Skip to main content

เมื่อแรกแรกที่มีข่าวว่าโรคนี้เกิดขึ้นในโลก ใครใครก็พากันเรียกชื่อมันว่าไข้หวัดหมู เพราะว่ากันว่ามันเป็นโรคของหมูที่ดันมาติดคน(ถ้าหากมีโรคของคนไปติดหมูไม่รู้จะเรียกว่าไข้หวัดคนด้วยหรือเปล่า) แต่ต่อมาเขาไม่อยากให้เรียกไข้หวัดหมู เพราะเกรงว่าจะเป็นการใส่ร้ายหมูซึ่งไม่มีความผิด และจะทำให้หมูทั่วโลกพลอยถูกรังเกียจ แต่คงไม่ใช่ความกลัวว่าหมูจะประท้วง เพราะถึงอย่างไรหมูก็มีสิทธิ์อันชอบเพียงอย่างเดียวคือสิทธิ์ในการเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่สามารถชูป้ายประท้วงหรือเขวี้ยงก้อนอิฐใส่ตำรวจปราบจลาจลได้แต่ประการใด
\\/--break--\>

ดังนั้น เขา(ใครก็ไม่รู้)ก็เลยให้เรียกใหม่เสียเป็นไข้หวัด ๒๐๐๙ ซึ่งก็คงจะหมายถึงไข้หวัดตัวล่าสุดแห่งปีสองพันเก้านี้(ไม่ใช่ไข้หวัดตัวที่สองพันเก้าร้อย) และก็คงจะหมายความว่า มันเป็นไข้หวัดประจำปีสองพันเก้าด้วย เพราะก็คงจะคิดไตร่ตรองกันถี่ถ้วนแล้วว่าภายในปี้นี้คงจะไม่มีไข้หวัดชนิดอื่นอื่นที่ระบาดร้ายแรงเท่านี้อีกแล้ว หรือถ้าหากมี มันก็ต้องกลายเป็น ไข้หวัด ๒๐๐๙/๑ หรือ ไข้หวัด ๒๐๐๙/๒ กันไปตามแต่จะกำหนด ซึ่งถ้าหากปีหน้ามีไข้หวัดตัวใหม่ใหม่ที่ไม่ใช่ตัวนี้เกิดขึ้นอีก มันก็คงต้องถูกเีรียกชื่อเป็นไข้หวัด ๒๐๑๐ ไข้หวัด ๒๐๑๑ ไข้หวัด ๒๐๑๒ ต่อต่อไปแน่แน่ (อันที่จริง ประเทศไทยเรานับเลขปีตามพุทธศักราช ดังนั้นน่าจะชื่อ ไข้หวัดสองพันห้าร้อยห้าสิบสองน่าจะถูกต้องกว่า)

อันว่าโรคไข้หวัด ๒๐๐๙ นี้ ไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดาธรรมดาเหมือนอย่างไข้หวัดที่เป็นแล้วกินพาราเซตตามอลหรือกินยาลดไข้อื่นอื่นหรือกินยาชุดจากร้านหมอตี๋แล้วก็หาย เพราะหลายหลายคนที่เขาทำอย่างนั้นนอกจากจะไม่หายจากโรคแล้ว ก็ยังเลิกหายใจไปด้วย ตอนที่มันระบาดไปทั่วโลก คนที่เป็นก็ทยอยตายกันไปเป็นสิบเป็นร้อย เหมือนกับกาฬโรคในยุโรปสมัยก่อน หรือเหมือนกับโรคห่าในสมัยรัชกาลที่สี่ หรือไม่ก็เหมือนกับโรคเอดส์เมือสักยี่สิบกว่าปีมาแล้ว รวมทั้งอาจจะเหมือนกับโรคไข้หวัดนกเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คือตายกันเยอะเพราะยังไม่รู้วิธีป้องกันรักษา หรืออาจจะตายไม่เยอะเท่าไร แต่ด้วยความที่เป็นโรคใหม่ทันสมัยล่าสุดแ่ห่งยุคโลภาภิวัตน์(โลภ+อภิวัตน์)ซึ่งชาวประชาชอบตื่นตูมกันมากกว่าตั้งสติ สื่อมวลชนสำนักข่าวต่างต่างก็พลอยตีฆ้องร้องป่าว แล้วก็เกิดเป็นเหตุตื่นตระหนกกันไปทั้งบ้านทั้งเมือง แต่พอเวลาผ่านไป เทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาขึ้น รู้สาเหตุ รู้วิธีป้องกันแ้ก้ไขแล้ว การระบาดก็น้อยลง คนเสียชีวิตก็น้อยลง สื่อมวลชนก็เลิกสนใจใยดี คนก็ไม่กลัวอีกต่อไป แล้วไปไปมามาพอโรคไม่ค่อยจะระบาด ก็พลอยจะลืมชื่อโรคระบาดที่เคยร้ายแรงพวกนี้เอาเสียด้วยซ้ำ

ถ้าเป็นในทำนองอย่างว่า ไข้หวัด ๒๐๐๙ ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ทุกวันทุกวัน เีพียงแค่ปีหน้ามันก็จะถูกลืมแล้ว มันจะชื่อเอชไฟว์เอ็นวัน เอชวันเอ็นไฟว์ เอชวันเอ็นวัน หรือ เอชอะไรเอ็นอะไรก็ตามแต่ คนก็จะพูดถึงชื่อของมันอยู่แค่ปีนี้เท่านั้นเอง ฟังดูน่าสงสาร แต่มันเป็นแค่เชื้่อโรค และไม่รับรู้หรอกว่า ใครจะตั้งชื่อมันว่าอย่างไร หน้าที่ของมันก็คือทำให้คนเป็นโรคเท่านั้น

อาการของโรคก็คล้ายไข้หวัดธรรมดาธรรมดา มีอาการหวัดคัดจมูกมีน้ำมูก มึนหัว ปวดหัว ตัวร้อน ตาลาย ไ้ข้ขึ้น เพียงแต่ว่าหากมีอาการหนักหนักเข้าก็อาจจะได้ไปเฝ้าเง็กฮ่วงไต่ตี่ พูดง่ายง่ายว่ามันก็คือไข้หวัดตัวหนึ่งแต่มีอันตรายถึงตาย ที่น่ากลัวคือมันติดกันได้ง่ายง่าย ไม่ต้องถึงกับจามใส่หน้า ขากเสลดรดหัว หรือ ถุยน้ำลายใส่น้ำให้กันกินอย่างกระสือ เพียงแค่อยู่ใกล้ใกล้หายใจเอาอากาศเดียวกันเข้าไป แค่นี้ก็ติดโรคได้แล้ว ฉะนั้น ใครต่อใครเขาถึงหวาดกลัวกันนักหนา ออกจากบ้านไปไหนก็ต้องใส่ผ้าคาดปิดปากปิดจมูก เกรงจะสูดเอาลมหายใจของคนเป็นไข้หวัด ๒๐๐๙ เข้าไปด้วย นอกจากนี้ยังต้องล้างมือกันบ่อยบ่อย ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนนิ้วเหี่ยวก็ยังไม่เลิก

ความจริงประการแรกก็คือ เจ้าเชื้อไข้หวัดมันมีขนาดเล็กกว่าผ้าตั้งไม่รู้กี่หมื่นกี่แสนเท่า หากมันอยากจะเข้าไปก็คงไม่ลำบากนัก ไม่ต้องกดออดหรือเคาะประตูมันก็เดินทื่อทื่อเข้าไปจนได้ ประการต่อมา หากเป็นไปตามเหตุผลข้างต้น มันก็ต้องมีคนที่ติดไข้หวัด ๒๐๐๙ ทั้งทั้งที่ยังใส่ผ้าคาดปากอยู่ แต่ใครมันจะกล้าไปป่าวประกาศว่า ผ้าคาดปากป้องกันไข้หวัดไม่ได้ หรือถึงจะไปป่าวประกาศ ก็คงไม่มีใครเชื่อ ก็ใครต่อใครเขาใส่กันทั้งนั้น นายกรัฐมนตรีท่านยังใส่ให้ช่างภาพถ่ายภาพลงหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งโก้ไปเลย ขืนไปตะโกนบอกว่าผ้าคาดปากป้องกันอะไรไม่ได้หรอก เป็นได้โดนอะไรแข็งแข็งทิ่มปากแน่

และประการสุดท้าย คนที่ควรจะใช้ผ้าคาดปากคือคนที่ไม่สบาย ไม่ใช่คนที่สบายดี แต่ตอนนี้ใครต่อใครก็ใส่กันหมดเลยดูไม่ออกแล้วว่าใครเป็นใครไม่เป็น

