Skip to main content

ฮานอยเดือนตุลาคมเม็ดฝนเริ่มท้ิงช่วง บางวันฝนตกพร้อมอากาศเย็นๆ เดือนสิบมีวันสำคัญคือ Tết Trung thu คนเวียดนามปัจจุบันบางทีเรียกว่า "วันปีใหม่ของเด็กๆ" คือคืนวันพระจันทร์เต็มดวงเดือนแปดจันทรคติ ตรงกับวันไหว้พระจันทร์ที่เพิ่งผ่านไปนั่นเอง แต่ชาวเวียดนามเรียกตามฤดู ว่าปีใหม่กลางฤดูใบไม้ร่วง


ว่ากันว่า เนื่องจากพวกผู้ใหญ่ในอดีตมัวสาละวนอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าว จึงไม่ได้มีเวลาดูแลเด็กๆ วันนี้จึงจัดเทศกาลเพื่อเอาใจพวกเด็กๆ เป็นการปลอบขวัญและแสดงความรักต่อลูกหลาน 

วันไหว้พระจันทร์ของเวียดนามจึงให้อารมณ์ที่แตกต่างจากในเมืองไทย ซึ่งมีแต่การขายขนมไหว้พระจันทร์ ประกวดขนมไหว้พระจันทร์ยักษ์ และชิงตลาดขนมกันด้วยไส้ขนมสูตรพิศดารต่างๆ นานาจนเหลือจะจินตนาการและรับประทานได้

แต่ไม่รู้ทำไม ความทรงจำเกี่ยวกับ "เต้ดจุงม์ทู" ของผมมักมีสายฝน อากาศชื้นแฉะ และค่อนข้างเย็นๆ คงเป็นเพราะปีแรกๆ ของวันไหว้พระจันทร์ในฮานอยของผมเป็นวันที่ฝนโปรยปราย 

แต่พวกเด็กๆ ก็สนุกสนานกันเต็มที่ เด็กฮานอยถืิอลูกโป่งหลากสีสัน เดินไปมายามค่ำคืน พวกเด็กออกมาเที่ยวเล่นกันตามลำพังเป็นกลุ่มๆ ตามสถานที่สาธารณะ 

ปกติเด็กฮานอยเป็นตัวของตัวเองจนผมกลัว ผมเคยถูกเด็กถ่มน้ำลายแกล้งบนรถเมล์โดยที่แม่เขาไม่ได้ว่าสักคำ ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายมีพลังท้าทายคนโตๆ อย่างน่าประหลาด พอวันปีใหม่ของเด็กๆ มาถึง ผมจึงหลบอยู่ในบ้านเป็นหลัก

พอถึงปลายเดือนตุลาคม ต่อเดือนพฤศจิกายน อากาศในฮานอยจึงจะแห้งลง แทบไม่มีฝน เย็นสบาย จนบางวันต้องใส่เสื้อสองตัว เป็นช่วงเดือนที่เหมาะแก่การเดินเล่นเรื่อยเปื่อยในเมืองฮานอยอย่างยิ่ง

สำหรับผม สถานที่พิเศษของเดือนพฤศจิกายนในฮานอยคือถนน Nguyễn Du ซึ่งตั้งชื่อตามกวีเวียดนามคนสำคัญในต้นศตวรรษที่ 19 ไม่มีใครที่ศึกษาเรื่องเวียดนามแล้วจะไม่รู้จักเหงวียน ซู เนื่องจากผลงานอันโด่งดังของท่านชื่อ "ตำนานแห่งเกี่ยว" (Truyện Kiều) ซึ่งดัดแปลงมาจากวรรณคดีจีนอีกทีหนึ่ง (หากต้องการทราบเรื่องราว จะหาอ่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ไม่ยากนัก)

ถนนเหงวียนซูปลูกต้น hoa sữa (ไม่สามารถเขียนด้วยอักษรมหัศจรรย์ได้ ที่ใกล้เคียงหน่อยคือเขียนว่า ฮวา เสือ แปลตามตัวว่าดอกน้ำนม หรือชื่อไทยว่าพระยาสัตบัน หรือต้นตีนเป็ด) เรียงรายริมถนน ฮวาเสือบนถนนเหวงียนซูสูงชลูด แตกกิ่งก้านที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจนสวยงาม ประดุจไม้ดัดต้นโต 

เพียงรูปทรงสูงชลูดและกิ่นก้านที่ตัดผ่านฟ้าใสในฤดูใบไม้ร่วง ก็ชวนให้แหงนหน้ามองไม่รู้เบื่อ 

พลันเมื่อถึงเดือนสิบเอ็ด ฮวาเสือออกดอกสะพรั่ง ส่งกลิ่นรัญจวนอบอวนไปทั่วท้องถนน จนต้องหาโอกาสไปนั่งจิบกาแฟในร้านคุ้นเคยบนถนนเหวงียนซูอยู่เนืองนิจ

หวังว่าจะได้กลับไปฮานอยในฤดูฮวาเสืออีกครั้งในเร็ววันนี้

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)