Skip to main content

เมื่อแรกแรกที่มีข่าวว่าโรคนี้เกิดขึ้นในโลก ใครใครก็พากันเรียกชื่อมันว่าไข้หวัดหมู เพราะว่ากันว่ามันเป็นโรคของหมูที่ดันมาติดคน(ถ้าหากมีโรคของคนไปติดหมูไม่รู้จะเรียกว่าไข้หวัดคนด้วยหรือเปล่า) แต่ต่อมาเขาไม่อยากให้เรียกไข้หวัดหมู เพราะเกรงว่าจะเป็นการใส่ร้ายหมูซึ่งไม่มีความผิด และจะทำให้หมูทั่วโลกพลอยถูกรังเกียจ แต่คงไม่ใช่ความกลัวว่าหมูจะประท้วง เพราะถึงอย่างไรหมูก็มีสิทธิ์อันชอบเพียงอย่างเดียวคือสิทธิ์ในการเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่สามารถชูป้ายประท้วงหรือเขวี้ยงก้อนอิฐใส่ตำรวจปราบจลาจลได้แต่ประการใด
\\/--break--\>

ดังนั้น เขา(ใครก็ไม่รู้)ก็เลยให้เรียกใหม่เสียเป็นไข้หวัด ๒๐๐๙ ซึ่งก็คงจะหมายถึงไข้หวัดตัวล่าสุดแห่งปีสองพันเก้านี้(ไม่ใช่ไข้หวัดตัวที่สองพันเก้าร้อย) และก็คงจะหมายความว่า มันเป็นไข้หวัดประจำปีสองพันเก้าด้วย เพราะก็คงจะคิดไตร่ตรองกันถี่ถ้วนแล้วว่าภายในปี้นี้คงจะไม่มีไข้หวัดชนิดอื่นอื่นที่ระบาดร้ายแรงเท่านี้อีกแล้ว หรือถ้าหากมี มันก็ต้องกลายเป็น ไข้หวัด ๒๐๐๙/๑ หรือ ไข้หวัด ๒๐๐๙/๒ กันไปตามแต่จะกำหนด ซึ่งถ้าหากปีหน้ามีไข้หวัดตัวใหม่ใหม่ที่ไม่ใช่ตัวนี้เกิดขึ้นอีก มันก็คงต้องถูกเีรียกชื่อเป็นไข้หวัด ๒๐๑๐ ไข้หวัด ๒๐๑๑ ไข้หวัด ๒๐๑๒ ต่อต่อไปแน่แน่ (อันที่จริง ประเทศไทยเรานับเลขปีตามพุทธศักราช ดังนั้นน่าจะชื่อ ไข้หวัดสองพันห้าร้อยห้าสิบสองน่าจะถูกต้องกว่า)

อันว่าโรคไข้หวัด ๒๐๐๙ นี้ ไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดาธรรมดาเหมือนอย่างไข้หวัดที่เป็นแล้วกินพาราเซตตามอลหรือกินยาลดไข้อื่นอื่นหรือกินยาชุดจากร้านหมอตี๋แล้วก็หาย เพราะหลายหลายคนที่เขาทำอย่างนั้นนอกจากจะไม่หายจากโรคแล้ว ก็ยังเลิกหายใจไปด้วย ตอนที่มันระบาดไปทั่วโลก คนที่เป็นก็ทยอยตายกันไปเป็นสิบเป็นร้อย เหมือนกับกาฬโรคในยุโรปสมัยก่อน หรือเหมือนกับโรคห่าในสมัยรัชกาลที่สี่ หรือไม่ก็เหมือนกับโรคเอดส์เมือสักยี่สิบกว่าปีมาแล้ว รวมทั้งอาจจะเหมือนกับโรคไข้หวัดนกเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คือตายกันเยอะเพราะยังไม่รู้วิธีป้องกันรักษา หรืออาจจะตายไม่เยอะเท่าไร แต่ด้วยความที่เป็นโรคใหม่ทันสมัยล่าสุดแ่ห่งยุคโลภาภิวัตน์(โลภ+อภิวัตน์)ซึ่งชาวประชาชอบตื่นตูมกันมากกว่าตั้งสติ สื่อมวลชนสำนักข่าวต่างต่างก็พลอยตีฆ้องร้องป่าว แล้วก็เกิดเป็นเหตุตื่นตระหนกกันไปทั้งบ้านทั้งเมือง แต่พอเวลาผ่านไป เทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาขึ้น รู้สาเหตุ รู้วิธีป้องกันแ้ก้ไขแล้ว การระบาดก็น้อยลง คนเสียชีวิตก็น้อยลง สื่อมวลชนก็เลิกสนใจใยดี คนก็ไม่กลัวอีกต่อไป แล้วไปไปมามาพอโรคไม่ค่อยจะระบาด ก็พลอยจะลืมชื่อโรคระบาดที่เคยร้ายแรงพวกนี้เอาเสียด้วยซ้ำ

