Skip to main content

ด้วยความประทับใจจากการไปศึกษาดูงานต่างประเทศหลายแห่ง เมื่อครั้งที่เป็นสมาชิกวุฒิสภา ดิฉันจึงร้อยเรียงเล่าสู่ท่านผู้อ่านในคอลัมน์ “วิถีไทย” ในสยามรัฐรายวันเมื่อเริ่มแรก แล้วย้ายมาเป็นคอลัมน์ในสยามรัฐรายสัปดาห์ ด้วยความเมตตาของบรรณาธิการ และพี่ชัชวาล คงอุดม

ผู้อ่านหลายท่านกรุณาชี้แนะว่าน่าจะรวมเล่มสักครั้งซึ่ง คุณอาทร เตชะธาดา แห่งประพันธ์สาส์น ยินดีเป็นเจ้าภาพพิมพ์และจัดจำหน่าย  น้องน้ำหวาน (ปิยวรรณ  แก้วศรี)  ก็เห็นดีเห็นงามว่าจะรับเป็นบรรณาธิการและจัดรูปเล่มให้ เพื่อสร้างผลงานหนังสือในโอกาสที่ดิฉันมีอายุ 55 ปี

picture

ซึ่งหนังสือได้ช่วยกันตั้งหลายชื่อ เช่น “อนุสติบนบาทวิถีโลก” ซึ่งคุณเล็ก (พรศักดิ์ สุคงคารัตนกุล) แห่งกลุ่มรุ้งอ้วนตั้งให้ แต่ถูกติงว่าชื่อหนักไปทางธรรมะ และต้องแปลอีกครั้งจึงจะเข้าใจ จนมาลงตัวที่ชื่อ “เตือนใจ ตอนไปนอก” ตั้งโดยคุณสมเกียรติ์ ไตรทิพยากร  ซึ่งมี ๒ ความหมาย คือ เตือนจิต เตือนใจ ให้มีสติ รู้ตัว ทั่วพร้อมในช่วงที่ใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านเกิดเมืองนอน กับความหมายเล่าเรื่องของ ครูแดง เตือนใจ ในโอกาสที่ได้ไปเรียนรู้เมืองนอก

น้ำหวานเป็นผู้เลือกรูปทั้งหมดซึ่งถ่ายโดยมือกล้องสมัครเล่นหลายท่าน เช่น อาจารย์จอน  อึ้งภากรณ์ ขอขอบคุณตากล้องผู้กรุณาเอื้อเฟื้อภาพเป็นอย่างยิ่งแม้อาจไม่ได้เอ่ยชื่อของท่าน

หนังสือได้วางจำหน่ายในช่วงเวลาที่เป็นสิริมงคล คือช่วงเข้าพรรษา ซึ่งน้ำหวานไปพบที่ร้านนายอินทร์ เชียงราย จึงซื้อมาฝากพี่แดงด้วยความตื่นเต้นดีใจว่า หนังสือออกแล้ว หลังจากรอคอยกระบวนการพิมพ์และจัดจำหน่ายมาหลายเดือน

การวางแผนงานเปิดตัวหนังสือจึงเริ่มขึ้น คุณอาทร นัดมาปรึกษากันที่รัฐสภา ผู้ร่วมคิดประกอบด้วย ผู้แทนของร้านหนังสือ B2S ในเครือ Central คุณดาว พิมพ์พร  สุขใจ ผู้ช่วยคนเก่งของดิฉันเอง ผู้แทนฝ่ายประชาสัมพันธ์ของคุณอาทร และคุณรสนา โตสิตระกูล ผู้เขียนหนังสือ “เดี่ยวไมโครโฟนหญิง” ซึ่งจะเปิดตัวหนังสือคู่กัน ในชื่องานว่า “ผู้หญิง ๒ คน กับหนังสือ ๒ เล่ม”

