Skip to main content

การบอกเล่าเรื่องราวของ "คนอื่น" ที่ต่างจากเรามากๆ ให้ "พวกเรา" อ่าน อย่างมากก็ทำได้แค่ บอกเล่าผ่านถ้อยคำ ผ่านประสบการณ์ที่ "พวกเรา" ต่างคุ้นเคยกันดี พูดอีกอย่างก็คือ การเล่าเรื่องคนอื่นคือ "การแปล" หรือ "การแปร" เรื่องที่แตกต่างให้คุ้นเคย เป็นการดัดแปลงของคนอื่นให้เราเข้าใจในภาษา ในสัญญะแบบที่พวกเราเองรับรู้อยู่ก่อนแล้ว

ผมมากัวลาลัมเปอร์ (KL) ครั้งนี้เพื่อมาเสนอผลงานทางวิชาการ มาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 แล้ว แต่ครั้งนี้ดีหน่อยที่มีเวลามาก และอาจจะเพราะมาเป็นครั้งที่สี่แล้ว ก็เลยมีโอกาสที่การรับรู้ส่วนอื่นๆ นอกจากผัสสะแรกๆ คือการเห็นจะทำงาน ทำให้ได้มีโอกาสรับรู้และรู้สึกถึงอะไรอื่นๆ อีกมากมาย 

ที่สนามบิน LCCT (ที่จอดหลักของ Air Asia) เป็นสนามบิน low cost ที่ตั้งใจจะให้เป็นอย่างนั้นจริงๆ เมื่อคราวก่อนๆ มาก็ไม่ได้สังเกตดีนอกจากความงุนงงว่า ทำไมมัน "เปลือยๆ" อย่างนี้ คือพื้นที่ส่วนใหญ่มันอยู่นอกอาคาร ไม่ติดแอร์ การตรวจคนเข้าเมืองก็รอนาน แต่นั่นก็ทำให้ไม่ต้องรอกระเป๋า เข้ามาก็ไปเลือกเอาจากที่พนักงานนำออกมาจากสายพานเรียงให้เรียบร้อยแล้วได้เลย การเดินทางเข้าเมืองก็นับว่าประหยัด เมื่อเทียบกับการนั่งรถแท็กซี่ราคาแพงใน KL 

เมื่อหยิบกระเป๋ามาแล้ว ก็ได้เวลาอาหารกลางวันพอดี ผมจึงมองหาของกิน เจอร้านอาหาร "พื้นเมือง" ร้านหนึ่ง บรรยายกาศจัดแบบที่คนกรุงเทพฯ จะต้องรู้สึกเหมือนไปกินร้านอาหารจีนเก่าๆ ที่โต๊ะ-เก้าอี้เป็นไม้สีเข้มๆ พื้นโต๊ะปูด้วยหินอ่อน (ยังพอมีร้านแบบนี้อยู่ในกรุงเทพฯ หรือในต่างจังหวัดบางแห่ง) ผมตั้งใจหาอะไรที่ไม่รู้จักมากิน 

แต่ไม่ว่าจะอากาศร้อนอย่างไร (สัก 30 เซลเซียสกว่าๆ ได้) ก็ต้องขอชานมร้อนด้วยสักแก้ว เพราะชาพวกนี้หากินยากมากในกรุงเทพฯ เมื่อชายกมา รสชาติจัดจ้านสมใจอยาก จัดขนาดต้องใส่น้ำตาลจนหมดซอง ซึ่งปกติผมจะไม่ใส่น้ำตาลมากขนาดนั้น ไม่ใส่เลยด้วยซ้ำหากกินกาแฟ 

ส่วนอาหารจานหลัก ผมสั่ง Asam Laksa ร้อนๆ เมื่อได้เห็นและได้กินแล้ว ไม่มีวิธีไหนจะบรรยายได้ดีไปกว่าการแปลรสชาติที่เหมือนจะต่างแต่คล้ายกับจะรู้จัก ให้ตนเองและคนรู้จักเข้าใจ 

ผมแปล Asam Laksa โดยไม่รู้ภาษามาเลย์ว่า "ก๋วยเตี๋ยวแก็ญส้ม" คือสำหรับผม มันมีทั้งความเป็นอาหารเวียดที่เส้นแบบ Bánh Canh ของเวียดนาม หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม "ก๋วยจั๊บญวน" คือเส้นใสๆ กลมๆ เหนียวนุ่ม เพียงแต่เส้น "หมี่" (ที่ร้านนี้เรียกอย่างนั้น) ที่นี่ไม่เป็นเมือกๆ แบบเส้นในประเทศไทย (ไม่รู้ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมกินที่เวียดนามก็ไม่เห็นเป็นอย่างนั้น) ปนๆ กับเป็นอาหารจีนที่มันเป็นก๋วยเตี๋ยว ขณะเดียวกันมันก็ "แขก" หรือน่าจะ "มาเลย์"

ที่สะดุดลิ้นมากคือน้ำแกง ผมเข้าใจเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจากเป็น "แกงส้ม" แบบภาคกลางของประเทศไทย เหมือนแกงส้มที่โขลกเนื้อปลาลงไปกับน้ำแกง แถมน้ำแกงยังเหมือนใส่กระชาย ไม่ใช่ขมิ้น รสออกเปรี้ยวนิดๆ แบบเปรี้ยวแหลม ไม่เปรี้ยวแบบใส่มะขามเปียก แต่เขาก็ตัดรสเปรี้ยวด้วยความฝาดของหัวปลีซอย โรยมาพร้อมหอมแดงซอย กับรสซ่าปร่าลิ้นของสะระแหน่ กับรสเผ็ดแทรกอยู่แต่ไม่มาก เขาโรยพริกแดงซอยมาด้วย ทำให้ได้ทั้งสี ทั้งรส ทั้งกลิ่น ทั้งสัมผัส

อาหารจานนี้จึงแปลก แต่ก็พอจะแปลได้ แต่ก็ได้แค่แปล ไม่สามารถเข้าใจอย่างตรงไปตรงมาแบบที่มันเป็นได้ เพราะผมไม่ได้รู้จักบริบทของมันดีพอ ไม่รู้ว่าใครกินอาหารประเภทนี้ ใครทำ น่าจะกินเมื่อไหร่ มีโอกาสเฉพาะของมันไหม ปลาที่ใช้ควรเป็นปลาอะไรแน่ รสน่าจะไปทางไหนกันแน่ ใส่อะไรเคียงดีที่สุด ฯลฯ

แต่สำหรับผม มันอร่อย อร่อยแบบที่เข้าใจได้ด้วย แต่ก็อร่อยตามความเข้าใจของตนเอง อร่อยอยู่คนเดียวตามจินตนาการที่กินไปแปลรสไป ชิมไปในหัวก็นึกตีความอ่านไปว่า "มันคืออะไร" แบบที่พวกเราคุ้นเคย

การศึกษาข้ามวัฒนธรรมมันจึงยากก็ตรงนี้แหละ ตรงที่ทำอย่างไรจึงจะก้าวข้ามการแปล ไปสู่การเข้าใจที่ลึกซึ้งจากความเข้าใจของเจ้าของวัฒนธรรมเองได้ และถึงแม้จะทำได้บ้าง ทำได้มากกว่าการรับรู้แรกเริ่มก็ตาม สุดท้ายเมื่อต้องบอกเล่าให้ "พวกเรา" รับรู้ ให้รู้สึกตามด้วย ก็ยากที่จะพ้นไปจากการอธิบายด้วยอไรที่เรารับรู้ร่วมกัน มากกว่าที่คนอื่นหรือเจ้าของวัฒนธรรมอื่นๆ นั้นรับรู้อยู่ดี

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)