Skip to main content

เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"

ไม่ใช่ว่าธรรมศาสตร์จะไม่มีใครให้เชิดชูกัน ชื่อ ปรีดี ป๋วย ถูกเอ่ยถึงอยู่เสมอๆ แต่ถ้าถามว่า ธรรมศาสตร์มีใครเป็นชื่อที่คงความเป็นคนหนุ่มสาว ดุจดั่งเป็นอมตะแบบจิตรอยู่บ้าง ผมยังนึกชื่อใครไม่ออก นอกจากที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเมื่อเขาตายแล้ว ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะอมตะแบบจิตรหรือไม่ แต่จะพูดเรื่องจิตรหรือประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์มากก็เสี่ยงที่จะเป็นการเรียกแขกไปเสียเปล่าๆ อย่าพูดมากเลยดีกว่า 

ที่จริงในโอกาสนี้ ผมแค่อยากแนะนำหนังสือ "จิตร ภูมิศักดิ์ : ความทรงจำและคนรุ่นใหม่" (2557) ที่มีอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐเป็นบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความและบทนำเสนอต่างๆ ในงานสัมมนาครบรอบ 80 ปีจิตร ภูมิศักดิ์ที่อักษรฯ จุฬาฯ เมื่อปี 2553 ในงานนั้น มีผลงานหลายชิ้นที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก มีทั้งการมองจิตรในมิติของการเป็นนักต่อสู้ นักปฏิวัติ นักวิชาการด้านต่างๆ และจิตรที่ถูกจดจำหรือถูกลืม ลองติดตามอ่านกันได้ครับ 

  

ผมรอคอยหนังสือเล่มนี้มานาน ทั้งอยากเห็นผลงานตัวเอง และอยากใช้ให้นักศึกษาอ่าน ไม่ทราบว่าแอบพิมพ์ออกมาเมื่อไหร่ เพราะหลังจากสัมมนากันตั้งแต่เมื่อปี 2553 ผมก็เฝ้ารอมาตลอด แต่เมื่อพิมพ์ออกมาแล้ว ตามปีที่ระบุคือ 2557 คือปีกลาย ผมก็ยังไม่เห็นตัวเล่มเลย เพิ่งมาเห็นเมื่อค้นรายชื่อหนังสือในห้องสมุดที่ธรรมศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้เอง ทางผู้จัดพิมพ์คืออาจารย์ยิ้ม สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คงจะจัดส่งให้ผมแล้วในระหว่างที่ผมไม่ได้อยู่ประเทศไทย 

ไหนๆ ก็พูดถึงตัวเองแล้ว ขอเล่าย้อนหลังว่า ผมเขียนถึงจิตรใน 2 วาระและเป็นการวิจารณ์งานสำคัญ 2 ชิ้นด้วยกัน ในปี 2547 คือเปิดตัว "กองทุนจิตร ภูมิศักดิ์" ผมเขียนบทวิจารณ์หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" คราวนั้น "ศิลปวัฒนธรรม" กรุณานำไปพิมพ์ พอ 80 ปีจิตร สำนักพิมพ์ "ฟ้าเดียวกัน" ผู้จัดพิมพ์หนังสือชุดผลงานของจิตรตั้งแต่เริ่มตั้งกองทุน กรุณาชวนเชิญผมไปร่วมสัมมนาในงาน 80 ปี ซึ่งก็ทำให้ผมได้อ่านและเขียนบทวิจารณ์ต่อบทวิจารณ์วรรณกรรมเรื่อง "โองการแช่งน้ำ" โดยจิตร ภูมิศักดิ์ (ซึ่งฟ้าเดียวกันนำมาจัดพิมพ์ใหม่) อย่างจริงจัง  

ผมพาดพิงถึงจิตรบ่อยๆ ในงานของผม หรือไม่ก็มีจิตรเป็นคู่สนทนาหลายครั้ง ก็เนื่องจากว่างานการศึกษาเรื่องกลุ่มชาติพันธ์ุ เรื่องคนไทนอกประเทศไทย และเรื่องภาษาและอักษรของจิตรนั้น อยู่ในอาณาบริเวณความรู้ที่ผมต้องถกเถียงด้วยเสมอ งานของจิตรที่ผมมักสนใจจึงเป็นงานในช่วงหลังของเขา   

อาจารย์สุธาชัยเล่าในงานสัมมนาเมื่อปี 2553 ว่า งานที่ผมสนใจเป็นงานช่วงที่จิตรอยู่ในคุก ซึ่งจิตรค้นคว้าด้านมานุษยวิทยาและภาษาศาสตร์มากขึ้น นอกจาก "ความเป็นมาฯ" และ "โองการแช่งน้ำ" แล้ว เขายังศึกษาภาษาละหุ งานช่วงนี้จึงค่อนข้างแตกต่างจากงานศึกษาประวัติศาสตร์ไทยแนวมาร์กซิสม์อย่าง "โฉมหน้าศักดินาไทย" หรือ "สังคมไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยอยุธยา"    

ในหลายโอกาสที่ได้สนทนากับคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ "พี่สุจิตต์" บอกเสมอว่า งานของจิตรมีอิทธิพลต่อความคิดของเขามาก และในหลายๆ เรื่องก็ไม่เคยเจอใครเสนออะไรแบบที่จิตรเสนอมาก่อน นักประวัติศาสตร์ที่ผมขอไม่เอ่ยนามในที่นี้คนหนึ่งเคยกล่าวกับผมมานานแล้วว่า งานของจิตรด้านภาษานั้น ทำให้นักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเมืองไทยพบกับเพดาน คือไม่สามารถประเมินงานเขาได้ ผมเองเพียงหาช่องในการทั้งเข้าใจเขาและอ่านงานจิตรเพื่อสร้างบทสนทนาขยายความรู้ต่อไป  

หากนับว่าใครเป็นครู ผมก็จะนับจิตรคนหนึ่งล่ะที่เป็นครูของผม เพียงแต่ผมถือว่าครูไม่ได้เอาไว้บูชากราบไหว้บนหิ้ง แต่ครูมีไว้ให้เราสนทนาด้วยและก้าวข้ามเพดานความรู้ของครู หากใครอ่านงานของจิตรอย่างจริงจัง ก็คงจะได้เห็นวิธีการทำงานท้าทายครูของจิตรไปด้วยเช่นกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)