Skip to main content
เมฆสีดำเหนือฟ้าด้านตะวันออกส่งสายฝนลงมาตั้งแต่เช้าจนล่วงบ่าย แม่น้ำเป็นสีชานมเย็น เศษขยะ ขอนไม้ ท่อนไม้ และต้นไม้ลอยมากับสายน้ำ และไหลไปตามแรงเฉื่อยของกระแสน้ำ

\\/--break--\>
สายน้ำเหมือนนิ่งเงียบไหลเอื่อยช้า แต่ทว่ากลับรุนแรง เรือยนต์รับส่งคนข้ามฟากตัดเฉือนสายน้ำจนถึงจุดหมายตั้งแต่เช้าจรดเย็น


เสียงเพลงจากร้านมุมสบายริมฝั่งโขงดังขึ้นอีกครั้งหลังจมอยู่กับความเงียบในตอนเกือบตี ๓ ของคืนที่ผ่านมา ตรงถนนเลียบริมแม่น้ำโขง บางกลายช่วงเป็นลู่วิ่งสำหรับคนรักสุขภาพ บางช่วงก็เป็นมุมสำหรับถ่ายรูปของนักเดินทางพเนจร ผู้แรมรอนออกจากรวงรังที่พักพิงเก่าโบยบินมาสู่รวงรังที่พักพิงแห่งใหม่ด้วยเวลาชั่วครู่ชั่วยามของการขยับปีกบินของผีเสื้อ


ขณะนั่งมองสายน้ำหลังกลับมาจากแตะฟุตบอล ผมพบว่า วันนี้ฟ้าด้านทิศตะวันตกเป็นสีแดงสลับดำดูน่ากลัว แต่ด้านทิศตะวันออกเป็นสีฟ้างดงาม หลังพักจนหายเหนื่อย ความคิดบางอย่างจึงผุดขึ้นมา ‘เราน่าจะเขียนบอกเล่าเรื่องราวที่ได้พบเจอในช่วงนี้ให้ใครบางคนได้อ่าน' จากความคิดเช่นนี้ ผมจึงตัดสินใจวางโครงสร้างคร่าวๆ ของเรื่องที่จะเขียนจนได้ข้อสรุปว่าน่าจะเขียนบอกเล่าเรื่องราวของหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำโขง


จากข้อสรุปนั้น ผมจึงมานั่งทบทวนการเดินทางที่ได้พาตัวเองไปสัมผัสกับเรื่องราว และผู้คนจากหมู่บ้านริมฝั่งโขง แต่ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะเริ่มจากตรงไหน เนิ่นนานหลายวันที่หน้ากระดาษบนจอคอมพิวเตอร์ว่างเปล่า


การเริ่มต้นสำหรับการทำงานเขียนสักชิ้นนั้นสำหรับผมยากพอๆ กับการทำอาหารให้อร่อยถูกปากตัวเอง และคนอื่น แต่เมื่อการครุ่นคิดผ่านไปหลายวัน จินตนาการอันหริบหรี่ก็สว่างขึ้น เมื่อได้อ่านหนังสือชื่อ THE OLD MAN AND THE SEA ของ ERNEST HEMINGWAY อันเป็นฉบับที่พิมพ์เป็นภาษาไทยเมื่อเดือนกรกฏาคม ๒๕๒๒ โดยสำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ สำนวนแปลของสายธาร เมื่อลองไล่เรียงถึงวันเดือนปีในการพิมพ์หนังสือเล่มนี้แล้วพบว่า ผ่านมา ๓๐ ปีแล้ว หนังสือมีอายุ ๓๐ ปี ทั้งที่กระดาษยังดี สันปกยังอยู่คงทนจะมีก็เพียงแต่เนื้อในของหนังสือมีรอยขีดเขียนอยู่บ้างหลายหน้ากระดาษ และหนังสือเล่มนี้เองที่กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้ผมตัดสินในเขียนงานสารคดีชิ้นยาวที่เป็นเรื่องราวของผู้เฒ่าคนหาปลา


หากเปรียบหนังสือเล่มนี้กับคนหาปลา ในช่วงระยะเวลากว่า ๓๐ ปีที่รอนแรมออกหาปลา นั่นถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ไม่น้อยทีเดียว และ ๓๐ ปีของการวนเวียนหาปลาในแม่น้ำคงมีเรื่องเล่ามากมายหลายเรื่อง แต่เรื่องใดจะเป็นเหตุการณ์อันน่าสนใจ เรื่องนี้สิน่าขบคิด


หลังตั้งสติ และจดชุดความคิดทุกอย่างลงบนกระดาษ สายฝนนอกบ้านยังคงโปรยสายลงมาหนักหน่วงกว่าเดิม เสียงฝนกระทบสังกะสีหลังคาบ้านดังขึ้นเป็นลำดับ ในที่สุดความคั่งค้างในใจก็ผ่อนเบาลง เมื่อประโยคแรกบนหน้ากระดาษค่อยปรากฏตัวอักษรขึ้นทีละตัว ที่ละแถว


(บางถ้อยคำที่ยกมาจากหน้ากระดาษของสมุดบันทึก)


วันนี้นักท่องเที่ยวยังคงมีอยู่ รวมทั้งเราด้วย บางทีการเดินทางมาของเรากับนักท่องเที่ยวเหล่านั้นอาจแตกต่างกันไป บางคนมาเพื่อเห็นความงามของแม่น้ำดุจเดียวกับเรา แต่เราอาจต่างจากนักท่องเที่ยวกลุ่มนั้นอยู่บ้างตรงที่ เราพยายามบอกเล่าถึงความงามของแม่น้ำ และหาวิธีดูแลรักษาให้ความงามของแม่น้ำได้อยู่คงทน ภาระกิจเช่นนี้ บางครั้งเราไม่อาจบอกใครได้ ภาพบางภาพที่เราถ่ายจึงไม่ได้อารมณ์ของสีและแสง รวมทั้งแห้งแล้งไร้จินตนาการ แต่หากว่าภาพเหล่านี้ก็ดูแลความรู้สึกของเราได้ดี อย่างภาพของคนหาปลาที่กลับบ้านมือเปล่าในตอนเย็น เพราะไม่ได้ปลา อันเนื่องมาแต่น้ำแห้งลงเร็ว เบ็ดที่ปักไว้จึงไม่มีปลาใหญ่มากินเหยื่อ


คิดไปคิดมาก็แปลกดี แม่น้ำคงอยากบอกอะไรกับเราบ้างแล้วละ แต่เราจะฟังเสียงร่ำร้องของแม่น้ำอย่างไร วันนี้แสนน่าเบื่อหน่าย กลับจากลงพื้นที่พร้อมกับความร้อนที่แผ่กระจายไปทั่ว ต้นสักริมถนนข้างโรงเรียนเชียงคานใบร่วงเหลือแต่กิ่งก้านราวกับนางแบบนู้ด แม่น้ำก็แห้งลง แต่แปลกแม่น้ำยิ่งแห้งลง ตามริมฝั่งน้ำคนกลับมากขึ้น ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หรือว่า เราต่างพากันหลงรักแม่น้ำในฤดูแล้งกันหมด เราจึงดำผุดดำว่าย และหยอกล้อกับเรียวคลื่นเล็กๆ รวมทั้งผืนทรายของแม่น้ำด้วยรอยยิ้ม


ตอนนี้ใก้ลวันหยุดเขื่อนโลกเต็มทีแล้ว ปีนี้จะมีการจัดกิจกรรมอีกหรือเปล่ายังไม่รู้เลย แต่เขื่อนบนแม่น้ำโขงก็เดินหน้าสร้าง และสำรวจกันอยู่ตลอด ตกลงบ้านเราเมืองเราไม่มีไฟฟ้าใช้หรือไง ถึงได้เดินหน้าไปซื้อไฟฟ้าจากแทบทุกเขื่อนที่มีการก่อสร้าง และกำลังสำรวจจะก่อสร้าง ไฟฟ้า...ไฟฟ้า ถ้าไม่มีใช้เราจะอยู่ได้หรือเปล่า ถ้ามีใช้แล้วเราจะใช้ยังไงให้คุ้มค่าที่สุด...รู้แล้ว เราต้องเปิดหน้าต่าง ปิดแอร์ ปิดพัดลม แล้วก็ปิดไฟนอน...


เชียงคาน, ฤดูแล้งร้อน, มีนา,๕๒

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาว ลมหนาวและความร้อนแล้งโชยผ่านยอดขุนเขาด้านทิศตะวันตกแห่งเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านนามาแผ่วๆ แล้วฤดูกาลแห่งความเหน็บหนาวก็เดินทางมาอีกครั้งพร้อมกับลมสายลมนั้น
สุมาตร ภูลายยาว
สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’…
สุมาตร ภูลายยาว
เจ้าม้าศึกสีเทา ๒,๒๐๐ ซีซี ทะยานไปตามทางลูกรังสีแดงเบื้องหลังฝุ่นคลุ้งตลบ หากมีรถวิ่งตามมาคงบอกได้คำเดียวว่า ‘ขอโทษ’ ก่อนจะถึงทางแยกเสียงโทรศัพท์ของผู้ไปถึงก่อนก็บอกให้ตรงมาตามทางอย่าได้เลี้ยวซ้ายเป็นอันขาด เพราะนั่นหมายถึงการหลงทางจะเกิดขึ้น
สุมาตร ภูลายยาว
การเดินทางเที่ยวนี้มีผู้หญิงนำ เช้านี้เป็นอีกวันที่ตื่นเช้ากว่าวันอื่น แต่หากว่าเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่วไปแล้ว ถือว่ายังสาย โดยเฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าการตื่นนอนตอน ๖ โมงเช้านั้นถือว่าสายมากแล้ว เช้านี้กว่าจะเปิดเปลือกตาตื่นช่างหนักหนาสาหัส ราวกับว่าเปือกตาทั้งสองข้างถูกปิดทับไว้ด้วยเทปกาวชั้นดี หลังล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ สมองยังคงงุนงง อาจเป็นเพราะช่วงนี้พักผ่อนไม่ค่อยพอ รวมทั้งมีเรื่องหลายเรื่องให้ได้คิด แต่เพราะงานที่ทำจึงต้องบังคับตัวเองให้ลุกจากที่นอน
สุมาตร ภูลายยาว
จะแกคนเลี้ยงวัวผู้ไม่เคยขุ่นมัวในหัวใจ ผมจำได้ว่าพบชายคนนี้ครั้งแรกเมื่อเข้าไปบ้านสองพี่น้อง เขาดูแปลกกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน เพราะเขาเป็นผู้ชายคนเดียวในหมู่บ้านที่ไว้ผมยาว เค้าโครงใบหน้าของเขาราวกับถอดแบบออกมาจากหัวหน้าชนเผ่าของอินเดียนแดง
สุมาตร ภูลายยาว
การงานของชีวิตที่ตกค้าง ฝนเทลงมาอีกวันแล้ว...เสียงสังกะสีดังราวกับมีก้อนหินนับล้านร่วงลงมาใส่ เย็นวันนี้มีเรื่องราวให้ขบคิดมากมาย กลับมาจากการประชุมที่เคร่งเครียด อันนับว่าเป็นการงานส่วนหนึ่งของชีวิต เล่นเอาเหนื่อยสายตัวแทบขาด แล้วยังมีงานอะไรที่ยังไม่ได้ทำอีกไหมนี่
สุมาตร ภูลายยาว
บันทึกในค่ำคืนที่เปลี่ยนผ่านกับนิทรรศการที่ไม่ได้จัด สายฝนของเดือนกันยายนโปรยสายลงมาทั้งวัน เราออกเดินทางจากเชียงของมาแต่ตอนเช้าด้วยรถคันเล็ก บนกระบะทางตอนท้ายบรรทุกเอกสารต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการมาเต็ม รถต้องจดหลายครั้ง เพื่อห่มผ้ายางกันฝนให้ของบนกระบะรถ เราผ่านมากว่าครึ่งทาง ฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก ซ้ำร้ายยังตกลงมาหนักกว่าเดิม รถวิ่งทำความเร็วได้ไม่มากนัก ทั้งที่ความเป็นจริงแม้ฝนจะไม่ตก มันก็ไม่เคยวิ่งได้เร็วกว่าที่วิ่งอยู่เท่าใดนัก
สุมาตร ภูลายยาว
เมฆสีดำเหนือฟ้าด้านตะวันออกส่งสายฝนลงมาตั้งแต่เช้าจนล่วงบ่าย แม่น้ำเป็นสีชานมเย็น เศษขยะ ขอนไม้ ท่อนไม้ และต้นไม้ลอยมากับสายน้ำ และไหลไปตามแรงเฉื่อยของกระแสน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
เช้านี้เหมือนกับทุกเช้าในช่วงนี้พ่อท่อน ยาแก้วเดินทอดน่องในสวนบนดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อดูแปลงมะเขือราว ๔ ไร่ ในใจพ่อท่อนเองไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้แม้ว่าจะถึงช่วงเวลาในการเก็บแล้ว สาเหตุที่ทำให้พ่อท่อนไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้ เพราะราคามะเขือต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ปีนี้มะเขือหนึ่งหมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ขายส่งจากสวนได้เงิน ๑๒ บาท
สุมาตร ภูลายยาว

รถตู้วิ่งไปบนถนนลาดยางมะตอยที่บางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนสายนี้เป็นเส้นทางจากจังหวัดกระแจะไปอำเภอสามบอ เพราะถนนไม่ค่อยดีนัก ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตรต้องใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมงจึงถึงจุดหมาย เมื่อรถตู้ทั้ง ๓ คันจอดสงบนิ่งลงตรงประตูหน้าวัด ผู้โดยสารในรถตู้ก็พากันทยอยลงจากรถ เบื้องล่างของถนนเป็นแม่น้ำสายใหญ่ คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘โตนเลของ-แม่น้ำของ-โขง’ แม้ยังไม่สายมากนัก แต่แสงแดดก็ส่องประกายร้อนแรงเหนือสายน้ำ ฟ้ากว้างเปล่าแปนเป็นสีฟ้าไกลสุดสายตาหยั่งถึง บนสายน้ำเรือหลายลำจอดลอยลำอยู่ ใกล้กับเรือตรงโคนต้นจามจุรีมีเด็ก ๓-๔ คนนั่งอยู่ ถัดจากโคนต้นจามจุรีไปมีเรือลำหนึ่งลอยลำอยู่…
สุมาตร ภูลายยาว
จากพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ผู้คนสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่มีความยาว ๔,๙๐๔ กิโลเมตรสายนี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพของพื้นที่ ในช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีผู้คนไม่จำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์ในด้านแตกต่างกันออกไป ผู้ใหญ่ใช้หาปลา และใช้พื้นที่ตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ และริมฝั่งทำการเกษตร เด็กๆ ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับฝึกหาปลา และว่ายน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
  ผาชันเป็นหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำโขงอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านแห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจหลายอย่าง เริ่มแรกเดิมทีก่อนเดินทางไปถึง ผมจินตนาการถึงหมู่บ้านแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ และพอเดินทางไปถึงบ้านผาชันเป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในหน้าฝน ผมก็พบว่า ในฤดูฝนหมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นเกาะขนาดย่อมๆ ชาวบ้านบอกว่า "ในฤดูฝน น้ำจากห้วยจะไหลจนท่วมสะพาน และถนนที่เข้าสู่หมู่บ้าน การเดินทางเข้าหมู่บ้านต้องใช้เรือข้ามลำห้วยแล้วไปต่อรถ" ร่องรอยของคำพูดปรากฏให้เห็นเมื่อผมเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน รถข้ามสะพานที่น้ำในลำห้วยเริ่มปริ่มอยู่ใต้สะพาน…