Skip to main content

คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้นฐานของความเชื่อมั่นต่อระบบที่เป็นศูนย์กลางในการเข้าทำธุรกรรมและช่องทางในการกระจายสินค้า บริการและข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือ    ยิ่งไปกว่านั้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Economic Sustainable Development) ย่อมต้องอยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงผู้คนทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างทั่วถึง (Inclusive Growth)


บทบาทของรัฐจึงต้องอยู่ในลักษณะการประกันสิทธิให้ผู้คนที่เกี่ยวข้องได้รับการคุ้มครองสิทธิในการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันอย่างมั่นคงผ่านการสถาปนาสถาบันทางเศรษฐกิจที่ให้การปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมแก่บุคคล (Inclusive Institution) ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ อาทิ เจ้าของแพลตฟอร์ม ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือผู้รับขนส่ง กับ ผู้ด้อยอำนาจต่อรอง เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย สมาชิกแพลตฟอร์ม ผู้บริโภค ให้หลุดจากกับดักเศรษฐกิจแบบกาฝาก (Parasite Economy) ที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยต้องพึ่งพิงเจ้าของเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ผูกขาดตลาดและขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจไปในรูปแบบผลประกอบการ แต่ยังมิได้มีกระบวนการจัดเก็บภาษีของรัฐเพื่อนำมาเป็นงบประมาณกระจายย้อนกลับมายังประชาชนในรูปแบบของสวัสดิการ


ยิ่งไปกว่านั้นตลาดดิจิทัลยังเพิ่มความเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนให้เกิดขึ้นตลอดเวลาทำให้ความคิดพื้นฐานที่สุดของกฎหมายแบบรัฐสมัยใหม่ถูกสั่นคลอน นั่นคือ การใช้เขตอำนาจศาลในการบังคับใช้กฎหมายเหนือดินแดนของตนอย่างเด็ดขาด เมื่อต้องใช้กฎหมายบังคับต่อบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐมหาอำนาจหรือเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่มีบรรทัดฐานทางกฎหมายในหลายประเด็นแตกต่างไปจากประเทศไทย ทำให้เกิดความยากลำบากในการแสวงหาจุดเกาะเกี่ยวในการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเมื่อมีประเด็นต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง


แรงกดดันทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และกฎหมายเหล่านี้ ล้วนกระตุ้นเร้าให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้พร้อมกับการเลือกยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับตนเองในบริบทของการแข่งขันระดับโลก ว่าประเทศไทยจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ผลิต ผู้บริโภค ตัวกลางผู้ให้บริการกระจายสินค้าและบริการ โดยใช้สื่อกลางและตลาดแบบใด ให้เป็นประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยมากที่สุด  เนื่องจากการทุ่มเททรัพยากรของรัฐลงไปสร้างความมั่นคงให้กับตลาดดิจิทัลย่อมต้องตอบคำถามให้ได้ว่า งบประมาณที่ได้จัดสรรไปจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร

 

ตลาดดิจิทัลเป็นพื้นที่ในการหลอมรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ประกอบไปด้วยการผลิต การบริโภค โดยมีการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงเข้าหากันผ่านช่องทางกระจายสินค้าและบริการนั้น อาศัยแพลตฟอร์มดิจิทัลในโลกไซเบอร์เป็นช่องทางรสื่อสารแลกเปลี่ยนโดยอาศัยข้อมูลที่ไหลเวียนในช่องทางที่ผู้คนติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างผู้บริโภคผู้ผลิตโดยมีผู้ค้าขายและให้บริการโลจิสติกส์จำนวนมากบนตลาดเชื่อมโยงกันผ่านตัวกลางเป็นผู้ควบคุมระบบ ในลักษณะของการผูกขาดใต้อิทธิพลทางเทคโนโลยีของบรรษัทข้ามชาติ


แม้จะมีการกล่าวอ้างความคิดแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) แต่ข้อมูลข่าวสารและระบบกลับมีลักษณะปิดบัง อำพราง ล่อลวง ในหลายกรณีจนมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการฉ้อโกงหลอกลวงอันกระทบกระเทือนสิทธิผู้บริโภคและทำลายความเชื่อมั่นต่อตลาดอิเล็กทรอนิกส์และเศรษฐกิจดิจิทัล (Trust Economy) ในระยะยาว


บทบาทของรัฐในการส่งเสริมความเจริญของตลาดดิจิทัลแม้อำนาจส่วนใหญ่อยู่ในมือภาคเอกชน  ก็คือการให้หลักประกันสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบที่เป็นศูนย์กลางในการเข้าทำธุรกรรมและช่องทางในการกระจายสินค้า บริการและข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพิ่มการคุ้มครองสิทธิในการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ กับ ผู้ด้อยอำนาจต่อรอง ผ่านการสถาปนาสถาบันทางเศรษฐกิจที่ให้การปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมแก่บุคคล (Inclusive Institution) เช่น การยืนยันตัวบุคคล การรับรองระบบกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ดิจิทัล สร้างความมั่นคงในการทำธุรกรรมในโลกดิจิทัล มีสื่อกลางและพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนที่เชื่อถือได้ และมีกลไกระงับข้อพิพาทที่สะดวก สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์และแข่งขันให้ประชาชนก้าวข้ามกับดักเศรษฐกิจแบบกาฝาก (Parasite Economy)


นอกจากนี้ยังต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีความเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็นแตกต่างไป ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะการสถาปนาความสัมพันธ์แบบทวิภาคี พหุภาคี หลายฝ่าย หรือแบบการร่วมกลุ่มเศรษฐกิจ เพื่อแสวหาจุดเกาะเกี่ยวในการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเมื่อมีประเด็นข้ามชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง


เมื่อบรรษัทข้ามชาติเจ้าของแพลตฟอร์มคือผู้ได้ประโยชน์จากการเป็นตัวกลางให้บริการกระจายสินค้าและบริการ จึงต้องกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการแบ่งปันผลประโยชน์ย้อนกลับมาคืนแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลไทย แนวทางสร้างฐานภาษีจากตลาดดิจิทัลเข้าสู่ระบบงบประมาณแผ่นดินของรัฐเพื่อนำมาจัดทำบริการสาธารณะและสวัสดิการของประชาชน จึงเป็นข้อท้าทายอีกประการที่ต้องสังเคราะห์ความรู้ทางกฎหมายมาเสนอเป็นนโยบายแก่ประเทศไทย


การปรับปรุงโครงสร้างประเทศไทยให้มีระบบเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกับปวงชนทั้งหลายบนพื้นฐานของภราดรภาพ (Solidarity Economy) จึงเป็นแนวทางที่น่าสนใจเพื่อมาปรับใช้กับการสนับสนับความเชื่อมั่นต่อตลาดดิจิทัลให้มีการพัฒนาอย่างยังยืน

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว 
ทศพล ทรรศนพรรณ
วิกฤตการเมืองการปกครองไทยในหลากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นช่วง 4-5 ปีหลัง   ประเด็นทางกฎหมายที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนนั้นมุ่งตรงมาที่ “การใช้อำนาจอธิปไตยในการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล”   เนื่องจากการทำหน้าที่ของศาลนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ได้อยู่ในความสนใจของสังคมเป็นอย่างยิ่ง &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งพึ่งมารู้จักกันด้วยเหตุแห่งความซวยครับ   ปัญหาจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์นั่นเอง แต่ไม่ใช่การประสบอุบัติเหตุหรอกนะครับ แต่เป็นเรื่องของความซวยที่มากระแทกหน้าเสียมากกว่า   คงสงสัยกันแล้วว่าเป็นมาอย่างไร ไปติดตามเรื่องที่น้องเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปรัชญากฎหมาย สำนักกฎหมายธรรมชาติ และสำนักกฎหมายบ้านเมือง ในการตอบโต้ทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง   และตำราด้านปรัชญากฎหมายไทยก็มีความเฉื่อยกว่าพัฒนาการด้านปรัชญากฎหมายที่ถกเถียงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในระดับโลก   จึงขออธิบายให้เข้าใจดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเกี่ยวเนื่องกับการใช้โทรศัพท์มือถือนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้จะเห็นแผงขายมือถือ บัตรเติมเงิน และการออกประกาศแจกซิมการ์ดโทรศัพท์ฟรีๆ กันตามสถานที่ทั่วไป ทั้งป้ายรถเมล์ ในห้าง วินมอเตอร์ไซค์ ท่าน้ำ ในตลาด และแหล่งชุมชนที่คนพลุกพล่าน   พอมารับเรื่องร้องทุกข์จึงได้รู้ว่ามีคนจำนวนมากที
ทศพล ทรรศนพรรณ
ค่าไฟ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากในสมัยนี้ เพราะ ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่ว่าบ้านไหนก็คงต้องใช้ขับเคลื่อนเครื่องใช้ไฟฟ้ากันใช่ไหมครับ แต่ผมก็เคยออกไปลงพื้นที่กับคลินิกกฎหมายในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าอยู่บ้างเหมือนกันครับ ซึ่งชีวิตของคนในพื้นที่นั้นจะต่างจากในเมืองหรือบ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงเลยครั
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องราวความสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งที่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ประการใด หลังจากนั้นมีปัญหาเรื่องมือที่สามเข้ามา ทำให้ครอบครัวฝ่ายชายมาปรึกษาเพราะกลัวว่าจะถูกหลอกและปอกลอกทรัพย์สินไปจนหมด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้ผู้ที่มาปรึกษาเล่าว่า “บิดาข้าพเจ้าไปเซ็นค้ำประกันการซื้อรถยนต์ให้กับเพื่อนที่สนิทกันมานาน เนื่องจากเพื่อนไม่มีญาติเป็นข้าราชการ อีกทั้งสินทรัพย์ต่างๆก็ไม่มีจะเอาไปค้ำประกัน   แต่จำเป็นต้องซื้อรถเพื่อเอามาขนส่งของทำมาหากิน พ่อของข้าพเจ้าเห็นว่าควรช่วยให้เพื่อนมีช่องทางทำมาหากิน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมที่ขับเคลื่อนโดยระบบตลาดทุนนิยมเสรีนั้น ฝากความหวังไว้กับผู้บริโภคในการคัดเลือกสิ่งที่ดีให้คงอยู่ในตลาด  ผ่านการจ่ายเงินซื้อและสนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตอย่างมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม หรือที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า จะมีเพียง “ผู้ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” เท่านั้นที่จะคงเหลืออยู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้ขยายวงกว้างไปมากหลังจากบัตรเครดิต/เดบิต กลายเป็นเงินพลาสติกที่เราพกพาไปไหนได้ง่าย ไม่ต้องกลัวว่าแบบพกเงินสดว่าถ้าตกหายไปแล้วมันจะสูญเสียไปทันที  แถมยังมีข้อดีตรงที่เรามีวงเงินเพิ่มเติมได้หากต้องการใช้เงินฉุกเฉินหรือใช้เงินเกินกวาที่วางแผนล่วงหน้าไว้นิดหน่อย   แม้มีหลา
ทศพล ทรรศนพรรณ
คราวนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องใด?