pic1

เริ่มที่ประธานเปิดงาน ทั้งรสนาและดิฉันเห็นตรงกันว่าควรเป็นคุณหญิงอัมพร มีศุข ซึ่งเป็นที่เคารพรักของเราทั้งสองท่านเป็นแรงบันดาลใจของดิฉันตลอดมาในฐานะอธิบดีหญิงคนแรกของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญระดับสากล เช่น เป็นประธานเครือข่ายผู้หญิงกับสิ่งแวดล้อมระดับโลก เป็นประธานนักสังคมสงเคราะห์สากล  ปัจจุบันท่านเป็นรองประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้วยวัยแปดสิบกว่าปีที่ยังกระฉับกระเฉงทั้งสุขภาพใจ สุขภาพกาย และปัญญาที่เฉียบแหลม

ต่อมาคือพิธีกรผู้นำการเสวนา ดิฉันชื่นชมคุณไก่ มีสุข แจ้งมีสุข ตั้งแต่ครั้งที่เธอกรุณามาช่วยเป็นพิธีกรให้ชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย ร่วมกับทีมงานผู้หญิงถึงผู้หญิง ทีวีช่อง 3 เธอมีรอยยิ้มแจ่มใสสมชื่อ และนามสกุล ซึ่งย้ำความ “มีสุข” ทั้งใจและกายของเธอ ทั้งเธอยังมีจิตใจช่วยเหลือผู้ทำงานสาธารณะประโยชน์ด้วย

pic2

พิธีกรชายผู้มีจิตใจ “แทนคุณ” ต่อสังคมตลอดมา คือ แทนคุณ จิตต์อิสระ ซึ่งกรุณาช่วยงานของคณะกรรมาธิการเด็ก เยาวชน ฯ ของวุฒิสภา และสนช. อย่างสม่ำเสมอ ด้วยจิตที่ประกอบด้วยธรรมะ

เมื่อทั้ง ๒ ท่าน พร้อมใจกันตอบรับเป็นพิธีกรดำเนินการเสวนา คณะผู้เตรียมงานจึงปลื้มใจยิ่งนัก
เพื่อให้งานมีสีสันของวัฒนธรรมชนชาติพันธุ์แห่งดอยสูง ซึ่งดิฉันได้ใช้ชีวิตทำงานมา 33 ปีแล้ว โดยตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา (พชภ.) เมื่อ พ.ศ. 2529 แม้เงินทุนจะขัดสน ลุ่ม ๆ ดอน ๆ แต่คณะเจ้าหน้าที่ทุกคนก็ทำงานด้วยใจรัก ด้วยชีวิตพอเพียงอย่างต่อเนื่อง ดิฉันจึงตั้งใจมอบเงินค่าลิขสิทธิ์หนังสือ “เตือนใจ ตอนไปนอก” ให้พชภ. ทุกครั้งที่มีการจัดพิมพ์ คุณจุฑามาศ ราชประสิทธิ์ ผู้จัดการมูลนิธิพชภ. จึงนำการแสดงทางวัฒนธรรมของกลุ่ม “เยาวชนคนรักศิลป์ถิ่นภูเขา” เพื่อเปิดตัวพชภ. และขอบคุณผู้มาร่วมกับทุกท่าน

pic3

การเชิญแขกมาเป็นเกียรติในงาน ดิฉันระลึกถึงกัลยาณมิตรผู้มีพระคุณหลายฝ่ายทั้งสมาชิกวุฒิสภาผู้เคยร่วมงานกัน สนช.ร่วมปัจจุบัน พี่น้องร่วมราชสกุล กุญชร ณ อยุธยา และผู้มีพระคุณของพชภ. จึงส่งบัตรเชิญไป 20 – 30 ใบ เสียดายที่หลายท่านติดภารกิจจึงไม่ได้มา เช่น พี่ชัชวาล คงอุดม , พี่ปี๋ ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ เป็นต้น

สื่อมวลชนมีความสำคัญมากที่จะสื่อสารต่อสังคมในวงกว้าง ดิฉันกับทีมประชาสัมพันธ์ของ B2S และประพันธ์สาส์น พยายามช่วยกันขอความร่วมมือด้วยความเกรงใจ

pic4

เมื่อวันเปิดตัวหนังสือมาถึง วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2550 คือวันดี งานเปิดตัวหนังสือ “เตือนใจ ตอนไปนอก” กับ “เดี่ยวไมโครโฟนหญิง” ที่ร้านหนังสือ B2S เซ็นทรัลเวิลด์ คุณรสนา โตสิตระกูล มาถึงตั้งแต่บายสามโมง ตามที่คุณอาทร เตชะธาดานัดหมาย ดิฉันไปถึง 4 โมงกว่า พบดอกกล้วยไม้สีเหลืองสวยงามใส่กระเช้ามาทั้งรากต้น ใบ ดอก พร้อมนามบัตรของคุณสุภาวดี หาญเมธี ประธานสื่อในเครือหนังสือ “รักลูก” ให้ผู้แทนแจ้งว่าเสียดายที่มาไม่ได้เพราะป่วยกะทันหัน

กระเช้ากล้วยไม้หลากสีของคุณสุทธิธรรม  จิราธิวัฒน์ สนช. ผู้เป็นเจ้าของ B2S  และเครือ Central มาแทนตัว ซึ่งติดภารกิจไปต่างประเทศ (ดิฉันมาทราบภายหลังว่าคุณสุทธิธรรม เป็นคนรักดอกไม้ ไปอยู่ที่ไหนก็ชอบปลูกดอกไม้ ต้นไม้ให้โลกสดใส สวยงาม) เป็น ๒ กระเช้า ที่ตั้งไว้รับแขกผู้มาร่วมงานให้สดชื่น

กัลยาณมิตรผู้มาให้กำลังใจเริ่มทยอยมา เริ่มด้วยคุณอภัยชนม์ วัชรสินธุ์ กรรมการผู้เริ่มก่อตั้งมูลนิธิพชภ. , พี่เปี๊ยก (พลตำรวจตรี วีรวัฒน์ กุญชร ณ อยุธยา) พี่ชายร่วมบิดาของดิฉัน , พี่หมอมาลินี สุขเวชชวรกิจ  อดีตสว.นครสวรรค์ ผู้ที่ดิฉันเคารพรักดุจพี่น้องร่วมอุทร มาพร้อมกับพี่ลักษณ์น้องสาว , ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีต สว.กทม. เพื่อนซี้ของครูแดง อยู่ในภาพปกหน้า ปกหลัง ของหนังสือ “เตือนใจ ตอนไปนอก” เดินคู่กับครูแดง

สนช.รุ่นปัจจุบันที่ให้เกียรติมาในงานคือ พลเรือเอกประเสริฐ บุญทรง , ดร.ทวี สุรฤทธิกุล ทั้งสองท่านอยู่ในคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณตรวจรายงานการประชุมและติดตามมติการประชุม ซึ่งประชุมสัปดาห์ละ 3 วันรวด จึงสนิทสนมกลมเกลียวกันมาก

ลูกชายบวร ดีเทศน์ ก็มาให้กำลังใจคุณแม่ด้วย โดยมาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รีบต่อรถไฟฟ้ามาลงที่สยามกว่าจะหาร้าน B2S เจอก็เล่นเอาเหงื่อตก

ครูจุ จุฑามาศ ราชประสิทธิ์ ฝ่ารถติดในกรุงเทพฯ พาเยาวชน “ชมรมคนรักศิลป์ถิ่นภูเขา” เข้ามาที่งานตอนห้าโมงกว่า แล้วเริ่มแสดงดนตรีของชาวอาข่า ลีซู และชาติพันธุ์ต่าง ๆ เรียกสื่อมวลชนและคนดูให้เข้ามานั่งชมเพราะความบริสุทธิ์ น่ารัก ของทุกคน และเสียงเพลงที่ไพเราะ โดยอาหลูู ศิษย์รุ่นแรกเมื่อ พ.ศ. 2516  เป็นผู้เป่าแคนลีซอ ตามคำขอของครูแดง

ท่านประธานเปิดงาน (คุณหญิงอัมพร มีศุข) ได้กรุณากล่าวเปิดงานด้วยบุคลิกที่ดูสง่างาม และอบอุ่นด้วยความเมตตา ท่านเริ่มว่าในชีวิตคนเรามีสิ่งที่ต้องทำ และอยากทำ ซึ่งทั้งรสนา และดิฉันโชคดีที่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ได้มากกว่าที่ต้องทำ

คุณหญิงดีใจที่ผู้รักการอ่านจะมีหนังสือที่น่าอ่านเพิ่มขึ้นอีก 2 เล่ม ท่านขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนส่งเสริมการอ่านให้เป็นนิสัยของคนไทยโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มากขึ้น

เสร็จพิธีเปิดอันน่าประทับใจแล้ว เป็นช่วงเวลาเสวนา “ผู้หญิงสองคนกับหนังสือสองเล่ม” ซึ่งคุณไก่ มีสุข แจ้งมีสุข และคุณ ตี้ แทนคุณ จิตต์อิสระ ทำหน้าที่คู่กันอย่างได้อรรถรสทำให้บรรยากาศเสวนาเป็นกันเอง มิตรรักแฟนเพลงจึงได้ชมความสามารถของพิธีกรยอดนิยมทั้ง ๒ คน อย่างใกล้ชิดและเต็มอิ่มตลอดเวลา ๑ ชั่วโมงเศษ

คุณรสนา กับดิฉันถูกถามว่าเรา ๒ คนมีอะไรที่เหมือนกัน จึงมาออกหนังสือโดยสำนักพิมพ์ WOMAN PUBLISHING ในเครือประพันธ์สาส์นร่วมกัน ดิฉันตอบว่า คุณรสนา เป็นผู้ที่ดึงดิฉันจากบนดอยมาเป็นปาฐกของมูลนิธิโกมล คีมทอง เมื่อ พ.ศ. 2528 เป็นแรงบันดาลเรื่องสุขภาพบนฐานภูมิปัญญาไทย จากนิตยสาร “สมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง” ซึ่งเธอส่งให้ดิฉันได้อ่านเป็นประจำ รวมทั้งหนังสือ “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว” ที่คุณรสนาเป็นผู้แปลในแนวเกษตรธรรมชาติ จุดร่วมของเราจึงเป็นเรื่องของธรรมชาติ และธรรมะ ซึ่งคุณรสนาได้แปลหนังสือของท่านติช นัท ฮันท์ หลายเล่ม เพื่อการเจริญสติในชีวิตประจำวันของคนในยุคโลกาภิวัตน์

เดือนนี้มีงาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ “ ระหว่างวันที่ 17 – 28 ตุลาคม 2550 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งหนังสือ “เตือนใจ ตอนไปนอก” กับ “เดี่ยวไมโครโฟนหญิง” จะวางจำหน่ายที่ร้านประพันธ์สาส์นด้วยค่ะ

ขอเชิญผู้อ่านทุกท่านไปอุดหนุน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุนให้มูลนิธิพชภ. และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้ได้ทำงานเพื่อสังคมที่ดีงามและเป็นธรรมต่อไปค่ะ

