Skip to main content
หลายวันก่อนผู้เขียนเถียงกันเล่นๆ กับเพื่อน เรื่อง "ดวงตาของควาย" ที่บอกว่ามันตื่นกลัวสีแดงเป็นพิเศษ สามารถตกมันได้เหมือนช้าง เวลาเห็นสีแดงจัดๆ ในอากาศร้อนๆ แต่อีกคนบอกว่าไม่จริงเลย ควายน่ะมองเห็นทุกอย่างแค่สีขาวดำ ก็เลยมีมุกขำๆ กันเล่นว่า "แล้วเคยเป็นควายด้วยเหรอ" :P


จะว่าไปแล้วเรื่องนี้เถียงกันให้ตายก็คงไม่มีใครชนะ ก็เราไม่ใช่สัตว์เหล่านั้น แต่ด้วยความพยายามของมนุษย์ จึงมีการวิจัยและศึกษามากมายเกี่ยวกับความเป็นไปของสัตว์ชนิดต่างๆ และมีข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้สึก การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส กลิ่น สี ของสัตว์ประเภทต่างๆ จนได้ข้อสรุปที่น่าสนใจหลายประการ


เป็นเรื่องเล็กๆ ของธรรมชาติที่น่าทึ่ง ต่างจากมนุษย์อย่างเราๆ หลายเรื่องทีเดียวค่ะ
--
break--

ในเว็บไซต์ faculty.washington.edu ซึ่งจัดทำโดย Eric H. Chudler, Ph.D. นั้น ได้จัดทำเว็บไซต์ "ระบบประสาทน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์สำหรับเด็ก" หรือ Neuroscience for Kids ซึ่งเป็นข้อมูลสนุกๆ เกี่ยวกับสัตว์ไว้มากมายตอนนี้เลยรวบรวมเอา "ดวงตาและการมองเห็น" ของเจ้าตัวเล็กๆ เหล่านั้น แบบฉบับย่อๆ มาฝากค่ะ


1. มด
: สัตว์ตัวเล็กๆ ที่สามารถมองเห็นและสืบเสาะสิ่งที่ค้นหาในระยะ 5 เซนติเมตร และสามารถมองเห็นได้ดีในแสงแดดจ้า

2. ผึ้ง : สามารถมองเห็นแสงที่อยู่ในระหว่างความยาวของคลื่น 300 -650 นาโนเมตร ดวงตาของผึ้งแต่ละตาประกอบด้วยเลนส์จำนวน 5,500 อันอยู่ในนั้น ส่วนผึ้งงาน มีช่องท้องที่สามารถสัมผัสหาพื้นที่แม่เหล็กเพื่อใช้นำทางได้

3. อีแร้ง : มีจุดรับแสงจำนวน 1 ล้านอัน ในจอเรติน่าของดวงตา ทำให้สามารถมองเห็นสัตว์ตัวเล็กๆ เช่น หนู จากความสูงที่พวกมันอาศัยอยู่บนต้นไม้ ถึง 15,000 ฟุต

4. กิ้งก่า : มีความสามารถในการกรอกตาไปมาในระยะกว้างจากซ้ายไปขวา ดังนั้นมันจึงสามารถเห็นทิศทางที่แตกต่างกันถึง 2 ทิศในเวลาเดียวกัน

5. ปู : มีเส้นผมอยู่บนร่างกายและส่วนอื่นๆ สามารถค้นหากระแสน้ำและสัมผัสถึงแรงสั่น ด้วยดวงตาที่อยู่จุดท้ายสุดของร่างกาย



6. ปลา
: ปลาส่วนใหญ่มีระบบประสาทที่ไวมาก สามารถรับรู้ถึงแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้ๆ ได้จากสารเคมีที่อยู่บนฟิว และปลาบางชนิดสามารถมองเห็นเข้าไปในความยาวของคลื่นอินฟราเรด ประเภทแสงเจ็ดสีได้

7. ปลาทะเล : โดยเฉพาะปลาในทะเลลึก มีอุปกรณ์ที่เหมือนท่อนไม้ (rods) อยู่ในตาของพวกมันจำนวน 25 ล้าน อันต่อ 1 ตา ที่ไวต่อแสงและสามารถวัดระดับความลึกของมหาสมุทรได้ โดยเฉพาะเวลาต้องการเดินทางและหาทางออกจากทะเลลึก

8. ปลาน้ำจืด บางชนิดสามารถมองเห็นได้ทั้งในอากาศและในน้ำ โดยสามารถแยกแยะประสาทในการมองเห็นให้ตาข้างหนึ่งมองได้ในอากาศ ตาอีกข้างมองได้ในน้ำไปพร้อมๆ กัน

9. กบ : มีเยื่อแก้วหูพิเศษที่อยู่ภายนอกร่างกาย บริเวณหลังดวงตา

10. เหยี่ยว : มีจุดรับแสงจำนวน 1 ล้านอันในจอตาแต่ละข้าง

 

  


11. แมงกะพรุน
: แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish) แต่ละตัว มีดวงตาอยู่ตัวละ 24 คู่ หรือ 48 ลูกตา

12. เพนกวิน : มีดวงตาตั้งอยู่อยู่ใกล้กับศีรษะมาก ซึ่งสามารถลืมตาในน้ำได้เวลาดำน้ำ เพราะมีเยื่อบุป้องกันตา แต่เมื่อขึ้นบก จะกลายเป็นสายตาสั้น มองเห็นได้ไม่ดี แต่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ใน 340 ระดับ ยกเว้นสิ่งที่อยู่เหนือศีรษะของมันเอง

13. ม้าน้ำ : สามารถเคลื่อนย้ายลูกตาไปมาได้เพื่อให้เห็นมุมที่กว้างขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง

14. แมงป่อง : สามารถมีลูกตาได้มากที่สุดถึง 12 คู่

15. งู : มีอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึกมากที่อยู่ระหว่างตาและรูจมูกประมาณ 0.5 เซนติเมตร งูไม่มีหูภายนอก จึงไม่ได้ยินเสียงจากหู แต่สามารถรับรู้คลื่นเสียงผ่านกระดูกในหัว และมีลูกตาที่เคลื่อนที่ไม่ได้ และสามารถกะระยะสิ่งที่มองเห็นจากเกล็ดที่อยู่เหนือลูกตาอีกที

16. แมงมุม : แมงมุมจำนวนมากมีตาถึง 8 คู่

17. แมลงปอ : มีดวงตาแต่ละข้างที่บรรจุเลนส์เอาไว้ ข้างละ 30,000 เลนส์

 

 

18. แมลงวัน : มีดวงตาและข้างบรรจุเลนส์ไว้ 3,000 อัน สามารถหรี่ตาเพื่อมองเห็นได้เร็ว 300 ครั้งต่อวินาที ขณะที่มนุษย์ทำได้ที่ 60 ครั้งต่อนาทีในแสงสว่างและ 24 ครั้งต่อนาที ในแสงสลัว

19. ยุง : มีจุดรับแสงจำนวน 20 ล้าน แห่งบนจอตา

20. ฉลาม : ฉลามบางชนิด มองเห็นลำแสงได้โดยตรงจากอวัยวะในกะโหลกศีรษะ และขยายดวงตาได้ถึง 5-12.5 นิ้ว ของเส้นผ่าศูนย์กลาง

ตอนหน้ามาติดตามเรื่องของการได้ยินที่พิเศษของสัตว์ต่างๆ กันนะคะ

 

 

.....................................

 

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.faculty.washington.edu/

http://www.earthsci.org/
http://www.azooptics.com/Details.asp?NewsID=3010
http://www.lostingpixels.hu/

 

แนะนำหนังสือเพื่อค้นเพิ่มเติม

John Downer, Supersense. Perception in the Animal World, Holt and Co., New York, 1988, pp. 160. (Grades 9-12).

Howard C. Hughes, Sensory Exotica. A World Beyond Human Experience, The MIT Press, Cambridge, 1999, pp. 345. (Grades 9-12).

Sandra Sinclair, How Animals See. Other Visions of Our World, Facts on File Publications, New York, 1985, pp. 146 (Grades 7-12).

Jillyn Smith, Senses & Sensibilities, John Wiley & Sons, New York, 1989, pp. 230 (Grades 9-12).

