Skip to main content

ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้ในฐานะคนที่ทำงานในระบบองค์กรขนาดใหญ่คนหนึ่ง ผมย้ำกับเพื่อนร่วมงานเสมอว่า "หากเราไม่เคยทำอะไรแต่ระเบียบไม่ได้ห้าม ก็จงหาทางทำมันให้ได้ เพราะมันแค่ ไม่เคยทำ ไม่ใช่ทำไม่ได้"  

"แล้วหากระเบียบใดขัดขวางการทำงาน ความก้าวหน้าขององค์กร เราก็ควรรื้อระเบียบทิ้งแล้วร่างขึ้นใหม่ เพื่อให้การงานที่มุ่งหวังเดินหน้าจนลุล่วงไปได้" 

สิ่งที่นักศึกษาและประชาชนเสนอในคืนวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ก็เป็นในลักษณะเดียวกันนั้น เป็นวิธีคิดแบบเดียวกันนี้ เพียงแค่ไม่ถูกใจ ไม่คุ้นเคย ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ ทำไม่ได้ หรือไม่ถูกต้อง คนละเรื่องกัน  

ไม่อย่างนั้นแล้วมนุษย์ก็จะเป็นเพียงสัตว์ที่ถูกกักขังอยู่ในกรงของระเบียบที่ตนเองเขียนขึ้นมา ผมไม่คิดว่ามนุษย์ปัจจุบันจะยินดีเป็นอย่างนั้น และผมคิดว่านักศึกษาและประชาชนในขณะนี้ก็คิดและกำลังรื้อกรงขังนั้น 

แล้วในสถานการณ์แบบนี้ มหาวิทยาลัยและคณาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้สมัยใหม่ หลังสมัยใหม่ หลังอาณานิคม หลังบลาๆๆ ฯลฯ สารพัดจะก้าวหน้า ควรจะทำอะไร 

พวกเราจะนั่งดูดายสอนหนังสือไปวันๆ ทำวิจัยไปวันๆ เพื่อสะสมแต้มให้มหาวิทยาลัย สะสมรางวัลและตำแหน่งทางวิชาการของตนเอง ไต่อันดับของมหาวิทยาลัยโลกไปเพื่ออะไรกัน หากเราไม่สามารถส่งเสริมความก้าวหน้าของสังคม ไม่สามารถกระทั่งร่วมกับนักศึกษาของพวกเรา ประชาชนที่ส่งเสียเงินค่าเล่าเรียนให้พวกเราทำมาหากิน กอบกู้ความเป็นมนุษย์ออกมาจากกรงขังของกฎหมายได้ 

แต่หากจะไม่ทำอะไรเลย คณาจารย์และมหาวิทยาลัยก็ไม่สมควรที่จะออกหน้าลุกขึ้นมาปิดกั้นการเสนอหาทางที่จะออกจากกรงขังนั้นเสียเอง หากจะไม่ทำอไะไรเลย ก็ควรจะหาหนทางประคับประคองไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก

ในแถลงการณ์ของทั้งส่วนตัวโดยรองอธิการบดีฯ เช้าวันนี้ (11 สค. 63) และแถลงการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการชุมนุมของนักศึกษาและประชาชน อยู่ในประเภทของการ "นอกจากจะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังอาจช่วยปูทางไปสู่การปิดกั้น กดทับ หรือแม้แต่การปราบปรามอย่างรุนแรงกับผู้แสดงความเห็นต่างอย่างสงบและเป็นเหตุเป็นผล" 

ผมเรียนถามครับว่า ท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่รู้หรอกหรือว่าถ้อยคำประเภท "เกินขอบเขต" "กระทบต่อความรู้สึกของประชาชน" "ศีลธรรมอันดีงานของสังคม" ล้วนแล้วแต่เป็นถ้อยคำหมิ่นเหม่ต่อการปูทางไปสู่การ "ลดค่าความเป็นคน" และปูทางไปสู่การทำร้ายกันทั้งในทางถ้อยคำและกายภาพ  

ถ้อยคำเหล่านี้ถูกชนชั้นนำไทยใช้เรื่อยมาเพื่อทำลายคุณค่าของหลักเหตุผล หลักการทางกฎหมาย หลักสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ ที่พวกเราเองนั่นแหละพร่ำสอนนักศึกษาและเทศนาให้ประชาชน 

ในฐานะคนหนึ่งในประชาคมธรรมศาสตร์ ผมเกรงว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังหลงผิดคิดว่าสิ่งที่ได้แสดงออกไปนั้นเป็นการบรรเทาสถานการณ์ ผมยังหวังว่าพวกท่านจะเข้าใจดีว่าเส้นแบ่งระหว่างการช่วยบรรเทาสถานการณ์กับการซ้ำเติมสถานการณ์ไม่ใช่เส้นบางๆ แต่มีความชัดเจนอยู่  

และหวังว่าท่านจะเข้าใจว่าสิ่งที่ทำไปนั้นกลับจะเป็นการใส่ไฟ หันกระบอกปืนเข้าหานักศึกษาและประชาชนเสียมากกว่าการปกป้องหลักการต่างๆ ที่พวกเขาก็ร่ำเรียนมาจากพวกเรานั่นแหละ 

ผมจะเสียใจมากหากปฏิกิริยาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันนี้จะกลายไปเป็นบันไดก้าวแรกๆ ของการเพิ่มความเกลียดชังต่อนักศึกษาและประชาชนที่เห็นต่าง จนเลยเถิดไปเป็นการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนอีกครั้งหนึ่ง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)