Skip to main content

กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง

ภาวะนึกถึงอดีต (Nostalgia) มักแฝงไปด้วยความทรงจำร่วมที่คนในรุ่นราวเดียวกันเคยสัมผัสร่วมกัน จนกลายเป็นประวัติศาสตร์อันเป็นส่วนหนึ่งของความคิดและตัวตนของคนที่เคยผ่านช่วงนั้นมา

สำหรับคนรุ่นที่เกิดตั้งแต่ 2523 (Gen Y) ขึ้นไป ก็คงพอจำความหลังได้ว่าทศวรรษนั้นเริ่มต้นด้วยวลีฮิต “เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า” พร้อมกับภาวะเศรษฐกิจที่บูมสุดขีด หลายครอบครัวตั้งตัวกลายเป็นเจ้าสัวน้อยได้ก็ช่วงนี้ กิจการน้อยใหญ่พลอยได้รับอานิสงส์ ขยายกิจการออกไปอย่างก้าวกระโดด ของกินของใช้ หลากหลายยี่ห้อรอให้เลือกสรร หากจำได้รายการละครโทรทัศน์จำนวนไม่น้อยก็ยกกองถ่ายไปต่างประเทศ ทวีปยุโรปกลายเป็นฉากหลังของละครหลายเรื่อง   เช่นเดียวกับสินค้าแบรนด์เนมที่ถูกซื้อหามาประดับกายจนกลายเป็นสิ่งบ่งชี้สถานะของชนชั้นกลาง และเศรษฐีใหม่หลายคน  

จนคนไทยจำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัฒน์ที่พัดพาเอาสินค้าและวัฒนธรรมข้ามพรมแดนเข้ามามากมาย  แต่สถานการณ์ในรัฐสภาจำได้ว่ามีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน

แต่พอย่างเข้าต้นปี 2534 ก็เกิดการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อจัดการกับ “บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ต” ที่มีข้อครหาเกี่ยวกับการคอรัปชั่นมากมาย แล้วผู้ก่อการก็เชิญ นายอานันท์ ปัญญารชุน เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี มีการประกาศอายัดทรัพย์ยึดทรัพย์ของเหล่าอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ โดยให้หลักประกันว่าจะมีรัฐธรรมนูญใหม่และเลือกตั้งอย่างแน่นอน ก่อนจะจัดการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2535 แล้วพรรคสามัคคีธรรมก็เข้าวิน 

แต่เรื่องราวยังไม่จบสิ้นเพราะหัวหน้าพรรคมีข่าวว่าติดแบล็คลิสต์ของสหรัฐอเมริกาว่าเกี่ยวข้องขบวนการค้ายาเสพย์ติด  เรื่องจริงเป็นอย่างไรแต่กลายเป็นไม่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายก แล้วใครจะมาเป็น?   ความกังวลของสังคมเริ่มเกิดว่าพรรคสามัคคีธรรมที่หลายคนคิดว่าเป็น นอมินีของคณะรัฐประหารจะดันนายทหารคนสำคัญ พล.อ.สุดจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกฯ แล้วก็กลายเป็นความจริง  จนสงคมและสมาชิกรัฐสภากังขา เพราะว่าท่านเคยให้สัตย์สัญญาว่าจะไม่สืบทอดอำนาจ มิได้รัฐประหารเพื่ออำนาจของพรรคพวกตนเอง

การเมืองไทยในรัฐสภาจึงระส่ำ มวลชนเริ่มหลั่งไหลลงสู่ท้องถนน พร้อมประโยคประจำที่ได้ยินได้ฟังไปทั่วทุกสื่อ คือ “บิ้กสุ ออกไป”  กระจายไปอย่างรวดเร็วเพราะ “ม็อบมือถือ” สื่อข้อมูลอัพเดตสถานการณ์กันได้ทันที   แม้ประชาชนจะไม่ได้เห็นภาพความตายและสูญเสียในสื่อกระแสหลักเพราะถูกควบคุมหลังประกาศกฎอัยการศึก แต่การสื่อสารข้ามพรมแดนก็เปิดโอกาสให้ใครที่มีจานดาวเทียมติดตามข่าวจากสถานีต่างชาติและอัดวิดีโอ ส่งต่อมาให้ได้ชมกันทั่วประเทศ หากมีเครื่องเล่นวิดีโอเทปอยู่ในครัวเรือน ซึ่งย้ำเตือนความทมิฬในเดือนพฤษภาคม 2535

สิ่งที่คอยเตือนใจคนไทยทั้งหลาย คือ อย่าได้ไว้วางใจผู้ที่ใช้กำลังยึดครองอำนาจ เพราะขาดความรับผิดชอบต่อผู้แทนฯ และประชาชน เมื่อเขาถึงตาจน ก็อาจขนกำลังพลเข้ามาบดขยี้ผู้ที่มีความเห็นต่างออกไป   ความเสียใจกลายเป็นฝังใจจนทำให้กระบวนการสร้างประชาธิปไตยเบ่งบานตระการตา หลังรัฐบาลขัดตาทัพอานันท์ 2 ประคองสถานการณ์จนมีการเลือกตั้งที่ได้นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งคนแรก ชื่อ ชวน หลีกภัย ปลายปี 2535

ดูเหมือนว่าอะไรจะเข้าที่เข้าทางเพราะฐานความชอบธรรมจากการเลือกตั้งมีอยู่แต่จู่ๆ ก็เกิดกรณีแจก สปก. ให้คนรวยจดรัฐบาลมอดม้วยไปก่อนจะลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เพราะมีการถอนตัวออกจากรัฐบาลโดยหัวหน้าพรรคที่จะเหลือเพียงแค่ตำนาน คือ พลังธรรม ภายใต้การนำของนักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จจากการปล่อยดาวเทียมไทยดวงแรกสู่อวกาศ   ซึ่งร่ำรวยขึ้นมาจากสัมปทานโทรคมนาคม จึงต้องเกิดการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2538

ผู้ชนะการเลือกตั้งและเป็นนายกรัฐมนตรี คือ นายบรรหาร ศิลปะอาชา ผู้ต้องจบไปด้วยการยุบสภาเพราะหลายปัญหารุมเร้า เรื่องใหญ่ในช่วงรัฐบาลนี้ คือ การเริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างฯได้เสนอผลงานให้สังคมพิจารณาและเกิดกระแสริบบิ้นเขียวเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภารับรอง  แม้จะมีฝ่ายต่อต้านอยู่บ้าง แต่ก็ทานกระแสสังคมไม่ไหว ประเทศไทยจึงได้รัฐธรรมนูญจากกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในปี 2540

ผู้ชนะการเลือกตั้งครั้งต่อมาคือ นายชวลิต ยงใจยุทธ ในปี 2539 ซึ่งเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศได้รับผลกระทบจนต้องจบไปก่อนครบหนึ่งปี แล้วมีรัฐบาลชวน 2 มารับช่วงต่อ ด้วยซุปเปอร์ดีลที่ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เสธ.หนั่น เข้าไปสลายพรรคและมุ้งในฝ่ายตรงข้าม ให้ย้ายฟากเข้ามาอยู่กับตนจนสำเร็จ

รัฐบาลชวน 2 ดำรงอยู่ท่ามกลางวิกฤตครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองไทยเพราะต้องเจรจาเงื่อนไขทั้งหลายในการกู้เงินเพื่ออุดหนุนกองทุนสำรองระหว่างประเทศจาก IMF ซึ่งผลลัพธ์ได้กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญทางการเมืองในภายหลัง คือ ชุดกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือถูกกลุ่มการเมืองอีกฝ่ายว่าเป็น กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ

เราจะเห็นได้ว่ายุค 90s มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองมากมายที่ได้ดึงความสนใจคนไทยทั้งประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่อยู่ในใจคนไทย โดยเฉพาะการเมืองส่วนใหญ่ คือ
“การรัฐประหารครั้งสุดท้าย”
ซึ่งกลายเป็นเพียง “ความเชื่อ” มิใช่ “ความจริง

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
หากสังคมไทยมีแนวโน้มจะเป็น สังคมทุนนิยม องค์กร สถาบัน จารีต ต่างๆ เสื่อมลง คนสัมพันธ์ผ่านระบบตลาด แคร์คนอื่นน้อยลง ขาดสำนึกร่วมในความอยุติธรรมทางสังคม หรือ มีสำนึกเชิง “ปัจเจก” มากขึ้นเรื่อยๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
อาจจะดูแปลกประหลาดไปสักหน่อยสำหรับบางท่านเมื่อพูดว่ากฎหมายได้รับรอง “สิทธิที่จะพักผ่อน” ไว้เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง เพราะคนไทยถือว่าการขยันตั้งใจทำมาหากินหามรุ่งหามค่ำเป็นศีลธรรมอันดีงามประเภทหนึ่งที่ต้องยึดถือปฏิบัติ หรือต้องแสดงออกให้สังคมเห็นเป็นประจักษ์ และสังคมก็ยกย่องบุคคลสำคัญโดยพิจารณา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การลดช่องว่าง ด้วยการใช้อำนาจทางการเมืองมาจัดการเศรษฐกิจรัฐสวัสดิการ สร้างความมั่นคงขจัดความขัดแย้งด้วยแนวทางเจือจานบนพื้นฐานของภราดรภาพป้องกันการลุกฮือของมวลชน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
มหกรรมฟุตบอลโลกจบลงไปแล้วด้วยชัยชนะของกองเชียร์ฝ่ายสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกลุ่มสนับสนุนสิทธิของผู้อพยพ เนื่องทีมแชมป์โลกเป็นการรวมตัวของนักฟุตบอลที่มิได้มีพื้นเพเป็นคนฝรั่งเศส (พูดอย่างถึงที่สุด คือ มิได้มีบุพการีที่เกิดในดินแดนฝรั่งเศส)
ทศพล ทรรศนพรรณ
พอมาอยู่ที่ยุโรป ถึงได้รู้ว่า อิตาลี กับ สเปน มันไม่แคร์เรื่อง ขาดดุลตัวเลขเลย เพราะมันเอาไปลงทุนไว้กับคน รอถอนทุนคืน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเลือกตั้งท้องถิ่นในแคว้นคาตาลุนญ่า ราชอาณาจักรสเปน จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 2015 ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศสเปนประมาณ 2 เดือน ความตื่นตัวของประชาชนสูงเพราะอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบกันไปทั่ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรพันธสัญญาที่ดี มีการสร้างความร่ำรวยให้กับเกษตรกรจำนวนมาก ลดความไม่แน่นอนในการผลิตและประกันว่ามีตลาดขายสินค้าแน่นอน หากมีปัญหาระหว่างการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์จะมีการแบ่งรับความเสียหายกับบรรษัท นั้นมีจริง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผลิตบนหลักการอย่างหนึ่ง เช่น ทำกำไรจากกิจการอะไรที่ให้เงินเยอะ ไม่คำนึงถึงชีวิตเพื่อนมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อมบริโภคบนหลักการอีกอย่างหนึ่ง เช่น การอุดหนุนสินค้าที่โฆษณาว่าห่วงใยสังคม หรือแสดงออกว่าเสพกิจกรรมการกุศลอาการ พร่องความดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาชนบทถือเป็นภารกิจของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ยุคต้านภัยคอมมิวนิสต์ที่ต้องการขจัดภัยคุกคาม ด้วยการเปลี่ยนพื้นที่กันดารให้มี น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก เพื่อขับไล่พวกที่ปลุกระดมโดยอาศัยความแร้นแค้นเป็นข้ออ้างให้ฝ่อไปเพราะเชื่อว่าเมื่อ “การพัฒนา” มาถึง คอมมิวนิสต์ก็จะแทรกซึมไม่ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
กาลครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ ผมได้ตกเป็นเหยื่อ "ความมักง่าย" เข้าแล้วครับท่านผู้อ่าน
ทศพล ทรรศนพรรณ
            ความสัตย์ซื่อและยึดถือกฎหมายด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า            มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสำนักกฎหมายบ้านเมือง ว่า คำสั่งทั้งหลายของรัฐาธิปัตย์ถือเป็นกฎหมายอย่างเด็ดขาด