Skip to main content
ช่วงนี้มีโอกาสได้เห็นสายรุ้งบ่อย เรียกว่าวันเว้นวันก็ว่าได้ เวลาเห็นรุ้งจะคิดว่าเป็นวันดีๆ เพราะว่ากันว่า ทุกแห่งทุกหนนั้นมีรุ้งเกิดขึ้นเสมอ อยู่ที่ว่าเราจะยืนในตำแหน่งที่มองเห็นหรือเปล่า  บางคนบอกว่า รุ้งตัวเดิม หากเรายืนอยู่คนละมุมเราจะเห็นแสงแตกต่างกัน เหมือนเป็นรุ้งคนละตัว ดังนั้น ธรรมชาติได้ทำให้เราทุกคน มีรุ้งของตัวเอง ที่มองเห็นเฉพาะตัว ไม่มีทางเหมือนกันนั่นเอง


ตั้งแต่เด็กๆ เราเห็นรุ้งมี 7 สี  ไล่จาก ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง พอโตมาถึงรู้ว่า รุ้งมีสีเยอะมากๆๆ ไล่ตั้งแต่สีม่วงไปจนถึงสีแดง แต่เราเห็นเฉพาะสีหลักๆ อย่างที่รู้กันว่ารุ้งธรรมชาตินั้นเกิดหลังฝนตก และมีแดดออก และปรากฏอยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เวลาจะมองหารุ้งเลยต้องหันหลังให้ดวงตะวันเสมอ ซึ่งกระบวนการเกิดรุ้งก็คือแสงเดินทางไปหาหยดน้ำ หักเหผ่านตัวกลางจากอากาศสู่น้ำ เกิดแสงสะท้อนภายในหยดน้ำที่โค้งและมีผิวเหมือนกระจก แสงเลยหักเหผ่านหยดน้ำมาสู่อากาศอีกครั้ง

ยังไงเสีย ทุกครั้งที่ได้มองรุ้ง ผู้เขียนรู้สึกว่าช่างสวยเหลือเกิน แต่ละครั้งมีแถบกว้างแคบไม่เหมือนกัน ลักษณะวงบางครั้งเล็ก บางครั้งใหญ่ แถมบางทีก็ออกมาไม่ครบวง เหมือนถูกหั่นครึ่งบ้าง หรือสลับกลับหัวเป็นโค้งหงายเหมือนพระจันทร์บ้าง จากชอบมองก็เปลี่ยนเป็นสงสัยว่า "รุ้งมีกี่แบบกันแน่
?" และเริ่มสนุกกับการเฝ้ารอสายรุ้งว่า จะต่างไปจากวันอื่นอย่างไร แถมยังมีเพื่อนคนหนึ่งที่ชวนกันคุยบ่อยเรื่องสายรุ้ง ถ่ายรูปมาแลกเปลี่ยนประจำ เสียดายที่ถ่ายรูปไว้ไม่สวย หรือเห็นได้ไม่ชัด บันทึกเรื่องรุ้งตอนนี้เลยขอยืมภาพของคนอื่นมาประกอบไปก่อนนะคะ

2_9_01
ภาพรุ้งที่สมบูรณ์ จาก San Diego December 14th, 2001, ช่างภาพโดย Manfred Bruenjes

สายรุ้งที่สมบูรณ์ที่สุด (Perfect Rainbow)  รุ้งที่งดงามที่สุดนั้นคือรุ้งที่แสดงให้เห็นชัดเจนทุกเฉดสีตั้งแต่ต้นจนจบวง ไม่ขาดกลาง พาดเป็นครึ่งวงกลมจรดผืนดิน หากใครสงสัยว่ารุ้งสามารถเป็นได้เต็มเป็นวงกลมหรือไม่ คำตอบก็คือทั้งได้และไม่ได้ ที่เต็มวงไม่ได้เพราะมีพื้นดินมาบังเอาไว้ครึ่งหนึ่ง แต่ตามทฤษฎีเขาบอกว่าถ้าเราบินได้ไปอยู่เหนือละอองน้ำ มองไปในหุบเขาก็จะเห็นเต็มวงได้เช่นกัน

