโดด ของกินของใช้ หลากหลายยี่ห้อรอให้เลือกสรร หากจำได้รายการละครโทรทัศน์จำนวนไม่น้อยก็ยกกองถ่ายไปต่างประเทศ ทวีปยุโรปกลายเป็นฉากหลังของละครหลายเรื่อง   เช่นเดียวกับสินค้าแบรนด์เนมที่ถูกซื้อหามาประดับกายจนกลายเป็นสิ่งบ่งชี้สถานะของชนชั้นกลาง และเศรษฐีใหม่หลายคน  

จนคนไทยจำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัฒน์ที่พัดพาเอาสินค้าและวัฒนธรรมข้ามพรมแดนเข้ามามากมาย  แต่สถานการณ์ในรัฐสภาจำได้ว่ามีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน

แต่พอย่างเข้าต้นปี 2534 ก็เกิดการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อจัดการกับ “บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ต” ที่มีข้อครหาเกี่ยวกับการคอรัปชั่นมากมาย แล้วผู้ก่อการก็เชิญ นายอานันท์ ปัญญารชุน เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี มีการประกาศอายัดทรัพย์ยึดทรัพย์ของเหล่าอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ โดยให้หลักประกันว่าจะมีรัฐธรรมนูญใหม่และเลือกตั้งอย่างแน่นอน ก่อนจะจัดการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2535 แล้วพรรคสามัคคีธรรมก็เข้าวิน 

แต่เรื่องราวยังไม่จบสิ้นเพราะหัวหน้าพรรคมีข่าวว่าติดแบล็คลิสต์ของสหรัฐอเมริกาว่าเกี่ยวข้องขบวนการค้ายาเสพย์ติด  เรื่องจริงเป็นอย่างไรแต่กลายเป็นไม่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายก แล้วใครจะมาเป็น?   ความกังวลของสังคมเริ่มเกิดว่าพรรคสามัคคีธรรมที่หลายคนคิดว่าเป็น นอมินีของคณะรัฐประหารจะดันนายทหารคนสำคัญ พล.อ.สุดจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกฯ แล้วก็กลายเป็นความจริง  จนสงคมและสมาชิกรัฐสภากังขา เพราะว่าท่านเคยให้สัตย์สัญญาว่าจะไม่สืบทอดอำนาจ มิได้รัฐประหารเพื่ออำนาจของพรรคพวกตนเอง

การเมืองไทยในรัฐสภาจึงระส่ำ มวลชนเริ่มหลั่งไหลลงสู่ท้องถนน พร้อมประโยคประจำที่ได้ยินได้ฟังไปทั่วทุกสื่อ คือ “บิ้กสุ ออกไป”  กระจายไปอย่างรวดเร็วเพราะ “ม็อบมือถือ” สื่อข้อมูลอัพเดตสถานการณ์กันได้ทันที   แม้ประชาชนจะไม่ได้เห็นภาพความตายและสูญเสียในสื่อกระแสหลักเพราะถูกควบคุมหลังประกาศกฎอัยการศึก แต่การสื่อสารข้ามพรมแดนก็เปิดโอกาสให้ใครที่มีจานดาวเทียมติดตามข่าวจากสถานีต่างชาติและอัดวิดีโอ ส่งต่อมาให้ได้ชมกันทั่วประเทศ หากมีเครื่องเล่นวิดีโอเทปอยู่ในครัวเรือน ซึ่งย้ำเตือนความทมิฬในเดือนพฤษภาคม 2535

สิ่งที่คอยเตือนใจคนไทยทั้งหลาย คือ อย่าได้ไว้วางใจผู้ที่ใช้กำลังยึดครองอำนาจ เพราะขาดความรับผิดชอบต่อผู้แทนฯ และประชาชน เมื่อเขาถึงตาจน ก็อาจขนกำลังพลเข้ามาบดขยี้ผู้ที่มีความเห็นต่างออกไป   ความเสียใจกลายเป็นฝังใจจนทำให้กระบวนการสร้างประชาธิปไตยเบ่งบานตระการตา หลังรัฐบาลขัดตาทัพอานันท์ 2 ประคองสถานการณ์จนมีการเลือกตั้งที่ได้นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งคนแรก ชื่อ ชวน หลีกภัย ปลายปี 2535

ดูเหมือนว่าอะไรจะเข้าที่เข้าทางเพราะฐานความชอบธรรมจากการเลือกตั้งมีอยู่แต่จู่ๆ ก็เกิดกรณีแจก สปก. ให้คนรวยจดรัฐบาลมอดม้วยไปก่อนจะลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เพราะมีการถอนตัวออกจากรัฐบาลโดยหัวหน้าพรรคที่จะเหลือเพียงแค่ตำนาน คือ พลังธรรม ภายใต้การนำของนักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จจากการปล่อยดาวเทียมไทยดวงแรกสู่อวกาศ   ซึ่งร่ำรวยขึ้นมาจากสัมปทานโทรคมนาคม จึงต้องเกิดการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2538

ผู้ชนะการเลือกตั้งและเป็นนายกรัฐมนตรี คือ นายบรรหาร ศิลปะอาชา ผู้ต้องจบไปด้วยการยุบสภาเพราะหลายปัญหารุมเร้า เรื่องใหญ่ในช่วงรัฐบาลนี้ คือ การเริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างฯได้เสนอผลงานให้สังคมพิจารณาและเกิดกระแสริบบิ้นเขียวเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภารับรอง  แม้จะมีฝ่ายต่อต้านอยู่บ้าง แต่ก็ทานกระแสสังคมไม่ไหว ประเทศไทยจึงได้รัฐธรรมนูญจากกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในปี 2540

ผู้ชนะการเลือกตั้งครั้งต่อมาคือ นายชวลิต ยงใจยุทธ ในปี 2539 ซึ่งเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศได้รับผลกระทบจนต้องจบไปก่อนครบหนึ่งปี แล้วมีรัฐบาลชวน 2 มารับช่วงต่อ ด้วยซุปเปอร์ดีลที่ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เสธ.หนั่น เข้าไปสลายพรรคและมุ้งในฝ่ายตรงข้าม ให้ย้ายฟากเข้ามาอยู่กับตนจนสำเร็จ

รัฐบาลชวน 2 ดำรงอยู่ท่ามกลางวิกฤตครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองไทยเพราะต้องเจรจาเงื่อนไขทั้งหลายในการกู้เงินเพื่ออุดหนุนกองทุนสำรองระหว่างประเทศจาก IMF ซึ่งผลลัพธ์ได้กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญทางการเมืองในภายหลัง คือ ชุดกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือถูกกลุ่มการเมืองอีกฝ่ายว่าเป็น กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ

เราจะเห็นได้ว่ายุค 90s มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองมากมายที่ได้ดึงความสนใจคนไทยทั้งประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่อยู่ในใจคนไทย โดยเฉพาะการเมืองส่วนใหญ่ คือ
“การรัฐประหารครั้งสุดท้าย”
ซึ่งกลายเป็นเพียง “ความเชื่อ” มิใช่ “ความจริง

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา