Skip to main content

วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN

วิทยากรมีทั้งนักวิชาการ (ดุลยภาค ปรีชารัชช, อัครพงษ์ ค่ำคูณ, อนุสรณ์ อุณโณ, ธเนศ อาภรสุวรรณ) ประชาชนผู้อยู่ในขบวนการสันติภาพโดยตรง (ประจักษ์ กุนนะ จากสภากอบกู้รัฐฉาน) และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ (บาสรี มะเซ็ง นักวิชาการท้องถิ่นจากนราธิวาส) ผมดำเนินรายการ

 

ผมไม่มีความรู้ลึกซึ้งอะไรเกี่ยวกับกรณีรัฐฉานในพม่า ซาบาห์ในมาเลเซีย และรัฐปัตตานีในประเทศไทย เพียงแต่เมื่อฟังแล้วได้ข้อสรุปบางประการที่อยากแบ่งปันสั้นๆ ดังนี้

 

(1) มรดกความขัดแย้ง ความขัดแย้งนี้เป็นมรดกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแง่หนึ่งเป็นมรดกของสังคมที่มีความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ กลุ่มคน และอำนาจการปกครองที่ไม่เคยมีเอกภาพ ในอีกแง่หนึ่งเป็นมรดกของอาณานิคม ที่สร้างพรมแดนขึ้นมาซ้อนทับพาดผ่านพื้นที่ซึ่งไม่เคยมีพรมแดนมาก่อน อีกแง่หนึ่งยังเป็นมรดกของความพยายามสร้างรัฐเดี่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

 

ประเด็นหลังนี้อาจารย์ธเนศสรุปไว้ชัดเจนทำนองที่ว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูจะเป็นที่แห่งเดียวในโลกที่ให้ความสำคัญกับรัฐเดี่ยวมากเกินไป และเกินจริง แต่ทุกรัฐที่มีปัญหาขัดแย้งพรมแดนหรือขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐ มักคิดว่าตนเป็นรัฐเดี่ยวมาตั้งแต่โบราณ ทั้งๆ ที่มันไม่จริง

 

(2) สันติภาพของใคร กระบวนเจรจาสันติภาพไม่ว่าจะระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า ไทยกับคนมลายู หรือมาเลเซียกับฟิลิปปินส์ จะไม่สามารถเข้าถึงสันติภาพได้ เนื่องจากคู่ขัดแย้งมักมองสันสิภาพแตกต่างกัน

 

สำหรับชาวไทใหญ่ สันติภาพหมายถึงการยอมให้พวกเขาปกครองตนเอง แต่แน่นอนว่านั่นไม่ใช่สันติภาพของรัฐบาลพม่าที่ต้องการให้ไทใหญ่ยุติขบวนการกู้ชาติ สันติภาพของผู้ใช้กำลังในภาคใต้ไทยกับรัฐบาลไทยย่อมแตกต่างกัน 

 

ผมจึงคิดว่า การเจรจาที่แท้จริงน่าจะเป็นการเจรจาว่า จุดไหนกันที่คู่ขัดแย้งจะยอมรับได้ว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ คู่ขัดแย้งควรหาข้อยุติว่า อะไรคือสันติภาพที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับได้ ไม่ใช่ยืนยันแต่สันติภาพในความหมายของตนเองเท่านั้น

 

(3) องค์กรสลายความขัดแย้ง เท่าที่เห็นคือ ความขัดแย้งที่เท่าเทียมกันคือความขัดแย้งระหว่างรัฐนั้น มักมีองค์กรมาไกล่เกลี่ย หรือเป็นตัวกลางในการเจรจา หรือแม้แต่ตัดสินหาข้อยุติ เช่น กรณีข้อพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างรัฐ หลายครั้งยุติที่คำตัดสินของศาลโลก อาจารย์อัครพงษ์ชี้ว่าความขัดแย้งที่ซาบาห์มีลักษณะนั้น ไม่ต่างจากเขาพระวิหาร

 

แต่กรณีความขัดแย้งที่ไม่เท่าเทียมกัน คือระหว่างรัฐกับประชาชนในรัฐ เช่น รัฐบาลพม่ากับชาวไตในรัฐฉาน รัฐบาลไทยกับคนมลายูในรัฐปัตตานี เป็นความขัดแย้งที่ไม่มีกลไกระหว่างประเทศหรือกลไกที่อยู่เหนือรัฐ อยู่นอกขอบเขตของรัฐ เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเจรจาโดยตรง 

 

ในข้อนี้ อาจารย์อนุสรณ์ชี้ว่า การที่ BRN เรียกร้องว่ารัฐบาลมาเลเซียต้องไม่เป็นเพียงผู้จัดให้มีการเจรจา แต่จะต้องเป็น "ตัวกลาง" การเจรจาด้วย เข้าข่ายลักษณะที่ว่า BRN ต้องการให้มีองค์กรนอกเหนือรัฐไทยเข้ามาร่วมเจรจาด้วย ส่วนประจักษ์ก็ชี้ให้เห็นว่า กรณีรัฐฉานกับพม่าสามารถเข้าสู่กระบวนการเจรจาได้ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเพราะมีองค์กรระหว่างประเทศเข้ามาเป็นตัวกลาง

 

การที่ประเทศในภูมิภาคนี้ ซึ่งกำลังยกระดับสมาคมอาเซียนไปเป็นประชาคมอาเซียน แต่กลับไม่มีกลไกในการให้อาเซียนเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยเจรจากรณีความขัดแย้งรุนแรงระหว่างรัฐกับประชาชนในรัฐนั้น นับเป็นข้ออ่อนของอาเซียน และเป็นการมองข้ามความเหลื่อมล้ำของคู่ขัดแย้งต่างๆ ในอาเซียน ข้อนี้แตกต่างจากสหภาพยุโรป ที่มีศาลอียู ซึ่งมีอำนาจตัดสินความกรณีรัฐละเมิดประชาชนของรัฐได้ แต่อาเซียนปัดความรับผิดชอบนี้

 

(4) ประชาชนอยู่ตรงไหนในกระบวนการสันติภาพนี้ ไม่ว่าการเจรจาจะเป็นอย่างไร เอาเข้าจริงๆ แล้วดูเหมือน "ประชาชน" ในพื้นที่จะไม่ได้มีส่วนร่วม หรือแม้แต่มีส่วนรู้เห็นกับกระบวนการสันติภาพนี้เลย พูดไม่ได้ว่ารัฐบาลหรือขบวนการต่อต้านรัฐบาลเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่อย่างชัดเจน 

 

หากประชาชนมีส่วนร่วม เขาคงบอกได้แต่แรกแล้วว่าไม่ต้องการความขัดแย้ง ไม่ต้องการความรุนแรง ทำอย่างไรก็ได้ที่จะให้ความรุนแรงจบไป หากแต่คู่ขัดแย้งต่างหากที่เรียกร้องจากแต่ละฝ่าย และใช้ประชาชนไม่ว่าจะฝ่ายใด สังเวยความรุนแรง สังเวยกระบวนการสันติภาพตามเป้าหมายของฝ่ายตน 

 

ในข้อนี้ ประชาชนจากพื้นที่ขัดแย้งที่แสดงความเห็นในที่ประชุมทุกคนยืนยันถึงสภาพที่พวกเขาตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้ง ที่พวกเขาไม่ได้ก่อและไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาใดๆ ทั้งๆ ที่พวกเขาคือคนที่จะต้องได้รับผลกระทบโดยตรงจากข้อตกลงหรือไม่ตกลงที่คนอื่นยื่นให้

 

สุดท้าย ความท้าทายของกระบวนการสันติภาพในรัฐต่างๆ ที่มีความขัดแย้งในอุษาคเนย์คือ รัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบันอาจจะต้องยอมรับที่จะค้นหารูปแบบรัฐใหม่ ที่ไม่ใช่รัฐเดี่ยว ไม่ใช่รัฐแบบที่จะต้องกดและแปลงให้ทุกคนกลายเป็นคนกลุ่มเดียวกันหมด 

 

กระบวนการสันติภาพจึงไม่ใช่เพียงการเจรจาหาข้อยุติให้กับความรุนแรง แต่ขบวนการสันติภาพในก้าวต่อไปจะต้องนำไปสู่การค้นหาวิธีการอยู่ร่วมกันรูปแบบใหม่ ที่ยอมรับอำนาจอธิปไตยที่ไม่รวมศูนย์มากกว่าที่เป็นมา

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปีนี้ผมอายุ 52 ผมคิดอยู่ตลอดว่า ถ้าพ่อแม่เสียไป ผมจะดัดแปลงบ้านที่อยู่มายังไง จะรื้ออะไร ย้ายอะไร ผมไม่มีลูก ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พวกคุณไม่ได้เพียงกำลังทำลายพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่พวกคุณกำลังทำลายความหวังที่คนจำนวนมากมีต่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจประเทศชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาวเบี๋ยนเป็นศิลปินอาวุโสชาวไต/ไท ในเวียดนาม ผมรู้จักกับท่านมาร่วม 15 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อพบกันครั้งแรกๆ ก็ถูกชะตากับท่าน ผมจึงเพียรไปหาท่านหลายต่อหลายครั้ง ที่ว่าเพียรไปหาไม่ใช่แค่เพราะไปพบท่านบ่อย แต่เพราะการไปพบท่านเป็นเรื่องยากลำบากมาก เมืองที่ท่านอยู่ชื่อเมืองล้อ หรือเรียกแบบสยามๆ ก็เรียกว่าเมืองลอก็ได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว