Skip to main content

ก่อนจะนั่งลงเขียนคอลัมน์นี้ ไม่อยากเชื่อเลยว่า 72 ชั่วโมงที่ผ่านมานี้เอง 7 ประเทศ กำลังผจญกับวิกฤตพายุถล่มและน้ำท่วมชนิดที่ยังรอการช่วยเหลือและสรุปยอดผู้เสียชีวิตยังไม่ได้


เริ่มตั้งแต่เยอรมนี เจอพายุหนักทางตอนใต้ของประเทศ จนต้องปิดถนน บ้านหลายหลังพังพินาศ มาถึงประเทศยูเครน ที่มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 16 คน ประชาชน 2 หมื่นกว่าคนอยู่ในความมืดเพราะไม่มีไฟฟ้า ตามด้วยโรมาเนีย ที่ประกาศอพยพคนออกจากเมืองนับสิบเพราะน้ำกำลังท่วมอย่างหนัก ส่วนพายุที่กระหน่ำเกาะเหนือของ นิวซีแลนด์ นั้นมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 3 คน และผู้สูญหายอีกหลายคน


ดูเหมือนฝั่งยุโรปอาจจะดูไกลไปหน่อย กลับมาที่เอเชียของเราที่ ไต้หวัน เพิ่งผ่านศึกหนักจากพายุไต้ฝุ่น “คัลเมจิ” ไปไม่ถึงสัปดาห์ ก็เจอกับพายุ “ฟองวอง” (Fung-Wong) ซึ่งเป็นชื่อยอดเขาของจีน ตามลักษณะการตั้งชื่อที่ตกลงกันไว้ของคณะกรรมการไต้ฝุ่นเมื่อต้นปี 2008 นี้ ที่ให้แต่ละประเทศมีชื่อพายุได้ 10 ชื่อเป็นภาษาท้องถิ่น


29_7_01

ภาพถ่ายทางอากาศของพายุฟองวอง (Fung-Wong)


ฟองวอง” เป็นเจ้าไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลม 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เริ่มต้นเคลื่อนผ่านเกาะลูซอนของฟิลิปปินส์ สร้างความเสียหายไป 6 พันกว่าหลังคาเรือน แล้วก็ถล่มไต้หวันด้วยการพัดชายวัย 68 ปีถูกลมพัดตกจากหลังคาบ้านขณะซ่อมแซมบ้าน และก็เพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนบ้านเรือนพังและเสียหายมากมาย ยังไม่พอนะ ยังจะเคลื่อนที่ไปต่อยังชายฝั่งตะวันออกของจีน ที่ว่ากันว่าเป็นพายุที่แรงที่สุดในปีนี้เลยทีเดียว จีนก็เลยต้องอพยพคนกว่า 2.7 แสนคน ออกจากพื้นที่มณฑลฟูเจี้ยน และเรียกเรือ 5 หมื่นกว่าลำกลับเข้าฝั่ง รวมแล้วผู้เสียชีวิตยังไม่สรุป แต่ไม่น้อยกว่า 20 คนในตอนนี้


ประเภทและชื่อเรียกพายุ


อย่างที่เรารู้กันอยู่แล้ว ว่าพายุเกิดจากบรรยากาศที่ถูกรบกวน ซึ่งความเร็วในการเคลื่อนไหว ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็มีผลต่อความเสียหายเท่านั้น ส่วนใหญ่พายุเมื่อก่อตัวแล้วก็มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ผ่านมานั้น ได้มีการแบ่งพายุเอาไว้หลากหลายประเภท ตอนนี้ เรามาทบทวนรูปแบบพายุและชื่อเรียกด้วยกันดีกว่าค่ะ


พายุฝน และฟ้าคะนอง ก็มีลมพัด ทั้งพัดไปทางเดียวกันหรือพัดย้อนกันไปมาก็ได้ เกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลงก็ได้


พายุหมุนเขตร้อน เช่น เฮอริเคน ไต้ฝุ่น ไซโคลน และพายุทรายหมุน เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ เริ่มก่อตัวในทะเล ถ้าเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร ก็จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา แต่ถ้าเกิดใต้เส้นศูนย์สูตร ก็จะหมุนตามเข็มนาฬิกา ตามรูปค่ะ

29_7_02 29_7_03

ภาพพายุหมุน ทวนเข็มนาฬิกา และตามเข็มนาฬิกา



การเรียกชื่อพายุหมุนนั้น เรียกตามสถานที่เกิด เป็นต้นว่า ถ้าเกิดแถวๆ มหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก ก็เรียก เฮอริเคน
(hurricane) ถ้าเกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น ก็เรียก ไต้ฝุ่น (typhoon) ถ้าเกิดในมหาสมุทรอินเดีย เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เรียกว่า ไซโคลน (cyclone) แต่ถ้าเกิดแถวทะเลติมอร์และตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียจะเรียกว่า พายุวิลลี่-วิลลี่ (willy-willy)


29_7_04

ภาพถ่ายเฮอริเคน เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2004 Highway 12 Nebraska Supercell
ช่างภาพโดย Mike Hollingshead


29_7_05

ภาพถ่ายเทอร์นาโด เมื่อ 9 มิถุนายน 2005 Hill City to Stockton Kansas

ช่างภาพโดย Mike Hollingshead


ส่วนพายุโซนร้อน ก็เกิดเมื่อพายุเขตร้อนอ่อนตัวเคลื่อนไปทะเล ส่วน ดีเปรสชั่น ก็เกิดจากความเร็วที่ลดลงของโซนร้อน และ ทอร์นาโด เรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา หากเกิดในทะเลก็เรียกกันว่า Wator Spout หรือ “นาคเล่นน้ำ” ซึ่งบางครั้งอาจจะเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง ก็เรียกกันว่า “ลมงวง”


29_7_06

ภาพถ่ายนาคเล่นน้ำ หรือ Wator Spout จาก ฟลอริด้า เมื่อ 20 มกราคม 2005 โดย Joseph Golden



29_7_7a
ภาพถ่าย งวงช้าง จาก อ
.บางสะพาน เมื่อ 6 เมษายน 2550 ช่างภาพโดย Noumy


สำหรับชื่อ “สลาตัน” นั้นเป็นชื่อไทยๆ ที่เรียกพายุปลายฤดูฝน ที่พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และยังใช้เรียกพายุที่รุนแรงทุกชนิดได้ด้วย ส่วนอีก 2 ประเภทที่ไม่ค่อยเจอบ่อย ก็คือ พายุทรายหมุน (Dust Devil) และน้ำวน (Whirlpool)


29_7_08

ภาพถ่ายพายุทรายหมุน จาก บริเวณใกล้กับมหาวิทยาลัยมิชิแกน เมื่อ 8 มิถุนายน 2005 ภาพโดย องค์การนาซ่า



29_7_09

ภาพน้ำวน จาก จังหวัดพิษณุโลก เมื่อ กันยายน 2550 ภาพโดย พิธาน



ทบทวนพอเป็นพิธีก่อนกับประเภทพายุ ระหว่างติดตามข่าวของเจ้าฟองวองกันอยู่นี้ ตอนหน้าเราค่อยมาคุยกันต่อว่าทำไมพายุถึงมีชื่อสวยๆ แปลกๆ มากมายให้เลือก มาจากอะไรกันบ้าง และพายุชื่อสวยๆ แต่พิษสงร้ายกาจนี้จะมีอะไรเตือนบ้างก่อนจะมาถึง และจะรับมือได้ยังไงค่ะ
: )


ข้อมูลอ้างอิงจาก :

Typhoon Fung-wong Slams Into Taiwan, China Next

http://funscience.gistda.or.th/tornado/tornado.html

http://www.jabchai.com/main/view_joke.php?id=9706

http://www.nasa.gov

http://www.funscience.gistda.or.th

http://th.wikipedia.org

http://www.tmd.go.th/storm_tracking.php


บล็อกของ dinya

dinya
หลายวันก่อนผู้เขียนเถียงกันเล่นๆ กับเพื่อน เรื่อง "ดวงตาของควาย" ที่บอกว่ามันตื่นกลัวสีแดงเป็นพิเศษ สามารถตกมันได้เหมือนช้าง เวลาเห็นสีแดงจัดๆ ในอากาศร้อนๆ แต่อีกคนบอกว่าไม่จริงเลย ควายน่ะมองเห็นทุกอย่างแค่สีขาวดำ ก็เลยมีมุกขำๆ กันเล่นว่า "แล้วเคยเป็นควายด้วยเหรอ" :P จะว่าไปแล้วเรื่องนี้เถียงกันให้ตายก็คงไม่มีใครชนะ ก็เราไม่ใช่สัตว์เหล่านั้น แต่ด้วยความพยายามของมนุษย์ จึงมีการวิจัยและศึกษามากมายเกี่ยวกับความเป็นไปของสัตว์ชนิดต่างๆ และมีข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้สึก การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส กลิ่น สี ของสัตว์ประเภทต่างๆ…
dinya
ตอนแรกตั้งใจว่าจะเขียนถึงเรื่องของฝนดาวตก  ซึ่งมักจะมีให้เห็นมากที่สุดในช่วงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี แต่สัปดาห์นี้ตื่นเต้นนิดหน่อยกับเรื่องของปรากฏการณ์  "พระจันทร์ยิ้ม"  ซึ่งผู้สื่อข่าวเตือนว่าอย่าลืมชมความน่ารักๆ  บนท้องฟ้าได้ตั้งแต่หลังพระอาทิตย์ตกดิน  นั่นคือ 17.40 น.  จนถึง  20.30 น. ของคืนวันที่ 1 ธันวาคม 2551
dinya
ภาพของปัจจุบันและอดีตของทะเลสาบในตะวันออกเฉียงเหนือของ Aotea มีคนบอกว่า ชิลี เป็นประเทศที่มีเรื่องน่าตื่นเต้นไม่น้อยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ อย่างเช่น ทะเลสาบที่สวยงามในเขตแมกกัลลันส์ ห่างจากกรุงซานดิอาโก้ ไปประมาณ 2,000 กิโลเมตร ที่นั่นเคยมีน้ำอยู่เต็มทะเลสาบ มีสิ่งมีชีวิต มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม และดำรงอยู่เช่นนั้นมานานร่วม 30 ปี ด้วยพื้นที่ 10-12 เอเคอร์ หรือประมาณ 10 เท่าของสนามฟุตบอล แต่แล้ววันหนึ่ง อยู่ๆ ทะเลสาบนั้นก็แห้งเหือด อันตรธานหายไปเสียเฉยๆ ทั้งที่คนยืนยันว่าก่อนหน้าที่ทะเลสาบจะหายไปไม่ถึง 1 เดือน ก็ยังเห็นน้ำมีอยู่เต็มทะเล สิ่งที่เหลืออยู่แทนที่ความงามของทะเลสาบ…
dinya
การทำนายนั้นอยู่คู่กับสังคมของเรามานาน โดยเฉพาะการทำนายธรรมชาติ เช่นการดูสีของท้องฟ้า ก้อนเมฆ สายลม ดวงดาว แม้กระทั่งการมองเห็นด้วยจิต ที่สามารถหยั่งรู้ฟ้าดินและธรรมชาติได้ เหมือนที่เคยฮือฮากันไปเมื่อหลายปีก่อน เมื่อนาย กอร์ดอน (Gordon-Michael Scalion) ชาวอเมริกันที่เคยเสียชีวิตเมื่อปี 1979 แต่กลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง จากนั้นเขาก็อ้างว่า ได้รับพรสวรรค์ที่หยั่งรู้อนาคต เขามักจะเดินทางไปอยู่บนพื้นที่สูงๆ บนภูเขา แล้วมองลงมาเห็นภาพในอนาคต โดยเฉพาะภาพของเมืองที่เปลี่ยนไป และโลกที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ คนที่เชื่อถือนายกอร์ดอนนั้นมีไม่น้อย เพราะได้เคยฝากผลงานการทำนายที่แม่นยำเอาไว้ เช่น…
dinya
ภาพแสดงลักษณะของโลก Earth มีคนพูดบ่อยๆ ว่า โลกของเราเล็กลงเรื่อยๆ แคบลงเรื่อยๆ นั่นคงเพราะ เราสื่อสารกันง่ายขึ้น ทั้งทางโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต จะไปเรียนที่ไหน ทวีปใด เราก็ยังพูดคุยกันได้แทบทุกวัน เวลาเพื่อนคนไหนหายไปไม่ติดต่อกันนานๆ เผลอๆ ก็ไปเจอกันในเวบบล็อกหรือ ชุมชนออนไลน์ สักพักก็หาทางเจอกันจนได้  เราคงไม่คิดว่า วันหนึ่ง คำว่า “โลกเล็กลง” นั้นจะหมายถึง “โลกที่มีขนาดเล็กลงไปจริงๆ” เล็กกว่าที่เราเคยรับรู้ แม้เราจะจินตนาการได้ยากอยู่ว่าโลกของเรามันใหญ่โตขนาดไหน และมันจะสำคัญหรือเปล่าที่มันจะเล็กลง ใหญ่ขึ้น หดตัวหรือขยาย ซึ่งคงต้องขอบอกว่า มันก็สำคัญมากทีเดียวค่ะ
dinya
ช่วงนี้มีโอกาสได้เห็นสายรุ้งบ่อย เรียกว่าวันเว้นวันก็ว่าได้ เวลาเห็นรุ้งจะคิดว่าเป็นวันดีๆ เพราะว่ากันว่า ทุกแห่งทุกหนนั้นมีรุ้งเกิดขึ้นเสมอ อยู่ที่ว่าเราจะยืนในตำแหน่งที่มองเห็นหรือเปล่า  บางคนบอกว่า รุ้งตัวเดิม หากเรายืนอยู่คนละมุมเราจะเห็นแสงแตกต่างกัน เหมือนเป็นรุ้งคนละตัว ดังนั้น ธรรมชาติได้ทำให้เราทุกคน มีรุ้งของตัวเอง ที่มองเห็นเฉพาะตัว ไม่มีทางเหมือนกันนั่นเอง ตั้งแต่เด็กๆ เราเห็นรุ้งมี 7 สี  ไล่จาก ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง พอโตมาถึงรู้ว่า รุ้งมีสีเยอะมากๆๆ ไล่ตั้งแต่สีม่วงไปจนถึงสีแดง แต่เราเห็นเฉพาะสีหลักๆ อย่างที่รู้กันว่ารุ้งธรรมชาตินั้นเกิดหลังฝนตก…
dinya
ในช่วงนี้ คำว่า Storm Surge หรือ Tidal Surge หรือที่ไทยเรียกว่า คลื่นพายุซัดฝั่ง น่าจะทำให้ใครๆ วิตกอยู่บ้าง เพราะมีความคล้ายคลึงกับการเกิดสึนามิ มีรูปแบบการเคลื่อนตัวของคลื่นขนาดใหญ่พัดเข้าชายฝั่ง แต่ที่แตกต่างกัน คือ สึนาเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ของแผ่นดินไหวใต้ทะเล ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์ แต่ Storm surge จะเกิดขึ้นโดยมีตัวแปรจากพายุ หลังจาก ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกมาเตือนให้รับมือกับภัยพิบัติในกรุงเทพฯ และถึงกับประกาศลาออกเพราะไม่มีหน่วยงานสนใจเรื่องนี้ ผู้เขียนเลยคิดถึงคำว่า “ถ้า” ซึ่งมีความหมายได้สองอย่าง คือ…
dinya
เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว (2550) ช่างภาพชาวรัสเซียผู้หนึ่ง อ้างว่าหลังจากไปเดินเล่นที่ท่าเรือในทะเลแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของอเมริกาอยู่ดีๆ เขาก็เห็นแสงส่องลงมาจากฟ้าซึ่งมีก้อนเมฆเคลื่อนตัววนไปมาแปลกๆ จากนั้นไม่นานก็เกิดพายุงวงช้างพุ่งลงทะเล เขาได้นำสองภาพนี้มาแปะไว้ในเวบบล็อก ที่ชื่อ www.englishrussia.com ซึ่งมีผู้ชมมาวิจารณ์กันว่า นี่เป็นเพียงภาพที่ถูกตกแต่งด้วยโปรแกรม Photoshop เท่านั้นเอง ไม่ใช่ภาพที่จะถ่ายได้จริงๆ หากแต่ช่างภาพรัสเซียนั้นอธิบายว่านี่เป็นภาพที่สร้างจำลองขึ้นจากสถานที่จริงและวินาทีที่เขาได้พบจริงๆ ถึงไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า แต่พออ่านเจอเรื่องนี้เลยอดคิดไม่ได้ว่า ก่อน  “…