2_9_02

ภาพรุ้งสองชั้น ถ่ายจากหน้าบ้านเมื่อ 20 สค.2551 ที่ผ่านมา

รุ้งสองชั้น (supernumerary rainbow) เพิ่งฟื้นฟูความจำได้ว่ารุ้งตัวแรก เรียกว่าปฐมภูมิ ตัวที่สองคือ ทุติยภูมิ ตัวแรกจะเห็นได้ชัดที่สุด มีสีแดงโค้งอยู่บนสุด และสีม่วงอยู่ล่างสุดเสมอ ส่วนรุ้งตัวที่ 2 นั้นจะสลับสีกัน เอาม่วงไปอยู่ล่างสุดและแดงกลับมาอยู่ด้านบนสุด รุ้งที่เกิดการหักเหของแสง 2 ครั้ง และสะท้อนออกมา 2 ครั้ง สำหรับรุ้งแบบนี้ ว่ากันว่าเป็นรุ้งที่เกิดไม่บ่อยค่ะ

2_9_03
ภาพ Morning rainbows - Norfolk England. ช่างภาพโดย Les Cowley

รุ้งซ้อนแถบดำ (dark band) มองดูและฟังชื่อ ก็ดูน่ากลัวอย่างบอกไม่ถูก ความจริงเป็นแค่ปรากฏการณ์ที่รุ้งสองตัว มีการกระจายแสงเข้าหากัน และปรากฏแสงสะท้อนกลับของหยดน้ำจากรุ้งตัวแรกในด้านใน ผสมกับแสงบนท้องฟ้า และแสงสะท้อนหยดน้ำด้านนอกจากตัวที่สอง และส่งภาพเฉดสีมาสู่สายตาเราไม่ได้ จึงเห็นเป็นภาพสีดำๆ นั่นเอง

2_9_04
10th May 2003. ภาพโดย Ann Bowker

รุ้งสะท้อนรุ้ง (Reflection Rainbows)  รุ้งแบบนี้นับว่าเห็นได้ยากมากทีเดียว ภาพนี้ถ่ายโดย Ann Bowker เมื่อปี พฤษภาคม 2003 ซึ่งปรากฏรุ้งพร้อมกัน 4 ตัว แต่ทว่าแต่ละตัวไม่เห็นเป็นวงอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอธิบายคร่าวๆ ได้ว่ารุ้งตัวแรกสะท้อนกลับแสงหยดน้ำไปยังตัวที่สอง และเมื่อมีอูณหภูมิที่อุ่นขึ้นทำให้เกิดการกระจัดกระจายของแสงแดดบนท้องฟ้าก็เกิดรุ้งตัวอื่นๆ ถัดมา ซึ่งส่วนใหญ่พบในเบริเวณใกล้กับทะเลหรือแม่น้ำ

2_9_05
ภาพ
January 2004 โดย Les Cowley

รุ้งบนก้อนเมฆ  (Cloudbow)
ภาพนี้ถ่ายเมื่อ มกราคม 2004 โดยช่างภาพ Les Cowley ถ่ายปรากฏการณ์ที่ไม่มีฝนตกเลยสักนิด แต่เกิดรุ้งบนท้องฟ้า ผสมผสานแทรกตัวอยู่กับก้อนเมฆ เขาบอกว่าวันนั้นเป็นวันที่อากาศหนาวเย็นมาก และมีหมอกน้ำค้าง จึงเกิดหยดน้ำเล็กๆ ในอากาศ สร้างความชื้นที่แสดงสีสันได้โดยไม่ต้องอาศัยละอองฝน

 

2_9_06
December 2003 ช่างภาพโดย Tom Theis

รุ้งพระจันทร์ (Moonbow)
ส่วนใหญ่เราเห็นรุ้งกันตอนกลางวัน แต่กลางคืนก็มีรุ้งเหมือนกันค่ะ ภาพนี้ถ่ายได้เมื่อธันวาคม 2003 ในช่วงเวลา 20 นาทีสุดท้ายก่อนเกิดพระจันทร์ข้างขึ้น เป็นรุ้งที่หาได้ยากกว่ารุ้งอื่นๆ มากที่สุดเพราะปกติพระจันทร์มีแสงได้ไม่เท่าพระอาทิตย์ แต่หากมีแสงมากพอในคืนพระจันทร์เต็มดวง และอยู่ฝั่งตรงข้ามกับฝนตก และท้องฟ้ามีสีเข้มมากพอ ก็จะปรากฏภาพได้ตามที่เห็น แต่สีจะไม่สดใสมากนักเพราะแสงไม่มากพอที่จะกระตุ้นกรวยรับแสงในสายตาของพวกเรานั่นเอง

เป็นรุ้งหรือไม่ใช่รุ้ง?
มีภาพบางภาพที่เมื่อเห็นแล้วก็คิดว่าเป็นรุ้ง แต่ไฉนไม่โค้ง ไม่กลม บางครั้งเป็นเส้นตรงก็มี ในเวบไซต์ atoptics.co.uk ของอังกฤษนั้นได้อธิบายว่ารุ้งบางตัวนั้นไม่เรียกว่ารุ้ง แต่เป็นปรากฏการณ์พิเศษที่สะท้อนแสงสวยงามได้ทั้ง 7 สีเช่นกัน ได้แก่

2_9_07 2_9_08
ภาพ พระอาทิตย์ทรงกลด และ พระจันทร์ทรงกลด by Riki Feldmann


รุ้งทรงกลด (Circumscribed Halo)
เส้นกลมๆ เป็นวง มีสีจางๆ คล้ายรุ้ง ที่เกิดได้ทั้งรอบพระอาทิตย์และพระจันทร์ เกิดจากที่มีละอองน้ำในชั้นบรรยากาศและกระทบกับแสงอาทิตย์หรือจันทร์ สะท้อนรังสีออกมาให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม จากรัศมีของเมฆที่อยู่สูง และหยดน้ำจับตัวเป็นผลึกขนาดเล็กเมื่อเรียงตัวไปในทิศทางเดียวกันก็เกิดเป็นวงแหวนขึ้นมา บางครั้งเป็นสีเขียวเพราะเกิดจากการสะท้อนแสง แต่บางครั้งเกิดเป็นสีแดงเพราะเกิดจากการหักเหของแสง 

2_9_092_9_10
ภาพโดย
Brandie M. Jefferson และ Marc Sorensen

รอยยิ้มของท้องฟ้า (Upside-down rainbow) บางคนเรียกภาพแบบนี้ว่ารุ้งมีตำหนิ  แต่บางคนเรียกว่ารอยยิ้มของท้องฟ้า เป็นลักษณะแสงแบบเดียวกับการเกิดแสงทรงกลด แต่เกิดการรบกวนของอูณหภูมิจึงทำให้เกิดได้ไม่เต็มวง ซึ่งอาจถือได้ว่าการเกิดทรงกลดที่บิดเบี้ยวนี้ ยังก่อให้เกิดภาพอื่นๆ ได้หลายรูปแบบอีกด้วย เช่น ภาพเมฆเรืองแสง หรือเฉดรุ้งขนาดสั้นบนท้องฟ้า