บล็อกของ dinya

dinya
หลายวันก่อนผู้เขียนเถียงกันเล่นๆ กับเพื่อน เรื่อง "ดวงตาของควาย" ที่บอกว่ามันตื่นกลัวสีแดงเป็นพิเศษ สามารถตกมันได้เหมือนช้าง เวลาเห็นสีแดงจัดๆ ในอากาศร้อนๆ แต่อีกคนบอกว่าไม่จริงเลย ควายน่ะมองเห็นทุกอย่างแค่สีขาวดำ ก็เลยมีมุกขำๆ กันเล่นว่า "แล้วเคยเป็นควายด้วยเหรอ" :P จะว่าไปแล้วเรื่องนี้เถียงกันให้ตายก็คงไม่มีใครชนะ ก็เราไม่ใช่สัตว์เหล่านั้น แต่ด้วยความพยายามของมนุษย์ จึงมีการวิจัยและศึกษามากมายเกี่ยวกับความเป็นไปของสัตว์ชนิดต่างๆ และมีข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้สึก การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส กลิ่น สี ของสัตว์ประเภทต่างๆ…
dinya
ตอนแรกตั้งใจว่าจะเขียนถึงเรื่องของฝนดาวตก  ซึ่งมักจะมีให้เห็นมากที่สุดในช่วงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี แต่สัปดาห์นี้ตื่นเต้นนิดหน่อยกับเรื่องของปรากฏการณ์  "พระจันทร์ยิ้ม"  ซึ่งผู้สื่อข่าวเตือนว่าอย่าลืมชมความน่ารักๆ  บนท้องฟ้าได้ตั้งแต่หลังพระอาทิตย์ตกดิน  นั่นคือ 17.40 น.  จนถึง  20.30 น. ของคืนวันที่ 1 ธันวาคม 2551
dinya
ภาพของปัจจุบันและอดีตของทะเลสาบในตะวันออกเฉียงเหนือของ Aotea มีคนบอกว่า ชิลี เป็นประเทศที่มีเรื่องน่าตื่นเต้นไม่น้อยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ อย่างเช่น ทะเลสาบที่สวยงามในเขตแมกกัลลันส์ ห่างจากกรุงซานดิอาโก้ ไปประมาณ 2,000 กิโลเมตร ที่นั่นเคยมีน้ำอยู่เต็มทะเลสาบ มีสิ่งมีชีวิต มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม และดำรงอยู่เช่นนั้นมานานร่วม 30 ปี ด้วยพื้นที่ 10-12 เอเคอร์ หรือประมาณ 10 เท่าของสนามฟุตบอล แต่แล้ววันหนึ่ง อยู่ๆ ทะเลสาบนั้นก็แห้งเหือด อันตรธานหายไปเสียเฉยๆ ทั้งที่คนยืนยันว่าก่อนหน้าที่ทะเลสาบจะหายไปไม่ถึง 1 เดือน ก็ยังเห็นน้ำมีอยู่เต็มทะเล สิ่งที่เหลืออยู่แทนที่ความงามของทะเลสาบ…
dinya
การทำนายนั้นอยู่คู่กับสังคมของเรามานาน โดยเฉพาะการทำนายธรรมชาติ เช่นการดูสีของท้องฟ้า ก้อนเมฆ สายลม ดวงดาว แม้กระทั่งการมองเห็นด้วยจิต ที่สามารถหยั่งรู้ฟ้าดินและธรรมชาติได้ เหมือนที่เคยฮือฮากันไปเมื่อหลายปีก่อน เมื่อนาย กอร์ดอน (Gordon-Michael Scalion) ชาวอเมริกันที่เคยเสียชีวิตเมื่อปี 1979 แต่กลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง จากนั้นเขาก็อ้างว่า ได้รับพรสวรรค์ที่หยั่งรู้อนาคต เขามักจะเดินทางไปอยู่บนพื้นที่สูงๆ บนภูเขา แล้วมองลงมาเห็นภาพในอนาคต โดยเฉพาะภาพของเมืองที่เปลี่ยนไป และโลกที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ คนที่เชื่อถือนายกอร์ดอนนั้นมีไม่น้อย เพราะได้เคยฝากผลงานการทำนายที่แม่นยำเอาไว้ เช่น…
dinya
ภาพแสดงลักษณะของโลก Earth มีคนพูดบ่อยๆ ว่า โลกของเราเล็กลงเรื่อยๆ แคบลงเรื่อยๆ นั่นคงเพราะ เราสื่อสารกันง่ายขึ้น ทั้งทางโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต จะไปเรียนที่ไหน ทวีปใด เราก็ยังพูดคุยกันได้แทบทุกวัน เวลาเพื่อนคนไหนหายไปไม่ติดต่อกันนานๆ เผลอๆ ก็ไปเจอกันในเวบบล็อกหรือ ชุมชนออนไลน์ สักพักก็หาทางเจอกันจนได้  เราคงไม่คิดว่า วันหนึ่ง คำว่า “โลกเล็กลง” นั้นจะหมายถึง “โลกที่มีขนาดเล็กลงไปจริงๆ” เล็กกว่าที่เราเคยรับรู้ แม้เราจะจินตนาการได้ยากอยู่ว่าโลกของเรามันใหญ่โตขนาดไหน และมันจะสำคัญหรือเปล่าที่มันจะเล็กลง ใหญ่ขึ้น หดตัวหรือขยาย ซึ่งคงต้องขอบอกว่า มันก็สำคัญมากทีเดียวค่ะ
dinya
ช่วงนี้มีโอกาสได้เห็นสายรุ้งบ่อย เรียกว่าวันเว้นวันก็ว่าได้ เวลาเห็นรุ้งจะคิดว่าเป็นวันดีๆ เพราะว่ากันว่า ทุกแห่งทุกหนนั้นมีรุ้งเกิดขึ้นเสมอ อยู่ที่ว่าเราจะยืนในตำแหน่งที่มองเห็นหรือเปล่า  บางคนบอกว่า รุ้งตัวเดิม หากเรายืนอยู่คนละมุมเราจะเห็นแสงแตกต่างกัน เหมือนเป็นรุ้งคนละตัว ดังนั้น ธรรมชาติได้ทำให้เราทุกคน มีรุ้งของตัวเอง ที่มองเห็นเฉพาะตัว ไม่มีทางเหมือนกันนั่นเอง ตั้งแต่เด็กๆ เราเห็นรุ้งมี 7 สี  ไล่จาก ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง พอโตมาถึงรู้ว่า รุ้งมีสีเยอะมากๆๆ ไล่ตั้งแต่สีม่วงไปจนถึงสีแดง แต่เราเห็นเฉพาะสีหลักๆ อย่างที่รู้กันว่ารุ้งธรรมชาตินั้นเกิดหลังฝนตก…
dinya
ในช่วงนี้ คำว่า Storm Surge หรือ Tidal Surge หรือที่ไทยเรียกว่า คลื่นพายุซัดฝั่ง น่าจะทำให้ใครๆ วิตกอยู่บ้าง เพราะมีความคล้ายคลึงกับการเกิดสึนามิ มีรูปแบบการเคลื่อนตัวของคลื่นขนาดใหญ่พัดเข้าชายฝั่ง แต่ที่แตกต่างกัน คือ สึนาเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ของแผ่นดินไหวใต้ทะเล ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์ แต่ Storm surge จะเกิดขึ้นโดยมีตัวแปรจากพายุ หลังจาก ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกมาเตือนให้รับมือกับภัยพิบัติในกรุงเทพฯ และถึงกับประกาศลาออกเพราะไม่มีหน่วยงานสนใจเรื่องนี้ ผู้เขียนเลยคิดถึงคำว่า “ถ้า” ซึ่งมีความหมายได้สองอย่าง คือ…
dinya
เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว (2550) ช่างภาพชาวรัสเซียผู้หนึ่ง อ้างว่าหลังจากไปเดินเล่นที่ท่าเรือในทะเลแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของอเมริกาอยู่ดีๆ เขาก็เห็นแสงส่องลงมาจากฟ้าซึ่งมีก้อนเมฆเคลื่อนตัววนไปมาแปลกๆ จากนั้นไม่นานก็เกิดพายุงวงช้างพุ่งลงทะเล เขาได้นำสองภาพนี้มาแปะไว้ในเวบบล็อก ที่ชื่อ www.englishrussia.com ซึ่งมีผู้ชมมาวิจารณ์กันว่า นี่เป็นเพียงภาพที่ถูกตกแต่งด้วยโปรแกรม Photoshop เท่านั้นเอง ไม่ใช่ภาพที่จะถ่ายได้จริงๆ หากแต่ช่างภาพรัสเซียนั้นอธิบายว่านี่เป็นภาพที่สร้างจำลองขึ้นจากสถานที่จริงและวินาทีที่เขาได้พบจริงๆ ถึงไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า แต่พออ่านเจอเรื่องนี้เลยอดคิดไม่ได้ว่า ก่อน  “…