dinya
หลายคนเคยบอกว่า ไม่น่าเชื่อที่ชื่อสวยๆ อย่าง นากรี รูซา นิดา เกศนา สาลิกา คัมมุริ ฯลฯ และอีกหลายชื่อที่มีความหมายน่ารักๆ ถึง ต้นไม้ ดอกไม้ ภูเขา ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ เหล่านี้จะเป็นชื่อของพายุไปได้ อาจเพราะความจริงแล้วพายุ หรือวาตภัยส่วนใหญ่นั้นมีพิษสงทำลายล้าง ทำความน่าสะพรึงกลัวกับพวกเราชาวโลกไม่น้อยนั่นเอง เรื่องน่ารู้ฯ ตอนนี้เลยอยากเอาชื่อพายุมาเล่าสู่กันฟังค่ะ ภาพเมฆฝนและพายุในจังหวัดเชียงใหม่ ปลายเดือน กรกฎาคม 2551 ชื่อของพายุนั้น ว่ากันว่า เดิมทีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ตั้งชื่อพายุทั่วโลกมาโดยตลอด เพราะสมัยก่อนสหรัฐนั้นถือว่าเป็นผู้นำด้านนี้ มีอุปกรณ์พร้อมในการตรวจสภาพอากาศ…
dinya
ก่อนจะนั่งลงเขียนคอลัมน์นี้ ไม่อยากเชื่อเลยว่า 72 ชั่วโมงที่ผ่านมานี้เอง 7 ประเทศ กำลังผจญกับวิกฤตพายุถล่มและน้ำท่วมชนิดที่ยังรอการช่วยเหลือและสรุปยอดผู้เสียชีวิตยังไม่ได้ เริ่มตั้งแต่เยอรมนี เจอพายุหนักทางตอนใต้ของประเทศ จนต้องปิดถนน บ้านหลายหลังพังพินาศ มาถึงประเทศยูเครน ที่มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 16 คน ประชาชน 2 หมื่นกว่าคนอยู่ในความมืดเพราะไม่มีไฟฟ้า ตามด้วยโรมาเนีย ที่ประกาศอพยพคนออกจากเมืองนับสิบเพราะน้ำกำลังท่วมอย่างหนัก ส่วนพายุที่กระหน่ำเกาะเหนือของ นิวซีแลนด์ นั้นมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 3 คน และผู้สูญหายอีกหลายคน ดูเหมือนฝั่งยุโรปอาจจะดูไกลไปหน่อย กลับมาที่เอเชียของเราที่…
dinya
ตอนที่แล้วเล่าถึง “หลุมยุบ” หรือ Sinkhole ในต่างประเทศไปแล้ว คราวนี้มาดูหลุมยุบในบ้านเรากันบ้างนะคะ ย้อนไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตั้งแต่เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเป็นต้นมา (2547) หลายคนบอกว่า มีข่าวหลุมยุบให้ฟังอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่รู้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน มาดูตัวเลขที่กันดีกว่าค่ะ หลุมยุบในประเทศไทย ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา กรมทรัพยากรธรณีแจ้งว่า มี “หลุมยุบ” ที่ได้รับแจ้งและเข้าไปตรวจสอบแล้วถึง 53 หลุม ใน 16 จังหวัด แน่ะ ไม่นับรวมกับที่เราสังเกตไม่เห็น อยู่ลึกจนไม่มีใครพบ หรือ พบแล้วแต่ไม่ได้แจ้งนะคะ ในวันเดียวกับเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ คือ 26 ธันวาคม 2547 นั้น เกิดขึ้นพร้อมกันทีเดียว 19 จุด…
dinya
สองภาพข้างบนนี้ดูเหมือนเป็นทะเลสาบสวยๆ ที่มีน้ำใสๆ เย็นๆ น่าไปเที่ยวเล่น พายเรือ ถ่ายรูปหรือดำน้ำ ทำนองนั้นไหมคะ ? แต่รู้ไหมว่า เนี่ยแหละ มันคือหน้าตาของ El Zacatón Cenote หรือ “หลุมยุบ” (sinkhole) ที่มีความลึกที่สุดในโลกล่ะ !