Skip to main content

คุณแอ๊ะ ชุติมา  นุ่นมัน นักข่าวสาวร่างใหญ่ผู้มีจิตใจละเอียดอ่อนงดงาม โทรศัพท์มาขอให้ครูแดงเขียนคำนิยมหนังสือของ สสส. (สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ) ซึ่งถ่ายทอดงาน 13 โครงการ อันก่อให้เกิดความสุขแก่สมาชิกในครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม

“แต่ละตอนอยากให้คนอ่าน อ่านแล้วมีแรงบันดาลใจที่จะปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความสุขในชีวิต ทั้งนี้หนทางที่จะนำไปสู่ความสุขนั้นเป็นวิถีพอเพียงที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้”  นี่คือปณิธานของคุณแอ๊ะ ชุติมา   นุ่นมัน ผู้เป็นทั้งผู้เขียนและบรรณาธิการที่ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล สัมภาษณ์ผู้ที่ดำเนินงานโครงการ นำความสุข 13 เรื่อง ในพื้นที่ทุกภาคของประเทศ แล้วนำมากรั่นกรอง เรียบเรียงเป็น 13 เรื่อง ในหนังสือ 1 เล่ม

ดิฉันตั้งใจอ่านต้นฉบับตั้งแต่เรื่องที่ 1 จนถึงเรื่องที่ 13 ด้วยใจจดจ่อ ทุกเรื่องอ่านแล้วมีความปลื้มปิติ มีความสุข อยากไปเห็น ไปเรียนรู้ อยากไปชื่นชมกับผู้มีส่วนร่วมในโครงการทุกคน อยากให้คนในสังคมไทยนำไปปฏิบัติ ขยายผลโดยปรับให้เข้าเหตุปัจจัยของตน

น่าชื่นชม สสส.ที่สนับสนุนโครงการดี ๆ เหล่านี้ ทำให้คนในสังคมแก้ปัญหาด้วยปัญญา ด้วยความไม่ย่อท้อ ไม่ยอมจำนน ด้วยความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกครอบครัว เริ่มจากในบ้าน ขยายผลต่อไปสู่ชุมชน สร้างเครือข่ายถักทอให้เกิดพลังที่เข้มแข็ง มั่นคง จนแก้ปัญหาได้สำเร็จจากระดับบุคคล สู่สังคมวงกว้าง

ตัวอย่างของความสุขที่เริ่มได้ในบ้าน คือ เรื่องเลือดในอกผสม กลั่นเป็น “น้ำนม” ที่แสนเปี่ยมสุข จากโครงการจัดการศูนย์นมแม่เพื่อลูกนาวีแข็งแรง พื้นที่ค่ายตากสิน จันทบุรี ซึ่งเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ของชุมชนในกองทัพ โดยคุณวาสนา งามกาล พยาบาลแม่ลูก 2 เป็นหัวหน้าโครงการ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2536 ในโรงพยาบาลพระปกเกล้า โดยรณรงค์ให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของการให้ลูกกินนมแม่มาจนบัดนี้

1

ผู้บังคับหมวดขนส่ง ค่ายตากสิน สนับสนุนงานของภรรยาอย่างเต็มที่ ซึ่งคุณวาสนาเล่าอย่างภูมิใจว่า “สามีเข้าใจหลังจากเห็นเราทำงานด้านนมแม่มาตลอด เขาเห็นว่านมแม่มีประโยชน์อย่างแท้จริง ด้านสุขภาพลูกได้อย่างเต็ม ๆ ด้านจิตใจลูกมีสุขภาพจิตดี แม่ก็มีความสุข สามีจึงสนใจมาก หาความรู้จนอธิบายเรื่องนมแม่ได้ดี และยังส่งเสริมให้ลูกน้องเข้าร่วมกิจกรรมกับเรา เป็นพ่อแม่อาสากันเกือบทั้งค่าย”    

จ่าเอกพีระพงศ์  ปทุมมาศ คุณพ่ออาสาแห่งกองทัพตากสิน เป็นผู้ร่วมอุดมการณ์ สานใยรักครอบครัวจากนมแม่ ย้ำว่า “พ่อเป็นกำลังหลักสำคัญ ถ้าพ่อไม่ทำตัวเกเร อยู่บ้านกับครอบครัว แม่ก็มีกำลังใจ สารที่มีประโยชน์ต่าง ๆ ก็จะหลั่งออกมาในน้ำนม ลูกได้ไปเต็ม ๆ นมผงยังไงก็สู้ไม่ได้ผมพิสูจน์มาแล้วครับ”

ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย โดย แพทย์หญิงศิราพร สวัสดิวร เลขาธิการได้ขยายเครือข่ายการทำงาน  โดยมุ่งให้คนไทยกลับมาให้ความสำคัญกับการให้นมแม่ ซึ่งต้องสู้กับอิทธิพลการโฆษณาของบริษัทนมผงที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น  โดยสร้างระบบการส่งต่อของโรงพยาบาล ครอบคลุมถึงโรงพยาบาลชุมชน สถานีอนามัย และหมู่บ้านต่าง ๆ

เป้าหมายที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ผลักดันให้มีกฎหมายบังคับไม่ให้โฆษณานมผงตามสื่อ รวมทั้งรณรงค์ไม่ให้แจกนมผงแก่เด็กแรกเกิดในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ซึ่งทำให้แม่รุ่นใหม่ไขว้เขวได้

ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ยังคงดำเนินงานและเพิ่มเครือข่ายอย่างรวดเร็ว เพื่อในอนาคตแม่ ๆ รุ่นใหม่จะให้นมลูกด้วยตัวเองอย่างเต็มที่ เพื่อให้ลูกแข็งแรงตลอดชีวิต ทำให้คนไทยมีความสุขที่สุดในโลก ขอให้ความหวังนี้เป็นจริงโดยเร็ว

ตัวอย่างความสุขที่ 2 คือ “พอเพียงจากค่าย สุขใจแบบไม่จำกัด” ซึ่งได้เปลี่ยนความคิดจิตใจของเยาวชนวัยใส ด้วยค่าย “เทิดไท้องค์ราชัน:เยาวชนไทยใช้ชีวิตพอเพียง” ทำให้สาวน้อยวัย 16 ปีจากโรงเรียนบัวขาว จ.กาฬสินธุ์ นางสาวกมลวรรณ ภูนาคพันธุ์ (น้องฝน) ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตในค่ายร่วมวงหมู่คณะเป็นเวลา 7 วัน เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ตัดจากความสะดวกสบายแบบเดิม และมีความตั้งใจมั่นที่จะทำความดีให้ได้ในแต่ละวัน โดยมีสมุดบันทึกความดี จารึกสิ่งดีงามที่ได้ทำรายวันตามคำมั่นสัญญา เพื่อจะส่งให้ทีมงานคัดเลือก จัดทำหนังสือ “บันทึก 60 ความดี ถวายในหลวง” เพื่อเผยแพร่ต่อไป

2

ตัวอย่างความสุขที่ 3 “กีฬาภูมิปัญญาไทย สร้างสุขในความพอเพียง” เรื่องของครูวิชิต ชี้เชิญ ผู้เชียวชาญพิเศษ สถาบันอาศรมศิลป์วัย 64 ปี ที่พลิกผันชีวิตหลังเกษียนจากราชการ จากกองพลศึกษา ซึ่งเป็นทั้งครู เป็นโค้ชกรีฑาทีมชาติไทย มาเป็นครูกีฬาภูมิปัญญาไทย นำมวยไทย ตะกร้อ กระบี่กระบอง ว่าว ชักเย่อ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยโบราณ ที่แฝงคติความเชื่อ หล่อหลอมให้คนไทยมีคุณลักษณะเฉพาะต่างจากชนชาติอื่น มีครบทั้งกาย ใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณ

3

ครูวิชิต ต้องการให้เด็ก ๆ มีร่างกายแข็งแรง ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักการให้และภูมิใจที่เป็นคนไทย หากได้ดำเนินการและขยายผลอย่างต่อเนื่อง ที่สุดแล้วสังคมไทยจะได้เด็กรุ่นใหม่ที่เป็นคนดี มีความคิด ทำให้สังคมไทยมีแต่ความสุข    โครงการนี้นำร่องที่โรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งเป็นโรงเรียนทางเลือกวิถีพุทธ

ยกตัวอย่างมวยไทยก่อนขึ้นชก นักกีฬาต้องไหว้ครูก่อน มีการครอบมงคลที่ศีรษะ แล้วหมุนรอบเวที ไหว้พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ให้เกิดความอบอุ่น มั่นใจ ดูชัยภูมิ สอนให้รู้จักสังเกต เวลาเคลื่อนไหวต้องมีชั้นเชิง ที่เรียกว่า “เป็นมวย” ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ควบคุมตัวเองได้

ปัจจุบันวิชาการนี้ ขยายต่อยอดไปยังโรงเรียน 10 กว่าแห่งในจังหวัดต่างๆ เช่น ขอนแก่น ปราจีนบุรี กาญจนบุรี สงขลา เป็นการเรียนการสอนแนวใหม่ ที่จะสร้างเด็กรุ่นใหม่ให้เป็นคนดีในอนาคต

ตัวอย่างความสุขที่ 4  Happy work place ตัวอย่างนี้ใช้ชื่อโครงการเป็นภาษาอังกฤษ โดยเริ่มที่ซึ่งให้ความหมายชัดเจนดี (แต่น่าจะใช้ภาษาไทยนำนะคะ : ครูแดง)

4

ชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคน โดยเป็นแรงงานในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งมีแรงงานจำนวนมาก จำนวนถึงห้าแสนคน

การอพยพของแรงงานต่างถิ่นทำให้สังคมชลบุรีมีความหลากหลายในวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
ภาพชินตาที่เห็นหน้าโรงงานตอนเช้า คือพนักงานเดินเข้าไปตอกบัตร ด้วยสีหน้าเคร่งเครียด รอยยิ้มอย่างเป็นสุขจะเกิดขึ้นครั้งเดียว คือ เวลาเลิกงาน

เป้าหมายที่จะทำให้คนงานเกือบห้าแสนคนมีความสุขในการทำงาน คือ ขจัดความเอารัดเอาเปรียบจากสถานที่ประกอบการ ในการจ่ายเงินสวัสดิการ จ่ายเงินชดเชยเมื่อเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ หรือเลิกจ้าง ไม่ให้เจ้าของกิจการอาศัยช่องว่างทางกฎหมายเอาเปรียบคนทำงานเพื่อลดต้นทุนของตัวเอง

โครงการ Happy work place มีเป้าหมายหลักให้พนักงานทุกคนมีความสุข 8 ประการ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สุดทั้งแก่พนักงานและผู้ประกอบการ “ถ้าคนงานรู้สึกดีกับเรา เขาก็จะตั้งใจทำงาน ความผิดพลาดก็จะน้อยลง ความร่วมมือโดยสมัครใจ จะเกิดเพิ่มขึ้นมาก”

ความสุข 8 ประการ มีดังนี้

1.สุขภาพดี (Happy Body)
2.น้ำใจงาม (Happy Heart)
3.สังคมดี   (Happy Society) มีความสามัคคีเอื้อเฟื้อต่อชุมชน
4.มีความผ่อนคลาย  (Happy Relax) พักผ่อนเพียงพอ มีกิจกรรมบันเทิง
5.หาความรู้ (Happy Brain) ศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเองตลอดเวลา
6.ทางสงบ (Happy Soul) มีศรัทธาในศาสนาและศีลธรรมในการดำเนินชีวิต
7.ปลอดหนี้ (Happy  Money) รู้จักใช้ รู้จักเก็บเงิน
8.ครอบครัวดี (Happy Family) มีครอบครัวอบอุ่น มั่นคง เปิดโอกาสให้สมาชิกครอบครัวได้มาเยี่ยมชมโรงงาน มีสถานเลี้ยงดูเด็กเล็กในที่ประกอบการ เป็นการเพิ่มความสุขในการทำงาน

โรงงานที่สร้างให้เกิดความสุขทั้ง 8 ข้อ จะได้ชื่อว่าเป็นโรงงานผลิตความสุข มิใช่แค่โรงงานผลิตสินค้า
โลกใบนี้จะมีความสุขแค่ไหน ถ้าทุกที่ทำงานสร้างความสุขเช่นนี้ขึ้นได้

ตัวอย่างความสุขที่ 5 “เครือข่ายชุมชน สุขภาวะอินแปง สร้างสุขจากประสบการณ์ทุกข์” เครือข่ายองค์กรชุมชนตีนภูพาน มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดสกลนคร บางพื้นที่อยู่ในอุดรธานี กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร มีถึงเกือบพันหมู่บ้านใน 80 ตำบล ศูนย์อินแปงตั้งอยู่ในสถานที่ร่มรื่นด้วยธรรมชาติสีเขียว

5

สิบกว่าปีที่ผ่านมาศูนย์อินแปงได้เปลี่ยนแผ่นดินที่แห้งแล้งให้กลายเป็นผืนป่า เพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นบ้านซึ่งได้จากป่า รวม 25 ล้านต้น คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยล้านบาท มีทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน เนื้อแข็ง ผักนานาชนิด และหวาย ทั้งยังมีสมุนไพรอีกหลายร้อยชนิด นำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้มากมาย เช่น หมากเม่า เอามาทำเครื่องดื่ม ที่อุดมด้วยวิตามินซี ทำไวน์หมากเม่า โดยมีโรงแปรรูปน้ำผลไม้อยู่ในศูนย์ ฯ

รอบ ๆ ศูนย์อินแปง มีนาข้าวเขียวชอุ่ม เป็นข้าวพันธุ์พื้นบ้าน แข็งแรง กินอร่อย
มีโรงผลิตปุ๋ยชีวภาพ โรงแปรรูปสมุนไพร มีร้านค้า ทุกส่วนสอดรับกันอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นตัวอย่างวิถีชีวิตพอเพียงที่เชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่าย พิสูจน์ให้เห็นว่าทุกอย่างเป็นจริงได้ ด้วยการลงมือทำอย่างจริงจัง

ขอยกตัวอย่างเพียง 5 โครงการที่นำความสุขมาสู่สนามหน้าบ้านทุกหนทุกแห่ง ถ้ามีใจศรัทธา มีปัญญา และทุ่มเทปฏิบัติอย่างจริงจัง อีก 8 โครงการ กรุณารออ่านเมื่อหนังสือของ สสส.พิมพ์เสร็จแล้วนะคะ แค่อ่าน 5 โครงการสร้างสุขนี้ แล้วนำไปเผยแพร่ขยายผล แผ่นดินไทยก็จะเปี่ยมสุข ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้าอยู่หัวของเราทุกคนค่ะ

 

หมายเหตุ : ภาพประกอบบทความนี้เป็นภาพจากอินเตอร์เน็ต เนื่องจากภาพประกอบงานเขียนกำลังอยู่ระหว่างการรวบรวม โปรดติดตามอ่านหนังสือเรื่องสุข 13 ที่สนามหน้าบ้านและชมภาพประกอบของแต่ละโครงการแห่งความสุขจากหนังสือของ สสส.

บล็อกของ เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา

เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
“ไฟมาป่าเป่ง มดส้มเต้ง ผักหวานโป่ง” คือคำพังเพยที่พ่อกำนันอนันต์ ดวงแก้วเรือน ได้เล่าให้ฟังในที่ประชุมคณะทำงานภูมิภาคภาคเหนือ รางวัลลูกโลกสีเขียว เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 ที่บ้านธารแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
ไฟคือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ซึ่งชาวเหนือและชาวอีสานผู้ใช้ชีวิตร่วมกับป่ามาช้านาน มีคำพังเพยว่า ช่วงฤดูแล้งต่อต้นฤดูฝนต้องเผาป่า เพื่อให้ไม้ผลิใบใหม่ มดแดงจะมีไข่เป้ง เม็ดใหญ่ เป็นอาหารโปรตีนชั้นดี แกงใส่ยอดผักหวาน ซึ่งจะแตกยอด(โป่ง) ในช่วงฤดูแล้งผักหวานไข่มดแดง(ภาษาเหนือเรียกมดส้ม)เห็ดเผาะ ภาพจาก www.siamensis.org
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
มันเทศย่างร้อน ๆ ปอกเปลือกแล้วเห็นเนื้อสีเหลืองทอง เนื้อนุ่ม รสหวานอ่อนๆละมุนลิ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่สาวชาวจีนประจำสถานทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง ชักชวนให้ดิฉันซื้อกิน พร้อมทั้งอธิบายว่า ชาวจีนเรียกมันเทศว่า “ลูกทอง” เพราะเนื้อในที่สุกแล้วเป็นสีเหลืองอร่ามเหมือนทองคำ ทั้งยังมีสรรพคุณทางยาเป็นเลิศ เช่น ช่วยให้ระบายท้องได้ดี ทำให้ร่างกายอบอุ่น ในช่วงฤดูหนาวเป็นฤดูของมันเทศ ชาวจีนจึงนิยมกินมันเทศย่างกันมาก เป็นความประทับใจของดิฉันในการไปประชุมสมาชิกรัฐสภาสตรีอาเซียน Asia Pacific Forum of Parliamentarians on Population and Development (AFPPD) ในช่วงวันที่ 26 – 29 พฤศจิกายน…
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
คุณแอ๊ะ ชุติมา  นุ่นมัน นักข่าวสาวร่างใหญ่ผู้มีจิตใจละเอียดอ่อนงดงาม โทรศัพท์มาขอให้ครูแดงเขียนคำนิยมหนังสือของ สสส. (สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ) ซึ่งถ่ายทอดงาน 13 โครงการ อันก่อให้เกิดความสุขแก่สมาชิกในครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม “แต่ละตอนอยากให้คนอ่าน อ่านแล้วมีแรงบันดาลใจที่จะปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความสุขในชีวิต ทั้งนี้หนทางที่จะนำไปสู่ความสุขนั้นเป็นวิถีพอเพียงที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้”  นี่คือปณิธานของคุณแอ๊ะ ชุติมา   นุ่นมัน ผู้เป็นทั้งผู้เขียนและบรรณาธิการที่ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล สัมภาษณ์ผู้ที่ดำเนินงานโครงการ นำความสุข 13 เรื่อง ในพื้นที่ทุกภาคของประเทศ…
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
ปลายเดือนตุลาเวียนมาหา               ฝนหายจากฟ้า อากาศเย็นใส เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวสบายใจ               ข้าวไร่เหลืองอร่ามงามตา ทุ่งนาเชิงเขาพริ้วไสว พี่น้องปกาเกอญอร่วมแรงใจ               เกี่ยวข้าวไร่ พร้อมพรัก สามัคคี พืชพันธุ์หลากหลายปลูกไว้               ในไร่ข้าวมีถั่ว พืช ผัก ทุกสิ่งศรี งา พริก มะเขือ แตง ผัก เผือก มัน สุดแสนดี               เกษตรอินทรีย์ไร้สารพิษ…
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