2_9_13
คลื่นสีรุ้งบนท้องฟ้า ภาพโดย
Cherie Ude

คลื่นรุ้ง  (Nacreous Clouds) ภาพที่ว่ากันว่าหายากมากที่สุด คือเฉดสีที่มีการเคลื่อนไหวไปมา เหมือนแสงถูกลมพัด ภาพนี้ถ่ายได้เมื่อปี 2004 โดยช่างภาพ Cherie Ude ซึ่งเขาบอกว่าจำได้ไม่มีวันลืม ในช่วงหลังพระอาทิตย์ตกประมาณ 2 ชั่วโมง แต่ยังมีแสงสว่างอยู่ จากแสงสว่างมีการเปลี่ยนสีเหมือนรุ้งกินน้ำ ซึ่งอธิบายว่าเกิดจากลักษณะลมในชั้นบรรยากาศที่โจมตีเข้ามา

2_9_11
Sundog with Storks ภาพโดย by Alex Tudorica

พระอาทิตย์สุนัข (Sundog) เป็นภาพที่อธิบายกันว่า เมื่อพระอาทิตย์ลอยต่ำจนถูกเมฆบดบัง ก็จะเกิดแสงสว่างขึ้น 2 จุด เป็นภาพลวงตาของอาทิตย์ที่รังสีทาบความยาวตามแนวขอบฟ้า ถ้ามีปลายส่วนที่ยื่นออกมาเหมือนหางสุนัข ก็จะถูกเรียกว่า Sun Dog หรือ พระอาทิตย์สุนัข นั่นเอง

รุ้งกับความเชื่อและการทำนาย

2_9_14
ภาพรุ้งทอดยาวที่มีลักษณะโค้งต่ำ บริเวณปทุมธานี จากอัญชา ผู้แบ่งปันภาพท้องฟ้ามาให้ชมเสมอๆ

ในตำราทำนายฝันแบบไทยๆ นั้นบอกว่า รุ้งกินน้ำเป็นมิมิตรดีแห่งชีวิต บอกถึงเงินและชื่อเสียงที่จะได้รับ ขณะที่ความเชื่อโบราณบางชนเผ่าเชื่อว่ารุ้งคือ สะพานเชื่อมระหว่างสวรรค์กับโลก (bridge between heaven and earth ) หรือ สะพานสายฝน (bridge of the rain) เช่นเดียวกับในไบเบิ้ลที่เชื่อว่ารุ้งคือสัญญาของพระเจ้ากับมนุษย์ว่า หากรุ้งยังเกิดขึ้น ก็จะไม่มีน้ำท่วมใหญ่มาทำลายโลกเป็นแน่

ส่วนชาวกรีกโบราณเชื่อว่าเป็นสัญญาณเตือนที่พระเจ้ามาบอกว่าจะเกิดพายุใหญ่ หรือสงคราม ในขณะที่วงทรงกลดนั้น ชาวอินเดียนเผ่าซูนิในนิวเม็กซิโกเชื่อว่าเป็นสัญญาณเตือนถึงพายุฝน ซึ่งในปี ค.ศ.1461 อ้างต่อกันมาว่า ระหว่างสงครามของกองทัพตระกูลยอร์ก ได้เห็นพระอาทิตย์เกิดขึ้นพร้อมกัน 3 ดวง เมื่อผู้นำทัพเห็นก็เข้าโจมตีศึกจนชนะ และขึ้นครองบัลลังก์จึงทำตราประจำพระองค์เป็นรูปพระอาทิตย์สามดวงบนท้องฟ้า สำหรับชาวเขมรนั้น ค้นไปเจอว่าเขาเรียกรุ้งกินน้ำว่า "ธนูพระอินทร์" (
bow of God) เพราะมีรัศมีโค้งข้ามฟ้าเหมือนคันธนูที่โก่งเต็มที่ ส่วนชาวไทยใหญ่เชื่อว่าถ้าเอามือชี้รุ้งแล้วนิ้วจะด้วนหรือโชคร้าย ในขณะที่ชาวจีนเชื่อว่า ถ้าเกิดรุ้งกินน้ำเมื่อนั้นฝนจะหยุดตก

ส่วนความเชื่อที่เหนือธรรมชาติมากๆ  เช่น ชนเผ่าในอเมริกาใต้เชื่อว่า รุ้งที่เกิดในทะเลเป็นรุ้งที่ดี แต่รุ้งบนบกเป็นรุ้งชั่วร้าย ส่วนยุโรปตะวันตกเชื่อว่า นางฟ้าใส่ทองคำไว้ที่ปลายรุ้งอีกด้าน มีแต่มนุษย์ที่เปลือยตัวเท่านั้นจะพบทองนั้น ส่วนชาวโรมาเนียเชื่อว่า ปลายรุ้งอีกด้านที่ตกในแม่น้ำ ถ้าใครคลานไปแตะและดื่มน้ำบริเวณนั้น จะกลายร่างเป็นเพศตรงข้าม หรือหากใครเดินลอดผ่านสายรุ้งได้ก็จะเปลี่ยนเป็นเพศตรงข้ามได้เช่นกัน

รุ้งกินน้ำ ยังมีชื่อเรียกมากมายได้แก่ ลิ้นพระอาทิตย์ (the tongue of the sun), วิถีแห่งคนตาย (road of the dead), ชายเสื้อแห่งสุริยเทพ (hem of the sun-god's coat), วิถีแห่งเทพสายฟ้า (road of thunder god และ หน้าต่างสวรรค์ (window to heaven)

สำหรับในโลกของวิทยาศาสตร์นั้นยังมีการศึกษาอยู่เรื่อยๆ ถึงความถี่ในการเกิดรุ้ง ลักษณะของแสงที่เปลี่ยนไป ขนาดของรุ้ง เพราะเชื่อว่าเป็นผลจากภาวะโลกที่ร้อนขึ้น ส่งผลต่ออูณหภูมิในอากาศ และสิ่งที่รบกวนการหักเหของแสง แถมบางแห่งมีการพูดคุยว่ารุ้งเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดพายุและเมฆแผ่นดินไหวอีกด้วยค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.atoptics.co.uk/
www.beloblog.com/ProJo_Blogs/newsblog/archives/2007/12/18/

skychasers.net

www.joereifer.com/words/?p=111

www.dek-d.com/board/view.php?id=1132029

www.rmutphysics.com/charud/oldnews/94/index94.htm

www.deewrite.com/clouds/

บล็อกของ dinya

dinya
หลายวันก่อนผู้เขียนเถียงกันเล่นๆ กับเพื่อน เรื่อง "ดวงตาของควาย" ที่บอกว่ามันตื่นกลัวสีแดงเป็นพิเศษ สามารถตกมันได้เหมือนช้าง เวลาเห็นสีแดงจัดๆ ในอากาศร้อนๆ แต่อีกคนบอกว่าไม่จริงเลย ควายน่ะมองเห็นทุกอย่างแค่สีขาวดำ ก็เลยมีมุกขำๆ กันเล่นว่า "แล้วเคยเป็นควายด้วยเหรอ" :P จะว่าไปแล้วเรื่องนี้เถียงกันให้ตายก็คงไม่มีใครชนะ ก็เราไม่ใช่สัตว์เหล่านั้น แต่ด้วยความพยายามของมนุษย์ จึงมีการวิจัยและศึกษามากมายเกี่ยวกับความเป็นไปของสัตว์ชนิดต่างๆ และมีข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้สึก การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส กลิ่น สี ของสัตว์ประเภทต่างๆ…
dinya
ตอนแรกตั้งใจว่าจะเขียนถึงเรื่องของฝนดาวตก  ซึ่งมักจะมีให้เห็นมากที่สุดในช่วงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี แต่สัปดาห์นี้ตื่นเต้นนิดหน่อยกับเรื่องของปรากฏการณ์  "พระจันทร์ยิ้ม"  ซึ่งผู้สื่อข่าวเตือนว่าอย่าลืมชมความน่ารักๆ  บนท้องฟ้าได้ตั้งแต่หลังพระอาทิตย์ตกดิน  นั่นคือ 17.40 น.  จนถึง  20.30 น. ของคืนวันที่ 1 ธันวาคม 2551
dinya
ภาพของปัจจุบันและอดีตของทะเลสาบในตะวันออกเฉียงเหนือของ Aotea มีคนบอกว่า ชิลี เป็นประเทศที่มีเรื่องน่าตื่นเต้นไม่น้อยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ อย่างเช่น ทะเลสาบที่สวยงามในเขตแมกกัลลันส์ ห่างจากกรุงซานดิอาโก้ ไปประมาณ 2,000 กิโลเมตร ที่นั่นเคยมีน้ำอยู่เต็มทะเลสาบ มีสิ่งมีชีวิต มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม และดำรงอยู่เช่นนั้นมานานร่วม 30 ปี ด้วยพื้นที่ 10-12 เอเคอร์ หรือประมาณ 10 เท่าของสนามฟุตบอล แต่แล้ววันหนึ่ง อยู่ๆ ทะเลสาบนั้นก็แห้งเหือด อันตรธานหายไปเสียเฉยๆ ทั้งที่คนยืนยันว่าก่อนหน้าที่ทะเลสาบจะหายไปไม่ถึง 1 เดือน ก็ยังเห็นน้ำมีอยู่เต็มทะเล สิ่งที่เหลืออยู่แทนที่ความงามของทะเลสาบ…
dinya
การทำนายนั้นอยู่คู่กับสังคมของเรามานาน โดยเฉพาะการทำนายธรรมชาติ เช่นการดูสีของท้องฟ้า ก้อนเมฆ สายลม ดวงดาว แม้กระทั่งการมองเห็นด้วยจิต ที่สามารถหยั่งรู้ฟ้าดินและธรรมชาติได้ เหมือนที่เคยฮือฮากันไปเมื่อหลายปีก่อน เมื่อนาย กอร์ดอน (Gordon-Michael Scalion) ชาวอเมริกันที่เคยเสียชีวิตเมื่อปี 1979 แต่กลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง จากนั้นเขาก็อ้างว่า ได้รับพรสวรรค์ที่หยั่งรู้อนาคต เขามักจะเดินทางไปอยู่บนพื้นที่สูงๆ บนภูเขา แล้วมองลงมาเห็นภาพในอนาคต โดยเฉพาะภาพของเมืองที่เปลี่ยนไป และโลกที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ คนที่เชื่อถือนายกอร์ดอนนั้นมีไม่น้อย เพราะได้เคยฝากผลงานการทำนายที่แม่นยำเอาไว้ เช่น…
dinya
ภาพแสดงลักษณะของโลก Earth มีคนพูดบ่อยๆ ว่า โลกของเราเล็กลงเรื่อยๆ แคบลงเรื่อยๆ นั่นคงเพราะ เราสื่อสารกันง่ายขึ้น ทั้งทางโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต จะไปเรียนที่ไหน ทวีปใด เราก็ยังพูดคุยกันได้แทบทุกวัน เวลาเพื่อนคนไหนหายไปไม่ติดต่อกันนานๆ เผลอๆ ก็ไปเจอกันในเวบบล็อกหรือ ชุมชนออนไลน์ สักพักก็หาทางเจอกันจนได้  เราคงไม่คิดว่า วันหนึ่ง คำว่า “โลกเล็กลง” นั้นจะหมายถึง “โลกที่มีขนาดเล็กลงไปจริงๆ” เล็กกว่าที่เราเคยรับรู้ แม้เราจะจินตนาการได้ยากอยู่ว่าโลกของเรามันใหญ่โตขนาดไหน และมันจะสำคัญหรือเปล่าที่มันจะเล็กลง ใหญ่ขึ้น หดตัวหรือขยาย ซึ่งคงต้องขอบอกว่า มันก็สำคัญมากทีเดียวค่ะ
dinya
ช่วงนี้มีโอกาสได้เห็นสายรุ้งบ่อย เรียกว่าวันเว้นวันก็ว่าได้ เวลาเห็นรุ้งจะคิดว่าเป็นวันดีๆ เพราะว่ากันว่า ทุกแห่งทุกหนนั้นมีรุ้งเกิดขึ้นเสมอ อยู่ที่ว่าเราจะยืนในตำแหน่งที่มองเห็นหรือเปล่า  บางคนบอกว่า รุ้งตัวเดิม หากเรายืนอยู่คนละมุมเราจะเห็นแสงแตกต่างกัน เหมือนเป็นรุ้งคนละตัว ดังนั้น ธรรมชาติได้ทำให้เราทุกคน มีรุ้งของตัวเอง ที่มองเห็นเฉพาะตัว ไม่มีทางเหมือนกันนั่นเอง ตั้งแต่เด็กๆ เราเห็นรุ้งมี 7 สี  ไล่จาก ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง พอโตมาถึงรู้ว่า รุ้งมีสีเยอะมากๆๆ ไล่ตั้งแต่สีม่วงไปจนถึงสีแดง แต่เราเห็นเฉพาะสีหลักๆ อย่างที่รู้กันว่ารุ้งธรรมชาตินั้นเกิดหลังฝนตก…
dinya
ในช่วงนี้ คำว่า Storm Surge หรือ Tidal Surge หรือที่ไทยเรียกว่า คลื่นพายุซัดฝั่ง น่าจะทำให้ใครๆ วิตกอยู่บ้าง เพราะมีความคล้ายคลึงกับการเกิดสึนามิ มีรูปแบบการเคลื่อนตัวของคลื่นขนาดใหญ่พัดเข้าชายฝั่ง แต่ที่แตกต่างกัน คือ สึนาเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ของแผ่นดินไหวใต้ทะเล ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์ แต่ Storm surge จะเกิดขึ้นโดยมีตัวแปรจากพายุ หลังจาก ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกมาเตือนให้รับมือกับภัยพิบัติในกรุงเทพฯ และถึงกับประกาศลาออกเพราะไม่มีหน่วยงานสนใจเรื่องนี้ ผู้เขียนเลยคิดถึงคำว่า “ถ้า” ซึ่งมีความหมายได้สองอย่าง คือ…
dinya
เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว (2550) ช่างภาพชาวรัสเซียผู้หนึ่ง อ้างว่าหลังจากไปเดินเล่นที่ท่าเรือในทะเลแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของอเมริกาอยู่ดีๆ เขาก็เห็นแสงส่องลงมาจากฟ้าซึ่งมีก้อนเมฆเคลื่อนตัววนไปมาแปลกๆ จากนั้นไม่นานก็เกิดพายุงวงช้างพุ่งลงทะเล เขาได้นำสองภาพนี้มาแปะไว้ในเวบบล็อก ที่ชื่อ www.englishrussia.com ซึ่งมีผู้ชมมาวิจารณ์กันว่า นี่เป็นเพียงภาพที่ถูกตกแต่งด้วยโปรแกรม Photoshop เท่านั้นเอง ไม่ใช่ภาพที่จะถ่ายได้จริงๆ หากแต่ช่างภาพรัสเซียนั้นอธิบายว่านี่เป็นภาพที่สร้างจำลองขึ้นจากสถานที่จริงและวินาทีที่เขาได้พบจริงๆ ถึงไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า แต่พออ่านเจอเรื่องนี้เลยอดคิดไม่ได้ว่า ก่อน  “…
