Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

นาโก๊ะลี
ค่ำวันที่อากาศบนภูเขาหนาวจับใจ เราซ้อนมอเตอร์ไซค์มุ่งขึ้นดอย หมู่บ้านที่เราเคยไปเยือนหลายครั้งเมื่อหลายปีก่อน ว่าไปก็น่าจะเลยห้าปีมาแล้ว ด้วยความที่รู้สึกอยู่ว่า เวลาผ่านมานานขนาดนี้ หลายอย่างก็คงเปลี่ยนไปมากแล้ว ว่าก็คือ เราเห็นความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มออกเดินทาง บ้านเรือนผู้คนแถบถิ่นเชิงเขาเปลี่ยนไปมาก มีคฤหาสน์หลังใหญ่โต ช่างเถิด นั่นไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับการเดินทางของเรานัก เข้าเขตภูเขาอากาศเริ่มเย็นยะเยือกมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สุดเราก็ล่วงลึกเข้าไปในภูเขา ถนนฝุ่นที่เราเคยพบเห็นสัมผัสคุ้นเคยในอดีตกลับมาอีกครั้ง จนถึงหมู่บ้าน บรรยากาศในทรงจำก็เริ่มโผล่ปรากฏ
เจนจิรา สุ
ตุลาคม 2551"พร้อมหรือยัง"ใครคนหนึ่งตะโกนประโยคซ้ำเมื่อห้านาทีที่แล้ว เมื่อขบวนหนุ่มสาวต่างถิ่นยังคงง่วนอยู่กับการกดชัตเตอร์เก็บภาพแสงแดดยามเก้าโมงเช้า ช่างยวนใจให้ไม่อาจละสายตาจากหญิงกระยันที่ปะแป้งแต่งตัวกันจนเป็นที่เรียบร้อย หลายคนจึงยังเสียดายที่จะละกล้องแล้วออกเดินทาง "หากไปสายกว่านี้เราจะร้อนมากเมื่ออยู่กลางป่า" ฉันเตือนเพื่อนที่ไม่มีประสบการณ์ในการเดินเท้าสู่หมู่บ้านกลางป่าที่อยู่ห่างออกไปจากที่นี่ราวๆ สามกิโลดอย
dinya
หลายวันก่อนผู้เขียนเถียงกันเล่นๆ กับเพื่อน เรื่อง "ดวงตาของควาย" ที่บอกว่ามันตื่นกลัวสีแดงเป็นพิเศษ สามารถตกมันได้เหมือนช้าง เวลาเห็นสีแดงจัดๆ ในอากาศร้อนๆ แต่อีกคนบอกว่าไม่จริงเลย ควายน่ะมองเห็นทุกอย่างแค่สีขาวดำ ก็เลยมีมุกขำๆ กันเล่นว่า "แล้วเคยเป็นควายด้วยเหรอ" :P จะว่าไปแล้วเรื่องนี้เถียงกันให้ตายก็คงไม่มีใครชนะ ก็เราไม่ใช่สัตว์เหล่านั้น แต่ด้วยความพยายามของมนุษย์ จึงมีการวิจัยและศึกษามากมายเกี่ยวกับความเป็นไปของสัตว์ชนิดต่างๆ และมีข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้สึก การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส กลิ่น สี ของสัตว์ประเภทต่างๆ จนได้ข้อสรุปที่น่าสนใจหลายประการ เป็นเรื่องเล็กๆ ของธรรมชาติที่น่าทึ่ง ต่างจากมนุษย์อย่างเราๆ หลายเรื่องทีเดียวค่ะ--break--ในเว็บไซต์ faculty.washington.edu ซึ่งจัดทำโดย Eric H. Chudler, Ph.D. นั้น ได้จัดทำเว็บไซต์ "ระบบประสาทน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์สำหรับเด็ก" หรือ Neuroscience for Kids ซึ่งเป็นข้อมูลสนุกๆ เกี่ยวกับสัตว์ไว้มากมายตอนนี้เลยรวบรวมเอา "ดวงตาและการมองเห็น" ของเจ้าตัวเล็กๆ เหล่านั้น แบบฉบับย่อๆ มาฝากค่ะ1. มด : สัตว์ตัวเล็กๆ ที่สามารถมองเห็นและสืบเสาะสิ่งที่ค้นหาในระยะ 5 เซนติเมตร และสามารถมองเห็นได้ดีในแสงแดดจ้า2. ผึ้ง : สามารถมองเห็นแสงที่อยู่ในระหว่างความยาวของคลื่น 300 -650 นาโนเมตร ดวงตาของผึ้งแต่ละตาประกอบด้วยเลนส์จำนวน 5,500 อันอยู่ในนั้น ส่วนผึ้งงาน มีช่องท้องที่สามารถสัมผัสหาพื้นที่แม่เหล็กเพื่อใช้นำทางได้3. อีแร้ง : มีจุดรับแสงจำนวน 1 ล้านอัน ในจอเรติน่าของดวงตา ทำให้สามารถมองเห็นสัตว์ตัวเล็กๆ เช่น หนู จากความสูงที่พวกมันอาศัยอยู่บนต้นไม้ ถึง 15,000 ฟุต4. กิ้งก่า : มีความสามารถในการกรอกตาไปมาในระยะกว้างจากซ้ายไปขวา ดังนั้นมันจึงสามารถเห็นทิศทางที่แตกต่างกันถึง 2 ทิศในเวลาเดียวกัน5. ปู : มีเส้นผมอยู่บนร่างกายและส่วนอื่นๆ สามารถค้นหากระแสน้ำและสัมผัสถึงแรงสั่น ด้วยดวงตาที่อยู่จุดท้ายสุดของร่างกาย6. ปลา : ปลาส่วนใหญ่มีระบบประสาทที่ไวมาก สามารถรับรู้ถึงแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้ๆ ได้จากสารเคมีที่อยู่บนฟิว และปลาบางชนิดสามารถมองเห็นเข้าไปในความยาวของคลื่นอินฟราเรด ประเภทแสงเจ็ดสีได้ 7. ปลาทะเล : โดยเฉพาะปลาในทะเลลึก มีอุปกรณ์ที่เหมือนท่อนไม้ (rods) อยู่ในตาของพวกมันจำนวน 25 ล้าน อันต่อ 1 ตา ที่ไวต่อแสงและสามารถวัดระดับความลึกของมหาสมุทรได้ โดยเฉพาะเวลาต้องการเดินทางและหาทางออกจากทะเลลึก8. ปลาน้ำจืด บางชนิดสามารถมองเห็นได้ทั้งในอากาศและในน้ำ โดยสามารถแยกแยะประสาทในการมองเห็นให้ตาข้างหนึ่งมองได้ในอากาศ ตาอีกข้างมองได้ในน้ำไปพร้อมๆ กัน 9. กบ : มีเยื่อแก้วหูพิเศษที่อยู่ภายนอกร่างกาย บริเวณหลังดวงตา 10. เหยี่ยว : มีจุดรับแสงจำนวน 1 ล้านอันในจอตาแต่ละข้าง  11. แมงกะพรุน : แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish) แต่ละตัว มีดวงตาอยู่ตัวละ 24 คู่ หรือ 48 ลูกตา12. เพนกวิน : มีดวงตาตั้งอยู่อยู่ใกล้กับศีรษะมาก ซึ่งสามารถลืมตาในน้ำได้เวลาดำน้ำ เพราะมีเยื่อบุป้องกันตา แต่เมื่อขึ้นบก จะกลายเป็นสายตาสั้น มองเห็นได้ไม่ดี แต่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ใน 340 ระดับ ยกเว้นสิ่งที่อยู่เหนือศีรษะของมันเอง13. ม้าน้ำ : สามารถเคลื่อนย้ายลูกตาไปมาได้เพื่อให้เห็นมุมที่กว้างขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง14. แมงป่อง : สามารถมีลูกตาได้มากที่สุดถึง 12 คู่ 15. งู : มีอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึกมากที่อยู่ระหว่างตาและรูจมูกประมาณ 0.5 เซนติเมตร งูไม่มีหูภายนอก จึงไม่ได้ยินเสียงจากหู แต่สามารถรับรู้คลื่นเสียงผ่านกระดูกในหัว และมีลูกตาที่เคลื่อนที่ไม่ได้ และสามารถกะระยะสิ่งที่มองเห็นจากเกล็ดที่อยู่เหนือลูกตาอีกที16. แมงมุม : แมงมุมจำนวนมากมีตาถึง 8 คู่17. แมลงปอ : มีดวงตาแต่ละข้างที่บรรจุเลนส์เอาไว้ ข้างละ 30,000 เลนส์  18. แมลงวัน : มีดวงตาและข้างบรรจุเลนส์ไว้ 3,000 อัน สามารถหรี่ตาเพื่อมองเห็นได้เร็ว 300 ครั้งต่อวินาที ขณะที่มนุษย์ทำได้ที่ 60 ครั้งต่อนาทีในแสงสว่างและ 24 ครั้งต่อนาที ในแสงสลัว 19. ยุง : มีจุดรับแสงจำนวน 20 ล้าน แห่งบนจอตา 20. ฉลาม : ฉลามบางชนิด มองเห็นลำแสงได้โดยตรงจากอวัยวะในกะโหลกศีรษะ และขยายดวงตาได้ถึง 5-12.5 นิ้ว ของเส้นผ่าศูนย์กลางตอนหน้ามาติดตามเรื่องของการได้ยินที่พิเศษของสัตว์ต่างๆ กันนะคะ  ..................................... ข้อมูลอ้างอิงhttp://www.faculty.washington.edu/http://www.earthsci.org/http://www.azooptics.com/Details.asp?NewsID=3010http://www.lostingpixels.hu/ แนะนำหนังสือเพื่อค้นเพิ่มเติมJohn Downer, Supersense. Perception in the Animal World, Holt and Co., New York, 1988, pp. 160. (Grades 9-12). Howard C. Hughes, Sensory Exotica. A World Beyond Human Experience, The MIT Press, Cambridge, 1999, pp. 345. (Grades 9-12). Sandra Sinclair, How Animals See. Other Visions of Our World, Facts on File Publications, New York, 1985, pp. 146 (Grades 7-12). Jillyn Smith, Senses & Sensibilities, John Wiley & Sons, New York, 1989, pp. 230 (Grades 9-12).
กิตติพันธ์ กันจินะ
  กิตติพันธ์ กันจินะ -1-วันอาทิตย์สัปดาห์นี้ผมน้อมนำกายไว้ที่กรุงเทพฯ เพราะไม่มีเรี่ยวแรงจะกลับเชียงรายเลย และอยากให้วันอาทิตย์นี้เป็นของขวัญแก่ตัวเองในการพักผ่อน หยุดขยับเรื่องงาน และเอาใจมาคิดถึงเรื่องด้านในของตัวเองด้วย เช้าตรู่ของวันอาทิตย์นี้ ผมตื่นนอนตามปกติ ไม่สายและไม่เช้าจนเกินไป และอยู่ๆ ก็คิดขึ้นได้ว่ามีโทรศัพท์ที่ยังไม่ได้โทร.กลับหนึ่งสาย นั้นคือ พี่จ๋อน แห่งมะขามป้อมนี้เอง สำหรับพี่จ๋อนและพี่ๆ มะขามป้อมแล้ว ผมถือว่ารู้จักมักคุ้นกับพี่ๆ มานานหลายปี โดยผมเริ่มรู้จักกับมะขามป้อม เมื่อตอนยังเด็กเลยแหละ จนถึงทุกวันนี้ก็นานพอควร พี่บางคนพอจำกันได้ บางคนก็จำไม่ค่อยได้ มีความทรงจำดีๆ มากมายที่ได้เกิดขึ้นเมื่อได้รู้จักและสัมผัสกับพี่ๆ ชาวมะขามป้อมแต่ละคน เมื่อก่อน ผมเป็นเด็กขี้อายมากๆ ตอนทำกิจกรรมในระยะแรกๆ ก็ไม่กล้าแสดงออกเอาเลย พอทำไปทำมา แล้วบวกกับที่พี่ๆ มาอบรมเพิ่มเติมวิทยายุทธ์ให้อีก ก็พอเอาตัวรอดมาได้อย่างหนักเอาการทีเดียว เพราะต้องเรียนรู้เรื่องการทำละคร ทักษะใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ วิธีคิดใหม่ๆ ต่างๆ มากมาย
กวีประชาไท
ในนามของความดีและความจริงอย่าได้กริ่งเกรงการสัปประยุทธ์ใยลังเลจับอาวุธขึ้นมาเล่าสงครามเรียกร้องดวงใจเรามิรู้หน่ายจิตวิญญาณเราคือการโค่นล้มทำลาย!? ฟังสิเสียงแห่งมโธรรมสำนึกคำประกาศก้องแห่งยุคสมัยเราจงมาร่วมก่อสงครามกันเถิดสงคราม...เพื่อยุติ...สงคราม....ภราดรมีหรือสงครามครั้งสุดท้ายหรือมันมีแต่...สงครามครั้งนี้หรือมันเป็นแค่...สงครามครั้งก่อนหน้าหรือมันรอเพียง...สงครามครั้งต่อไปโอ้ชัยชนะของเราคือรอยยิ้มของสงครามเครือออน ฟ้อนฟ้า
แสงดาว ศรัทธามั่น
"รา ษ ฏ ร์ เ ดิ น นำ" บ่งบอกย้ำ มาทุกยุค เพลิงเปลว ที่ ลามรุก คือไ ฟ ลา ม อันปลอบปลุก ให้ผ อ ง ช นได้ห ยั ด ยื น _ _ _ คือเ ป ล ว ไ ฟ ป ลุ ก ค น ตื่ น ต้านอ ธ ร ร ร ม ที่พลิกฟื้น เพลิงแ ผ ด เ ผาอ วิ ช ชา ... "ลุ ก ขึ้ น สู้" ทุกกระบวนท่า พรั่งพร้อมลีลา ให้ผู้ก ด ขี่มึนงง **2 "กี่กัป กี่กัลป์ มั่นคง เบิกทาง โบกธง บนถนนคนหาญ สะท้านสะทึก" โ อ ... เ พื่ อ น ม นุ ษ ย ชา ติ รำลึก ย่ำย่าง ตรองตรึก ยุ ติ ธ ร ร ม นำ ทา ง โอ ... นั่น ด ว ง ตะ วั น ก ระ จ่า ง คืนเ ดื อ น-ดา ว เบิ ก ทา ง ยลยิ้มให้ป ระ ชา ชั ย โ อ ... วาดฝัน ฤา ไฉน? เบิกสร้างทา ง ไ ท สืบทอดอุ ด ม กา ร ณ์ นิ รั น ด ร์ !!! อรุณรุ่ง ณ ดินแดนล้านนาอิศรา, 10 ธ.ค.51 *1 และ **2 คือ ถ้อยกวีของอ้าย "เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์" เขียนใน นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม (วันครบรอบ 66 ปี พคท.)
โอ ไม้จัตวา
เพลงโปรดอีกเพลงหนึ่ง ชื่อเพลง Hey Jude ว่ากันว่าพอลแต่งเพลงนี้เมื่อครั้งที่จอห์น เลนนอน เลิกกับซินเธียภรรยาคนแรก ซึ่งมีลูกด้วยกันหนึ่งคนคือ จูเลี่ยน  พอลสนิทกับจอห์นและครอบครัวมาก ขณะขับรถไปเยี่ยมจูเลี่ยนเพื่อปลอบใจเขาก็แต่งเพลงนี้ออกมา แต่ก็จอห์นบอกว่าพอลแต่งเพลงนี้ให้เขาโดยจิตใต้สำนึกที่ไม่รู้ตัว ว่าให้เขารีบออกไปอยู่กับโยโกะ ก็ว่ากันไปนะ คำว่า Jude มาจากคำว่า Jules เขาแปลงให้เป็น Jude เพื่อให้ดูเป็นคันทรีตะวันตก
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย และระบบนิเวศย่อยตามลำห้วยสาขาอีกมากมาย ความหลากหลายซับซ้อนทั้งหมดนี้ เป็นทั้งบ้านของปลา และแหล่งหาอยู่หากินของชาวบ้าน
SenseMaker
Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัวในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน” สิ่งเหล่านี้จะทำลายวันดี ๆ ไปจนหมดสิ้น (หน้า 9)
Cinemania
  หมายเหตุ: “บันทึกอิสรา” แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net        “เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง” เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง “บันทึกอิสรา” ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก เช่นเดียวกับอีกหลายประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยได้เรียนอย่างไร ก็ยังคงไม่ได้ถูกบรรจุให้เรียนอยู่อย่างนั้น   มันก็คงเหมือนกันกับความเป็นนักหนังสือพิมพ์ปากกล้า ที่กล้าวิพากษ์บทบาทของ “ผู้มีอำนาจ” ของ “กุหลาบ สายประดิษฐ์” ที่ถูกทำให้เลือนรางไป แล้วขับเน้นให้เห็นเพียงบทบาทบางเสี้ยวบางด้าน เช่นการเป็นนักเขียนนิยาย “ข้างหลังภาพ” ผ่านนามปากกา “ศรีบูรพา” เท่านั้น  กุหลาบ (ล่างซ้าย) เข้าเจรจากับรัฐบาล จอมพล ป. เพื่อให้รัฐยอมรับในอิสรภาพของสื่อมวลชนภาพโดย poakpong “บันทึกอิสรา” เป็นบทละครร้องที่พัฒนามาจากบทละครร้องเรื่อง “อิสราชน” ซึ่งกลุ่มมะขามป้อม ได้จัดแสดงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2548 