จะว่าทุกคนเขากลัวก็ใช่ที่ เพราะคนที่ยอมเจ็บหูเพราะยางยืดของผ้าคาดปากมันรัดหู ดูดูไปก็ยังมีจำนวนน้อยกว่าคนที่ไม่ใส่ ซึ่งที่จริงแล้วคนที่กลัวแต่ไม่ใส่ก็คงจะมี และคนที่ไม่กลัวแต่ต้องใส่ก็คงจะมีเหมือนกัน บางคนอาจจะงงว่ามีด้วยหรือ มีสิครับ ที่ว่ากลัวแต่ไม่ใส่ก็เป็นเพราะยางยืดมันรัดหูจนเจ็บหูไง ลองคาดกันดูสิ ชั่วโมงเดียวเท่านั้นแหละ เจ็บเสียจนไม่อยากเอาหูไปห้อยอะไรอีกเลย ส่วนที่ว่าคนที่ไม่กลัวแต่ต้องใส่ ก็อย่างเช่นเด็กนักเรียนที่โดนผู้ปกครองบังคับ สามีที่โดนภรรยาบังคับ หรือ พนักงานที่โดนนายจ้างบังคับ อะไรพวกนั้น เพราะฉะนั้นจะเอาปริมาณการใช้ผ้าคาดปากไปชี้วัดการตื่นตัวของคนไทยต่อการป้องกันโรคไข้หวัด ๒๐๐๙ ท่าจะไม่เหมาะ

เดี๋ยวนี้เวลาขึ้นรถเมล์ เรือด่วน รถไฟฟ้ายิ่งเห็นได้ชัดว่า คนที่กลัวกับคนที่ไม่กลัวแสดงพฤติกรรมต่างกันเยอะเลยเชียว เพราะเดือนกรกฎาคมปีนี้ฝนตกแทบทุกวัน บ้างตกเช้าบ้างตกเย็น บ้างตกทั้งเช้าทั้งเย็นแถมตกกลางคืนอีกต่างหาก พอแดดจะร้อนพ่อเจ้าประคุณก็ว่าซะร้อนเปรี้ยง อยู่ในห้องแอร์เย็นเย็นออกไปเจอแดดร้อนร้อนเข้าหน้ามืดตาเหลือกไปเลยก็มี ใครต่อใครเลยเป็นหวัดคัดจมูก บ้างก็สูดน้ำมูกกันฟืดฟืดฟาดฟาด บ้างก็ไอกันค้อกค้อกแค้กแค้ก พอคนที่มีอาการเหล่านี้มาขึ้นรถเมล์ เรือด่วน หรือรถไฟฟ้า ก็จะกลายเป็นบุคคลที่สังคมรังเกียจในฉับพลัน ถ้ามีที่นั่งว่างก็ไม่มีใครอยากให้นั่งด้วย ถ้ามีที่ยืนว่างก็ไม่มีใครอยากยืนใกล้ใกล้ ถึงแม้จะเป็นแค่หวัดธรรมดาก็เถิด นี่ถ้าเกิดมีใครไอจนตัวโยนหรือน้ำมูกไหลย้อยเป็นเต้าส่วน จะโดนเชิญลงด้วยข้อหาตัวแพร่เชื้อหรือเปล่าก็ไม่ทราบ

จนถึงเวลานี้ ก็ไม่แน่ใจว่าชาวสยามประเทศจะเป็นโรคไข้หวัด ๒๐๐๙ กันสักเท่าไรกันแน่ เพราะบ้านเรามันมีอะไรแปลกแปลก ตัวเลขเจ็บป่วยเท่านั้นเท่านี้ชอบปิดกันนักกลัวคนจะแตกตื่น แต่พอนักท่องเที่ยวเข้ามาเท่านั้นเท่านี้พวกบวกเพิ่มไปอีกสิบเท่า แต่ก็แว่วแว่วมาว่ายอดผู้ป่วยกำลังไต่อันดับขึ้นสูงสูงในระดับโลก ซึ่งก็เป็นไปตามทฤษฎีประเทศสารขัณฑ์กำลังพัฒนาที่ชอบทำอะไรอะไรให้โด่งดังในระดับโลกไว้ก่อนทั้งที่ตั้งใจจะให้ดังและไม่ได้ตั้งใจจะให้ดัง ยิ่งถ้ากินเนสบุ๊ค รับประทานเนสบุ๊ค เอาไปลงบันทึกอย่างนู้นอย่างนี้ด้วยแล้วก็ยิ่งชอบใจกันยกใหญ่ จะว่าไป ตัวเลขผู้ป่วยมันก็ไม่น่าชอบใจเท่าไรนัก แต่คงจะติดนิสัยสร้างสถิติจนเลิกยากเสียแล้ว หนังสือพิมพ์หัวสีก็ถือเป็นหน้าที่ ต้องพาดหัวข่าวตัวเป้งเป้งใส่สำนวนให้มันมันทุกวัน ถ้าวันไหนไม่ได้พาดหัวข่าวเรื่องคนเจ็บคนตายประเทศไทยเป็นอันดับที่เท่าไรของโลก ย่อมผิดวิสัยข่าวร้ายแจกฟรี ข่าวดีต้องจ้าง

