Skip to main content

ผู้คนแห่งสาละวิน

 

สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง


ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล ถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มเดียวที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด ชาวยินตาเล อาศัยอยู่บนที่ราบริมแม่น้ำสาละวิน ในรัฐคะยาห์ทางตอนเหนือของประเทศพม่า ในปัจจุบันชาวยินตาเลมีประชากรทั้งหมดเพียงประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าคนเท่านั้น


เมื่อย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ของการสร้างบ้านแปงเมืองของผู้คนในแถบถิ่นนี้แล้ว จะพบว่า บริเวณทั้งสองฝั่งแม่น้ำสาละวิน มีผู้คนจำนวนมากตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้มาหลายร้อยปีแล้ว


กลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำมากที่สุดในปัจจุบันคือ กลุ่มปกากะญอ ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้ปรากฏหลักฐานที่มีการกล่าวอ้างถึงเป็นจำนวนมาก เช่น ในรัชสมัยพระเจ้าพุกามมินกษัตริย์พม่า (ครองราชย์ปีพ..๒๓๗๙-๒๓๙๖) ได้ยกทัพไปตีเมืองยางแดง และเกณฑ์ไพร่พลจากเมืองยางแดง เพื่อมาตีเมืองเชียงใหม่ ไพร่พลที่เกณฑ์มานี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปกากะญอ เมืองยางแดง ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางเมืองแม่ฮ่องสอนได้สักหมายรูปช้าง ให้กับชาวบ้านในบริเวณนี้ เพื่อให้เป็นการง่ายในการเก็บส่วยสาอากร และการควบคุมกำลังคน เพื่อใช้แรงงานให้กับรัฐสยาม (อนุชิต สิงห์สุวรรณ,บทความ)


ประวัติศาสตร์บางช่วงของเมืองเชียงใหม่ ก็ได้กล่าวถึงกลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาละวินเอาไว้เช่นกัน กล่าวคือในยุคสมัยพระเจ้ากาวิละครองนครเชียงใหม่ ได้นำกำลังไพร่พลไปกวาดต้อนผู้คนในบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินอย่างต่อเนื่อง


ในปี พ..๒๓๕๒ เจ้าเมืองเชียงใหม่ก็ได้ผูกความสัมพันธ์กับเจ้าฟ้าผ่อ เจ้าเมืองยางแดง ผู้ปกครองรัฐกะเหรี่ยงอิสระ โดยในการผูกสัมพันธ์กันในครั้งนั้น ได้กำหนดให้ล้านนาปกครองฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ส่วนเจ้าฟ้าผ่อ ก็ปกครองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ โดยในการสัมพันธ์ไมตรีในครั้งนั้น ได้มีการการสาบานต่อกันว่า รัฐทั้งสองจะไม่รุกรานกัน และดูแลกันเป็นพี่เป็นน้องกันและจะไม่รุกรานกันและกัน


ในปี พ.. ๒๕๑๑ มีการค้นพบหีบคัมภีร์ใบลานที่บรรจุคัมภีร์โบราณของพุทธศาสนา ซึ่งการจดจารคัมภีร์นั้นเกิดขึ้นในช่วงประมาณปี พ.. ๒๒๔๓ บริเวณที่มีการค้นพบหีบคัมภีร์ใบลานนั้นคือ บริเวณถ้ำผาแดง ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน การค้นพบในครั้งนั้นแสดงให้เห็นว่า ความเจริญรุ่งเรืองที่มาพร้อมกับอารยธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในลุ่มน้ำสาละวินได้เป็นอย่างดี


สำหรับในเขตรัฐต่างๆ ของพม่าอาจกล่าวได้ว่า ในอดีตสายน้ำ และผืนป่าสาละวินฝั่งตะวันตกมีความสำคัญต่อชีวิต และความเป็น ความตายของผู้คนมากที่สุด โดยเฉพาะในเขตที่ยังคงมีสงครามระหว่างรัฐบาลทหารพม่า และกองกำลังกู้ชาติชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เช่น ในรัฐฉาน และรัฐกะเหรี่ยง ชาวบ้านผู้หนีภัยสงครามเป็นผู้พลัดถิ่นภายใน (Internally Displaced Persons) นับแสนคนได้อาศัยผืนป่าหนาทึบซ่อนตัวหลบหนีทหารพม่า อาศัยน้ำ และทรัพยากรจากป่าสาละวินฝั่งตะวันตกประทังชีวิตให้อยู่รอดได้ไปวันๆ


จากรายงานขององค์การ Human rights watch ได้รายงานถึงสถานการณ์ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเอาไว้ว่า ในปี ๒๕๔๗ มีประชาชนประมาณ ๖๕๐,๐๐๐ คนในพื้นที่ภาคตะวันออกของพม่าต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ อันเนื่องมาจากสงครามภายในประเทศ และยังมีคนจากพม่าอีกประมาณ ๒ ล้านคนที่อพยพเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อหนีภัยสงคราม นอกจากนั้นในจำนวนคน ๒ ล้านกว่าคน มีคนกว่า ๑๔๕,๐๐๐ คนได้กลายเป็นผู้อพยพตามค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ ที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า


ปัจจุบันกล่าวได้ว่า ชนกลุ่มน้อยที่หลบภัยการสู้รบไม่ได้อาศัยผืนดินฝั่งตะวันตกเพียงอย่างเดียว แต่ผู้คนส่วนหนึ่งยังได้อพยพหนีภัยสงครามข้ามแม่น้ำมายังฝั่งตะวันออกอีกด้วย


ตลอดระยะทางที่แม่น้ำสาละวิน ไหลผ่านมาจากที่ราบสูงของธิเบต แม่น้ำสายนี้ได้ไหลผ่านชุมชนที่เป็นที่อยู่-ที่ทำกินของคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ กว่า ๒๐ กลุ่ม กลุ่มคนชาติพันธุ์เหล่านี้อาศัยอยู่ตามที่ราบลุ่มกลางหุบเขา และพื้นที่ราบจำนวนเล็กน้อยริมฝั่งแม่น้ำสาละวินและลำห้วยสาขา ชุมชนตลอดสองฝั่งน้ำตั้งแต่รัฐฉานลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-ไทย ผู้คนส่วนใหญ่ยังชีพด้วยการทำเกษตร และบางพื้นที่ก็มีการหาปลา


นอกจากที่ราบลุ่มกลางหุบเขาแล้ว บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำสาละวิน อันเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ก็เป็นเขตที่มีการตั้งชุมชนหนาแน่นที่สุดอีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์


ในส่วนของประเทศไทย ช่วงที่แม่น้ำสาละวินไหลผ่านชายแดนไทย-พม่า บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน หากเราได้ล่องเรือตามแม่น้ำ และเดินขึ้นตามลำห้วยใหญ่-น้อยที่อยู่บริเวณพรมแดนจะพบว่า ริมน้ำสาละวิน และริมห้วยในผืนป่ากว้างใหญ่มีชุมชนเล็กๆ ตั้งกระจัดกระจายอยู่ตามป่าจำนวนมาก


ชุมชนเหล่านี้เป็นชุมชนของชาวบ้านชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ที่ตั้งรกรากในแถบนี้มานานหลายชั่วอายุคนแล้ว มีคำพูดติดตลกกล่าวกันเล่นๆ ว่า หากจะดูว่าชุมชนในปาตั้งชุมชนมานานแค่ไหนแล้ว ให้ดูต้นมะพร้าวที่มีอยู่ในชุมชน เพราะถ้าต้นมะพร้าวขึ้นสูงจนลิงปีนเหนื่อยก็แสดงว่า ชุมชนถูกตั้งขึ้นมานานแล้ว


ผืนป่าของลุ่มน้ำสาละวิน เป็นผืนป่าที่เป็นป่าสักใหญ่ต่อเนื่องกันไปถึงพม่าและอินเดีย พื้นที่นี้จัดเป็นแหล่งกำเนิดไม้สักอีกพื้นที่หนึ่งที่สำคัญที่สุดของโลก ในอดีตเคยมีการให้สัมปทานการทำไม้เป็นอย่างมาก ปัจจุบันความเสื่อมโทรมอันต่อเนื่องมาจากอดีตจึงเกิดขึ้นกับผืนป่าแห่งลุ่มน้ำสาละวิน แต่ความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นนั้นหาได้เกิดขึ้นจากคนที่อยู่ในป่าไม่ แต่มันเกิดขึ้นจากการเปิดป่า เพื่อให้สัมปทานตัดไม้ตามนโยบายของกรมป่าไม้ในอดีตต่างหาก เมื่อป่าใกล้หมด ทางการจึงมาคิดที่จะอนุรักษ์เอาเองภายหลัง และโยนความผิดให้กับคนที่อยู่ในป่าไป


แน่ละ ในยุคสมัยก่อนการอยู่ในป่าของผู้คนแถบถิ่นนี้ไม่เคยมีปัญหา แต่ภายหลังเมื่อมีการประกาศปิดป่า และป่าที่ชาวบ้านอยู่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ด้วยเงื่อนไขการทำให้ป่าเป็นป่าอนุรักษ์ การอยู่อาศัยในป่าของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ ซึ่งอยู่ที่ชายขอบของประเทศจึงเป็นเรื่องผิดกฎหมายไปโดยปริยาย


บ่อยครั้งที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ชาวบ้านไปทำไร่แล้วโดนจับ ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นปัญหาที่มองต่างมุมกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐเองก็มองว่า คนกับป่าอยู่ร่วมกันไม่ได้ เมื่อคนอยู่กับป่า คนก็คือตัวการทำลายป่า แต่ในความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งที่เจ้าหน้ารัฐไม่ยอมรับคือ คนอยู่ป่าเหล่านี้สามารถจัดการป่าได้โดยไม่ได้ทำลายป่า และพวกเขาสามารถอยู่กับป่าได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกากะญอ


การที่ชาวบ้านสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้นั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งก็มาจากประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรมของชุมชนเป็นตัวกำหนดด้วย เช่น ในตอนที่เด็กเกิด พ่อแม่ของเด็กก็จะนำรกของเด็กไปผูกไว้กับต้นไม้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ‘ป่าเดปอ’ ป่านี้จะไม่มีใครเข้าไปทำลาย เพราะเป็นป่าสายรกของพวกเขาถูกผูกเอาไว้ และพวกเขาก็จะดูแลต้นไม้ที่สายรกของพวกเขาได้ผูกเอาไว้


ในผืนป่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน นอกจากจะมีชุมชนตั้งอยู่ที่นี้มาหลายร้อยปี หลายชุมชนจึงมีการจัดทรัพยากรดิน น้ำ ป่า เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และมีประโยชน์กับชุมชนในระยะยาวมากที่สุด การจัดการทรัพยากรของชุมชนส่วนหนึ่งก็มาจากความเชื่อที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้สอนลูกหลานมาหลายชั่วอายุคน


พ่อหลวงประวิทย์ กมลวรรณหงส์ เล่าถึงความเชื่อในการรักษาป่าให้ฟังว่า

บางหมู่บ้านก็มีการทำป่าชุมชน พอมีป่าชุมชนชาวบ้านก็จัดการกันเอง พอมีป่าสัตว์ป่าก็กลับมาหาอยู่หากินของ ที่หากินของสัตว์ป่าก็อยู่ทั่วไป แต่ถ้าเป็นโป่งที่สัตว์ป่ามากินโป่งมี ๒ อย่างคือ ม้อเค-โป่งแห้งกับม้อที้-โป่งน้ำ ถ้าอยากเห็นสัตว์ป่าก็ไปซุ่มดูตามโป่ง แต่ไปซุ่มดูแล้วห้ามยิง เพราะชาวบ้านเชื่อว่า สัตว์ที่ลงมากินโป่งจะเป็นสัตว์เลี้ยงของเจ้าของโป่ง เหมือนกับที่เราเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ชาวบ้านจะไม่ไปซุ่มยิงสัตว์ที่กำลังหากินบริเวณโป่งเป็นอันขาด เพราะเชื่อว่าสัตว์ป่ามีเจ้าของดูแลปกป้อง


นอกจากชาวบ้านจะไม่ไปซุ่มยิงสัตว์แล้ว ยังมีสัตว์ป่าบางชนิดที่ห้ามยิงด้วย เช่น โกยูปก่า-ชะนี เพราะชะนีไม่กินข้าวที่ชาวบ้านปลูกไว้ ชาวบ้านถือว่าชะนีเป็นเหมือนเจ้าป่า ถ้าหากยิงชะนีตายไป ๑ ตัวขุนห้วยจะเศร้าไป ๗ ขุนห้วย การห้ามลูกห้ามหลานของผู้เฒ่าสมัยก่อนมันก็เหมือนเป็นการบอกให้ลูกหลานได้อนุรักษ์สัตว์ป่าไว้นั่นแหละ’


ว่ากันว่าถ้าเข้าไปในผืนป่าใดก็ตาม หากได้ยินเสียงชะนีร้องแสดงว่า ป่าผืนนั้นยังมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะความที่ผู้เฒ่าผู้แก่กลัวว่า สัตว์ป่าเหล่านี้จะหมดไปจากป่าผู้เฒ่าผู้แก่ จึงได้คิดค้นคำทาขึ้นมากล่าวพร่ำสอนลูกหลานให้จำสืบต่อๆ กันมาว่า

ทุกสิ่งล้วนมีเจ้าของ เรากินเราใช้แค่พอเลี้ยงชีวิต ไม่ทำลาย เพื่อให้ลูกหลานได้มีกินสืบไป’


นอกจากนี้ แต่ละชุมชนก็มีกฎเกณฑ์ในการห้ามล่าสัตว์บางชนิดอย่างชัดเจนแล้ว บางชุมชนยังมีการกำหนดโทษปรับ และหลายชุมชนยังได้มีการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์ปลา และเขตป่าอนุรักษ์ เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนอีกด้วย


นอกเหนือจากกลุ่มคนที่ได้รับการตราหน้าจากรัฐว่าเป็นคนทำลายป่าแล้ว ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกเรียกว่า ‘คนไร้สัญชาติ’ คนไร้สัญชาติในที่นี้หมายถึง คนที่ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐให้เป็นคนในรัฐ ซึ่งการเป็นคนไร้สัญชาตินั้นมักจะเกิดขึ้นกับคนชายขอบของประเทศเป็นส่วนใหญ่


การเป็นคนไร้สัญชาตินั้น ก็มีอยู่หลายประการ เช่น ไม่ได้รับการแจ้งชื่อในตอนที่เกิด พอโตขึ้นมาก็ไม่มีบัตรประชาชน เมื่อไม่มีบัตรประชาชนก็ไม่สามารถบ่งชี้สถานะได้ว่าเป็นคนของรัฐใด สำหรับบางคนเรื่องไม่มีบัตรยังไม่หนักหน่วงเท่ากับการที่คนๆ หนึ่งเกิดในแผ่นดินนี้ แต่กลับได้รับสถานะที่รับรอง โดยรัฐเพียงเป็นผู้อพยพในแผ่นดินของตัวเองเท่านั้น


เรื่องที่กล่าวมานั้นถือว่า เป็นความผิดของผู้ใดผู้หนึ่งก็ไม่ได้ เพราะพื้นที่ห่างไกล และการเข้าใจในเรื่องของกฎหมายของชาวบ้านก็มีน้อย และที่สำคัญคือยิ่งห่างไกล ยิ่งลำบาก เจ้าหน้าที่รัฐยิ่งไม่อยากเดินทางเข้าไปหา เมื่อเป็นเช่นนี้การเป็นคนไร้สัญชาติจึงเป็นเรื่องเป็นไปได้ง่าย สำหรับคนชายขอบของประเทศ ทั้งที่ในความเป็นจริงผู้คนเหล่านี้ก็มีชาติพันธุ์ที่สามารถบ่งชี้สถานะได้อย่างชัดเจน


การไร้สัญชาติย่อม หมายถึงการไร้สิทธิขั้นพื้นฐานในหลายๆ ด้านที่คนทั่วไปควรได้รับ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในด้านการศึกษา สิทธิในด้านการรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ได้ป่วย สิทธิเสรีภาพในการเดินทาง


สำหรับคนไร้สัญชาติแล้ว การมีบัตรประชาชนหนึ่งใบ มันไม่ใช่แค่แผ่นพลาสติกที่ระบุ ชื่อ สกุล วันเกิด และหมายเลขบัตรเท่านั้น หากแต่มันหมายถึง การได้มาซึ่งสิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพ อันพึงมีพึงได้เท่านั้น แต่มันยังหมายถึงการได้รับการยอมรับความเป็นพลเมืองภายในรัฐที่ตนเองอยู่อาศัยอีกด้วย


ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นใช่ว่าจะได้รับการแก้ไขเยียวยาอย่างเป็นรูปธรรมจากหน่วยงานรัฐ แต่ก็นั้นแหละ ความวัวยังไม่หาย ความควายก็เข้ามาแทรก กล่าวคือ การแก้ไขปัญหาเรื่องการไร้สัญชาติก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข แต่ปัจจุบันริมฝั่งสาละวิน ก็มีปัญหาใหม่เข้ามาแทนที่ปัญหาเก่า ดูเหมือนว่าปัญหาใหม่ที่กำลังเข้ามาจะเป็นเรื่องที่หนักหน่วงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัญหาที่มีอยู่แล้ว



บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
 แม่น้ำโขงจากหลังคาโลกสู่ทะแลจีนใต้แม่น้ำโขงได้รับการจัดอันดับว่าเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลกครอบคลุมพื้นที่ ๖ ประเทศคือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม มีผู้คนมากกว่า ๖๐ ล้านคนได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ ทั้งทำการประมง ทำการเกษตร การขนส่ง และการคมนาคม แม่น้ำโขงตอนบนมีลักษณะลาดชันไหลผ่านช่องเขาที่แคบเป็นแนวยาว แม่น้ำโขงตอนบนได้รับน้ำจากการละหายของหิมะเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในเขตปกครองตนเองของทิเบต และจีนแม่น้ำโขงในส่วนตอนกลางมีลักษณะเป็นแก่ง และมีหน้าผาสูงอยู่ในแม่น้ำและตามริมฝั่ง ระดับน้ำในฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันถึง ๒๐ เมตร…
สุมาตร ภูลายยาว
การเรียกชื่อของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งในแม่น้ำสายใดสายหนึ่งล้วนแตกต่างกันออกไปตามแต่ภาษาของคนท้องถิ่นนั้นๆ แต่ชื่อหลักที่ผู้คนทั่วไปรู้จักคงไม่ผิดแปลกกันนัก แม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำจะแตกต่างกันไปตามภาษาถิ่น และความเชื่อของคนท้องถิ่น ในแม่น้ำโขงเองก็เช่นกัน มีสถานที่หลายแห่งที่ชาวบ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงบนพรมแดนไทย-ลาวได้เรียกชื่อของสถานที่เหล่านั้นทั้งเหมือนกัน และแตกต่างกัน คอนผีหลงก็เช่นกัน คณะผู้สำรวจจากประเทศจีนอ้างอิงเอาตามคำเรียกชื่อของแก่งนี้ตามคนลาวท้องถิ่นในบริเวณนั้นว่า ‘คอนผีหลวง’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนลาวเรียกว่า ‘คอนผีหลงไม่ใช่คอนผีหลวง’ คำว่า ‘คอน’ ในพจนานุกรม…
สุมาตร ภูลายยาว
ไม่ว่าจะในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือท้องทะเล ทุกหนแห่งที่กล่าวมาล้วนมีคนกลุ่มหนึ่งอาศัยพึ่งพามาตลอด เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึงแม่น้ำ เราก็จะนึกถึงคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ นอกจากนึกถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ... เรากำลังกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม ‘คนหาปลา’ เมื่อกล่าวถึงคนกลุ่มนี้คงไม่ต้องอธิบายมากว่า พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำอาชีพอะไร แต่เมื่อเพ่งพิศลงไปในอาชีพ และวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ของพวกเขา เราจะพบว่า การดำรงตนด้วยการหาปลานั้นเป็นสิ่งยากยิ่ง แน่ละ มันมีหลายเหตุผลที่จะกล่าวเช่นนี้ เหตุผลอย่างที่หนึ่ง เมื่อเราจะออกสู่แม่น้ำ ลำคลอง…
สุมาตร ภูลายยาว
คนทำเรือแห่งแม่น้ำมูนหากเปรียบ ปู ปลาคือผลผลิตจากนาน้ำของคนไม่มีนาโคก เรือก็คงไม่ต่างอะไรจากรถไถนา ‘เรือ’ คำสั้นๆ แต่ดูเปี่ยมด้วยความหมายยิ่งใหญ่สำหรับผู้คนริมฝั่งน้ำ นอกจากจะใช้เป็นพาหนะในการเดินทางแล้ว ยังใช้ในการหาปลาอีกด้วย เรือในแม่น้ำย่อมมีขนาดแตกต่างกันออกไป แม่น้ำใหญ่เรือก็ใหญ่ แม่น้ำเล็กเรือก็ลำเล็ก นอกจากขนาดของเรือในแต่ละแม่น้ำจะแตกต่างกันออกไปแล้ว ท้องเรือที่จมอยู่ในแม่น้ำยังแตกต่างกันออกไปด้วย เรือในแม่น้ำสาละวินท้องเรือมีลักษณะแบน แต่เรือในแม่น้ำโขงท้องเรือมีลักษณะเรียวแหลมคล้ายสิ่วเจาะไม้
สุมาตร ภูลายยาว
ในสมัยก่อนคนพื้นถิ่นแถบแม่น้ำของ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันว่าน้ำโขง มีการใช้เรือในแม่น้ำของเพื่อการคมนาคมและขนส่งสินค้า ซึ่งสินค้าของคนพื้นถิ่นแถบอำเภอเชียงของและเวียงแก่นก็จะมีทั้ง เกลือ ข้าว และสินค้าอื่นๆ เพื่อค้าขายและเปลี่ยนกับฝั่งลาวและคนต่างถิ่น การค้าทางน้ำในแม่น้ำของนั้นมีมานานหลายชั่วคน นอกจากประโยชน์ในการบรรทุกสินค้าแล้ว คนท้องถิ่นยังใช้เรือในการหาปลา ซึ่งก่อนที่คนหาปลาจะหันมาใช้เรืออย่างทุกวันนี้ คนหาปลารุ่น ๗๐ ปีขึ้นไปที่หาปลาในแม่น้ำของในอดีตใช้แพไม้ไผ่เพื่อหาปลา พ่ออุ้ยผุย บุปผา อายุ ๗๖ ปี ชาวบ้านปากอิงใต้เล่าว่า “แต่ก่อนตอนพ่อเป็นหนุ่ม…
สุมาตร ภูลายยาว
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคนไทยจำนวนไม่น้อยคงได้ดีใจกับเหรียญทองเหรียญแรกในกีฬาโอลิมปิก แต่ในความดีใจนั้นก็มีความเศร้าใจปะปนมาด้วย และความเศร้าใจก็เดินทางมาพร้อมกับความสูญเสียจำนวนมหาศาลที่คิดเป็นมูลค่าของเงินแล้วไม่ตำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ความเศร้าใจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำโขงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และที่สวนไร่นาจำนวนมหาศาล ที่บอกว่าเหตุการณ์อันกำลังเกิดขึ้นเป็นความเศร้าใจนั้น เพราะพืชผลทางการเกษตรจำนวนไม่น้อยกำลังอยู่ในช่วงรอการเก็บเกี่ยวผลิต บ้างก็กำลังเริ่มให้ผลผลิต ในจำนวนผู้คนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ดูเหมือนว่าในส่วนของประเทศไทย…
สุมาตร ภูลายยาว
๑.แม่น้ำสาละวินและระบบนิเวศแม่น้ำ -บทพูด- -มีคนบรรยายเกิ่นนำเรื่องแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำเนิดจากการละลายของหิมะในธิเบตแล้วไหลผ่านประเทศจีน,ไหลเข้าเขตรัฐฉาน,รัฐคะยาห์ และไหลเรื่อยมาเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่ารวมระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตร ก่อนจะสิ้นสุดพรมแดนไทย-พม่าที่บ้านสบเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินก็จะไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะบริเวณเมืองเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งของรัฐมอญ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๘๐๐ กิโลเมตร แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ ๒๖ ของโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
 ๑.ภาพเปิดก่อนนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด            -ภาพของเด็กๆ กำลังเล่นน้ำ            -ภาพของคนกำลังหาปลา            -ภาพของงานวัฒนธรรม            -ภาพของเรือจีน            -ภาพเรือหาปลาในลาว / ภาพเรือรับจ้างขนของ / เรือโดยสาร            -…