บล็อกของ เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา

เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
“ไฟมาป่าเป่ง มดส้มเต้ง ผักหวานโป่ง” คือคำพังเพยที่พ่อกำนันอนันต์ ดวงแก้วเรือน ได้เล่าให้ฟังในที่ประชุมคณะทำงานภูมิภาคภาคเหนือ รางวัลลูกโลกสีเขียว เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 ที่บ้านธารแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
ไฟคือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ซึ่งชาวเหนือและชาวอีสานผู้ใช้ชีวิตร่วมกับป่ามาช้านาน มีคำพังเพยว่า ช่วงฤดูแล้งต่อต้นฤดูฝนต้องเผาป่า เพื่อให้ไม้ผลิใบใหม่ มดแดงจะมีไข่เป้ง เม็ดใหญ่ เป็นอาหารโปรตีนชั้นดี แกงใส่ยอดผักหวาน ซึ่งจะแตกยอด(โป่ง) ในช่วงฤดูแล้งผักหวานไข่มดแดง(ภาษาเหนือเรียกมดส้ม)เห็ดเผาะ ภาพจาก www.siamensis.org
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
มันเทศย่างร้อน ๆ ปอกเปลือกแล้วเห็นเนื้อสีเหลืองทอง เนื้อนุ่ม รสหวานอ่อนๆละมุนลิ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่สาวชาวจีนประจำสถานทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง ชักชวนให้ดิฉันซื้อกิน พร้อมทั้งอธิบายว่า ชาวจีนเรียกมันเทศว่า “ลูกทอง” เพราะเนื้อในที่สุกแล้วเป็นสีเหลืองอร่ามเหมือนทองคำ ทั้งยังมีสรรพคุณทางยาเป็นเลิศ เช่น ช่วยให้ระบายท้องได้ดี ทำให้ร่างกายอบอุ่น ในช่วงฤดูหนาวเป็นฤดูของมันเทศ ชาวจีนจึงนิยมกินมันเทศย่างกันมาก เป็นความประทับใจของดิฉันในการไปประชุมสมาชิกรัฐสภาสตรีอาเซียน Asia Pacific Forum of Parliamentarians on Population and Development (AFPPD) ในช่วงวันที่ 26 – 29 พฤศจิกายน…
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
คุณแอ๊ะ ชุติมา  นุ่นมัน นักข่าวสาวร่างใหญ่ผู้มีจิตใจละเอียดอ่อนงดงาม โทรศัพท์มาขอให้ครูแดงเขียนคำนิยมหนังสือของ สสส. (สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ) ซึ่งถ่ายทอดงาน 13 โครงการ อันก่อให้เกิดความสุขแก่สมาชิกในครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม “แต่ละตอนอยากให้คนอ่าน อ่านแล้วมีแรงบันดาลใจที่จะปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความสุขในชีวิต ทั้งนี้หนทางที่จะนำไปสู่ความสุขนั้นเป็นวิถีพอเพียงที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้”  นี่คือปณิธานของคุณแอ๊ะ ชุติมา   นุ่นมัน ผู้เป็นทั้งผู้เขียนและบรรณาธิการที่ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล สัมภาษณ์ผู้ที่ดำเนินงานโครงการ นำความสุข 13 เรื่อง ในพื้นที่ทุกภาคของประเทศ…
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
ปลายเดือนตุลาเวียนมาหา               ฝนหายจากฟ้า อากาศเย็นใส เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวสบายใจ               ข้าวไร่เหลืองอร่ามงามตา ทุ่งนาเชิงเขาพริ้วไสว พี่น้องปกาเกอญอร่วมแรงใจ               เกี่ยวข้าวไร่ พร้อมพรัก สามัคคี พืชพันธุ์หลากหลายปลูกไว้               ในไร่ข้าวมีถั่ว พืช ผัก ทุกสิ่งศรี งา พริก มะเขือ แตง ผัก เผือก มัน สุดแสนดี               เกษตรอินทรีย์ไร้สารพิษ…
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
สัปดาห์นี้คุณเตือนใจติดภารกิจไม่สามารถเขียนเรื่องลงได้  จึงได้มอบหมายให้ดิฉันจันทราภา (นนทวาสี) จินดาทอง ถ่ายทอดอีกหนึ่งเรื่องราว ซึ่งสอดคล้องกับห้วงเวลาของเทศกาลเข้าพรรษา ความเรียบง่ายแต่งดงามของวิถีชีวิตคนในพื้นที่ห่างไกล เชิญติดตามอ่านค่ะตั้งแต่ตอนที่ยังท้องอยู่ ดิฉันและพ่อของลูกมีความคิดเห็นตรงกันในการอยากให้ลูกเป็นคนที่มีความใกล้ชิดกับพุทธศาสนา ดังนั้น ทุกวันพระเราจึงพากันเข้าวัด ตักบาตร ฟังเทศน์อย่างสม่ำเสมอ แต่พอคลอดน้องต้นหนาว ด้วยภาวะที่เพิ่งมีลูกคนแรก ทุกอย่างดูวุ่นวายไปหมด กิจวัตรการตักบาตรทุกวันพระจึงเป็นอันงดไปโดยปริยายกระทั่งต้นหนาวเติบโตขึ้นตามลำดับ จนอายุครบ 10…
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
ด้วยความประทับใจจากการไปศึกษาดูงานต่างประเทศหลายแห่ง เมื่อครั้งที่เป็นสมาชิกวุฒิสภา ดิฉันจึงร้อยเรียงเล่าสู่ท่านผู้อ่านในคอลัมน์ “วิถีไทย” ในสยามรัฐรายวันเมื่อเริ่มแรก แล้วย้ายมาเป็นคอลัมน์ในสยามรัฐรายสัปดาห์ ด้วยความเมตตาของบรรณาธิการ และพี่ชัชวาล คงอุดมผู้อ่านหลายท่านกรุณาชี้แนะว่าน่าจะรวมเล่มสักครั้งซึ่ง คุณอาทร เตชะธาดา แห่งประพันธ์สาส์น ยินดีเป็นเจ้าภาพพิมพ์และจัดจำหน่าย  น้องน้ำหวาน (ปิยวรรณ  แก้วศรี)  ก็เห็นดีเห็นงามว่าจะรับเป็นบรรณาธิการและจัดรูปเล่มให้ เพื่อสร้างผลงานหนังสือในโอกาสที่ดิฉันมีอายุ 55 ปี ซึ่งหนังสือได้ช่วยกันตั้งหลายชื่อ เช่น “อนุสติบนบาทวิถีโลก”…
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
ยามปลายฝนต้นหนาว ช่วงเดือนตุลาคม ต้นปีบขาว (กาสะลองเงิน) กำลังออกดอกสีขาวบริสุทธิ์ กลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ชวนให้คิดถึงการมาเยือนภาคเหนือเพื่อชื่นชมธรรมชาติและวิถีชีวิตที่สงบสุขของชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งชาวกะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรมากที่สุดในภาคเหนือ และสามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างพอเพียงและเรียบง่าย ยิ่งเป็นชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากอิทธิพลสังคมเมือง เช่น อ.อุ้มผาง จ.ตาก จะยิ่งมีการสืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูกได้โดยไม่ขาดสายคุณแมว – จันทราภา (นนทวาสี) จินดาทอง มีเรื่อง “การสืบสานผ้าทอต่อจากแม่” มาฝากท่านผู้อ่าน เชิญติดตามค่ะเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม…
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
เมื่อ พ.ศ.2520 ดิฉันได้ดูหนังเรื่อง "แผลเก่า" ที่สร้างและกำกับโดย เชิด ทรงศรี ดิฉันชื่นชมมาก จนดูซ้ำถึง 3 ครั้ง ทุกครั้งก็ซาบซึ้ง สะเทือนใจ จนน้ำตาไหลพราก หลายฉาก หลายตอนต่อมาดิฉันได้มีโอกาสรู้จักกับพี่เชิด พี่จันทนา น้องไม้ไผ่ น้องผึ้ง และน้องแสงแดด โดยการแนะนำของกัลยาณมิตร ผู้มีคุณูปการต่อชีวิต คือ โย่ง สุจิตรา สุดเดียวไกร ทำให้ครอบครัวของเราทั้งสองผูกพันกันเหมือนญาติพี่เชิดกับคุณธนูชัย ดีเทศน์ เป็นเหมือนพี่น้องที่สื่อสารกันด้วยใจ พี่เชิดกับครอบครัวไปเยี่ยมเยือนมูลนิธิพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา ที่บนดอยแม่สลอง และเมื่อดิฉันมากรุงเทพ ฯ ก็มาพักที่บ้านพี่เชิดเป็นประจำหนังที่พี่เชิดสร้าง…