ถ้าเป็นในทำนองอย่างว่า ไข้หวัด ๒๐๐๙ ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ทุกวันทุกวัน เีพียงแค่ปีหน้ามันก็จะถูกลืมแล้ว มันจะชื่อเอชไฟว์เอ็นวัน เอชวันเอ็นไฟว์ เอชวันเอ็นวัน หรือ เอชอะไรเอ็นอะไรก็ตามแต่ คนก็จะพูดถึงชื่อของมันอยู่แค่ปีนี้เท่านั้นเอง ฟังดูน่าสงสาร แต่มันเป็นแค่เชื้่อโรค และไม่รับรู้หรอกว่า ใครจะตั้งชื่อมันว่าอย่างไร หน้าที่ของมันก็คือทำให้คนเป็นโรคเท่านั้น

อาการของโรคก็คล้ายไข้หวัดธรรมดาธรรมดา มีอาการหวัดคัดจมูกมีน้ำมูก มึนหัว ปวดหัว ตัวร้อน ตาลาย ไ้ข้ขึ้น เพียงแต่ว่าหากมีอาการหนักหนักเข้าก็อาจจะได้ไปเฝ้าเง็กฮ่วงไต่ตี่ พูดง่ายง่ายว่ามันก็คือไข้หวัดตัวหนึ่งแต่มีอันตรายถึงตาย ที่น่ากลัวคือมันติดกันได้ง่ายง่าย ไม่ต้องถึงกับจามใส่หน้า ขากเสลดรดหัว หรือ ถุยน้ำลายใส่น้ำให้กันกินอย่างกระสือ เพียงแค่อยู่ใกล้ใกล้หายใจเอาอากาศเดียวกันเข้าไป แค่นี้ก็ติดโรคได้แล้ว ฉะนั้น ใครต่อใครเขาถึงหวาดกลัวกันนักหนา ออกจากบ้านไปไหนก็ต้องใส่ผ้าคาดปิดปากปิดจมูก เกรงจะสูดเอาลมหายใจของคนเป็นไข้หวัด ๒๐๐๙ เข้าไปด้วย นอกจากนี้ยังต้องล้างมือกันบ่อยบ่อย ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนนิ้วเหี่ยวก็ยังไม่เลิก

ความจริงประการแรกก็คือ เจ้าเชื้อไข้หวัดมันมีขนาดเล็กกว่าผ้าตั้งไม่รู้กี่หมื่นกี่แสนเท่า หากมันอยากจะเข้าไปก็คงไม่ลำบากนัก ไม่ต้องกดออดหรือเคาะประตูมันก็เดินทื่อทื่อเข้าไปจนได้ ประการต่อมา หากเป็นไปตามเหตุผลข้างต้น มันก็ต้องมีคนที่ติดไข้หวัด ๒๐๐๙ ทั้งทั้งที่ยังใส่ผ้าคาดปากอยู่ แต่ใครมันจะกล้าไปป่าวประกาศว่า ผ้าคาดปากป้องกันไข้หวัดไม่ได้ หรือถึงจะไปป่าวประกาศ ก็คงไม่มีใครเชื่อ ก็ใครต่อใครเขาใส่กันทั้งนั้น นายกรัฐมนตรีท่านยังใส่ให้ช่างภาพถ่ายภาพลงหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งโก้ไปเลย ขืนไปตะโกนบอกว่าผ้าคาดปากป้องกันอะไรไม่ได้หรอก เป็นได้โดนอะไรแข็งแข็งทิ่มปากแน่