dinya
หลายคนเคยบอกว่า ไม่น่าเชื่อที่ชื่อสวยๆ อย่าง นากรี รูซา นิดา เกศนา สาลิกา คัมมุริ ฯลฯ และอีกหลายชื่อที่มีความหมายน่ารักๆ ถึง ต้นไม้ ดอกไม้ ภูเขา ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ เหล่านี้จะเป็นชื่อของพายุไปได้ อาจเพราะความจริงแล้วพายุ หรือวาตภัยส่วนใหญ่นั้นมีพิษสงทำลายล้าง ทำความน่าสะพรึงกลัวกับพวกเราชาวโลกไม่น้อยนั่นเอง เรื่องน่ารู้ฯ ตอนนี้เลยอยากเอาชื่อพายุมาเล่าสู่กันฟังค่ะ ภาพเมฆฝนและพายุในจังหวัดเชียงใหม่ ปลายเดือน กรกฎาคม 2551 ชื่อของพายุนั้น ว่ากันว่า เดิมทีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ตั้งชื่อพายุทั่วโลกมาโดยตลอด เพราะสมัยก่อนสหรัฐนั้นถือว่าเป็นผู้นำด้านนี้ มีอุปกรณ์พร้อมในการตรวจสภาพอากาศ…
dinya
ก่อนจะนั่งลงเขียนคอลัมน์นี้ ไม่อยากเชื่อเลยว่า 72 ชั่วโมงที่ผ่านมานี้เอง 7 ประเทศ กำลังผจญกับวิกฤตพายุถล่มและน้ำท่วมชนิดที่ยังรอการช่วยเหลือและสรุปยอดผู้เสียชีวิตยังไม่ได้ เริ่มตั้งแต่เยอรมนี เจอพายุหนักทางตอนใต้ของประเทศ จนต้องปิดถนน บ้านหลายหลังพังพินาศ มาถึงประเทศยูเครน ที่มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 16 คน ประชาชน 2 หมื่นกว่าคนอยู่ในความมืดเพราะไม่มีไฟฟ้า ตามด้วยโรมาเนีย ที่ประกาศอพยพคนออกจากเมืองนับสิบเพราะน้ำกำลังท่วมอย่างหนัก ส่วนพายุที่กระหน่ำเกาะเหนือของ นิวซีแลนด์ นั้นมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 3 คน และผู้สูญหายอีกหลายคน ดูเหมือนฝั่งยุโรปอาจจะดูไกลไปหน่อย กลับมาที่เอเชียของเราที่…
dinya
ตอนที่แล้วเล่าถึง “หลุมยุบ” หรือ Sinkhole ในต่างประเทศไปแล้ว คราวนี้มาดูหลุมยุบในบ้านเรากันบ้างนะคะ ย้อนไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตั้งแต่เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเป็นต้นมา (2547) หลายคนบอกว่า มีข่าวหลุมยุบให้ฟังอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่รู้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน มาดูตัวเลขที่กันดีกว่าค่ะ หลุมยุบในประเทศไทย ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา กรมทรัพยากรธรณีแจ้งว่า มี “หลุมยุบ” ที่ได้รับแจ้งและเข้าไปตรวจสอบแล้วถึง 53 หลุม ใน 16 จังหวัด แน่ะ ไม่นับรวมกับที่เราสังเกตไม่เห็น อยู่ลึกจนไม่มีใครพบ หรือ พบแล้วแต่ไม่ได้แจ้งนะคะ ในวันเดียวกับเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ คือ 26 ธันวาคม 2547 นั้น เกิดขึ้นพร้อมกันทีเดียว 19 จุด…
dinya
สองภาพข้างบนนี้ดูเหมือนเป็นทะเลสาบสวยๆ ที่มีน้ำใสๆ เย็นๆ น่าไปเที่ยวเล่น พายเรือ ถ่ายรูปหรือดำน้ำ ทำนองนั้นไหมคะ ? แต่รู้ไหมว่า เนี่ยแหละ มันคือหน้าตาของ El Zacatón Cenote หรือ “หลุมยุบ” (sinkhole) ที่มีความลึกที่สุดในโลกล่ะ !