Skip to main content

เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด

ขอข้ามประเด็นที่ไม่อยู่ในความชำนาญ คือ เรื่องยุทธศาสตร์ด้านการรบทางทะเลที่มีผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่าไทยไม่มีข้อพิพาททางทะเลกับใคร ภารกิจหลักคือ การป้องกันโจรสลัด การก่ออาชญากรรมข้ามชาติ และการบรรเทาภัยพิบัติธรรมชาติ ที่เหมาะกับการใช้เรือบนผิวน้ำมากกว่า ไว้ให้ท่านอื่นวิเคราะห์แทน เช่นเดียวกับประเด็น ความลึกความตื้นของอ่าวไทยที่ไม่อยู่ในวิสัยความเชี่ยวชาญ

ประเด็นที่อยู่จะวิเคราะห์ คือ ยุทธศาสตร์ด้านข่าวกรอง และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งผู้อ่านหลายท่านอาจสงสัยว่าเกี่ยวอะไรกับ “เรือดำน้ำ”

ขอเท้าความไปถึง การผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจจักรวรรดินิยมของอังกฤษและสืบเนื่องมาจนถึงยุคของสหรัฐอเมริกา กล่าวได้ว่า สองประเทศนี้เห็นความสำคัญในการเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารครอบคลุมทั้งโลก เพื่อประมวลสถานการณ์ในพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ในเขตผลประโยชน์ของตนและสามารถติดต่อกับศูนย์บัญชากลางในประเทศได้อย่างฉับพลัน ก่อนที่จะส่งคำสั่งและติดต่อประสานงานกลับมายังพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว

“เครือข่ายโทรคมนาคม” จึงเป็นหัวใจหลักในการควบคุม “ข่าวกรอง” และ “สายบังคับบัญชา” รวมไปถึงปฏิบัติการ “ต่อต้านจารกรรม” และการบ่อนทำลายจากข้าศึก   โดยในปัจจุบันข้าศึกของรัฐทั้งหลายมิใช่รัฐคู่แข่งอื่นๆ เท่านั้น แต่หมายรวมถึง องค์กรก่อการร้าย องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ   และภายหลังเริ่มมีการมองประชาชนในประเทศที่ต่อต้านรัฐ เคลื่อนไหวรณรงค์ในทิศทางที่รัฐไม่พอใจ ให้กลายเป็น “กลุ่มที่ต้องจับตา” ไปด้วย

ดังนั้น การควบคุม “เครือข่ายโทรคมนาคม” จึงกลายเป็นเรื่องความมั่นคงที่กองทัพสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากโลกเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ การทำสงครามการข่าวให้สัมฤทธิผล จึงต้องมีอำนาจควบคุม “โครงสร้างพื้นฐาน” ให้ได้

ข่าวที่ออกมาจากฝ่ายความมั่นคงไทยหลังรัฐประหาร จึงได้แก่  การพยายามให้ระบบอินเตอร์เน็ตไทยที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ในต่างประเทศไหลผ่านช่องทางเดียว (Single Gateway) เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมของรัฐ เพราะสามารถใส่ตัวคัดกรองข้อมูล ดูดกักเก็บข้อมูลได้ ณ จุดเดียว ต่างจากปัจจุบันที่มีหลายช่องทาง รัฐควบคุมได้ไม่หมดตามข้อจำกัดด้านงบประมาณ และทรัพยากรบุคคล

ส่วนอีกประเด็นที่เชื่อมโยงกับเรือดำน้ำ คือ สายเคเบิ้ลใยแก้วที่เชื่อมโยงระบบคมนาคมไทยกับต่างแดนถูกวางไว้ใต้ทะเลนั่นเอง   เครือข่าสายเคเบิ้ลใต้น้ำ นี่เองที่เป็นสิ่งสำคัญที่ ยุทธศาสตร์ด้านการข่าวกรองมักกล่าวถึงไว้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันหรือเป็นเป้าหมายในการโจมตีมาเสมอ

จากข้อมูลอดีตสายลับ CIA และ NSA สหรัฐเปิดเผยไว้ในชุด Snowden Revelations พบว่า กรณีสหราชอาณาจักรส่งเรือดำน้ำ ดักดูดข้อมูลในเคเบิ้ลใต้น้ำ กลายเป็นประเด็นใหญ่และสร้างความเดือดดาลให้กับมิตรประเทศในเครือ NATO เป็นอันมาก เนื่องจากสหราชอาณาจักรได้ทำข้อตกลงกับสหรัฐในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้รับจากการดักข้อมูลโดยการทะลวงเคเบิลใต้น้ำ 