และประการสุดท้าย คนที่ควรจะใช้ผ้าคาดปากคือคนที่ไม่สบาย ไม่ใช่คนที่สบายดี แต่ตอนนี้ใครต่อใครก็ใส่กันหมดเลยดูไม่ออกแล้วว่าใครเป็นใครไม่เป็น

จะว่าทุกคนเขากลัวก็ใช่ที่ เพราะคนที่ยอมเจ็บหูเพราะยางยืดของผ้าคาดปากมันรัดหู ดูดูไปก็ยังมีจำนวนน้อยกว่าคนที่ไม่ใส่ ซึ่งที่จริงแล้วคนที่กลัวแต่ไม่ใส่ก็คงจะมี และคนที่ไม่กลัวแต่ต้องใส่ก็คงจะมีเหมือนกัน บางคนอาจจะงงว่ามีด้วยหรือ มีสิครับ ที่ว่ากลัวแต่ไม่ใส่ก็เป็นเพราะยางยืดมันรัดหูจนเจ็บหูไง ลองคาดกันดูสิ ชั่วโมงเดียวเท่านั้นแหละ เจ็บเสียจนไม่อยากเอาหูไปห้อยอะไรอีกเลย ส่วนที่ว่าคนที่ไม่กลัวแต่ต้องใส่ ก็อย่างเช่นเด็กนักเรียนที่โดนผู้ปกครองบังคับ สามีที่โดนภรรยาบังคับ หรือ พนักงานที่โดนนายจ้างบังคับ อะไรพวกนั้น เพราะฉะนั้นจะเอาปริมาณการใช้ผ้าคาดปากไปชี้วัดการตื่นตัวของคนไทยต่อการป้องกันโรคไข้หวัด ๒๐๐๙ ท่าจะไม่เหมาะ

เดี๋ยวนี้เวลาขึ้นรถเมล์ เรือด่วน รถไฟฟ้ายิ่งเห็นได้ชัดว่า คนที่กลัวกับคนที่ไม่กลัวแสดงพฤติกรรมต่างกันเยอะเลยเชียว เพราะเดือนกรกฎาคมปีนี้ฝนตกแทบทุกวัน บ้างตกเช้าบ้างตกเย็น บ้างตกทั้งเช้าทั้งเย็นแถมตกกลางคืนอีกต่างหาก พอแดดจะร้อนพ่อเจ้าประคุณก็ว่าซะร้อนเปรี้ยง อยู่ในห้องแอร์เย็นเย็นออกไปเจอแดดร้อนร้อนเข้าหน้ามืดตาเหลือกไปเลยก็มี ใครต่อใครเลยเป็นหวัดคัดจมูก บ้างก็สูดน้ำมูกกันฟืดฟืดฟาดฟาด บ้างก็ไอกันค้อกค้อกแค้กแค้ก พอคนที่มีอาการเหล่านี้มาขึ้นรถเมล์ เรือด่วน หรือรถไฟฟ้า ก็จะกลายเป็นบุคคลที่สังคมรังเกียจในฉับพลัน ถ้ามีที่นั่งว่างก็ไม่มีใครอยากให้นั่งด้วย ถ้ามีที่ยืนว่างก็ไม่มีใครอยากยืนใกล้ใกล้ ถึงแม้จะเป็นแค่หวัดธรรมดาก็เถิด นี่ถ้าเกิดมีใครไอจนตัวโยนหรือน้ำมูกไหลย้อยเป็นเต้าส่วน จะโดนเชิญลงด้วยข้อหาตัวแพร่เชื้อหรือเปล่าก็ไม่ทราบ

