Skip to main content

หากอำมาตย์ชนะ...โลกวิชาการไทยจะเป็นอย่างไร 

ผมไม่ค่อยชอบการอธิบายความขัดแย้งในประเทศไทยขณะนี้ด้วยคำอธิบายแบบ "อำมาตย์-ไพร่" เท่าไรนัก เพราะมันห้วนและสรุปในเชิงชนชั้นสูง-ชนชั้นต่ำมากเกินไป แต่ก็เอาล่ะ หลายคนคงทราบว่าอุปลักษณ์นี้มันถูกอุปโลกน์กันขึ้นมาเพื่อให้เห็นความเหลื่อมล้ำทางอำนาจมากกว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และถูกใช้อธิบายความเชื่อมโยงกันของเครือข่ายทางการเมืองมากกว่าจะอธิบายเชิงชนชั้น ส่วนหนึ่งมันก็จึงใช้ได้เข้าใจอะไร ใช้บอกเล่าอะไรเร็วๆ ได้อยู่ ก็จึงจะลองใช้คำว่า "เครือข่ายอำมาตย์" มาอธิบายอะไรในแวดวงวิชาการบ้าง

ผมอยากให้ลองนึกดูบนฐานของความเคลื่อนไหวในแวดวงวิชาการขณะนี้ว่า หาก "เครือข่ายอำมาตย์" ชนะในเวทีการเมือง แวดวงวิชาการจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

ผลกระทบสำคัญประการแรกคือ การเข้ามายึดกุมอำนาจในการบริหารงานวิชาการ คณะผู้บริหารจะอยู่ในมือของกลุ่มบุคคลที่อยู่ในเครือข่ายอำมาตย์แทบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารในตำแหน่งสำคัญๆ เช่น คณบดี อธิการบดี คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยต่างๆ ตลอดจนคณะกรรมการบริหารสถาบันเหล่านี้ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในมหาวิทยาลัย แต่ยังมีในกระทรวง ในสำนักงานที่ตั้งขึ้นมาพิเศษเพื่อดำเนินการวิจัย และในองค์การมหาชนต่างๆ ที่มีงบประมาณและอำนาจการบริหารงานมากมายและเป็นอิสระกว่ามหาวิทยาลัย

คนเหล่านี้ควบคุมตั้งแต่หลักสูตรการศึกษา เนื้อหาของรายวิชาการที่จัดการเรียนการสอน การรับบุคคลากร ไปจนกระทั่งการไหลเวียนของเงินทุนวิจัย ประเด็นของการศึกษาวิจัย หรือแม้กระทั่งหัวข้อวิทยานิพนธ์ บางคนอาจไม่เข้าใจว่า ทำไมใครจะมาควบคุมหัวข้อวิทยานิพนธ์เราได้ ก็แน่ล่ะหากคุณไม่ต้องการเงินทุนของพวกเขา คุณก็ไม่ต้องพึ่งอำนาจเขา ไม่ต้องอยู่ใต้การกำกับของเขา แต่ชีวิตคุณก็จะต้องลำบากมากกว่าคนที่ทำยอมทำตามหัวข้อครึๆ แต่ตอบโจทย์ชาวอำมาตย์ได้ดี

อันที่จริงความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นแล้วในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยต่างๆ หากแต่เชื่อได้ว่า สถาณการณ์จะยิ่งเลวร้ายลงเมื่อฝ่ายอำมาตย์ประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจครั้งนี้

ยกตัวอย่างเช่น ขณะนี้เป็นที่ทราบกันดีว่ามหาวิทยาลัยบางแห่งนั้น คณะผู้บริหารได้สร้างเครือข่ายให้คณบดีและผู้อำนวยการสถาบันจำนวนหนึ่ง เป็นคนในเครือข่ายเดียวกับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย พวกเขาย่อมสนองตอบหรือดำเนินนโยบายไปในทำนองเดียวกันกับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ดี ในมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย ผมยังไม่ได้ยินว่ามีใครสามารถสั่งให้อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงทำตามโดยไม่มีการโต้แย้งได้ง่ายๆ แต่ในอนาคตก็ไม่แน่นัก

ข้อนี้ต่างกับในสถาบันทางวิชาการอีกแห่งหนึ่ง ที่ผมทราบมาว่ามีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ เพื่อจะให้องค์กรเดินไปในทางที่ "อนุรักษ์นิยม" ปรับตัวให้รับใช้เครือข่ายอำมาตย์มากยิ่งขึ้น ความจริงหากใครติดตามการดำเนินงานของสถาบันวิชาการบางแห่งก็คงจะพอเดาได้ว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นที่นั่น

อันที่จริงมีความพยายามจากรัฐบาลไทยสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการผลักดันให้วงการ "ไทยศึกษา" ที่เรียกได้ว่าก้าวหน้าที่สุดในแวดวงสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ข้อนี้เกิดขึ้นด้วยเหตุหลายประการ เอาไว้มีเวลาจะมาเขียนเรื่องนี้ใหม่ว่าทำไมแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ไทยจึงต่างกับที่อื่นในภูมิภาคทางก้าวหน้ากว่า แต่เชื่อว่าหลายคนก็คงทราบดีกันอยู่แล้ว) ให้กลายเป็นสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์เพื่อการประชาสัมพันธ์สิ่งดีๆ ในประเทศไทย

ความพยายามที่ว่านี้นำมาซึ่งการเดินทางของคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งใน "เครือข่ายอำมาตย์" เพื่อออกไปหว่านล้อมให้มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับ Ivy League ในสหรัฐอเมริกา (ที่จริงรวมทั้งในออสเตรเลียด้วย) ทำโครงการไทยศึกษาที่ลดการวิจารณ์สถาบันประเพณีของไทย รวมทั้งตัดทุนสนุบสนุนมหาวิทยาลัยที่มีบุคคลากรที่ช่างวิพากษ์สังคมไทย แล้วผันเงินนั้นไปให้สถาบันที่โด่งดังมีชื่อเสียงแต่อนุรักษ์นิยม ในการเดินทางครั้งนั้น น่าสมเพชที่บางมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาไม่เล่นด้วย ก็เลียเสียหน้ากลับกันมาเล็กน้อย แต่ก็ไม่น่าประหลาดใจนักที่บางมหาวิทยาลัยงับเงินอันน้อยนิดแต่มีเส้นสายแน่นหนานั้นไป

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในสถาบันที่ให้ทุนการวิจัยและทุนในการจัดสัมมนาทางวิชาการก็คือการจัดให้ "บรรดาผู้ชรา" กลับเข้าไปเป็นคณะกรรมการบริหารสถาบันวิชาการสำคัญๆ ในประเทศไทย การนี้ทำให้บรรดาศาสตราจารย์ที่เขียนหนังสือปีละไม่ต่ำกว่าหนึ่งเล่ม ต้องกระเด็นออกจากตำแหน่งในคณะกรรมการบริหาร แล้วรับเอากลุ่มคนที่ แม้แต่นักวิชาอาวุโสในปัจจุบันยังเรียกคนเหล่านั้นว่า "คนแก่ๆ" กลับเข้ามาบริหาร ผลที่เกิดขึ้นแล้วคือประเด็นวิจัย เงินทุนวิจัย รวมทั้งเงินสนับสนุนการจัดงานประชุมทางวิชาการ ถูกใช้ไปในทิศทางที่ประเทศไทยไม่ได้เป็นแบบนี้มาร่วม 20 ปีแล้ว ลองคิดดูเอาแล้วกันว่ามันจะถดถอยกันไปได้อีกถึงเพียงไหน

เขียนไปเขียนมาชักจะเป็น Hi S หรือ "ซ้อเจ็ด" ในวงวิชาการเข้าไปทุกที เอาเป็นว่า ดูๆ กันไปแล้วกันว่า แวดวงวิชาการในประเทศนี้จะเป็นอย่างไรหากฝ่ายอำมาตย์กลับมาครองอำนาจอีกครั้ง แต่เชื่อแน่ว่า หากเครือข่ายอำมาตย์ชนะ เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในแวดวงสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ไทย ไปในทิศทางที่สวนกับพัฒนาการของโลกวิชาการสากลอย่างแน่นอน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)