สัปดาห์นี้คุณเตือนใจติดภารกิจไม่สามารถเขียนเรื่องลงได้  จึงได้มอบหมายให้ดิฉันจันทราภา (นนทวาสี) จินดาทอง ถ่ายทอดอีกหนึ่งเรื่องราว ซึ่งสอดคล้องกับห้วงเวลาของเทศกาลเข้าพรรษา ความเรียบง่ายแต่งดงามของวิถีชีวิตคนในพื้นที่ห่างไกล เชิญติดตามอ่านค่ะตั้งแต่ตอนที่ยังท้องอยู่ ดิฉันและพ่อของลูกมีความคิดเห็นตรงกันในการอยากให้ลูกเป็นคนที่มีความใกล้ชิดกับพุทธศาสนา ดังนั้น ทุกวันพระเราจึงพากันเข้าวัด ตักบาตร ฟังเทศน์อย่างสม่ำเสมอ แต่พอคลอดน้องต้นหนาว ด้วยภาวะที่เพิ่งมีลูกคนแรก ทุกอย่างดูวุ่นวายไปหมด กิจวัตรการตักบาตรทุกวันพระจึงเป็นอันงดไปโดยปริยายกระทั่งต้นหนาวเติบโตขึ้นตามลำดับ จนอายุครบ 10…
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
ด้วยความประทับใจจากการไปศึกษาดูงานต่างประเทศหลายแห่ง เมื่อครั้งที่เป็นสมาชิกวุฒิสภา ดิฉันจึงร้อยเรียงเล่าสู่ท่านผู้อ่านในคอลัมน์ “วิถีไทย” ในสยามรัฐรายวันเมื่อเริ่มแรก แล้วย้ายมาเป็นคอลัมน์ในสยามรัฐรายสัปดาห์ ด้วยความเมตตาของบรรณาธิการ และพี่ชัชวาล คงอุดมผู้อ่านหลายท่านกรุณาชี้แนะว่าน่าจะรวมเล่มสักครั้งซึ่ง คุณอาทร เตชะธาดา แห่งประพันธ์สาส์น ยินดีเป็นเจ้าภาพพิมพ์และจัดจำหน่าย  น้องน้ำหวาน (ปิยวรรณ  แก้วศรี)  ก็เห็นดีเห็นงามว่าจะรับเป็นบรรณาธิการและจัดรูปเล่มให้ เพื่อสร้างผลงานหนังสือในโอกาสที่ดิฉันมีอายุ 55 ปี ซึ่งหนังสือได้ช่วยกันตั้งหลายชื่อ เช่น “อนุสติบนบาทวิถีโลก”…
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
ยามปลายฝนต้นหนาว ช่วงเดือนตุลาคม ต้นปีบขาว (กาสะลองเงิน) กำลังออกดอกสีขาวบริสุทธิ์ กลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ชวนให้คิดถึงการมาเยือนภาคเหนือเพื่อชื่นชมธรรมชาติและวิถีชีวิตที่สงบสุขของชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งชาวกะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรมากที่สุดในภาคเหนือ และสามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างพอเพียงและเรียบง่าย ยิ่งเป็นชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากอิทธิพลสังคมเมือง เช่น อ.อุ้มผาง จ.ตาก จะยิ่งมีการสืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูกได้โดยไม่ขาดสายคุณแมว – จันทราภา (นนทวาสี) จินดาทอง มีเรื่อง “การสืบสานผ้าทอต่อจากแม่” มาฝากท่านผู้อ่าน เชิญติดตามค่ะเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม…
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
เมื่อ พ.ศ.2520 ดิฉันได้ดูหนังเรื่อง "แผลเก่า" ที่สร้างและกำกับโดย เชิด ทรงศรี ดิฉันชื่นชมมาก จนดูซ้ำถึง 3 ครั้ง ทุกครั้งก็ซาบซึ้ง สะเทือนใจ จนน้ำตาไหลพราก หลายฉาก หลายตอนต่อมาดิฉันได้มีโอกาสรู้จักกับพี่เชิด พี่จันทนา น้องไม้ไผ่ น้องผึ้ง และน้องแสงแดด โดยการแนะนำของกัลยาณมิตร ผู้มีคุณูปการต่อชีวิต คือ โย่ง สุจิตรา สุดเดียวไกร ทำให้ครอบครัวของเราทั้งสองผูกพันกันเหมือนญาติพี่เชิดกับคุณธนูชัย ดีเทศน์ เป็นเหมือนพี่น้องที่สื่อสารกันด้วยใจ พี่เชิดกับครอบครัวไปเยี่ยมเยือนมูลนิธิพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา ที่บนดอยแม่สลอง และเมื่อดิฉันมากรุงเทพ ฯ ก็มาพักที่บ้านพี่เชิดเป็นประจำหนังที่พี่เชิดสร้าง…