มิใช่เพียงประเทศอื่นๆที่โกรธเกรี้ยว แต่ประชาชนบริติชหรืออเมริกันก็ไม่พอใจมากเนื่องจากข้อมูลที่ดูดไปมีข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองสองประเทศด้วยเช่นกัน ทำให้บรรษัทผู้ให้บริการ เช่น Yahoo Google Microsoft Amazon ฯลฯ ต้องออกแถลงการณ์ตอบโต้และเรียกร้องให้ตรวจสอบควบคุมภารกิจจารกรรมทั้งหลายโดยด่วน เนื่องจาก

การรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของประชาชน เป็นการทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าของบรรษัทนั่นเอง   การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตัลจึงต้องระมัดระวังในประเด็น “ความไว้วางใจของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต” ให้มาก

มองกลับมาไทย หลังรัฐประหาร กองทัพเรือได้รับมอบหมายหน้าที่ด้าน “สังคมจิตวิทยา” หรือเข้าใจง่ายๆว่า งานด้านข่าวกรองและการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้ประชาชนไม่กระด้างกระเดื่องต่อรัฐ

ฝ่ายความมั่นคงทำสงครามจิตวิทยา ภารกิจสำคัญ คือ การทำงานด้านข่าวกรองโดยการดูดข้อมูลผ่านเคเบิลที่เชื่อมไซเบอร์สเปซไทย กับ ฐานข้อมูลของบรรษัทไอทีในต่างประเทศ ดังข้อเสนอ Single Gateway

ล่าสุด การซื้อเรือดำน้ำจากจีน ทั้งที่จีนมีข้อพิพาทกับประเทศอื่นในอาเซียน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีสหรัฐเป็นผู้อุปถัมภ์หลัก การซื้อเรือดำน้ำจีน จึงมีข้อสงสัยในการเป็นพันธมิตรกับจีนในภูมิภาคอาเซียนเพื่อต้านสหรัฐและมิตรประเทศอื่นในอาเซียนหรือไม่ แต่ไม่ใช่ประเด็นหลัก

ไทยต้องการอะไรจากเรือดำน้ำจีนที่มีเทคโนโลยีต่ำกว่าของประเทศอื่น จึงน่าสนใจกว่า

เรือดำน้ำจีน มาพร้อมความชำนัญพิเศษของจีนหรือไม่   เป็นที่ทราบดีว่าจีนมีศักยภาพในการทะลุทะลวงเข้าสืบข่าวจากโลกไซเบอร์   สงครามไซเบอร์ที่เพิ่งเกิดขึ้น จีนแฮ็คข้อมูลจากฐานข้อมูลเจ้าหน้าที่รัฐ และระบบประกันสังคมในสหรัฐสำเร็จครั้งใหญ่เมื่อเดือนที่ผ่านมา

ศักยภาพเรือดำน้ำจีนที่ไทยได้มา จะเป็นไปเพื่อปฏิบัติการชนิดใด จะเป็นเรือดำน้ำเพื่อปฏิบัติการจารกรรมและข่าวกรองหรือไม่  และเนื่องจากไทยไม่มีสงครามทางทะเลกับอริราชศัตรูนอกประเทศ  แต่กองทัพคิดว่ามีสงครามติดพันกับศัตรูภายในประเทศ   ประชาชนชาวไทยที่เห็นต่างกับรัฐบาล ต่อต้านรัฐบาลทหาร กลายเป็น ศัตรูที่ต้องเสาะหา สืบข้อมูล เพื่อทำลาย ไปแล้วหรือ

การดำเนินนโยบายความมั่นคงและปกป้องประเทศที่ประหยุดสุด คือ การสานความสัมพันธ์ทางการทูต และหากไทยมีผลประโยชน์ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน แล้วล่ะก็ ใครหน้าไหนที่บังอาจก่อสงครามจนกระทบกระเทือนตลาด คงโดนประชาทัณฑ์จากทุกฝ่ายอย่างพร้อมเพรียงกัน

หากนโยบายการต่างประเทศที่ได้ผลคือ “เปลี่ยนสนามรบ เป็นสนามการค้า”  นโยบายภายในก็ต้องเป็นการ “เปลี่ยนรัฐประหารให้กลายเป็นการ เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา”

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว 
ทศพล ทรรศนพรรณ
วิกฤตการเมืองการปกครองไทยในหลากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นช่วง 4-5 ปีหลัง   ประเด็นทางกฎหมายที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนนั้นมุ่งตรงมาที่ “การใช้อำนาจอธิปไตยในการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล”   เนื่องจากการทำหน้าที่ของศาลนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ได้อยู่ในความสนใจของสังคมเป็นอย่างยิ่ง &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งพึ่งมารู้จักกันด้วยเหตุแห่งความซวยครับ   ปัญหาจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์นั่นเอง แต่ไม่ใช่การประสบอุบัติเหตุหรอกนะครับ แต่เป็นเรื่องของความซวยที่มากระแทกหน้าเสียมากกว่า   คงสงสัยกันแล้วว่าเป็นมาอย่างไร ไปติดตามเรื่องที่น้องเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปรัชญากฎหมาย สำนักกฎหมายธรรมชาติ และสำนักกฎหมายบ้านเมือง ในการตอบโต้ทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง   และตำราด้านปรัชญากฎหมายไทยก็มีความเฉื่อยกว่าพัฒนาการด้านปรัชญากฎหมายที่ถกเถียงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในระดับโลก   จึงขออธิบายให้เข้าใจดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเกี่ยวเนื่องกับการใช้โทรศัพท์มือถือนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้จะเห็นแผงขายมือถือ บัตรเติมเงิน และการออกประกาศแจกซิมการ์ดโทรศัพท์ฟรีๆ กันตามสถานที่ทั่วไป ทั้งป้ายรถเมล์ ในห้าง วินมอเตอร์ไซค์ ท่าน้ำ ในตลาด และแหล่งชุมชนที่คนพลุกพล่าน   พอมารับเรื่องร้องทุกข์จึงได้รู้ว่ามีคนจำนวนมากที
ทศพล ทรรศนพรรณ
ค่าไฟ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากในสมัยนี้ เพราะ ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่ว่าบ้านไหนก็คงต้องใช้ขับเคลื่อนเครื่องใช้ไฟฟ้ากันใช่ไหมครับ แต่ผมก็เคยออกไปลงพื้นที่กับคลินิกกฎหมายในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าอยู่บ้างเหมือนกันครับ ซึ่งชีวิตของคนในพื้นที่นั้นจะต่างจากในเมืองหรือบ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงเลยครั
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องราวความสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งที่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ประการใด หลังจากนั้นมีปัญหาเรื่องมือที่สามเข้ามา ทำให้ครอบครัวฝ่ายชายมาปรึกษาเพราะกลัวว่าจะถูกหลอกและปอกลอกทรัพย์สินไปจนหมด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้ผู้ที่มาปรึกษาเล่าว่า “บิดาข้าพเจ้าไปเซ็นค้ำประกันการซื้อรถยนต์ให้กับเพื่อนที่สนิทกันมานาน เนื่องจากเพื่อนไม่มีญาติเป็นข้าราชการ อีกทั้งสินทรัพย์ต่างๆก็ไม่มีจะเอาไปค้ำประกัน   แต่จำเป็นต้องซื้อรถเพื่อเอามาขนส่งของทำมาหากิน พ่อของข้าพเจ้าเห็นว่าควรช่วยให้เพื่อนมีช่องทางทำมาหากิน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมที่ขับเคลื่อนโดยระบบตลาดทุนนิยมเสรีนั้น ฝากความหวังไว้กับผู้บริโภคในการคัดเลือกสิ่งที่ดีให้คงอยู่ในตลาด  ผ่านการจ่ายเงินซื้อและสนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตอย่างมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม หรือที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า จะมีเพียง “ผู้ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” เท่านั้นที่จะคงเหลืออยู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้ขยายวงกว้างไปมากหลังจากบัตรเครดิต/เดบิต กลายเป็นเงินพลาสติกที่เราพกพาไปไหนได้ง่าย ไม่ต้องกลัวว่าแบบพกเงินสดว่าถ้าตกหายไปแล้วมันจะสูญเสียไปทันที  แถมยังมีข้อดีตรงที่เรามีวงเงินเพิ่มเติมได้หากต้องการใช้เงินฉุกเฉินหรือใช้เงินเกินกวาที่วางแผนล่วงหน้าไว้นิดหน่อย   แม้มีหลา
ทศพล ทรรศนพรรณ
คราวนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องใด?