Skip to main content

ผู้คนแห่งสาละวิน

 

สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง


ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล ถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มเดียวที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด ชาวยินตาเล อาศัยอยู่บนที่ราบริมแม่น้ำสาละวิน ในรัฐคะยาห์ทางตอนเหนือของประเทศพม่า ในปัจจุบันชาวยินตาเลมีประชากรทั้งหมดเพียงประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าคนเท่านั้น


เมื่อย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ของการสร้างบ้านแปงเมืองของผู้คนในแถบถิ่นนี้แล้ว จะพบว่า บริเวณทั้งสองฝั่งแม่น้ำสาละวิน มีผู้คนจำนวนมากตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้มาหลายร้อยปีแล้ว


กลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำมากที่สุดในปัจจุบันคือ กลุ่มปกากะญอ ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้ปรากฏหลักฐานที่มีการกล่าวอ้างถึงเป็นจำนวนมาก เช่น ในรัชสมัยพระเจ้าพุกามมินกษัตริย์พม่า (ครองราชย์ปีพ..๒๓๗๙-๒๓๙๖) ได้ยกทัพไปตีเมืองยางแดง และเกณฑ์ไพร่พลจากเมืองยางแดง เพื่อมาตีเมืองเชียงใหม่ ไพร่พลที่เกณฑ์มานี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปกากะญอ เมืองยางแดง ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางเมืองแม่ฮ่องสอนได้สักหมายรูปช้าง ให้กับชาวบ้านในบริเวณนี้ เพื่อให้เป็นการง่ายในการเก็บส่วยสาอากร และการควบคุมกำลังคน เพื่อใช้แรงงานให้กับรัฐสยาม (อนุชิต สิงห์สุวรรณ,บทความ)


ประวัติศาสตร์บางช่วงของเมืองเชียงใหม่ ก็ได้กล่าวถึงกลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาละวินเอาไว้เช่นกัน กล่าวคือในยุคสมัยพระเจ้ากาวิละครองนครเชียงใหม่ ได้นำกำลังไพร่พลไปกวาดต้อนผู้คนในบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินอย่างต่อเนื่อง


ในปี พ..๒๓๕๒ เจ้าเมืองเชียงใหม่ก็ได้ผูกความสัมพันธ์กับเจ้าฟ้าผ่อ เจ้าเมืองยางแดง ผู้ปกครองรัฐกะเหรี่ยงอิสระ โดยในการผูกสัมพันธ์กันในครั้งนั้น ได้กำหนดให้ล้านนาปกครองฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ส่วนเจ้าฟ้าผ่อ ก็ปกครองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ โดยในการสัมพันธ์ไมตรีในครั้งนั้น ได้มีการการสาบานต่อกันว่า รัฐทั้งสองจะไม่รุกรานกัน และดูแลกันเป็นพี่เป็นน้องกันและจะไม่รุกรานกันและกัน


ในปี พ.. ๒๕๑๑ มีการค้นพบหีบคัมภีร์ใบลานที่บรรจุคัมภีร์โบราณของพุทธศาสนา ซึ่งการจดจารคัมภีร์นั้นเกิดขึ้นในช่วงประมาณปี พ.. ๒๒๔๓ บริเวณที่มีการค้นพบหีบคัมภีร์ใบลานนั้นคือ บริเวณถ้ำผาแดง ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน การค้นพบในครั้งนั้นแสดงให้เห็นว่า ความเจริญรุ่งเรืองที่มาพร้อมกับอารยธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในลุ่มน้ำสาละวินได้เป็นอย่างดี


สำหรับในเขตรัฐต่างๆ ของพม่าอาจกล่าวได้ว่า ในอดีตสายน้ำ และผืนป่าสาละวินฝั่งตะวันตกมีความสำคัญต่อชีวิต และความเป็น ความตายของผู้คนมากที่สุด โดยเฉพาะในเขตที่ยังคงมีสงครามระหว่างรัฐบาลทหารพม่า และกองกำลังกู้ชาติชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เช่น ในรัฐฉาน และรัฐกะเหรี่ยง ชาวบ้านผู้หนีภัยสงครามเป็นผู้พลัดถิ่นภายใน (Internally Displaced Persons) นับแสนคนได้อาศัยผืนป่าหนาทึบซ่อนตัวหลบหนีทหารพม่า อาศัยน้ำ และทรัพยากรจากป่าสาละวินฝั่งตะวันตกประทังชีวิตให้อยู่รอดได้ไปวันๆ


จากรายงานขององค์การ Human rights watch ได้รายงานถึงสถานการณ์ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเอาไว้ว่า ในปี ๒๕๔๗ มีประชาชนประมาณ ๖๕๐,๐๐๐ คนในพื้นที่ภาคตะวันออกของพม่าต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ อันเนื่องมาจากสงครามภายในประเทศ และยังมีคนจากพม่าอีกประมาณ ๒ ล้านคนที่อพยพเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อหนีภัยสงคราม นอกจากนั้นในจำนวนคน ๒ ล้านกว่าคน มีคนกว่า ๑๔๕,๐๐๐ คนได้กลายเป็นผู้อพยพตามค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ ที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า


ปัจจุบันกล่าวได้ว่า ชนกลุ่มน้อยที่หลบภัยการสู้รบไม่ได้อาศัยผืนดินฝั่งตะวันตกเพียงอย่างเดียว แต่ผู้คนส่วนหนึ่งยังได้อพยพหนีภัยสงครามข้ามแม่น้ำมายังฝั่งตะวันออกอีกด้วย


ตลอดระยะทางที่แม่น้ำสาละวิน ไหลผ่านมาจากที่ราบสูงของธิเบต แม่น้ำสายนี้ได้ไหลผ่านชุมชนที่เป็นที่อยู่-ที่ทำกินของคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ กว่า ๒๐ กลุ่ม กลุ่มคนชาติพันธุ์เหล่านี้อาศัยอยู่ตามที่ราบลุ่มกลางหุบเขา และพื้นที่ราบจำนวนเล็กน้อยริมฝั่งแม่น้ำสาละวินและลำห้วยสาขา ชุมชนตลอดสองฝั่งน้ำตั้งแต่รัฐฉานลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-ไทย ผู้คนส่วนใหญ่ยังชีพด้วยการทำเกษตร และบางพื้นที่ก็มีการหาปลา


นอกจากที่ราบลุ่มกลางหุบเขาแล้ว บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำสาละวิน อันเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ก็เป็นเขตที่มีการตั้งชุมชนหนาแน่นที่สุดอีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์


ในส่วนของประเทศไทย ช่วงที่แม่น้ำสาละวินไหลผ่านชายแดนไทย-พม่า บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน หากเราได้ล่องเรือตามแม่น้ำ และเดินขึ้นตามลำห้วยใหญ่-น้อยที่อยู่บริเวณพรมแดนจะพบว่า ริมน้ำสาละวิน และริมห้วยในผืนป่ากว้างใหญ่มีชุมชนเล็กๆ ตั้งกระจัดกระจายอยู่ตามป่าจำนวนมาก


ชุมชนเหล่านี้เป็นชุมชนของชาวบ้านชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ที่ตั้งรกรากในแถบนี้มานานหลายชั่วอายุคนแล้ว มีคำพูดติดตลกกล่าวกันเล่นๆ ว่า หากจะดูว่าชุมชนในปาตั้งชุมชนมานานแค่ไหนแล้ว ให้ดูต้นมะพร้าวที่มีอยู่ในชุมชน เพราะถ้าต้นมะพร้าวขึ้นสูงจนลิงปีนเหนื่อยก็แสดงว่า ชุมชนถูกตั้งขึ้นมานานแล้ว


ผืนป่าของลุ่มน้ำสาละวิน เป็นผืนป่าที่เป็นป่าสักใหญ่ต่อเนื่องกันไปถึงพม่าและอินเดีย พื้นที่นี้จัดเป็นแหล่งกำเนิดไม้สักอีกพื้นที่หนึ่งที่สำคัญที่สุดของโลก ในอดีตเคยมีการให้สัมปทานการทำไม้เป็นอย่างมาก ปัจจุบันความเสื่อมโทรมอันต่อเนื่องมาจากอดีตจึงเกิดขึ้นกับผืนป่าแห่งลุ่มน้ำสาละวิน แต่ความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นนั้นหาได้เกิดขึ้นจากคนที่อยู่ในป่าไม่ แต่มันเกิดขึ้นจากการเปิดป่า เพื่อให้สัมปทานตัดไม้ตามนโยบายของกรมป่าไม้ในอดีตต่างหาก เมื่อป่าใกล้หมด ทางการจึงมาคิดที่จะอนุรักษ์เอาเองภายหลัง และโยนความผิดให้กับคนที่อยู่ในป่าไป


แน่ละ ในยุคสมัยก่อนการอยู่ในป่าของผู้คนแถบถิ่นนี้ไม่เคยมีปัญหา แต่ภายหลังเมื่อมีการประกาศปิดป่า และป่าที่ชาวบ้านอยู่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ด้วยเงื่อนไขการทำให้ป่าเป็นป่าอนุรักษ์ การอยู่อาศัยในป่าของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ ซึ่งอยู่ที่ชายขอบของประเทศจึงเป็นเรื่องผิดกฎหมายไปโดยปริยาย


บ่อยครั้งที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ชาวบ้านไปทำไร่แล้วโดนจับ ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นปัญหาที่มองต่างมุมกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐเองก็มองว่า คนกับป่าอยู่ร่วมกันไม่ได้ เมื่อคนอยู่กับป่า คนก็คือตัวการทำลายป่า แต่ในความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งที่เจ้าหน้ารัฐไม่ยอมรับคือ คนอยู่ป่าเหล่านี้สามารถจัดการป่าได้โดยไม่ได้ทำลายป่า และพวกเขาสามารถอยู่กับป่าได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกากะญอ


การที่ชาวบ้านสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้นั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งก็มาจากประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรมของชุมชนเป็นตัวกำหนดด้วย เช่น ในตอนที่เด็กเกิด พ่อแม่ของเด็กก็จะนำรกของเด็กไปผูกไว้กับต้นไม้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ‘ป่าเดปอ’ ป่านี้จะไม่มีใครเข้าไปทำลาย เพราะเป็นป่าสายรกของพวกเขาถูกผูกเอาไว้ และพวกเขาก็จะดูแลต้นไม้ที่สายรกของพวกเขาได้ผูกเอาไว้


ในผืนป่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน นอกจากจะมีชุมชนตั้งอยู่ที่นี้มาหลายร้อยปี หลายชุมชนจึงมีการจัดทรัพยากรดิน น้ำ ป่า เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และมีประโยชน์กับชุมชนในระยะยาวมากที่สุด การจัดการทรัพยากรของชุมชนส่วนหนึ่งก็มาจากความเชื่อที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้สอนลูกหลานมาหลายชั่วอายุคน


พ่อหลวงประวิทย์ กมลวรรณหงส์ เล่าถึงความเชื่อในการรักษาป่าให้ฟังว่า

บางหมู่บ้านก็มีการทำป่าชุมชน พอมีป่าชุมชนชาวบ้านก็จัดการกันเอง พอมีป่าสัตว์ป่าก็กลับมาหาอยู่หากินของ ที่หากินของสัตว์ป่าก็อยู่ทั่วไป แต่ถ้าเป็นโป่งที่สัตว์ป่ามากินโป่งมี ๒ อย่างคือ ม้อเค-โป่งแห้งกับม้อที้-โป่งน้ำ ถ้าอยากเห็นสัตว์ป่าก็ไปซุ่มดูตามโป่ง แต่ไปซุ่มดูแล้วห้ามยิง เพราะชาวบ้านเชื่อว่า สัตว์ที่ลงมากินโป่งจะเป็นสัตว์เลี้ยงของเจ้าของโป่ง เหมือนกับที่เราเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ชาวบ้านจะไม่ไปซุ่มยิงสัตว์ที่กำลังหากินบริเวณโป่งเป็นอันขาด เพราะเชื่อว่าสัตว์ป่ามีเจ้าของดูแลปกป้อง


นอกจากชาวบ้านจะไม่ไปซุ่มยิงสัตว์แล้ว ยังมีสัตว์ป่าบางชนิดที่ห้ามยิงด้วย เช่น โกยูปก่า-ชะนี เพราะชะนีไม่กินข้าวที่ชาวบ้านปลูกไว้ ชาวบ้านถือว่าชะนีเป็นเหมือนเจ้าป่า ถ้าหากยิงชะนีตายไป ๑ ตัวขุนห้วยจะเศร้าไป ๗ ขุนห้วย การห้ามลูกห้ามหลานของผู้เฒ่าสมัยก่อนมันก็เหมือนเป็นการบอกให้ลูกหลานได้อนุรักษ์สัตว์ป่าไว้นั่นแหละ’


ว่ากันว่าถ้าเข้าไปในผืนป่าใดก็ตาม หากได้ยินเสียงชะนีร้องแสดงว่า ป่าผืนนั้นยังมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะความที่ผู้เฒ่าผู้แก่กลัวว่า สัตว์ป่าเหล่านี้จะหมดไปจากป่าผู้เฒ่าผู้แก่ จึงได้คิดค้นคำทาขึ้นมากล่าวพร่ำสอนลูกหลานให้จำสืบต่อๆ กันมาว่า

ทุกสิ่งล้วนมีเจ้าของ เรากินเราใช้แค่พอเลี้ยงชีวิต ไม่ทำลาย เพื่อให้ลูกหลานได้มีกินสืบไป’


นอกจากนี้ แต่ละชุมชนก็มีกฎเกณฑ์ในการห้ามล่าสัตว์บางชนิดอย่างชัดเจนแล้ว บางชุมชนยังมีการกำหนดโทษปรับ และหลายชุมชนยังได้มีการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์ปลา และเขตป่าอนุรักษ์ เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนอีกด้วย


นอกเหนือจากกลุ่มคนที่ได้รับการตราหน้าจากรัฐว่าเป็นคนทำลายป่าแล้ว ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกเรียกว่า ‘คนไร้สัญชาติ’ คนไร้สัญชาติในที่นี้หมายถึง คนที่ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐให้เป็นคนในรัฐ ซึ่งการเป็นคนไร้สัญชาตินั้นมักจะเกิดขึ้นกับคนชายขอบของประเทศเป็นส่วนใหญ่


การเป็นคนไร้สัญชาตินั้น ก็มีอยู่หลายประการ เช่น ไม่ได้รับการแจ้งชื่อในตอนที่เกิด พอโตขึ้นมาก็ไม่มีบัตรประชาชน เมื่อไม่มีบัตรประชาชนก็ไม่สามารถบ่งชี้สถานะได้ว่าเป็นคนของรัฐใด สำหรับบางคนเรื่องไม่มีบัตรยังไม่หนักหน่วงเท่ากับการที่คนๆ หนึ่งเกิดในแผ่นดินนี้ แต่กลับได้รับสถานะที่รับรอง โดยรัฐเพียงเป็นผู้อพยพในแผ่นดินของตัวเองเท่านั้น


เรื่องที่กล่าวมานั้นถือว่า เป็นความผิดของผู้ใดผู้หนึ่งก็ไม่ได้ เพราะพื้นที่ห่างไกล และการเข้าใจในเรื่องของกฎหมายของชาวบ้านก็มีน้อย และที่สำคัญคือยิ่งห่างไกล ยิ่งลำบาก เจ้าหน้าที่รัฐยิ่งไม่อยากเดินทางเข้าไปหา เมื่อเป็นเช่นนี้การเป็นคนไร้สัญชาติจึงเป็นเรื่องเป็นไปได้ง่าย สำหรับคนชายขอบของประเทศ ทั้งที่ในความเป็นจริงผู้คนเหล่านี้ก็มีชาติพันธุ์ที่สามารถบ่งชี้สถานะได้อย่างชัดเจน


การไร้สัญชาติย่อม หมายถึงการไร้สิทธิขั้นพื้นฐานในหลายๆ ด้านที่คนทั่วไปควรได้รับ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในด้านการศึกษา สิทธิในด้านการรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ได้ป่วย สิทธิเสรีภาพในการเดินทาง