dinya
หลายคนเคยบอกว่า ไม่น่าเชื่อที่ชื่อสวยๆ อย่าง นากรี รูซา นิดา เกศนา สาลิกา คัมมุริ ฯลฯ และอีกหลายชื่อที่มีความหมายน่ารักๆ ถึง ต้นไม้ ดอกไม้ ภูเขา ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ เหล่านี้จะเป็นชื่อของพายุไปได้ อาจเพราะความจริงแล้วพายุ หรือวาตภัยส่วนใหญ่นั้นมีพิษสงทำลายล้าง ทำความน่าสะพรึงกลัวกับพวกเราชาวโลกไม่น้อยนั่นเอง เรื่องน่ารู้ฯ ตอนนี้เลยอยากเอาชื่อพายุมาเล่าสู่กันฟังค่ะ ภาพเมฆฝนและพายุในจังหวัดเชียงใหม่ ปลายเดือน กรกฎาคม 2551 ชื่อของพายุนั้น ว่ากันว่า เดิมทีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ตั้งชื่อพายุทั่วโลกมาโดยตลอด เพราะสมัยก่อนสหรัฐนั้นถือว่าเป็นผู้นำด้านนี้ มีอุปกรณ์พร้อมในการตรวจสภาพอากาศ…
dinya
ก่อนจะนั่งลงเขียนคอลัมน์นี้ ไม่อยากเชื่อเลยว่า 72 ชั่วโมงที่ผ่านมานี้เอง 7 ประเทศ กำลังผจญกับวิกฤตพายุถล่มและน้ำท่วมชนิดที่ยังรอการช่วยเหลือและสรุปยอดผู้เสียชีวิตยังไม่ได้ เริ่มตั้งแต่เยอรมนี เจอพายุหนักทางตอนใต้ของประเทศ จนต้องปิดถนน บ้านหลายหลังพังพินาศ มาถึงประเทศยูเครน ที่มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 16 คน ประชาชน 2 หมื่นกว่าคนอยู่ในความมืดเพราะไม่มีไฟฟ้า ตามด้วยโรมาเนีย ที่ประกาศอพยพคนออกจากเมืองนับสิบเพราะน้ำกำลังท่วมอย่างหนัก ส่วนพายุที่กระหน่ำเกาะเหนือของ นิวซีแลนด์ นั้นมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 3 คน และผู้สูญหายอีกหลายคน ดูเหมือนฝั่งยุโรปอาจจะดูไกลไปหน่อย กลับมาที่เอเชียของเราที่…
dinya
ตอนที่แล้วเล่าถึง “หลุมยุบ” หรือ Sinkhole ในต่างประเทศไปแล้ว คราวนี้มาดูหลุมยุบในบ้านเรากันบ้างนะคะ ย้อนไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตั้งแต่เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเป็นต้นมา (2547) หลายคนบอกว่า มีข่าวหลุมยุบให้ฟังอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่รู้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน มาดูตัวเลขที่กันดีกว่าค่ะ หลุมยุบในประเทศไทย ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา กรมทรัพยากรธรณีแจ้งว่า มี “หลุมยุบ” ที่ได้รับแจ้งและเข้าไปตรวจสอบแล้วถึง 53 หลุม ใน 16 จังหวัด แน่ะ ไม่นับรวมกับที่เราสังเกตไม่เห็น อยู่ลึกจนไม่มีใครพบ หรือ พบแล้วแต่ไม่ได้แจ้งนะคะ ในวันเดียวกับเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ คือ 26 ธันวาคม 2547 นั้น เกิดขึ้นพร้อมกันทีเดียว 19 จุด…
dinya
สองภาพข้างบนนี้ดูเหมือนเป็นทะเลสาบสวยๆ ที่มีน้ำใสๆ เย็นๆ น่าไปเที่ยวเล่น พายเรือ ถ่ายรูปหรือดำน้ำ ทำนองนั้นไหมคะ ? แต่รู้ไหมว่า เนี่ยแหละ มันคือหน้าตาของ El Zacatón Cenote หรือ “หลุมยุบ” (sinkhole) ที่มีความลึกที่สุดในโลกล่ะ !