แต่ที่แน่แน่คือตอนนี้ ชาวประชาหน้าแห้งทั้งหลายไม่ว่าจะสบายดีหรือไม่สบายหรือกำลังจะสบายหรือกำลังจะไม่สบาย ต่างก็กำลังเป็นไข้หวาดกันทั่วหน้า นอกจากจะหวาดผวาว่าน้ำมันจะแพง ข้าวแกงจะขึ้นราคา สามจีไม่ยอมเข้ามา รถไฟฟ้าไม่ยอมมาถึงแล้ว ก็ยังต้องหวาดผวาว่าวันไม่ดีคืนไม่ดีเจ้าไวรัสไข้หวัด ๒๐๐๙ ที่แสนจะเก๋ไก๋ทันสมัยเป็นไข้หวัดแห่งปีมันจะพิศวาสปรี่เข้ามาเพาะเชื้อในตัวเราหรือเปล่า ทั้งทั้งที่รู้ว่า ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้าเกิดมาแล้วก็ต้องตาย แถมยังไม่รู้ว่าจะแก่ตายหรือเปล่า หรือจะตายเพราะมะเร็งในสมองเนื่องจากคุยโทรศัพท์มือถือวันละสิบชั่วโมง หรือจะเป็นลมตายหน้าจอคอมพิวเตอร์เพราะไม่ยอมหลับยอมนอนติดกันสามวันสี่คืน ฯลฯ กระนั้นก็ยังขอปฏิเสธ ไม่อยากจะเป็นไข้หวัดตาย เพราะมันดูไม่สมาร์ทไม่โก้ไม่โลกาภิวัตน์ไม่วายเลสไม่ไวไฟ

ผู้สันทัดกรณี :

ลุงอืด คนขายยาดอง อดีตคนเก็บของป่า ดูดยาเส้นมวนเบ้อเริ่มพ่นควันขโมง ให้ความเห็นว่า ไข้หวัด ๒๐๐๙ มันก็เหมือนไข้ป่าหรือมาเลเรียนั่นแหละ สมัยก่อนเป็นแล้วรอดยาก ต้องตายสถานเดียว ชาวบ้านกลัวกันนักหนา แต่คราวนี้ความหวาดผวามันย้ายจากป่ามาอยู่ในเมือง คนกรุงก็เลยต้องเป็นประสาทเพราะกลัวไข้หวัด ๒๐๐๙ ส่วนคนบ้านนอกไม่ได้ไปดูแฮรี่พอตเตอร์ ไม่ได้ไปดูคอนเสิร์ตดงบังชินกิ ไม่ได้ขึ้นรถไฟฟ้า ไม่ได้เดินห้างสรรพสินค้า วันวันอยู่แต่ท้องไร่ท้องนาก็เลยไม่มีความจำเป็นจะต้องไปกลัว

“...
แล้วลุงอยากตายแบบไหนล่ะ?...” ผมถามเหมือนเป็นยมทูต เพราะรู้ว่าแกหยอกแรงแรงได้
...เมาตายสิครับ พี่น้องครับ...” แกยักคิ้วหนึ่งหนตามประสาคนอารมณ์ดี ก่อนจะหันไปเปิดเพลงของบุปผา สายชล

“...คนจน คนรวย ไม่ช้าก็ม้วยมรณา
คนดี คนบ้า ไม่ช้าทุกคน ก็ตาย
ตายเน่าเหม็น ใครเห็นก็เมินหน้าหน่าย
หมดความหมาย สุดท้ายก็ตายเหมือนกัน...”

 

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…