สำหรับคนไร้สัญชาติแล้ว การมีบัตรประชาชนหนึ่งใบ มันไม่ใช่แค่แผ่นพลาสติกที่ระบุ ชื่อ สกุล วันเกิด และหมายเลขบัตรเท่านั้น หากแต่มันหมายถึง การได้มาซึ่งสิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพ อันพึงมีพึงได้เท่านั้น แต่มันยังหมายถึงการได้รับการยอมรับความเป็นพลเมืองภายในรัฐที่ตนเองอยู่อาศัยอีกด้วย


ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นใช่ว่าจะได้รับการแก้ไขเยียวยาอย่างเป็นรูปธรรมจากหน่วยงานรัฐ แต่ก็นั้นแหละ ความวัวยังไม่หาย ความควายก็เข้ามาแทรก กล่าวคือ การแก้ไขปัญหาเรื่องการไร้สัญชาติก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข แต่ปัจจุบันริมฝั่งสาละวิน ก็มีปัญหาใหม่เข้ามาแทนที่ปัญหาเก่า ดูเหมือนว่าปัญหาใหม่ที่กำลังเข้ามาจะเป็นเรื่องที่หนักหน่วงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัญหาที่มีอยู่แล้ว



บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน”…
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง…
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ฉันเคยสงสัยอยู่ว่า คนเราเมื่อเดินทางไกลข้ามคืนข้ามวัน เราล้วนได้รับความเหนื่อยล้า แต่เมื่อไปถึงปลายทาง เราจะสลัดทิ้งความเหนื่อยล้าได้ยังไง คำถามเช่นนี้ไม่เคยเป็นคำตอบเลยสำหรับฉัน เพราะบ่อยครั้งที่เริ่มต้นเดินทางไกล–อันหมายถึงระยะทาง ทุกครั้งเมื่อถึงจุดหมาย ฉันหวังเพียงได้เอนตัวลงพักพอหายเหนื่อยแล้วค่อยคลี่คลายชีวิตไปสู่ทิศทางอย่างอื่น แต่นั้นก็เป็นเพียงความคิดที่วูบเข้ามา ความจริงการจะทำเช่นนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะกับการเดินทางครั้งนี้ หลังรถโดยสารปรับอากาศสายเชียงใหม่-อุบลราชธานี พาผู้โดยสารออกเดินทางยาวนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจอดสงบนิ่งลงที่ท่ารถห่างออกมาจากตัวเมือง…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้นในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟังเรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ…
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
“สาละวินไม่มีคน” คือคำพูดของบรรดานักพัฒนาผู้แสวงหากำไรบนหนทางของการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ยกขึ้นมาบอกกล่าวจนชินหู แต่หากได้ลงมาล่องเรือเลียบเลาะสายน้ำชายแดนแห่งนี้ จะพบว่าแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่ยังคงไหลอย่างอิสระแห่งนี้เป็นบ้าน เป็นชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าตลอดสองฝั่งน้ำงานวิจัยปกากญอ “วิถีแม่น้ำและผืนป่าของปกากญอสาละวิน” ได้จัดทำโดยนักวิจัยชาวบ้าน ปกากญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า เขต อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามมาจากขุนเขา บางคนบอกว่าลมหนาวพัดมาจากไซบีเรีย ซึ่งสังเกตได้จากการดูนกอพยพหนีหนาวมา บางคนก็บอกว่าลมหนาวพัดมาจากเทือกเขาสูงของประเทศจีน เมื่อลมหนาวมาเยือน เพียงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ก็สามารถสัมผัสได้ทางผิวกายที่เริ่มแห้งลงเรื่อยๆ และป่าเริ่มเปลี่ยนสีพร้อมผลัดใบไปกับลมแล้งในความหนาวเย็นนั้น เขาเดินทางรอนแรมฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของหน้าแล้งไปตามลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่สุดเขตแดนประเทศไทยด้านตะวันตก เขาก็ไม่รู้เช่นกันว่าทำไมเขาต้องมายังที่แห่งนี้ เพราะในส่วนลึกของหัวใจของเขามันไม่ได้เรียกร้องให้เขาเดินทางมายังที่แห่งนี้เลย ในห้วงแห่งกาลเวลาอย่างนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น‘สบเมย’…