Skip to main content

อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุนในการลดภาระต้นทุนความเสี่ยงและเพิ่มอัตรากำไรได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นการลดขนาดของกำลังแรงงานตามอุปทานของตลาดผู้บริโภค ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในสายพานการผลิตอย่างสูงสุด และสามารถโอนย้ายความเสี่ยงไปยังฝ่ายลูกจ้างได้แทบจะทั้งหมด เพราะไม่มีการจ้างประจำ สามารถเลิกจ้าง/ไม่ต่อสัญญา ได้อย่างรวดเร็ว


ที่น่าแปลกใจคือ ปรากฏการณ์การขูดรีดแรงงานที่กล่าวมานี้ กลับไม่ได้ปรากฏเฉพาะในการจ้างงานภาคเอกชนดังที่เข้าใจ แต่การที่แรงงานถูกขูดรีดและเอารัดเอาเปรียบจากฝ่ายนายจ้าง รวมถึงการที่คนงานจะต้องเผชิญชะตากรรมอยู่ในระบบการจ้างงานที่ไม่มั่นคงอย่างเดียวกันกับในภาคเอกชนนั้น ได้ปรากฏขึ้นท่ามกลางการจ้างงานของภาครัฐ กล่าวคือ ภาครัฐเองก็ได้หยิบเอาวิธีการจ้างงานระยะสั้นเข้ามาแทนที่การจ้างงานแบบเดิมที่เป็นการจ้างงานระยะยาว กระทั่งแนวคิดในการจัดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้เกิดขึ้น การจ้างงานจึงเน้นที่ประสิทธิภาพการทำงานสูงและใช้ทรัพยากรตลอดจนบุคคลกรขององค์กรอย่างคุ้มค่าที่สุด อันเป็นอิทธิพลของกระแสการจ้างงานในภาคเอกชนที่เน้นเรื่องของผลกำไร และขาดทุนเป็นหลัก


โดยมีหลักคิดมาจากทฤษฎีว่าด้วยเรื่องความคุ้มทุนและการลดไขมันส่วนเกินในสายพานการผลิต (ไล่แรงงานที่เกินจำเป็นออกเสมือนรีดไขมันส่วนเกิน) เมื่อแนวคิดดังกล่าวได้แผ่ขยายรูปแบบเข้ามาสู่การจ้างงานในภาครัฐ จึงได้ส่งผลให้จำนวนข้าราชการหรือพนักงานประจำ ลดจำนวนลง  เพิ่มลูกจ้างชั่วคราว(แบบถาวร) หรือจัดซื้อแรงงานในรูป”พัสดุ”  ซึ่งรูปแบบการจ้างงานแนวใหม่นี้ ถูกขนานนามว่า “การจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการในภาครัฐ” หรือที่คำศัพท์ทั่วไปในระบบการเงินการบริหาราชการเรียกว่า “การจ้างเหมาบริการ”


ที่มาของมาตรการข้างต้นมาจาก ความล้มเหลวในการปรับลดโครงสร้างการจ้างงานภาครัฐที่มีขนาดใหญ่เทอะทะจนเกินไปให้มีความเหมาะสมแก่ภารกิจของแต่ละหน่วยงาน แต่กลับพบว่าขนาดของส่วนราชการไม่ได้เล็กลงไปตามการปรับลดจำนวนข้าราชการด้วย เพราะปริมาณคนทำงานภาครัฐมีจำนวนเพิ่มขึ้นตามภารกิจของรัฐที่ขยายตามนโยบายทางการเมืองที่เข้าไปรองรับสิทธิของประชาชนเจ้าของคะแนนโหวต


เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระทรวงการคลังและกรมบัญชีกลางในการลดภาระทางงบประมาณด้านบุคลากรประจำ  เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต่าง ๆ ถูกผลักให้เข้าสู่จ้างงานแบบชั่วคราว ดังนั้น คนทำงานส่วนใหญ่ในภาครัฐจึงอยู่ในสถานะของ “ลูกจ้างชั่วคราว” ที่ไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการหรือพนักงานประจำ แต่ที่ร้ายแรงที่สุดคือการเปลี่ยนรูปแบบการจ้าง จากเดิมที่เป็น “การจ้างแรงงาน” มาเป็น “การจ้างทำของ” หรือแม้กระทั่งเป็น “การจัดซื้อพัสดุ” ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าสถานการณ์จ้างงานและปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นแพร่หลายในหน่วยงานรัฐและองค์กรอิสระต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่ ส่วนงานที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยตรง


จากสถานการณ์ดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เห็นถึงแนวโน้มการจ้างงานที่เกิดขึ้นว่า งานประจำหรืองานที่มีความมั่นคงมีอัตราลดต่ำลงไป แต่ในทางกลับกันการจ้างงานชั่วคราวหรือการจ้างงานระยะสั้นด้วยวิธีการจ้างเหมาบริการ ได้ทวีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น อันหมายถึงคนทำงานจำนวนมากจะต้องตกอยู่ภายใต้ระบบการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ทั้ง ๆ ที่เป็นกำลังสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งของสังคม แต่กลับเป็นฝ่ายที่ถูกขูดรีดและอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก ทั้งการปราศจากอำนาจต่อรอง การไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน และต้องอยู่ในสังคมที่มีสภาวะ “ไร้เสถียรภาพ” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายแรงงานเลย


ทั้งนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความรับรู้ต่อสังคมในข้อความจริงว่า บัดนี้ การจ้างงานที่ไม่มั่นคงได้เกิดขึ้นแล้วในภาครัฐ ซึ่งไม่ได้ถูกจำกัดรูปแบบอยู่เฉพาะแต่ภาคเอกชนอย่างที่เคยเป็น การศึกษาในประเด็นการจ้างงานที่ไม่มั่นคงในภาครัฐว่ามีลักษณะอย่างไร และรัฐได้อาศัยเครื่องมือหรือวิธีการอย่างไรในการสร้างมาตรฐานการจ้างงานขูดรีดขึ้นมาได้อย่างเป็นรูปธรรมและสร้างความชอบธรรมให้แก่ความไม่ชอบธรรม จึงสำคัญมากยิ่งกว่าการศึกษาเรื่องแรงงานที่อยู่ในระบบการจ้างงานประจำ

มายาคติที่ว่าการทำงานในภาครัฐเป็นการทำงานที่มีความมั่นคง นั้นสะท้อนผ่านลักษณะของ “การจ้างงานที่ไม่มั่นคงในภาครัฐ” ที่เห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับสิทธิแรงงาน 5 ประการ คือ

1) คนกลุ่มนี้อยู่ในระบบการจ้างงานแบบไม่มั่นคง จ้างงานยืดหยุ่นเสี่ยงว่าจะตกงานหรือหมดสัญญาจ้างต้องว่างงาน (Flexible but Vulnerable)


2) แรงงานรับจ้างอิสระได้รับผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน อาจจะได้หรือไม่ได้ผลตอบแทนในอัตราที่ตกลงกันไว้ รวมถึงไม่มีอัตรารายได้ขั้นต่ำ (Zero Hours Contracts = Exploitation - No Minimum Wage Standard) 


3) รูปแบบสัญญาจ้างทำของยังผลักภาระความเสี่ยงให้แรงงานรับจ้างอิสระแบกรับไว้เอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชั่วโมงการทำงานที่หนักต่อเนื่องยาวนานกระทบต่อชีวิตส่วนตัวและสุขภาพอย่างเรื้อรัง (Outsourcing = Risk Externalization) 


4) แรงงานรับจ้างอิสระผูกพันกับผู้ว่าจ้างภายใต้ระบบสัญญาจ้างทำของ คนทำงานจึงมิใช่แรงงานภายใต้บังคับกฎหมายแรงงานและสวัสดิการสังคมทำให้แรงงานรับจ้างอิสระเข้าไม่ถึงหลักประกันสิทธิแรงงานตามกฎหมาย (Subcontracting = Non-Employment Legal Rights)


5) การจ้างงานถูกกระจายผ่านระบบสอบแย่งชิงแข่งขันกัน โดยไม่ผ่านสมาคมหรือสหภาพแรงงานที่มีข้อมูลสมมาตรเพื่อดูแลปกป้องสิทธิประโยชน์ของผู้หางาน จนนำมาสู่ปัญหาการแข่งขันแย่งงานกันเองจนไม่อาจรวมกลุ่มได้ (Divide and Rule but No Labour Association)

 

หากรัฐต้องการสร้างความพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เกิดความเจริญทั่วถึงทุกคน (Inclusive Growth) ย่อมต้องให้หลักประกันแก่คนด้อยโอกาสว่าจะมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกับผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจการเมืองในการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ  โดยเน้นว่าต้องมีการเพิ่มรายได้ต่อหัวจากความเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งจากการเพิ่มผลิตผลและโอกาสในการจ้างงาน รวมทั้งต้องส่งเสริมการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยนโยบายเชิงรุกของรัฐหรือการแบ่งปันจากตัวตนอื่น ไม่ว่าจะเป็นนายจ้างที่เป็นเอกชน หรือนายจ้างที่เป็นหน่วยงานรับเอง


ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการสร้างสถาบันทางการเมืองที่เปิดโอกาสให้กลุ่มต่าง ๆ ในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างระบอบการปกครองหรือสถาบันเศรษฐกิจการเมืองทางกฎหมายของรัฐเข้ามาจัดสรรทรัพยากรเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนโดยจัดให้มีสถาบันที่ทุกกลุ่มมีส่วนร่วม (Inclusive Institutions) ที่คนจำนวนมากเข้าไปร่วมกำหนดอนาคตของสังคมในกระบวนการปกครองและป้องกันการแสวงหาผลประโยชนเพื่อกลุ่มของตนและเครือข่าย ซึ่งสะท้อนให้เห็นผ่านการเลือกตั้ง การชุมนุม การรวมกลุ่ม และการแสดงออกของเหล่าคนทำงาน


การปฏิรูปสถาบันทางการเมืองและระบอบทางกฎหมายจึงมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อทำให้เกิดสังคมที่คนทุกกลุ่มได้พัฒนาคุณภาพชีวิต   การสร้างสังคมพหุนิยม (pluralistic society) ที่ยอมรับการมีตัวตนของคนกลุ่มใหม่ๆที่เกิดขึ้นสังคมให้มีศักดิ์ศรีมีสิทธิสามารถเข้าไปมีโอกาสร่วมตัดสินใจในสถาบันทางการเมืองเพื่อสร้างระบอบกฎหมายที่รับรองสิทธิของคนกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งเกิดคนกลุ่มใหม่ปริมาณมหาศาลที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะด้อยสิทธิอย่างกลุ่มแรงงานรับจ้างอิสระ ซึ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่อยู่ทั้งในการยอมรับของภาคเอกชน หน่วยงานรัฐ หรือไม่ปรากฏแม้แต่ในนโยบายของพรรคการเมือง

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา