Skip to main content

ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น


เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้


สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้

ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี


ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม


แล้วก็เหมือนๆ กับสื่อชนิดอื่น วิทยุ ก็ต้องมีโฆษณาหรือผู้สนับสนุนเช่นเดียวกัน

...ยาสตรีตราตะพาบน้ำ ช่วยกระชับมดลูก บำรุงเลือด บำรุงผิวพรรณ ใช้แล้วประจำเดือนมาปกติ อารมณ์ดี ผิวพรรณนวลเนียน ใครเห็นใครก็ทัก ชายเห็นชายก็หลง...”

...ปุ๋ยอินทรีย์ตราหมากระโดด เหมาะสำหรับข้าว พืชไร่ พืชสวน ผักทุกชนิด เป็นปุ๋ยเม็ด ใช้หว่าน แตกตัวเร็ว เห็นผลทันตา ข้าวเขียวทันใจ ผลไม้ออกผลทันควัน พืชผักจะโตเร็ว งอกงาม จนท่านต้องร้องว่า อู้หู! ...”

...หลี่ ไป๋ โต๊ะจีน รับจัดโต๊ะจีนทั่วราชอาณาจักร ราคาเจ็ดร้อยถึงสองพันห้าร้อยบาทต่อโต๊ะ เรามีเมนูอาหารให้ท่านเลือกมากกว่าห้าสิบชนิด สะอาด รสชาติไม่เป็นรองใคร ทำเร็ว เสิร์ฟไว ทันใจแขก ประทับใจเจ้าภาพ ต่อให้แขกมากถึงร้อยโต๊ะ เราก็บ่ยั่น...”

ฯลฯ


จะว่าไป โฆษณาวิทยุก็ฟังเพลินๆ ดี ใช้ภาษาชาวบ้าน ตรงไปตรงมา ให้ภาพเกินจริงบ้างเล็กน้อย โฆษณาบางตัวก็จะขายอย่างเดียว บางตัวก็เอาขำเข้าว่า ใครจะรักจะชอบจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อะไรยี่ห้อไหน ก็แล้วแต่รสนิยมและกำลังทรัพย์


ที่แน่ๆ รายการไหนโฆษณาเยอะซ้ำๆ บ่อยๆ คนฟังก็มักจะหมุนคลื่นไปฟังสถานีอื่น


หลายบริษัท จึงนิยมใช้อีกวิธีหนึ่ง นอกจากการโฆษณาวิทยุ นั่นคือการขายตรง ส่งพนักงานขายเข้าไปประชิดถึงในหมู่บ้าน


แต่ก็อีกนั่นแหละ แต่งตัวดีๆ ใส่เสื้อเชิ้ต กางเกงสแล็ค รองเท้าหนัง ถือแฟ้ม ถือกล่องใส่สินค้า เดินมา ชาวบ้านเห็นแต่ไกลก็รู้ทันที

...มาขายของอีกแล้ว...”


เซลล์แมน ถึงรู้ทั้งรู้ว่า ไม่มีใครชอบ แต่ก็ต้องยิ้มสู้เข้าไว้ ยกมือไหว้ และพูดแนะนำตัวตามสคริปต์

...สวัสดีครับ พี่ครับ ผมมีสินค้าดีๆ มาเสนอครับ พี่พอมีเวลาให้ผมสักห้านาทีมั้ยครับ? ...”


ที่นั่งฟังก็มี ที่ลุกหนีก็มาก แต่เซลล์แมนต้องหน้าหนา มีความอดทนสูง ยิ้มรับต่อทุกสภาวการณ์

ถึงจะเป็นวิธีที่ค่อนข้างโบราณ กระนั้น ก็ยังขายสินค้าได้บ้าง ภาพเซลล์แมนแต่งตัวดีที่เดินตากแดดเปรี้ยงๆ ในหมู่บ้านจึงยังมีให้เห็นอยู่


วิธีที่ยังใช้ได้ผลเสมออีกวิธีหนึ่ง คือขายตรงแบบสร้างเครือข่าย

เซลล์แมนจะเอาสินค้าเข้ามาขายให้ แล้วบอกว่า หากหาคนมาช่วยซื้อสินค้าตัวนี้ได้เท่านั้นเท่านี้คน ก็จะได้เงินคืนเท่านั้นเท่านี้บาท หรือได้ส่วนลดในการซื้อสินค้าเท่านั้นเท่านี้เปอร์เซนต์ แม้จะแตกต่างในรายละเอียด แต่สิ่งที่เหมือนๆ กันก็คือ เอาผลประโยชน์เป็นตัวล่อ


อย่างเช่น ผงซักล้างยี่ห้อ Super Extra Clean Deluxe Royal Number 5 ราคากล่องละ หนึ่งพันเจ็ดร้อยแปดสิบบาท เซลล์แมนโฆษณาว่ามีประสิทธิภาพในการซักล้างสูงมาก ใช้ทำความสะอาดในชีวิตประจำวันได้ทุกงาน ตั้งแต่ซักเสื้อผ้า ไปจนถึงล้างจาน ล้างรถ ล้างห้องน้ำ ล้างครัว ล้างเครื่องมือการเกษตร ฯลฯ กล่องหนึ่งใช้ได้นานถึงสามเดือน


หากใครซื้อสินค้าตัวนี้ ก็จะสามารถสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทได้โดยอัตโนมัติ จากนั้นก็ถ้าหากพาเพื่อนมาสมัครเป็นสมาชิก(ด้วยการซื้อสินค้า)อีก ก็จะได้รับเปอร์เซนต์จากการขายอีก คนละแปดร้อยบาททันที


งานนี้มีคนในหมู่บ้าน สมัครเป็นสมาชิกกันยี่สิบกว่าคน แต่ละคนก็หมายมั่นปั้นมือว่าจะไปหาเพื่อนฝูงมาช่วยกันสมัครเป็นสมาชิก


เซลล์แมนรับปากว่า อีก 2-3 วันจะกลับมาใหม่พร้อมกับแบ่งเปอร์เซนต์ให้ ทว่า ผ่านไปสองเดือนแล้ว เซลล์แมนคนนั้นก็หายเงียบไป แถมพอโทรไปที่บริษัท ก็ไม่มีคนรับสาย


ต่อมา มีสินค้าตัวใหม่เข้ามาอีก เป็นปุ๋ยเข้มข้นยี่ห้อ Greatest Life Energy เซลล์แมนโฆษณาว่า ใช้แค่หนึ่งฝาต่อน้ำยี่สิบลิตร รดพืชผักได้ทุกชนิด เพียงแค่แกลลอนละ สองพันห้าร้อยบาทเท่านั้น หากใครซื้อตอนนี้ และไปหาเพื่อนมาซื้อได้อีกห้าคน จะได้เงินคืนทั้งสองพันห้าร้อยบาททันที


งานนี้ มีคนหลงซื้อไปอีกหลายคน แล้วพอจะติดต่อกลับ ก็เข้าอีหรอบเดิม

เซลล์แมนหายสาบสูญ เบอร์โทรที่บริษัท โทรไปกี่ครั้งๆ ก็ไม่เคยติด

น้าเป้า ป้าจัน บ่นเสียดายตังค์อยู่ตั้งหลายวัน


ทุกครั้ง ที่เซลล์แมนประเภทนี้เข้ามา ก็มักจะแนะนำสินค้ากันที่บ้านของของ ลุงใจ เนื่องจากบ้านแกขายเคมีเกษตร แม้จะมีอยู่แค่ไม่กี่อย่างก็ตาม ลุงใจ จะเป็นเจ้าภาพจัดงาน ไปตามคนนั้นคนนี้มาฟัง จัดหาน้ำท่ามาให้ แต่พอเข้าอีหรอบเดิมบ่อยเข้า ก็ไม่ค่อยมีใครอยากไป


“...
ขี้เกียจไปฟัง กลับมาจากไร่เหนื่อยๆ ขอนั่งดูทีวีดีกว่า...” น้าจ่อย ว่า

...ก็ไปช่วยกันหน่อยซี้ แค่ไปฟัง ไม่เหนื่อยอะไรหรอก...” ลุงใจ ขยั้นขยอ


ด้วยความที่ลุงใจเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีงานอะไรก็มักจะไปช่วย ทำให้ใครๆ เกรงใจแก สุดท้ายก็ต้องไปนั่งฟัง


สินค้ากี่ตัวต่อกี่ตัว ลุงใจเป็นต้องไปตามชาวบ้านมาฟังครั้งละไม่ต่ำกว่าสิบยี่สิบคน แล้วพอไปฟังกันเยอะๆ เข้า ก็ต้องมีคนซื้อสินค้าจนได้


...ข้าละเบื่อลุงใจจริงๆ ไม่อยากไป ก็มาตามได้ทุกที...” น้าจ่อย นั่งบ่นที่ร้านขายลูกชิ้นทอด

เอ็งเบื่อเอ็งก็ไม่ต้องไปสิ” พี่หวี ว่า

...ไม่ไปไม่ได้สิ เขาเป็นน้า...” น้าจ่อย ทำหน้าเซ็ง...พวกมาขายของนี่ก็เหมือนกัน มาบอกว่า ถ้าซื้อแล้วจะได้นั่นได้นี่ ข้าน่ะหมดไปตั้งหลายพันแล้ว ยังไม่เห็นจะได้อะไรเลย...”

...ก็ถือว่าซื้อของใช้ก็แล้วกัน” พี่หวี ปลอบ แต่น้าจ่อย ส่ายหน้า

มันแพงเกินไป ปุ๋ยน้ำแกลลอนละสองพันห้า น้ำยาทำความสะอาดกล่องละพันเจ็ด ข้ายังงงตัวเองอยู่เลยว่าซื้อมาทำไมวะ”

ข้าว่า...” พี่หวี พยายามคิดหาเหตุผล ...ลุงใจนี่ก็แปลกนะ รู้ทั้งรู้ว่า พวกนี้มาทีไรก็เหมือนเดิมทุกทีก็ยังมาตามพวกเอ็งให้ไปฟัง”

ก็นั่นน่ะสิ ข้าก็สงสัยว่าแกจะทำไปทำไม”

แกก็คงได้...” พี่หวีหัวเราะหึๆ

เปอร์เซนต์ !” น้าจ่อย หันมาต่อประโยคให้


นี่ละ...คำตอบเดียวของยุคสมัย

หากไม่ได้เงิน คนก็คงไม่ลวงหลอกคน พี่น้อง ก็คงไม่ลวงหลอกพี่น้อง
เมื่อเอาเงินเข้าล่อ สินค้า จะคุณภาพดีหรือไม่ ก็กลายเป็นเรื่องรอง

ชาวบ้านที่ยังไม่รู้ หรือ คิดฝันถึงผลประโยชน์อย่างที่เขาโฆษณาไว้สวยหรู

ย่อมหนีไม่พ้น ที่จะกลายเป็นเหยื่อ ครั้งแล้วครั้งเล่า


ความโลภ ยังใช้เป็นเครื่องล่อมนุษย์ได้ ทุกยุคทุกสมัย






บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…