Skip to main content

20080306 ภาพปกหนังสือ สนทนากับพระเจ้า 2

“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำ
ความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่
สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายใน
ให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”

(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)

สำหรับผู้ที่เคยอ่านสนทนากับพระเจ้าเล่ม 1 มาแล้ว การได้อ่านสนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 ในรอบแรกๆ เป็นไปได้ที่จะรู้สึกแตกต่าง ไม่คุ้นเคย ด้วยเนื้อหาส่วนใหญ่เน้นหนักไปในเรื่องปัญหาที่มนุษยชาติกำลังประสบร่วมกันอยู่ ทั้งความอดอยากหิวโหย ความเป็นธรรมในด้านเศรษฐกิจ-สังคม, การศึกษา, การจัดการทรัพยากร ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า หากเล่ม 1 คือการทบทวนตนเอง เล่ม 2 ก็คือการทบทวนสังคมโลก และที่ดูเหมือนจะยอกย้อนก็คือ เมื่อพิจารณาถึง สาเหตุสำคัญของทุกปัญหาในโลก เรากลับต้องย้อนมาทบทวนจิตสำนึกของตนเอง

“...เธอไม่อาจแก้ปัญหาที่กระหน่ำมนุษยชาติอยู่นี้ได้ด้วยมาตรการของรัฐบาลหรือกลไกทางการเมืองหรอกนะ เธอพยายามทำอย่างนี้มาเป็นพันๆ ปีแล้ว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเกิดได้ที่เดียวเท่านั้นคือ ในหัวใจของมวลมนุษย์...” (หน้า 231)

ความจริงที่ตีแสกหน้าเรานั่นคือ ข้อความที่ว่า หลายพันปีแห่งอารยธรรมมนุษย์ จิตสำนึกของเราไม่ได้วิวัฒน์ไปไกลสักเท่าใดเลย เรายังคงปล่อยให้ผู้คนมากมายอดอยากหิวโหย เรายังคงยอมรับระบบใครดีใครได้ให้คงอยู่ต่อไปในสังคม เรายังคงข่มขืนทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง เรายังคงก่อสงครามทำลายชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยความเห็นแก่ตัวอย่างสุดโต่ง และเรายังคงออกกฎหมายกันไม่หยุดหย่อนเพื่อบังคับให้ทุกคนเป็น “คนดี”

“เรา” ที่หมายถึงมนุษย์ทุกคน ย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบที่มีต่อโลกที่เราอยู่อาศัย ไม่ว่าจะชาวป่าผู้อยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ หรือชาวเมืองผู้อยู่กับความศิวิไลซ์ก็ตาม, แน่ละ หากมองอย่างปัจเจก ใครก็ย่อมกล่าวได้ว่า ฉันไม่ได้ฆ่าใคร ฉันไม่ได้ตัดไม้ทำลายป่า ฉันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปกครองที่ก่อความเดือดร้อนให้กับชนชั้นล่าง แต่ในฐานะปัจเจก มีใครบ้างเล่าที่ดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสังคม?

ทุกชีวิตล้วนต้องเกี่ยวพันกับสังคมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมเมือง ที่ไม่ยินยอมให้สิทธิการดำรงตนอย่างโดดเดี่ยวแก่ผู้ใด ฉะนั้น ปัญหาที่เกิดกับสังคม ไม่ว่าใกล้หรือไกลตัว มนุษย์ทุกผู้ล้วนเกี่ยวข้องด้วยกันทั้งสิ้น ปัญหาสำคัญก็คือ สำนึกรับผิดชอบต่อสังคมของแต่ละคน ไม่ได้มีมากพอที่จะขับเคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆ ได้เลย

ถามว่า การเปลี่ยนแปลงในระดับจิตสำนึกนั้นควรเริ่มต้นที่ใด? ที่ใคร?
“...จิตสำนึกที่แผ่ขยายไปทั่วโลก คือสิ่งจำเป็นสำหรับตอนนี้ ทว่ามันจะเกิดขึ้นอย่างไรใช่ไหม...ต้องมีใครสักคนเริ่มไง โอกาสรอเธออยู่ตรงหน้าแล้ว เธอเป็นบ่อเกิดของจิตสำนึกใหม่ได้ เธอสามารถเป็นแรงบันดาลใจ จริงๆ แล้วเธอนั่นละที่ต้องเป็น...” (หน้า 232)

ในส่วนของความเห็นของ “พระเจ้า” ต่อคำถามในเรื่องสังคม ข้อแนะนำให้ยกเลิกรูปแบบเดิมๆ ขององค์กรในโครงสร้างของสังคม อาจดูเหมือนแนวคิดแบบอนาธิปไตย แต่เหตุผลที่ว่า แท้จริงแล้ว การวิวัฒน์สู่จิตสำนึกใหม่ของมนุษยชาติ มีปัญหาอยู่ที่ใครบางคนไม่ยอมให้มีการแบ่งปัน หรือเปลี่ยนแปลงเพราะมันคือผลประโยชน์มหาศาล รวมทั้งการเปิดเผยระบบการเงินที่จะทำให้ “ผู้คนไม่สามารถทำในสิ่งที่ตนไม่อยากให้คนอื่นรู้ได้อีกต่อไป” เป็นข้อสังเกตที่น่าพิจารณามาก

โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าหากใช้ “การเปิดเผย” (visibility)  ซึ่งเป็นความจริงที่เรียบง่ายตรงไปตรงมา เป็นรากฐานของทุกอย่างของสังคม ความคดโกง ความไม่เป็น ความไม่เสมอภาคต่างๆ ในสังคมจะหมดสิ้นไปทันที ซึ่งแน่ละ ผู้มีอำนาจและผู้มีเงินตราในสังคมย่อมต่อต้านเรื่องเหล่านี้อย่างถึงที่สุด และหากเป็นเช่นนั้นจริง ก็ชวนให้คิดเหลือเกินว่า หรือแท้จริงแล้ว ชนชั้นนำเหล่านี้นี่เอง เป็นตัวขัดขวางการวิวัฒน์ของจิตสำนึกใหม่ของสังคม?

การคาดหวังให้การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นที่จุดบนสุดของสังคมแล้วแผ่ขยายลงมาสู่เบื้องล่าง คืออุดมคติที่เป็นเพียงภาพลวงแห่งความฝันของการปกครองทุกระบอบในโลก ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตย, เผด็จการ,สังคมนิยม, ราชาธิปไตย หรือแบบใดก็ตามแต่ ผู้คาดหวังถึงสิ่งดีงามจากผู้ปกครองมักจะต้องพบกับผลลัพธ์เดียวกันทั้งสิ้นนั่นคือ ความผิดหวัง

เราไม่อาจหวังให้ผุ้มีอำนาจทำให้สังคมดีขึ้น เช่นเดียวกับเราก็ไม่อาจหวังได้ว่า สักวันหนึ่งหากเรามีอำนาจเราจะเปลี่ยนสังคมให้ดีอย่างที่เราต้องการ เพราะนอกจากจะเป็นจริงได้ยากแล้ว ยังไม่มีใคร(แม้แต่ตัวเรา)ที่จะกล้ารับประกันว่า หากวันใดเรามีเงิน มีอำนาจ เรายังคงเป็นเราคนเดิมอยู่หรือไม่ มีตัวอย่างของคนมากมายที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อได้ขึ้นเถลิงอำนาจ จากที่เคยมีความสามารถมีความดีพอเป็นความหวังอยู่ได้บ้าง ก็กลับกลายเป็นมัวเมาเสพติดในอำนาจ และเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้สังคมแตกแยก

เราไม่อาจหวังให้ใครดีได้ ชีวิตและชะตากรรมของผู้อื่นคือสิทธิ์ของผู้นั้น ไม่ใช่ของเรา
สิ่งเดียวที่เราหวังได้ คือตัวเราเอง
จิตสำนึกใหม่ ท่ามกลางสังคมที่กำลังล่มสลาย อยู่ภายในตัวเราทุกคน
โลกอารยะหรือโลกพระศรีอาริย์ที่ทุกคนใฝ่ฝัน อาจอยู่เพียงแค่ “ปลายจมูก” ดังที่ท่านพุทธทาสเคยกล่าวไว้ แต่เราคาดหวังไปไกล จนมองข้ามความเป็น “ผู้สร้าง” หรือศักยภาพของตัวเราเอง

หากความหวังใดๆ ไม่ได้ก่อเกิดขึ้นจากตัวเราแล้ว เรายังจะหวังได้ที่ใคร ?

** ขอขอบคุณ คุณอัฐพงศ์ เพลินพฤกษา สำหรับหนังสือสนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 และความปรารถนาดีเสมอมา




 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
แกชื่อยายอิ่ม ผู้เคยเฉิดฉายในวงสังคม เพราะคัดสรรเฉพาะสามีรวย หนีออกจากบ้านไปมีผัวตั้งแต่อายุสิบสอง ผ่านมาสี่สิบกว่าปี มีผัวมากี่คน คงนับได้ยากเสียแล้ว พอยายอิ่มแก่ตัวลูกก็หนีหาย ต่างคนต่างไป ไม่มีใครเลี้ยง สุดท้าย แกคว้าตาหงอก ผู้(อ้างว่า)เป็นผู้ดีเก่ามาไว้หาเลี้ยงจนได้ สมัยสาวๆ ยายอิ่มได้มรดกจากพ่อแม่ไปเยอะ แต่ขายกินจนหมด แกมีชื่อเสียงมากด้านความคด ในข้องอในกระดูก ถึงขนาดที่ แม้แต่พี่น้องด้วยกันก็ยังโดน จนต้องตัดพี่ตัดน้องกันนั่นแหละ ในที่สุด พอแก่ตัวไม่มีที่จะอยู่ ต้องมาบีบน้ำตาขอที่จากแม่เฒ่า ซึ่งแม่เฒ่าแกก็ค่อยอยากจะให้ เพราะให้ไปมากแล้ว (แต่เอาไปขายกินหมด)…
ฐาปนา
นี่คือตลาดนัดประจำตำบล ที่เปิดมายาวนานหลายสิบปี ในละแวกใกล้เคียง 3-4 ตำบล เป็นที่รู้กันว่า ถ้า “นัดวันอาทิตย์” ก็ต้องมาที่นี่ ในระดับอำเภอ ตลาดนัดวันอาทิตย์ตอนเช้าของที่นี่ น่าจะใหญ่ที่สุด คึกคักที่สุด ลานกว้างพื้นที่หลายไร่ข้างวัด มีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งสินค้ากันตั้งแต่ตีสี่ตีห้า พอเริ่มสว่าง คนก็เริ่มมา หกโมงถึงเจ็ดโมงเช้า เป็นช่วงเวลาที่คนกำลังเยอะ เพราะมีของให้เลือกมาก และแดดยังไม่ร้อน ก่อนที่ตลาดจะเริ่มวายประมาณแปดโมง จอดรถที่ข้างตลาด หรือ ถ้าไม่อยากเบียดเสียดก็ไปจอดในวัด บรรยากาศคึกคักของตลาดเห็นได้แต่ไกล ซอยอาหารทะเลตรงกับทางเข้าด้านที่ตรงมาจากวัด มีคนพลุกพล่านที่สุด…
ฐาปนา
ทุกเช้า ประมาณตีสี่ครึ่ง หอกระจายข่าวกลางหมู่บ้านจะเปิดข่าวเช้า(มืด)จากสถานีวิทยุของจังหวัด เป็นสัญญาณให้ทุกบ้านตื่นนอน เตรียมตัวมาปฏิบัติภารกิจประจำวัน หุงข้าว ทำกับข้าว เตรียมใส่บาตร เตรียมตัวรอขึ้นรถไปโรงเรียน เตรียมตัวรอขึ้นรถไปทำงาน ใครไม่ตื่นก็ต้องตื่น เพราะเสียงดังจนตามเข้าไปถึงในฝัน รายการเช้ามืด เริ่มต้นด้วยเพลงปลุกใจให้ยึดมั่นในสถาบัน แล้วตามด้วยธรรมเสวนา จากเจ้าอาวาสวัดที่เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัด ตามด้วยสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร การทำมาหากิน โครงการต่างๆ จากรัฐบาล และ การปฏิบัติงานของหน่วยงานในจังหวัด
ฐาปนา
เช้าตรู่ของวันอากาศดีเสียงตามสายประกาศให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตอนบ่ายโมงตรง ณ ศาลาของหมู่บ้านพอบ่ายโมงครึ่ง สมาชิกสหกรณ์ฯ ก็มากันพร้อมหน้าเจ้าหน้าที่สหกรณ์มากันสามคน คนที่ดูอาวุโสกว่าใคร พูดมากกว่าใคร และเรียกเสียงหัวเราะได้มากกว่าใคร เป็นหัวหน้าชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับกระดาษคนละหนึ่งแผ่น ปากกาคนละหนึ่งด้าม อ่านดู ก็เห็นว่าเป็นแบบฟอร์มสำรวจเรื่อง “ความพอเพียงในครัวเรือน”
ฐาปนา
ที่นี่อยู่ไม่ห่างจากทะเล ป่าและเขาก็อยู่ไม่ไกล มีคลองส่งน้ำจากเขื่อนผ่านพื้นที่อย่างทั่วถึง ทำนาได้ปีละสองครั้ง ด้านป่าบนติดเขื่อน เขาปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ได้ผลที่มีรสชาติไม่น้อยไปกว่าทางภาคใต้หรือทางภาคตะวันออก แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ ถนัดปลูกผัก เพราะเก็บขายได้ตลอดทั้งปี แต่ละวันจะมีรถสิบล้อขนผักผลไม้ วันละหลายสิบคันวิ่งจากตำบลต่างๆ ในอำเภอ มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ พระประแดง สมุทรปราการ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ฯลฯ พร้อมด้วยผลิตผลทางการเกษตรสารพัดอย่าง ตั้งแต่ของจำเป็นในครัวอย่าง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาว พริก หอม กระเทียม ไปจนถึงผักเจ้าประจำบนแผงผักทั้ง กะเพราะ โหระพา สะระแหน่ บวบ…
ฐาปนา
ดั้งเดิม ก่อนที่แต่ละบ้านจะมีเอกสารกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินของตัวเอง บ้านส่วนใหญ่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “รั้ว” อย่างเป็นทางการ เพราะแต่ละบ้านในละแวกก็ล้วนพี่น้อง หรือนับไปนับมาก็ญาติกันทั้งนั้น อาจปลูกต้นไม้เป็นแนวให้บอกได้ว่าเป็นแดนใคร แต่จะถึงขั้นปักเสาขึงลวดหนาม หรือก่อกำแพงล้อมนั้นน้อยราย เพราะถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองเงิน เขตบ้านใครก็บ้านมัน ถึงไม่มีเอกสารสิทธิ์ ถึงไม่มีรั้วรอบขอบชิด ก็ไม่ก้าวก่ายกันอยู่แล้ว เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใครคนหนึ่งเกิดอยากทำเอกสารสิทธิ์ที่ดินของตน จากที่เคยชี้นิ้วบอกว่านี่เขตใคร การออกเอกสารสิทธิ์…
ฐาปนา
วัยเยาว์ของเธอ ขณะที่หัวใจครึ่งหนึ่งเปี่ยมด้วยความฝันและความหวัง ทะเยอทะยานปรารถนา แต่หัวใจอีกครึ่งกลับอ่อนไหว บอบช้ำง่าย ทั้งยังอ่อนด้อยต่อโลกแห่งเหตุผล อนาคตเลือนลางอยู่ในความฝันยามหลับ และวนเวียนอยู่ในความคิดยามตื่น เธอร่ำร้องหาบางสิ่งบางอย่างที่เธอไม่อาจบอกได้ มองไม่เห็น ไม่รู้จุดเริ่มต้น ไม่รู้จุดสิ้นสุด พลังสร้างสรรค์ของเธอฟุ้งกระจาย ไร้ทิศทาง เมื่อคำว่า ความพร้อม อยู่ห่างจากความเข้าใจ เธอจึงได้แต่ก่นโทษตนเองอยู่เป็นนิจ เธอร่อนเร่ไปในเมืองของผู้อื่น จากเมืองสู่เมือง แลกความเพียรกับเงินเลี้ยงชีพ ยิ้มแย้มให้คำดูหมิ่นเพื่อจะได้เห็นเกียรติของตนเสื่อมค่าลง
ฐาปนา
(มะพร้าวกะทิ)ตอนอายุสิบขวบ ผมค้นพบว่าโลกนี้มีผลไม้ประหลาดที่เรียกว่า “มะพร้าวกะทิ” เมื่อพ่อซื้อมันมาจากตลาดฟังดูน่าหัวเราะ เหมือนชาวเมืองมาคอนโดค้นพบว่าโลกนี้มีน้ำแข็ง ในนวนิยายมหัศจรรย์เรื่องหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวแต่นี่คือเรื่องจริงในวัยเด็กของผมอาจเป็นเพราะมันไม่ใช่ของที่หาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่นที่ผมอยู่ ไม่ใช่ของที่หากินได้ทั่วไป จึงได้มีราคาสูงถึงลูกละ 50 บาท ซึ่งแน่ละ สำหรับยี่สิบปีก่อน ถือว่า แพงมาก แล้วเมื่อแพงขนาดนี้ ก็ย่อมไม่ใช่ของที่จะซื้อกันบ่อยๆผมจำความตื่นเต้นในการเจอหน้าครั้งแรกได้ดี มะพร้าวอะไรกัน มีเนื้อเต็มลูก ไม่แข็งแต่นิ่มๆ หยุ่นๆ รสชาติก็ลื่นๆ มันๆ…
ฐาปนา
แกชื่อยายหอม เป็นคนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีแม่ของแกมีเชื้อลาวพวน พ่อของแกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน แต่เดิมแกอยู่ตำบลอื่น แล้วย้ายมาอยู่ที่นี่ แกเป็นคนรุ่นแรกที่มาหักร้างถางพงทำไร่ทำนาหมู่บ้านยุคบุกเบิก มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า สัตว์ป่าชุกชุม เข้าป่าเจอเสือ หรือเสือแอบเข้ามากินวัวในหมู่บ้าน เป็นเหตุการณ์ประจำวัน คอกวัวสมัยนั้น ต้องกั้นเป็นฝาจึงพอกันเสือได้ ชาวบ้านกินเนื้อเก้ง เนื้อกวาง เนื้อไก่ป่า บ่อยกว่าเนื้อหมู หนองน้ำเต็มไปด้วยปลาตัวโตๆ ตะพาบตัวเท่ากระด้ง เรื่องผีสางนางไม้อยู่แนบชิดชุมชนมากกว่าเรื่องวัดเรื่องพระแกเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นแกยังเป็นสาว…
ฐาปนา
ในวัยหนุ่มสาว ขณะที่จิตใจยังถูกครอบงำด้วยความโรแมนติกเช่นเดียวกับหลายคน ผมฝันถึงบ้านที่มองเห็นภูเขา ฟ้ากว้าง ได้เฝ้ามองหมู่เมฆเคลื่อนคล้อย อาบกายด้วยแสงอัสดงทุกวัน หรือ บ้านที่อยู่ริมทะเล เห็นเส้นขอบฟ้าไร้จุดสิ้นสุด ไกวเปลตามลมเห่ ต้นมะพร้าวโยกเอน นอนฟังเสียงคลื่นกล่อมชั่วกาลทว่าในบริบทของชีวิต ผู้ที่สามารถมีบ้านอย่างที่ฝันมีไม่มากเลย ทั้งเมื่อมีแล้วก็ยังต้องใช้เวลาอีกนับสิบปี กว่าจะแต่งเติมภาพฝันจนเสร็จจริง คนที่ให้ค่ากับความฝันสูงยิ่งทั้งไม่ยอมให้ความยากลำบากในชีวิตจริงมาบั่นทอนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ได้รับที่พำนักของหัวใจชั่วชีวิตเงื่อนไขของแต่ละคนไม่เท่ากัน…
ฐาปนา
เสียงจักจั่นกรีดปีกจากป่าเชิงดอย ฝ่าไอแดดร้อนมาถึงเคหะสถานเงียบงัน รถกระบะบรรทุกหนุ่มสาวร่างเปียกปอนยืนล้อมถังน้ำใบใหญ่แล่นผ่านไปหญิงชราถือสายยางเดินออกมาหน้าบ้าน ฉีดน้ำใส่พื้นถนน ไอน้ำระเหยขึ้นเด็กๆ หิ้วถังพลาสติก ขัน ปืนฉีดน้ำ มองสองข้างทางอย่างมีความหวังร้านขายน้ำปั่น น้ำแข็งไส ขายดีจนต้องสั่งน้ำแข็งเพิ่มในช่วงบ่ายเจ้าของโรงทำน้ำแข็ง หน้าบาน แต่ลูกจ้างหน้าเหี่ยว เพราะข้าวสารขึ้นราคาลิตรละหลายบาทแต่ค่าแรงเท่าเดิม    ดวงอาทิตย์กลับมาอยู่ใกล้ชิดโลก เหมือนคนรักที่ได้เจอกันแค่ปีละครั้งมวลอากาศอบอ้าวเข้าเกาะกุมผิว ยึดทุกรูขุมขน เหงื่อเค็มถูกขับซึมเสื้อ เหนอะหนะ…
ฐาปนา
“...ทว่าการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ครั้งนี้ต้องอาศัยปัญญามหาศาล ความกล้าหาญมหึมา และความมุ่งมั่นเหลือคณา เพราะความกลัวจะจู่โจมถึงแกนกลางของแนวคิดนี้ และป่าวร้องว่าผิดพลาด ความกลัวจะกัดกินเข้าไปยังแก่นแห่งสัจธรรมล้ำเลิศและแปลงให้เป็นเรื่องเท็จเทียม ความกลัวจะบิดเบือน และทำลาย ฉะนั้นความกลัวจะเป็นศัตรูตัวฉกาจที่สุด ทว่าเธอไม่อาจมีและไม่อาจสร้างสังคมที่ปรารถนาและใฝ่ฝันมาช้านานจนกว่าจะเห็นปัญญาและกระจ่างชัดถึงปรมัตถ์สัจจ์ที่ว่า สิ่งที่เธอทำแก่ผู้อื่นเธอก็ได้ทำแก่ตัวเอง สิ่งที่ไม่ได้ทำให้ผู้อื่น เธอก็ไม่ได้ทำให้ตัวเอง ว่าความเจ็บปวดของผู้อื่น ก็คือความเจ็บปวดของตัวเธอ…