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงไก่ขันสลับกับเสียงกลองจากวัดบนภูเขาดังกระชันถี่ขึ้น เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่ายามเช้าใกล้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในรอบหนึ่งเดือน เสียงกลองยามเช้าจากวัดจะดังอยู่ ๘ ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า ‘วันนี้วันพระ’ เมื่อลองมาไล่เรียงตัวเลขบนปฏิทินก็รู้ว่า วันนี้เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ในทางพุทธศาสนาแล้ว วันนี้ถือเป็นวันก่อเกิดสิ่งมหัศจรรย์ ๓ อย่างพร้อมกัน คือวันนี้เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปฐมบทแห่งศาสนาพุทธ ไก่ขันครั้งสุดท้ายล่วงเข้ามา หลายบ้านเริ่มตื่นขึ้นมาก่อไฟหนึ่งข้าว และทำอาหารเช้า พอพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าได้ไม่นาน…
สุมาตร ภูลายยาว
สุมาตร ภูลายยาว เฆมฝนสีดำทะมึนฉาบไปทั่วทิศทาง เรือหาปลาลำเล็กหนึ่งลำ และเรือลำใหญ่สองลำค่อยๆ เคลื่อนออกจากฝั่งริมแม่น้ำ เพื่อลอยลำไปยังเบื้องหน้าแท่งคอนกรีตอันเป็นสัญลักษ์ของความชั่วร้ายในนามการพัฒนามาหลายปี เมื่อเรือไปถึงกลางแม่น้ำ คนบนเรือค่อยๆ คลี่ผ้าขาวที่ห่อหุ้มถ่านเถ้าเบื้องหลังความตายแล้วปล่อยถ่านเถ้านั้นไหลลอยไปกับสายน้ำริมฝั่งดอกไม้ทั้งดอกจำปา ดอกเข็มแดง ดอกดาวเรือง ต่างเข้าแถวเรียงรายกันไหลไปตามแม่น้ำ หลังจากมันถูกปล่อยออกจากกรวยใบตองในมือคนริมฝั่ง ถัดออกไปจากริมฝั่งพ่อทองเจริญกับพ่อดำ ได้พาชาวบ้านจำนวนหนึ่งไปขอขมาแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
สำเนียงภาษาอีสานจากหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ฉุดให้ผมคิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหนังขึ้นมาอีกครั้ง ผมตั้งใจเอาไว้หลายครั้งแล้วว่า อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ซ่อนอยู่ในเนื้อในหนังอันเป็นเรื่องราวที่ผู้กำกับหนังคนนั้นๆ ต้องการอยากให้เราเห็น ฉากทุกฉากที่ปรากฏอยู่ในหนังแทบทุกเรื่อง ล้วนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันคือความจงใจที่ผู้กำกับต้องการอยากให้เราเห็นในสิ่งที่เขาเห็น เขาจึงได้ใส่มันเข้าไปในหนัง หลังจากดู ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จบ ผมก็มานั่งนึกว่าตัวเองได้ดูหนังอะไรบ้างที่พูดถึงแม่น้ำโขง หรือมีชาวโขงเข้าไปโลดเล่นอยู่บนจอสีขาวในโรงหนัง…
สุมาตร ภูลายยาว
‘นายน้ำ’ เป็นคำเรียกคนขับเรือที่คนลาวใช้เรียกกัน กี่ชั่วอายุคนมาแล้วก่อนที่เราจะมีถนนใช้ แม่น้ำคือถนนชนิดหนึ่งในระหว่างทางที่เรือล่องขึ้น-ลงในแม่น้ำ ยากจะคาดเดาได้ว่า บรรพบุรุษของนายน้ำคนแรกเป็นใคร บนนาวาชีวิตที่ล่องไปบนสายน้ำกว้างใหญ่ และไหลเชี่ยว ชีวิตของพวกเขาล้วนฝากไว้กับบางสิ่งบางอยางที่บางคนเรียกมันว่าชะตากรรมบ่อยครั้งที่ล่องเรือไปบนสายน้ำ เราล้วนแต่ต้องค้อมคารวะหัวใจอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา เมื่อเดินทางสู่ฝั่ง หากมองทะลุลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ อะไรคือหมุดหมายที่ฉุดรั้งพวกเขาให้มุ่งหน้าสู่เส้นทางที่มองทางไม่เห็นทางเช่นนี้ในบรรดานายน้ำที่มีอยู่มากมาย พวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นนายของน้ำ…