จนถึงเวลานี้ ก็ไม่แน่ใจว่าชาวสยามประเทศจะเป็นโรคไข้หวัด ๒๐๐๙ กันสักเท่าไรกันแน่ เพราะบ้านเรามันมีอะไรแปลกแปลก ตัวเลขเจ็บป่วยเท่านั้นเท่านี้ชอบปิดกันนักกลัวคนจะแตกตื่น แต่พอนักท่องเที่ยวเข้ามาเท่านั้นเท่านี้พวกบวกเพิ่มไปอีกสิบเท่า แต่ก็แว่วแว่วมาว่ายอดผู้ป่วยกำลังไต่อันดับขึ้นสูงสูงในระดับโลก ซึ่งก็เป็นไปตามทฤษฎีประเทศสารขัณฑ์กำลังพัฒนาที่ชอบทำอะไรอะไรให้โด่งดังในระดับโลกไว้ก่อนทั้งที่ตั้งใจจะให้ดังและไม่ได้ตั้งใจจะให้ดัง ยิ่งถ้ากินเนสบุ๊ค รับประทานเนสบุ๊ค เอาไปลงบันทึกอย่างนู้นอย่างนี้ด้วยแล้วก็ยิ่งชอบใจกันยกใหญ่ จะว่าไป ตัวเลขผู้ป่วยมันก็ไม่น่าชอบใจเท่าไรนัก แต่คงจะติดนิสัยสร้างสถิติจนเลิกยากเสียแล้ว หนังสือพิมพ์หัวสีก็ถือเป็นหน้าที่ ต้องพาดหัวข่าวตัวเป้งเป้งใส่สำนวนให้มันมันทุกวัน ถ้าวันไหนไม่ได้พาดหัวข่าวเรื่องคนเจ็บคนตายประเทศไทยเป็นอันดับที่เท่าไรของโลก ย่อมผิดวิสัยข่าวร้ายแจกฟรี ข่าวดีต้องจ้าง

แต่ที่แน่แน่คือตอนนี้ ชาวประชาหน้าแห้งทั้งหลายไม่ว่าจะสบายดีหรือไม่สบายหรือกำลังจะสบายหรือกำลังจะไม่สบาย ต่างก็กำลังเป็นไข้หวาดกันทั่วหน้า นอกจากจะหวาดผวาว่าน้ำมันจะแพง ข้าวแกงจะขึ้นราคา สามจีไม่ยอมเข้ามา รถไฟฟ้าไม่ยอมมาถึงแล้ว ก็ยังต้องหวาดผวาว่าวันไม่ดีคืนไม่ดีเจ้าไวรัสไข้หวัด ๒๐๐๙ ที่แสนจะเก๋ไก๋ทันสมัยเป็นไข้หวัดแห่งปีมันจะพิศวาสปรี่เข้ามาเพาะเชื้อในตัวเราหรือเปล่า ทั้งทั้งที่รู้ว่า ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้าเกิดมาแล้วก็ต้องตาย แถมยังไม่รู้ว่าจะแก่ตายหรือเปล่า หรือจะตายเพราะมะเร็งในสมองเนื่องจากคุยโทรศัพท์มือถือวันละสิบชั่วโมง หรือจะเป็นลมตายหน้าจอคอมพิวเตอร์เพราะไม่ยอมหลับยอมนอนติดกันสามวันสี่คืน ฯลฯ กระนั้นก็ยังขอปฏิเสธ ไม่อยากจะเป็นไข้หวัดตาย เพราะมันดูไม่สมาร์ทไม่โก้ไม่โลกาภิวัตน์ไม่วายเลสไม่ไวไฟ

ผู้สันทัดกรณี :

ลุงอืด คนขายยาดอง อดีตคนเก็บของป่า ดูดยาเส้นมวนเบ้อเริ่มพ่นควันขโมง ให้ความเห็นว่า ไข้หวัด ๒๐๐๙ มันก็เหมือนไข้ป่าหรือมาเลเรียนั่นแหละ สมัยก่อนเป็นแล้วรอดยาก ต้องตายสถานเดียว ชาวบ้านกลัวกันนักหนา แต่คราวนี้ความหวาดผวามันย้ายจากป่ามาอยู่ในเมือง คนกรุงก็เลยต้องเป็นประสาทเพราะกลัวไข้หวัด ๒๐๐๙ ส่วนคนบ้านนอกไม่ได้ไปดูแฮรี่พอตเตอร์ ไม่ได้ไปดูคอนเสิร์ตดงบังชินกิ ไม่ได้ขึ้นรถไฟฟ้า ไม่ได้เดินห้างสรรพสินค้า วันวันอยู่แต่ท้องไร่ท้องนาก็เลยไม่มีความจำเป็นจะต้องไปกลัว

“...
แล้วลุงอยากตายแบบไหนล่ะ?...” ผมถามเหมือนเป็นยมทูต เพราะรู้ว่าแกหยอกแรงแรงได้
...เมาตายสิครับ พี่น้องครับ...” แกยักคิ้วหนึ่งหนตามประสาคนอารมณ์ดี ก่อนจะหันไปเปิดเพลงของบุปผา สายชล

“...คนจน คนรวย ไม่ช้าก็ม้วยมรณา
คนดี คนบ้า ไม่ช้าทุกคน ก็ตาย
ตายเน่าเหม็น ใครเห็นก็เมินหน้าหน่าย
หมดความหมาย สุดท้ายก็ตายเหมือนกัน...”

 

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
แกชื่อยายอิ่ม ผู้เคยเฉิดฉายในวงสังคม เพราะคัดสรรเฉพาะสามีรวย หนีออกจากบ้านไปมีผัวตั้งแต่อายุสิบสอง ผ่านมาสี่สิบกว่าปี มีผัวมากี่คน คงนับได้ยากเสียแล้ว พอยายอิ่มแก่ตัวลูกก็หนีหาย ต่างคนต่างไป ไม่มีใครเลี้ยง สุดท้าย แกคว้าตาหงอก ผู้(อ้างว่า)เป็นผู้ดีเก่ามาไว้หาเลี้ยงจนได้ สมัยสาวๆ ยายอิ่มได้มรดกจากพ่อแม่ไปเยอะ แต่ขายกินจนหมด แกมีชื่อเสียงมากด้านความคด ในข้องอในกระดูก ถึงขนาดที่ แม้แต่พี่น้องด้วยกันก็ยังโดน จนต้องตัดพี่ตัดน้องกันนั่นแหละ ในที่สุด พอแก่ตัวไม่มีที่จะอยู่ ต้องมาบีบน้ำตาขอที่จากแม่เฒ่า ซึ่งแม่เฒ่าแกก็ค่อยอยากจะให้ เพราะให้ไปมากแล้ว (แต่เอาไปขายกินหมด)…
ฐาปนา
นี่คือตลาดนัดประจำตำบล ที่เปิดมายาวนานหลายสิบปี ในละแวกใกล้เคียง 3-4 ตำบล เป็นที่รู้กันว่า ถ้า “นัดวันอาทิตย์” ก็ต้องมาที่นี่ ในระดับอำเภอ ตลาดนัดวันอาทิตย์ตอนเช้าของที่นี่ น่าจะใหญ่ที่สุด คึกคักที่สุด ลานกว้างพื้นที่หลายไร่ข้างวัด มีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งสินค้ากันตั้งแต่ตีสี่ตีห้า พอเริ่มสว่าง คนก็เริ่มมา หกโมงถึงเจ็ดโมงเช้า เป็นช่วงเวลาที่คนกำลังเยอะ เพราะมีของให้เลือกมาก และแดดยังไม่ร้อน ก่อนที่ตลาดจะเริ่มวายประมาณแปดโมง จอดรถที่ข้างตลาด หรือ ถ้าไม่อยากเบียดเสียดก็ไปจอดในวัด บรรยากาศคึกคักของตลาดเห็นได้แต่ไกล ซอยอาหารทะเลตรงกับทางเข้าด้านที่ตรงมาจากวัด มีคนพลุกพล่านที่สุด…
ฐาปนา
ทุกเช้า ประมาณตีสี่ครึ่ง หอกระจายข่าวกลางหมู่บ้านจะเปิดข่าวเช้า(มืด)จากสถานีวิทยุของจังหวัด เป็นสัญญาณให้ทุกบ้านตื่นนอน เตรียมตัวมาปฏิบัติภารกิจประจำวัน หุงข้าว ทำกับข้าว เตรียมใส่บาตร เตรียมตัวรอขึ้นรถไปโรงเรียน เตรียมตัวรอขึ้นรถไปทำงาน ใครไม่ตื่นก็ต้องตื่น เพราะเสียงดังจนตามเข้าไปถึงในฝัน รายการเช้ามืด เริ่มต้นด้วยเพลงปลุกใจให้ยึดมั่นในสถาบัน แล้วตามด้วยธรรมเสวนา จากเจ้าอาวาสวัดที่เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัด ตามด้วยสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร การทำมาหากิน โครงการต่างๆ จากรัฐบาล และ การปฏิบัติงานของหน่วยงานในจังหวัด
ฐาปนา
เช้าตรู่ของวันอากาศดีเสียงตามสายประกาศให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตอนบ่ายโมงตรง ณ ศาลาของหมู่บ้านพอบ่ายโมงครึ่ง สมาชิกสหกรณ์ฯ ก็มากันพร้อมหน้าเจ้าหน้าที่สหกรณ์มากันสามคน คนที่ดูอาวุโสกว่าใคร พูดมากกว่าใคร และเรียกเสียงหัวเราะได้มากกว่าใคร เป็นหัวหน้าชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับกระดาษคนละหนึ่งแผ่น ปากกาคนละหนึ่งด้าม อ่านดู ก็เห็นว่าเป็นแบบฟอร์มสำรวจเรื่อง “ความพอเพียงในครัวเรือน”
ฐาปนา
ที่นี่อยู่ไม่ห่างจากทะเล ป่าและเขาก็อยู่ไม่ไกล มีคลองส่งน้ำจากเขื่อนผ่านพื้นที่อย่างทั่วถึง ทำนาได้ปีละสองครั้ง ด้านป่าบนติดเขื่อน เขาปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ได้ผลที่มีรสชาติไม่น้อยไปกว่าทางภาคใต้หรือทางภาคตะวันออก แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ ถนัดปลูกผัก เพราะเก็บขายได้ตลอดทั้งปี แต่ละวันจะมีรถสิบล้อขนผักผลไม้ วันละหลายสิบคันวิ่งจากตำบลต่างๆ ในอำเภอ มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ พระประแดง สมุทรปราการ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ฯลฯ พร้อมด้วยผลิตผลทางการเกษตรสารพัดอย่าง ตั้งแต่ของจำเป็นในครัวอย่าง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาว พริก หอม กระเทียม ไปจนถึงผักเจ้าประจำบนแผงผักทั้ง กะเพราะ โหระพา สะระแหน่ บวบ…
ฐาปนา
ดั้งเดิม ก่อนที่แต่ละบ้านจะมีเอกสารกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินของตัวเอง บ้านส่วนใหญ่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “รั้ว” อย่างเป็นทางการ เพราะแต่ละบ้านในละแวกก็ล้วนพี่น้อง หรือนับไปนับมาก็ญาติกันทั้งนั้น อาจปลูกต้นไม้เป็นแนวให้บอกได้ว่าเป็นแดนใคร แต่จะถึงขั้นปักเสาขึงลวดหนาม หรือก่อกำแพงล้อมนั้นน้อยราย เพราะถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองเงิน เขตบ้านใครก็บ้านมัน ถึงไม่มีเอกสารสิทธิ์ ถึงไม่มีรั้วรอบขอบชิด ก็ไม่ก้าวก่ายกันอยู่แล้ว เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใครคนหนึ่งเกิดอยากทำเอกสารสิทธิ์ที่ดินของตน จากที่เคยชี้นิ้วบอกว่านี่เขตใคร การออกเอกสารสิทธิ์…
ฐาปนา
วัยเยาว์ของเธอ ขณะที่หัวใจครึ่งหนึ่งเปี่ยมด้วยความฝันและความหวัง ทะเยอทะยานปรารถนา แต่หัวใจอีกครึ่งกลับอ่อนไหว บอบช้ำง่าย ทั้งยังอ่อนด้อยต่อโลกแห่งเหตุผล อนาคตเลือนลางอยู่ในความฝันยามหลับ และวนเวียนอยู่ในความคิดยามตื่น เธอร่ำร้องหาบางสิ่งบางอย่างที่เธอไม่อาจบอกได้ มองไม่เห็น ไม่รู้จุดเริ่มต้น ไม่รู้จุดสิ้นสุด พลังสร้างสรรค์ของเธอฟุ้งกระจาย ไร้ทิศทาง เมื่อคำว่า ความพร้อม อยู่ห่างจากความเข้าใจ เธอจึงได้แต่ก่นโทษตนเองอยู่เป็นนิจ เธอร่อนเร่ไปในเมืองของผู้อื่น จากเมืองสู่เมือง แลกความเพียรกับเงินเลี้ยงชีพ ยิ้มแย้มให้คำดูหมิ่นเพื่อจะได้เห็นเกียรติของตนเสื่อมค่าลง
ฐาปนา
(มะพร้าวกะทิ)ตอนอายุสิบขวบ ผมค้นพบว่าโลกนี้มีผลไม้ประหลาดที่เรียกว่า “มะพร้าวกะทิ” เมื่อพ่อซื้อมันมาจากตลาดฟังดูน่าหัวเราะ เหมือนชาวเมืองมาคอนโดค้นพบว่าโลกนี้มีน้ำแข็ง ในนวนิยายมหัศจรรย์เรื่องหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวแต่นี่คือเรื่องจริงในวัยเด็กของผมอาจเป็นเพราะมันไม่ใช่ของที่หาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่นที่ผมอยู่ ไม่ใช่ของที่หากินได้ทั่วไป จึงได้มีราคาสูงถึงลูกละ 50 บาท ซึ่งแน่ละ สำหรับยี่สิบปีก่อน ถือว่า แพงมาก แล้วเมื่อแพงขนาดนี้ ก็ย่อมไม่ใช่ของที่จะซื้อกันบ่อยๆผมจำความตื่นเต้นในการเจอหน้าครั้งแรกได้ดี มะพร้าวอะไรกัน มีเนื้อเต็มลูก ไม่แข็งแต่นิ่มๆ หยุ่นๆ รสชาติก็ลื่นๆ มันๆ…
ฐาปนา
แกชื่อยายหอม เป็นคนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีแม่ของแกมีเชื้อลาวพวน พ่อของแกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน แต่เดิมแกอยู่ตำบลอื่น แล้วย้ายมาอยู่ที่นี่ แกเป็นคนรุ่นแรกที่มาหักร้างถางพงทำไร่ทำนาหมู่บ้านยุคบุกเบิก มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า สัตว์ป่าชุกชุม เข้าป่าเจอเสือ หรือเสือแอบเข้ามากินวัวในหมู่บ้าน เป็นเหตุการณ์ประจำวัน คอกวัวสมัยนั้น ต้องกั้นเป็นฝาจึงพอกันเสือได้ ชาวบ้านกินเนื้อเก้ง เนื้อกวาง เนื้อไก่ป่า บ่อยกว่าเนื้อหมู หนองน้ำเต็มไปด้วยปลาตัวโตๆ ตะพาบตัวเท่ากระด้ง เรื่องผีสางนางไม้อยู่แนบชิดชุมชนมากกว่าเรื่องวัดเรื่องพระแกเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นแกยังเป็นสาว…
ฐาปนา
ในวัยหนุ่มสาว ขณะที่จิตใจยังถูกครอบงำด้วยความโรแมนติกเช่นเดียวกับหลายคน ผมฝันถึงบ้านที่มองเห็นภูเขา ฟ้ากว้าง ได้เฝ้ามองหมู่เมฆเคลื่อนคล้อย อาบกายด้วยแสงอัสดงทุกวัน หรือ บ้านที่อยู่ริมทะเล เห็นเส้นขอบฟ้าไร้จุดสิ้นสุด ไกวเปลตามลมเห่ ต้นมะพร้าวโยกเอน นอนฟังเสียงคลื่นกล่อมชั่วกาลทว่าในบริบทของชีวิต ผู้ที่สามารถมีบ้านอย่างที่ฝันมีไม่มากเลย ทั้งเมื่อมีแล้วก็ยังต้องใช้เวลาอีกนับสิบปี กว่าจะแต่งเติมภาพฝันจนเสร็จจริง คนที่ให้ค่ากับความฝันสูงยิ่งทั้งไม่ยอมให้ความยากลำบากในชีวิตจริงมาบั่นทอนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ได้รับที่พำนักของหัวใจชั่วชีวิตเงื่อนไขของแต่ละคนไม่เท่ากัน…
ฐาปนา
เสียงจักจั่นกรีดปีกจากป่าเชิงดอย ฝ่าไอแดดร้อนมาถึงเคหะสถานเงียบงัน รถกระบะบรรทุกหนุ่มสาวร่างเปียกปอนยืนล้อมถังน้ำใบใหญ่แล่นผ่านไปหญิงชราถือสายยางเดินออกมาหน้าบ้าน ฉีดน้ำใส่พื้นถนน ไอน้ำระเหยขึ้นเด็กๆ หิ้วถังพลาสติก ขัน ปืนฉีดน้ำ มองสองข้างทางอย่างมีความหวังร้านขายน้ำปั่น น้ำแข็งไส ขายดีจนต้องสั่งน้ำแข็งเพิ่มในช่วงบ่ายเจ้าของโรงทำน้ำแข็ง หน้าบาน แต่ลูกจ้างหน้าเหี่ยว เพราะข้าวสารขึ้นราคาลิตรละหลายบาทแต่ค่าแรงเท่าเดิม    ดวงอาทิตย์กลับมาอยู่ใกล้ชิดโลก เหมือนคนรักที่ได้เจอกันแค่ปีละครั้งมวลอากาศอบอ้าวเข้าเกาะกุมผิว ยึดทุกรูขุมขน เหงื่อเค็มถูกขับซึมเสื้อ เหนอะหนะ…
ฐาปนา
“...ทว่าการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ครั้งนี้ต้องอาศัยปัญญามหาศาล ความกล้าหาญมหึมา และความมุ่งมั่นเหลือคณา เพราะความกลัวจะจู่โจมถึงแกนกลางของแนวคิดนี้ และป่าวร้องว่าผิดพลาด ความกลัวจะกัดกินเข้าไปยังแก่นแห่งสัจธรรมล้ำเลิศและแปลงให้เป็นเรื่องเท็จเทียม ความกลัวจะบิดเบือน และทำลาย ฉะนั้นความกลัวจะเป็นศัตรูตัวฉกาจที่สุด ทว่าเธอไม่อาจมีและไม่อาจสร้างสังคมที่ปรารถนาและใฝ่ฝันมาช้านานจนกว่าจะเห็นปัญญาและกระจ่างชัดถึงปรมัตถ์สัจจ์ที่ว่า สิ่งที่เธอทำแก่ผู้อื่นเธอก็ได้ทำแก่ตัวเอง สิ่งที่ไม่ได้ทำให้ผู้อื่น เธอก็ไม่ได้ทำให้ตัวเอง ว่าความเจ็บปวดของผู้อื่น ก็คือความเจ็บปวดของตัวเธอ…