Skip to main content

ทุกเช้า ประมาณตีสี่ครึ่ง หอกระจายข่าวกลางหมู่บ้านจะเปิดข่าวเช้า(มืด)จากสถานีวิทยุของจังหวัด เป็นสัญญาณให้ทุกบ้านตื่นนอน เตรียมตัวมาปฏิบัติภารกิจประจำวัน หุงข้าว ทำกับข้าว เตรียมใส่บาตร เตรียมตัวรอขึ้นรถไปโรงเรียน เตรียมตัวรอขึ้นรถไปทำงาน


ใครไม่ตื่นก็ต้องตื่น เพราะเสียงดังจนตามเข้าไปถึงในฝัน


รายการเช้ามืด เริ่มต้นด้วยเพลงปลุกใจให้ยึดมั่นในสถาบัน แล้วตามด้วยธรรมเสวนา จากเจ้าอาวาสวัดที่เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัด ตามด้วยสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร การทำมาหากิน โครงการต่างๆ จากรัฐบาล และ การปฏิบัติงานของหน่วยงานในจังหวัด


หกโมงเช้า พระเดินมาบิณฑบาตร ก็พอดีกับรายการยอดนิยมประจำวัน

ข่าวสารบ้านเรา”


ฟังชื่อรายการชวนให้คิดว่าเป็นการเอาหนังสือพิมพ์มากาง อ่านข่าว แล้วก็วิเคราะห์+วิจารณ์ อย่างที่สื่อมวลชนมักง่าย เอ๊ย ! นิยมกันอยู่ แต่ที่จริง นี่เป็นรายการที่เอาตำแหน่งงานว่างมาเล่าสู่กันฟัง ไม่ว่าจะของรัฐหรือของเอกชน ทั้งในจังหวัดและในจังหวัดใกล้เคียง


ที่น่าสนใจคือ นอกจากข่าวสารอันเป็นประโยชน์สำหรับผู้ว่างงาน ที่กำลังหางานทำ หรือที่กำลังคิดจะเปลี่ยนงาน ลีลาเฉพาะตัวของผู้จัดทั้งสามคน ทำให้รายการมีสีสัน มีอารมณ์ขัน สร้างความครึกครื้นให้แก่ผู้ฟังที่ต้องตื่นแต่เช้าตรู่


แม้จะเป็นจังหวัดไม่ใหญ่ แต่ที่นี่ก็มีบริษัทห้างร้านไม่น้อย อาจเพราะเป็นเมืองที่ทำทั้งการเกษตรและการประมง กิจการที่เกี่ยวเนื่องจึงมีมากมายหลายอย่าง ทั้งโรงงาน โรงแรม ก็มีตลอดถนนใหญ่ที่มุ่งสู่ภาคใต้ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นเขตจังหวัดไปจนสุดเขตอีกด้านหนึ่ง ตำแหน่งงานทางราชการก็มีประปราย ส่วนใหญ่จะเป็นลูกจ้าง


ถ้าเป็นห้างร้าน ก็รับพนักงานทีละ 1-3 อัตรา

ถ้าเป็นโรงแรมก็รับพนักงานทีละ 3-10 อัตรา

ถ้าเป็นโรงงานก็รับพนักงานทีละ 1-100 อัตรา หรือ มากถึง 200-300 อัตราก็มี


ไม่ว่าที่ไหนจะประกาศรับสมัครพนักงาน รายการนี้ก็จะนำเสนอให้ตลอด ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างโอกาสให้คนได้มีงานทำแล้ว ยังให้กำลังใจด้วยคำคมน่าคิด สุภาษิตประจำวันเป็นประจำ บางทีก็มีหยอดมุก เย้าแหย่กันพอขำๆ ท้ายรายการยังมีปัญหาอะไรเอ่ย มาทายกันสนุกๆ ด้วย


วันไหนไม่ได้ฟังรายการนี้ เหมือนขาดอะไรไปสักอย่าง

แต่วันไหนที่ได้ฟังรายการนี้ แล้วได้ยินบางประโยคที่ผู้จัดรายการมักจะชอบย้ำเตือนอยู่บ่อยๆ ก็ทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายใจ


“...
ก็ขอให้ขยันทำงานกัน ต้องอดทนนะครับอย่าไปย่อท้อ งานอะไรก็แล้วแต่ต้องใช้ความอดทน...นี่ก็มีบางบริษัทแจ้งมาว่า พนักงานทำงานกันไม่ค่อยทนเลย อยู่กันได้ไม่นานก็ออกอีกแล้ว ต้องอดทนกันนะครับ ต้องอดทน...”


ฟังแรกๆ ดูเหมือนเป็นการให้กำลังใจ แต่พอบ่อยเข้า รู้สึกเหมือนเป็นการตำหนิติเตียน ฟังดูคล้ายกับว่า คนเป็นลูกจ้างเป็นพนักงานที่ทำงานได้ไม่นาน เป็นคนเหลาะแหละ หยิบโหย่ง ชอบเปลี่ยนงานบ่อย ทั้งที่จริงนั้น การออกจากงานไม่ได้มีสาเหตุแค่ไม่อดทน


ผู้ที่ออกจากงานมีเหตุผลมากกว่านั้น แต่ในฐานะคนฟัง แม้ไม่เห็นด้วยแต่ก็ไม่อาจไปชี้แจงได้


ใครทำงานเป็นลูกจ้างมานานปี คงรู้ดีว่า การออกจากงานบ่อยๆ นั้นเป็นอย่างไร

เพราะเมื่อออกจากงาน ก็ต้องไปทำที่ใหม่ ต้องปรับตัวให้เข้ากับที่ทำงานใหม่ เพื่อนร่วมงานใหม่ ระบบใหม่


การออกจากงานบ่อยๆ ไม่ใช่เรื่องดี ประสบการณ์ในการทำงานกะพร่องกะแพร่ง จะเอาไปใช้เป็นเครดิตในการหางานใหม่ก็ไม่ได้ ถ้าไม่ถึงที่สุดจริงๆ ไม่มีใครอยากออกจากงาน


ส่วนพวกที่ทำงานแบบเข้าๆ ออกๆ นั้น เอาเข้าจริงก็มีแต่พวกพนักงานรายวัน ที่ทำๆ หยุดๆ กันเป็นปกติอยู่แล้ว

งานราชการ เข้ายาก ออกก็ยาก

งานบริษัท ห้างร้าน โรงแรม เข้ายาก แต่ออกง่าย

งานโรงงาน เข้าง่าย ออกง่าย

เมื่อออกมาแล้วก็บอบช้ำกายใจ ได้แต่เยียวยากันไปตามอัตถภาพ


ไม่มีใครอยากออกจากงานกันบ่อยๆ ถ้าที่ทำงานนั้นดีจริง หรืออย่างน้อยก็พอทน แต่ในบรรดางานทุกประเภท รับรองได้ว่า งานด้านอุตสาหกรรมโรงงาน เครียดที่สุด น่าเบื่อที่สุด ปลอดภัยน้อยที่สุด และได้รับค่าแรงต่ำที่สุด

ไม่แปลก ที่งานโรงงานจะมีอัตราการเข้าๆ ออกๆ สูงที่สุด โดยเฉพาะพนักงานฝ่ายผลิต

เมื่อเข้าๆ ออกๆ มาก โรงงานก็ต้องรับสมัครไว้มากๆ


รายการข่าวสารบ้านเรา ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงานว่างอย่างตรงไปตรงมา ห้างร้าน บริษัทใดยังไม่ได้พนักงานในตำแหน่งที่ต้องการ จะประกาศซ้ำวันเว้นวัน ทางรายการก็ประกาศให้


แต่การที่ไม่มีใครไปสมัคร หรือ ตำแหน่งยังว่างอยู่ตลอด หรือ รับสมัครพนักงานจำนวนมากเป็นประจำ มันก็ประกาศโดยนัยอยู่แล้วว่า โรงงานแห่งนั้น บริษัทแห่งนั้น “คนเขารู้กันหมดแล้วว่าเป็นอย่างไร”

- มีเจ้านายหลายคน แต่ละคนชิงดีชิงเด่น แบ่งพรรคแบ่งพวก เด็กใครเด็กมัน

- ใช้งานสารพัดอย่าง ทำงานเกินหน้าที่ เห็นพนักงานเป็นแค่ “ทรัพยากร” ไม่ได้อย่างใจก็บ่นว่า

- เอาเปรียบสารพัด หักนู่น หักนี่ จนคนทำงานหมดกำลังใจ

- เอาแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำ สื่อสารไม่ได้ เข้ากับคนงานไทยไม่ได้ เกิดปัญหากระทบกระทั่ง

- สภาพแวดล้อมย่ำแย่ เสียงดัง สารเคมีเหม็นคลุ้ง อุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยๆ มีกระทั่งคนตายแต่ถูกปิดข่าว (ด้วยความร่วมมือของปลวกในระบบราชการ)

ฯลฯ

โรงงานดีๆ ก็มี แต่น้อยเหลือเกิน ส่วนใหญ่จะเข้าข่ายต้องทนทำ


ชีวิตประจำวัน ออกจากบ้านรถขึ้นรถรับส่งแต่เช้ามืด ทำโอทีถึงทุ่ม-สองทุ่ม นั่งรถกลับบ้าน เข้านอนตอนสีทุ่ม ตื่นแต่เช้ามืดไปทำงาน ได้หยุดสัปดาห์ละหนึ่งวัน ห้ามป่วยห้ามลาถ้าไม่อยากโดนหักเงิน หรือโดนเจ้านายเขม่น ชีวิตเป็นวัฏจักรเวียนวน


หากมีทางเลือกอื่น หลายคนก็ออกจากวงเวียนชีวิตคนโรงงานไป

แต่เมื่อไม่มีทางเลือกก็ต้องทน


ประสาชาวบ้าน เมื่อรู้ว่าลูกหลานใครเรียนจบ คำถามยอดนิยมคือ ทำงานที่ไหน ตำแหน่งอะไร ได้เงินเดือนเท่าไร โดยเฉพาะคำตอบสุดท้าย อาจทำให้พ่อแม่คุยเขื่องไปได้ทั้งตำบล


คนรุ่นเก่า มองเรื่องความมั่นคงเป็นหลัก ทำอะไรก็ได้ที่มีเงินเดือนประจำ ทว่าความมั่นคงนี้ ก็ต้องแลกด้วยสารพัดความกดดันที่ต้องแบกรับ อย่างที่คนไม่เคยยืนตรงนั้นไม่มีทางเข้าใจ


งานประจำไม่ใช่สิ่งเลวร้ายไปเสียทั้งหมด การทำงานประจำนาน-ไม่นาน ก็ไม่ใช่ตัววัดความสำเร็จในชีวิต โรงงานเห็นคนเป็นแค่ฟันเฟืองตัวหนึ่ง หลายคนทำได้ก็ทำไป หลายคนทำไม่ได้ ทนไม่ได้ ก็ลาออกไป


ไม่ใช่ และ ไม่มีปัจจัยใดๆ มาวัดได้ว่า นี่คือ การประสบความสำเร็จ-ล้มเหลว


บางที การได้ทำงานโรงงาน ก็อาจจะมีข้อดีอยู่เหมือนกัน ในแง่ที่ว่า ทำให้คนที่ทำได้รู้ว่าตัวเองเกลียดระบบนี้มากแค่ไหน

คนทำงานโรงงานแค่สามวัน อาจจะรู้จักตัวเองมากกว่าคนที่ทำมาสามปีก็ได้


ผู้จัดรายการข่าวสารบ้านเราทำหน้าที่ได้ดีแล้ว ใครหลายคนได้งานทำเพราะรายการนี้

แต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น


อย่าทำให้คนที่ออกจากงาน ด้วยปัจจัยบีบคั้นที่เขาไม่อาจควบคุมได้

ต้องถูกค่อนแคะว่าเป็น “คนไม่อดทน” เลย


บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…