Skip to main content

ผู้คนแห่งสาละวิน

 

สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง


ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล ถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มเดียวที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด ชาวยินตาเล อาศัยอยู่บนที่ราบริมแม่น้ำสาละวิน ในรัฐคะยาห์ทางตอนเหนือของประเทศพม่า ในปัจจุบันชาวยินตาเลมีประชากรทั้งหมดเพียงประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าคนเท่านั้น


เมื่อย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ของการสร้างบ้านแปงเมืองของผู้คนในแถบถิ่นนี้แล้ว จะพบว่า บริเวณทั้งสองฝั่งแม่น้ำสาละวิน มีผู้คนจำนวนมากตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้มาหลายร้อยปีแล้ว


กลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำมากที่สุดในปัจจุบันคือ กลุ่มปกากะญอ ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้ปรากฏหลักฐานที่มีการกล่าวอ้างถึงเป็นจำนวนมาก เช่น ในรัชสมัยพระเจ้าพุกามมินกษัตริย์พม่า (ครองราชย์ปีพ..๒๓๗๙-๒๓๙๖) ได้ยกทัพไปตีเมืองยางแดง และเกณฑ์ไพร่พลจากเมืองยางแดง เพื่อมาตีเมืองเชียงใหม่ ไพร่พลที่เกณฑ์มานี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปกากะญอ เมืองยางแดง ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางเมืองแม่ฮ่องสอนได้สักหมายรูปช้าง ให้กับชาวบ้านในบริเวณนี้ เพื่อให้เป็นการง่ายในการเก็บส่วยสาอากร และการควบคุมกำลังคน เพื่อใช้แรงงานให้กับรัฐสยาม (อนุชิต สิงห์สุวรรณ,บทความ)


ประวัติศาสตร์บางช่วงของเมืองเชียงใหม่ ก็ได้กล่าวถึงกลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาละวินเอาไว้เช่นกัน กล่าวคือในยุคสมัยพระเจ้ากาวิละครองนครเชียงใหม่ ได้นำกำลังไพร่พลไปกวาดต้อนผู้คนในบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินอย่างต่อเนื่อง


ในปี พ..๒๓๕๒ เจ้าเมืองเชียงใหม่ก็ได้ผูกความสัมพันธ์กับเจ้าฟ้าผ่อ เจ้าเมืองยางแดง ผู้ปกครองรัฐกะเหรี่ยงอิสระ โดยในการผูกสัมพันธ์กันในครั้งนั้น ได้กำหนดให้ล้านนาปกครองฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ส่วนเจ้าฟ้าผ่อ ก็ปกครองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ โดยในการสัมพันธ์ไมตรีในครั้งนั้น ได้มีการการสาบานต่อกันว่า รัฐทั้งสองจะไม่รุกรานกัน และดูแลกันเป็นพี่เป็นน้องกันและจะไม่รุกรานกันและกัน


ในปี พ.. ๒๕๑๑ มีการค้นพบหีบคัมภีร์ใบลานที่บรรจุคัมภีร์โบราณของพุทธศาสนา ซึ่งการจดจารคัมภีร์นั้นเกิดขึ้นในช่วงประมาณปี พ.. ๒๒๔๓ บริเวณที่มีการค้นพบหีบคัมภีร์ใบลานนั้นคือ บริเวณถ้ำผาแดง ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน การค้นพบในครั้งนั้นแสดงให้เห็นว่า ความเจริญรุ่งเรืองที่มาพร้อมกับอารยธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในลุ่มน้ำสาละวินได้เป็นอย่างดี


สำหรับในเขตรัฐต่างๆ ของพม่าอาจกล่าวได้ว่า ในอดีตสายน้ำ และผืนป่าสาละวินฝั่งตะวันตกมีความสำคัญต่อชีวิต และความเป็น ความตายของผู้คนมากที่สุด โดยเฉพาะในเขตที่ยังคงมีสงครามระหว่างรัฐบาลทหารพม่า และกองกำลังกู้ชาติชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เช่น ในรัฐฉาน และรัฐกะเหรี่ยง ชาวบ้านผู้หนีภัยสงครามเป็นผู้พลัดถิ่นภายใน (Internally Displaced Persons) นับแสนคนได้อาศัยผืนป่าหนาทึบซ่อนตัวหลบหนีทหารพม่า อาศัยน้ำ และทรัพยากรจากป่าสาละวินฝั่งตะวันตกประทังชีวิตให้อยู่รอดได้ไปวันๆ


จากรายงานขององค์การ Human rights watch ได้รายงานถึงสถานการณ์ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเอาไว้ว่า ในปี ๒๕๔๗ มีประชาชนประมาณ ๖๕๐,๐๐๐ คนในพื้นที่ภาคตะวันออกของพม่าต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ อันเนื่องมาจากสงครามภายในประเทศ และยังมีคนจากพม่าอีกประมาณ ๒ ล้านคนที่อพยพเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อหนีภัยสงคราม นอกจากนั้นในจำนวนคน ๒ ล้านกว่าคน มีคนกว่า ๑๔๕,๐๐๐ คนได้กลายเป็นผู้อพยพตามค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ ที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า


ปัจจุบันกล่าวได้ว่า ชนกลุ่มน้อยที่หลบภัยการสู้รบไม่ได้อาศัยผืนดินฝั่งตะวันตกเพียงอย่างเดียว แต่ผู้คนส่วนหนึ่งยังได้อพยพหนีภัยสงครามข้ามแม่น้ำมายังฝั่งตะวันออกอีกด้วย


ตลอดระยะทางที่แม่น้ำสาละวิน ไหลผ่านมาจากที่ราบสูงของธิเบต แม่น้ำสายนี้ได้ไหลผ่านชุมชนที่เป็นที่อยู่-ที่ทำกินของคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ กว่า ๒๐ กลุ่ม กลุ่มคนชาติพันธุ์เหล่านี้อาศัยอยู่ตามที่ราบลุ่มกลางหุบเขา และพื้นที่ราบจำนวนเล็กน้อยริมฝั่งแม่น้ำสาละวินและลำห้วยสาขา ชุมชนตลอดสองฝั่งน้ำตั้งแต่รัฐฉานลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-ไทย ผู้คนส่วนใหญ่ยังชีพด้วยการทำเกษตร และบางพื้นที่ก็มีการหาปลา


นอกจากที่ราบลุ่มกลางหุบเขาแล้ว บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำสาละวิน อันเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ก็เป็นเขตที่มีการตั้งชุมชนหนาแน่นที่สุดอีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์


ในส่วนของประเทศไทย ช่วงที่แม่น้ำสาละวินไหลผ่านชายแดนไทย-พม่า บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน หากเราได้ล่องเรือตามแม่น้ำ และเดินขึ้นตามลำห้วยใหญ่-น้อยที่อยู่บริเวณพรมแดนจะพบว่า ริมน้ำสาละวิน และริมห้วยในผืนป่ากว้างใหญ่มีชุมชนเล็กๆ ตั้งกระจัดกระจายอยู่ตามป่าจำนวนมาก


ชุมชนเหล่านี้เป็นชุมชนของชาวบ้านชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ที่ตั้งรกรากในแถบนี้มานานหลายชั่วอายุคนแล้ว มีคำพูดติดตลกกล่าวกันเล่นๆ ว่า หากจะดูว่าชุมชนในปาตั้งชุมชนมานานแค่ไหนแล้ว ให้ดูต้นมะพร้าวที่มีอยู่ในชุมชน เพราะถ้าต้นมะพร้าวขึ้นสูงจนลิงปีนเหนื่อยก็แสดงว่า ชุมชนถูกตั้งขึ้นมานานแล้ว


ผืนป่าของลุ่มน้ำสาละวิน เป็นผืนป่าที่เป็นป่าสักใหญ่ต่อเนื่องกันไปถึงพม่าและอินเดีย พื้นที่นี้จัดเป็นแหล่งกำเนิดไม้สักอีกพื้นที่หนึ่งที่สำคัญที่สุดของโลก ในอดีตเคยมีการให้สัมปทานการทำไม้เป็นอย่างมาก ปัจจุบันความเสื่อมโทรมอันต่อเนื่องมาจากอดีตจึงเกิดขึ้นกับผืนป่าแห่งลุ่มน้ำสาละวิน แต่ความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นนั้นหาได้เกิดขึ้นจากคนที่อยู่ในป่าไม่ แต่มันเกิดขึ้นจากการเปิดป่า เพื่อให้สัมปทานตัดไม้ตามนโยบายของกรมป่าไม้ในอดีตต่างหาก เมื่อป่าใกล้หมด ทางการจึงมาคิดที่จะอนุรักษ์เอาเองภายหลัง และโยนความผิดให้กับคนที่อยู่ในป่าไป


แน่ละ ในยุคสมัยก่อนการอยู่ในป่าของผู้คนแถบถิ่นนี้ไม่เคยมีปัญหา แต่ภายหลังเมื่อมีการประกาศปิดป่า และป่าที่ชาวบ้านอยู่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ด้วยเงื่อนไขการทำให้ป่าเป็นป่าอนุรักษ์ การอยู่อาศัยในป่าของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ ซึ่งอยู่ที่ชายขอบของประเทศจึงเป็นเรื่องผิดกฎหมายไปโดยปริยาย


บ่อยครั้งที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ชาวบ้านไปทำไร่แล้วโดนจับ ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นปัญหาที่มองต่างมุมกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐเองก็มองว่า คนกับป่าอยู่ร่วมกันไม่ได้ เมื่อคนอยู่กับป่า คนก็คือตัวการทำลายป่า แต่ในความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งที่เจ้าหน้ารัฐไม่ยอมรับคือ คนอยู่ป่าเหล่านี้สามารถจัดการป่าได้โดยไม่ได้ทำลายป่า และพวกเขาสามารถอยู่กับป่าได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกากะญอ


การที่ชาวบ้านสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้นั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งก็มาจากประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรมของชุมชนเป็นตัวกำหนดด้วย เช่น ในตอนที่เด็กเกิด พ่อแม่ของเด็กก็จะนำรกของเด็กไปผูกไว้กับต้นไม้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ‘ป่าเดปอ’ ป่านี้จะไม่มีใครเข้าไปทำลาย เพราะเป็นป่าสายรกของพวกเขาถูกผูกเอาไว้ และพวกเขาก็จะดูแลต้นไม้ที่สายรกของพวกเขาได้ผูกเอาไว้


ในผืนป่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน นอกจากจะมีชุมชนตั้งอยู่ที่นี้มาหลายร้อยปี หลายชุมชนจึงมีการจัดทรัพยากรดิน น้ำ ป่า เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และมีประโยชน์กับชุมชนในระยะยาวมากที่สุด การจัดการทรัพยากรของชุมชนส่วนหนึ่งก็มาจากความเชื่อที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้สอนลูกหลานมาหลายชั่วอายุคน


พ่อหลวงประวิทย์ กมลวรรณหงส์ เล่าถึงความเชื่อในการรักษาป่าให้ฟังว่า

บางหมู่บ้านก็มีการทำป่าชุมชน พอมีป่าชุมชนชาวบ้านก็จัดการกันเอง พอมีป่าสัตว์ป่าก็กลับมาหาอยู่หากินของ ที่หากินของสัตว์ป่าก็อยู่ทั่วไป แต่ถ้าเป็นโป่งที่สัตว์ป่ามากินโป่งมี ๒ อย่างคือ ม้อเค-โป่งแห้งกับม้อที้-โป่งน้ำ ถ้าอยากเห็นสัตว์ป่าก็ไปซุ่มดูตามโป่ง แต่ไปซุ่มดูแล้วห้ามยิง เพราะชาวบ้านเชื่อว่า สัตว์ที่ลงมากินโป่งจะเป็นสัตว์เลี้ยงของเจ้าของโป่ง เหมือนกับที่เราเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ชาวบ้านจะไม่ไปซุ่มยิงสัตว์ที่กำลังหากินบริเวณโป่งเป็นอันขาด เพราะเชื่อว่าสัตว์ป่ามีเจ้าของดูแลปกป้อง


นอกจากชาวบ้านจะไม่ไปซุ่มยิงสัตว์แล้ว ยังมีสัตว์ป่าบางชนิดที่ห้ามยิงด้วย เช่น โกยูปก่า-ชะนี เพราะชะนีไม่กินข้าวที่ชาวบ้านปลูกไว้ ชาวบ้านถือว่าชะนีเป็นเหมือนเจ้าป่า ถ้าหากยิงชะนีตายไป ๑ ตัวขุนห้วยจะเศร้าไป ๗ ขุนห้วย การห้ามลูกห้ามหลานของผู้เฒ่าสมัยก่อนมันก็เหมือนเป็นการบอกให้ลูกหลานได้อนุรักษ์สัตว์ป่าไว้นั่นแหละ’


ว่ากันว่าถ้าเข้าไปในผืนป่าใดก็ตาม หากได้ยินเสียงชะนีร้องแสดงว่า ป่าผืนนั้นยังมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะความที่ผู้เฒ่าผู้แก่กลัวว่า สัตว์ป่าเหล่านี้จะหมดไปจากป่าผู้เฒ่าผู้แก่ จึงได้คิดค้นคำทาขึ้นมากล่าวพร่ำสอนลูกหลานให้จำสืบต่อๆ กันมาว่า

ทุกสิ่งล้วนมีเจ้าของ เรากินเราใช้แค่พอเลี้ยงชีวิต ไม่ทำลาย เพื่อให้ลูกหลานได้มีกินสืบไป’


นอกจากนี้ แต่ละชุมชนก็มีกฎเกณฑ์ในการห้ามล่าสัตว์บางชนิดอย่างชัดเจนแล้ว บางชุมชนยังมีการกำหนดโทษปรับ และหลายชุมชนยังได้มีการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์ปลา และเขตป่าอนุรักษ์ เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนอีกด้วย


นอกเหนือจากกลุ่มคนที่ได้รับการตราหน้าจากรัฐว่าเป็นคนทำลายป่าแล้ว ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกเรียกว่า ‘คนไร้สัญชาติ’ คนไร้สัญชาติในที่นี้หมายถึง คนที่ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐให้เป็นคนในรัฐ ซึ่งการเป็นคนไร้สัญชาตินั้นมักจะเกิดขึ้นกับคนชายขอบของประเทศเป็นส่วนใหญ่


การเป็นคนไร้สัญชาตินั้น ก็มีอยู่หลายประการ เช่น ไม่ได้รับการแจ้งชื่อในตอนที่เกิด พอโตขึ้นมาก็ไม่มีบัตรประชาชน เมื่อไม่มีบัตรประชาชนก็ไม่สามารถบ่งชี้สถานะได้ว่าเป็นคนของรัฐใด สำหรับบางคนเรื่องไม่มีบัตรยังไม่หนักหน่วงเท่ากับการที่คนๆ หนึ่งเกิดในแผ่นดินนี้ แต่กลับได้รับสถานะที่รับรอง โดยรัฐเพียงเป็นผู้อพยพในแผ่นดินของตัวเองเท่านั้น


เรื่องที่กล่าวมานั้นถือว่า เป็นความผิดของผู้ใดผู้หนึ่งก็ไม่ได้ เพราะพื้นที่ห่างไกล และการเข้าใจในเรื่องของกฎหมายของชาวบ้านก็มีน้อย และที่สำคัญคือยิ่งห่างไกล ยิ่งลำบาก เจ้าหน้าที่รัฐยิ่งไม่อยากเดินทางเข้าไปหา เมื่อเป็นเช่นนี้การเป็นคนไร้สัญชาติจึงเป็นเรื่องเป็นไปได้ง่าย สำหรับคนชายขอบของประเทศ ทั้งที่ในความเป็นจริงผู้คนเหล่านี้ก็มีชาติพันธุ์ที่สามารถบ่งชี้สถานะได้อย่างชัดเจน


การไร้สัญชาติย่อม หมายถึงการไร้สิทธิขั้นพื้นฐานในหลายๆ ด้านที่คนทั่วไปควรได้รับ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในด้านการศึกษา สิทธิในด้านการรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ได้ป่วย สิทธิเสรีภาพในการเดินทาง


สำหรับคนไร้สัญชาติแล้ว การมีบัตรประชาชนหนึ่งใบ มันไม่ใช่แค่แผ่นพลาสติกที่ระบุ ชื่อ สกุล วันเกิด และหมายเลขบัตรเท่านั้น หากแต่มันหมายถึง การได้มาซึ่งสิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพ อันพึงมีพึงได้เท่านั้น แต่มันยังหมายถึงการได้รับการยอมรับความเป็นพลเมืองภายในรัฐที่ตนเองอยู่อาศัยอีกด้วย


ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นใช่ว่าจะได้รับการแก้ไขเยียวยาอย่างเป็นรูปธรรมจากหน่วยงานรัฐ แต่ก็นั้นแหละ ความวัวยังไม่หาย ความควายก็เข้ามาแทรก กล่าวคือ การแก้ไขปัญหาเรื่องการไร้สัญชาติก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข แต่ปัจจุบันริมฝั่งสาละวิน ก็มีปัญหาใหม่เข้ามาแทนที่ปัญหาเก่า ดูเหมือนว่าปัญหาใหม่ที่กำลังเข้ามาจะเป็นเรื่องที่หนักหน่วงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัญหาที่มีอยู่แล้ว



บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…