เนื่องในวาระ100 ปี ชาตกาลของกุหลาบ สายประดิษฐ์  “บันทึกอิสรา” บอกเล่าประวัติ ผลงาน และแนวคิดของกุหลาบ ผ่านเหตุการณ์ช่วงที่เขาถูกจองจำอยู่ในคุกนานกว่า 4 ปี โดยที่งานเขียนของเขายังทยอยออกมาสู่โลกนอกห้องคุมขังอยู่เรื่อยๆ ด้วยความช่วยเหลือของหลายฝ่าย รวมไปถึง “ชนิด สายประดิษฐ์” คู่ชีวิตของเขาเอง  เรื่องราวถูกเล่าผ่าน “ชนิด สายประดิษฐ์” ภรรยาของ “กุหลาบ”ภาพโดย poakpong   ขณะที่ละครร้องเรื่องนี้ แสดงให้เห็นถึงความพยายามไปพ้นจากข้อจำกัดทางกายภาพอย่างซี่ลูกกรง ทีมงานละครร้องนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการใช้ประโยชน์จากข้อจำกัดทางกายภาพของสถานที่แสดงเช่นกัน มะขามป้อมสตูดิโอเป็นห้องแถวขนาดย่อมๆ ซึ่งเมื่อตั้งแสตนท์สำหรับผู้ชมเข้าไปทั้งสองฝั่งแล้ว ก็เหลือที่สำหรับนักแสดงเพียงไม่กี่มากน้อย (กะด้วยสายตา น่าจะราว 5*5 เมตร) แต่ทีมงานก็ใช้พื้นที่ รวมถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ในการสื่อสารได้ดีทีเดียว   นักแสดงและผู้กำกับพูดคุยกับผู้ชม ภาพโดย poakpong    หลังการแสดงจบลง ทีมงานเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถามพูดคุย หลายคนแสดงความชื่นชม รวมถึงอยากให้เพิ่มรอบ ไปจนถึงจัดการแสดงตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย  สมบัติ บุญงามอนงค์ อดีตคนทำละครเวที ถามประดิษฐ ประสาททอง ผู้กำกับการแสดงขึ้นว่า เหตุใดจึงนำละครเรื่องนี้กลับมาเล่นอีกครั้งในช่วงเวลานี้ ผู้กำกับไม่ได้ตอบในทันที หากแต่ถามกลับว่าผู้ชมนั้นคิดอย่างไร  สมบัติตอบว่า เขาชอบประโยคเปิดที่ว่า คนมีชีวิตอยู่มีหน้าที่เล่าเรื่องต่อไป ทำให้ความจริง ไม่ว่าจะมากหรือน้อยดำรงอยู่ได้ อาจเพราะโลกสมัยก่อนนั้นมีข้อจำกัดด้านการสื่อสาร  โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่า ถ้อยคำในละครที่มีอายุบางคำก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ “มันร่วมสมัย และตีกันในสมองผม ผมพยายามเปรียบเทียบและอ่านใจว่าคนทำคิดอะไรอยู่”  จากนั้น ประดิษฐ ได้เล่าว่า สาเหตุที่เขานำละครร้องเรื่องนี้ กลับมาทำใหม่นั้น เพราะในห้วงที่ผ่านมา เขาได้รับผลกระทบ ไม่ว่ากับญาติ หรือเพื่อนฝูง “คนที่นั่งกินข้าวอยู่ตรงข้ามกันพูดคุยกันลึกซึ้งไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าเขาต่อต้านเราอยู่รึเปล่าและจะเสียเขาไปไหม” เขาบอกว่า แม้แต่คนในบ้านเดียวกัน หรือแท็กซี่ก็ต้องระวัง เหมือนว่าสังคมกำลังเจ็บป่วย โดยที่เราเป็นหนึ่งในเชื้อโรคตัวนั้น “เราเป็นส่วนหนึ่ง”  ประดิษฐจึงคิดว่าควรหยิบเรื่องนี้กลับมาเล่นใหม่ โดยหวังว่าจังหวะของคนในละคร จะช่วยให้ผู้ชมได้หยุดคิด  “เราเจอละครหลายรูปแบบ ทั้งแนวรักชาติ หรือดูแล้วเกิดอารมณ์ ผมตั้งใจว่าจะไม่ทำให้ดูแล้วเกิดอารมณ์ แต่ให้ได้ปัญญา ความคิดและแรงบันดาลใจ”

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม