Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ฮานอยเป็นหัวเมืองใหญ่ทางภาคเหนือของเวียดนาม สถานที่ที่มีอัตราการเติบโตของจีดีพีไม่เป็นรองเมืองอื่นๆ (ยกเว้นตอนนี้เวียดนามเจอภาวะเงินเฟ้อ) กับความรุ่งเรืองแห่งอดีตอดีตแห่งภูมิภาคหนึ่งของจีนที่ได้ชื่อว่า อันนัมประกอบไปด้วย การจราจรอันคับคั่ง(จริงๆ ก็คับคั่งทุกเมืองใหญ่แหละ)ย่านโอลด์ ทาวน์ ทะเลสาบคืนดาบ บาร์เกย์และดนตรีแนวแทรนส์เราเจอฟั้งกี้ มั้งกี้ ณ หัวมุมถนนย่านใจกลางเมือง หลังจากที่เดินตามหามาตั้งแต่หัวค่ำ ในอาคารพาณิชย์ 1 คูหา ไกด์คนเก่งจากเกาะกั๊ตบาแนะนำให้เรามาย่านนี้ เหตุผลหนึ่งเพราะเป็นย่านบาร์เกย์ที่คนในเพศที่ 3 สามารถจะแสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ เกย์ในเวียดนามไม่ได้รับการยอมรับเหมือนกับเมืองไทย (อันที่จริงในเมืองไทยก็ยอมรับกันเฉพาะเมืองใหญ่เท่านั้น)และเหตุผลต่อมา ดนตรีแนวแทรนส์
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้วพยายามจะให้ความหมายของ “กวีเกรียน” ว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วเมื่อลองมาวิเคราะห์ พิจารณา สามารถสรุปรวบยอดได้ว่า กวีเกรียน นั้นเดินทางล้าหลัง อยู่ถึง 3 ก้าวด้วยกัน ก้าวที่ 1 คือ ขาดการทบทวนอดีต ไม่สามารถนำอดีตมาเป็นบทเรียนได้ ไม่สามารถสกัดเก็บซับเอาข้อดี ข้อเสียในอดีตมาเป็นฐานคิดในการวิเคราะห์สังคมการเมือง จะว่าไปบทเรียนในอดีตของสังคมไทยก็มีให้ศึกษาเรียนรู้อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง 2475, การต่อสู้ของเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการในอดีตหรือกระทั่งการต่อสู้อยู่ในป่าของพคท.ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเนื้อหาการต่อสู้อันเข้มข้นที่เป็นขุมทรัพย์ของการเรียนรู้และแรงดลใจ แต่กวีกลับเรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้แบบผิด ๆ ก้าวที่ 2 คือ ตามสังคมไม่ทัน กวีอาจมัวเมาหมกมุ่นอยู่กับจิตวิญญาณหรืออะไรที่สูงส่งเสียจนไม่ทราบว่าโลกได้ก้าวไปถึงไหนแล้ว ดังนั้นจึงไม่แปลกที่กวีมักจะมองไม่เห็นข้อดีของความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและมักจะมีท่าทีต่อต้านความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในโลกทุนนิยม กวีต่อต้านทุนนิยมโดยไม่ตระหนักแม้แต่นิดเดียวว่าตนเองเป็นผู้หนึ่งที่ช่วย “แบก” ให้โลกแห่งทุนนิยมเคลื่อนไปข้างหน้า กวีประณามนายทุนในขณะที่นั่งดื่มไวน์ชั้นดีหรือใช้เทคโนโลยีที่นายทุนผู้นั้นเป็นเจ้าของ ก้าวที่ 3 มองไปข้างหน้าไม่ได้ สองข้อที่กล่าวมาทำให้กวีไม่สามารถมองไปข้างหน้าอย่างถูกต้อง แม่นตรงได้ ไม่สามารถประเมินแนวโน้มหรือจับทิศทางความเป็นไปของโลกและสังคม ขาดวิสัยทัศน์ คาดการณ์ผิดพลาด
สุมาตร ภูลายยาว
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคนไทยจำนวนไม่น้อยคงได้ดีใจกับเหรียญทองเหรียญแรกในกีฬาโอลิมปิก แต่ในความดีใจนั้นก็มีความเศร้าใจปะปนมาด้วย และความเศร้าใจก็เดินทางมาพร้อมกับความสูญเสียจำนวนมหาศาลที่คิดเป็นมูลค่าของเงินแล้วไม่ตำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ความเศร้าใจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำโขงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และที่สวนไร่นาจำนวนมหาศาล ที่บอกว่าเหตุการณ์อันกำลังเกิดขึ้นเป็นความเศร้าใจนั้น เพราะพืชผลทางการเกษตรจำนวนไม่น้อยกำลังอยู่ในช่วงรอการเก็บเกี่ยวผลิต บ้างก็กำลังเริ่มให้ผลผลิต ในจำนวนผู้คนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ดูเหมือนว่าในส่วนของประเทศไทย พื้นที่ที่เกิดความเสียหายเป็นแห่งแรก คืออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และพื้นที่สุดท้ายคืออำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ได้รับการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ บางคนคงเกิดคำถามขึ้นมาว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำโขงท่วมครั้งนี้ก่อความเสียหายเป็นวงกว้างมากมายขนาดนี้
สร้อยแก้ว
ฉันถ่ายรูปไพจิตรไว้หลายรูปทีเดียว จนอดไม่ได้ที่จะเขียนถึงเธออีกครั้ง ด้วยความที่เธอบริสุทธิ์เหลือเกิน บ้านของไพจิตรอยู่ในหมู่บ้าน แต่เธอและครอบครัวมักชอบไปนอนเถียงนาที่มีวัว ควาย หมู หมา ไก่ เป็นเพื่อน ในหมู่บ้าน บ้านเรือนมักจะปลูกติดๆ กัน อันเป็นธรรมดาของสังคมหมู่บ้าน ซึ่งสมัยก่อน บ้านเรือนอาจปลูกไม่ชิดกันมากขนาดนี้ แต่เมื่อลูกหลานสร้างครอบครัวกันขึ้นมาใหม่ เริ่มปลูกบ้านหลังใหม่เพิ่ม ลักษณะหมู่บ้านจึงดูหนาแน่นขึ้น ครอบครัวของพ่อสนซึ่งรักความสันโดษเลยพากันไปนอนเถียงนาที่แสนจะเงียบสงบ อากาศเย็นสบาย และฉันก็มักไปนอนที่นั่นด้วยบ่อยๆ
พันธกุมภา
มีนา  ถึง พันธกุมภา พี่กำลังจะเป็นคนตกงานค่ะ... ฉันกำลังจะเป็นคนตกงานค่ะ เดือนสิงหาคมนี้เป็นเดือนสุดท้ายสำหรับการทำงานอย่างเป็นทางการของฉัน ญาติพี่น้อง... เจ้านาย... เพื่อนร่วมงาน... เพื่อน... ต่างเป็นห่วงเป็นใยกลัวว่าพี่จะว่าง กลัวว่าฉันจะไม่มีงานทำ ไม่มีเงินใช้ ตอนที่ฉันทำงาน พวกเขาต่างให้ความห่วง ความกังวล ว่าฉันทำงานหนักเกินไป  คนและสังคมสมัยนี้ให้คุณค่ากับการทำงานมากกว่าคุณค่าของความว่างงาน พี่เคยมีประสบการณ์การตกงานมาก่อนหน้านี้แล้ว ครั้งนั้นพี่ยังไม่สามารถปล่อยวางเรื่องการว่างงานได้ แต่ครั้งนี้ พี่พยายามปล่อยวางเรื่องการงานในปัจจุบันเพื่อพบกับความว่าง หลายเดือนที่ผ่านมานี้ พี่ทำงานแทบไม่มีวันหยุด สภาพการใช้ชีวิตของคนในกรุงเทพมหานครเต็มไปด้วยภาระการงาน การทำงานอยู่ในสำนักงาน 8 ชั่วโมงการทำงาน เดินทางไม่ต่ำกว่าวันละ 2-3 ชั่วโมง คนที่อยู่ในเมืองนี้มีชีวิตเพื่องานและความไม่ว่างอย่างแท้จริง เพราะแม้แต่การนั่งรถและเดินทางก็ยังต้องโทรศัพท์เพื่อติดต่องาน ทำงานนอกเหนือเวลาที่อยู่ในสำนักงานอีกด้วย
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
มาชา
พระดีนะ คนขายพระ บอกกับพระเลือกเลยนะ พระเพิ่งมาก่อนหน้านี่คราบยังเขรอะโคลนยังครองรับรองดีตื่นตีสี่ เที่ยวงมร่อน เสาะช้อนมาเชิญหลวงพี่ เดินดูได้ แผงไหนมีพระขุนแผนเลยนะนี่เซียนเสาะหาจับไว้ปล่อยเอากำไรไม่ผิดนาอย่างขี้-ขี้ก็หลักห้า ถ้าพูดดี แผงพระแบกะดินข้างวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯพฤษภาคม ๕๑
dinya
ในช่วงนี้ คำว่า Storm Surge หรือ Tidal Surge หรือที่ไทยเรียกว่า คลื่นพายุซัดฝั่ง น่าจะทำให้ใครๆ วิตกอยู่บ้าง เพราะมีความคล้ายคลึงกับการเกิดสึนามิ มีรูปแบบการเคลื่อนตัวของคลื่นขนาดใหญ่พัดเข้าชายฝั่ง แต่ที่แตกต่างกัน คือ สึนาเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ของแผ่นดินไหวใต้ทะเล ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์ แต่ Storm surge จะเกิดขึ้นโดยมีตัวแปรจากพายุ หลังจาก ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกมาเตือนให้รับมือกับภัยพิบัติในกรุงเทพฯ และถึงกับประกาศลาออกเพราะไม่มีหน่วยงานสนใจเรื่องนี้ ผู้เขียนเลยคิดถึงคำว่า “ถ้า” ซึ่งมีความหมายได้สองอย่าง คือ ให้สบายใจเพราะอาจจะไม่เกิดก็ได้ อีกด้านคือไม่น่านิ่งนอนใจเลย แม้ Storm Surge จะเกิดหรือไม่ ในข่าวก็ยังมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนทฤษฎีที่จะก่อให้เกิดภัยพิบัติร้ายแรงอยู่หลายประการทีเดียว เราลองไปดูกันกว่าค่ะ ว่าเหตุผลเหล่านั้นมีอะไรกันบ้าง
แสงดาว ศรัทธามั่น
ฉันนั่งนิ่ง ณ สถานที่แห่งหนึ่งในตัวเมือง ยามพรรษาฤดู แห่งดินแดนล้านนาอิสรา สายฝนโปรยปราย - โปรยปรอย ยามเช้า...เอนหลังพิงพนักเก้าอี้ไม้โครงเหล็กเก่าคร่ำคร่า ... น้องแมวสีเหลืองกระโดดขึ้นมามาบนโต๊ะมาทักทาย ฉั น - - - เหมียว... เหมียว... เหมียว.... นัยน์ตาสีเหลืองอ้อนมองดวงตาฉัน ฉันให้ปลาทูแด่เธอ ฉันเพิ่งเดินอออกไปซื้อที่ปากซอยข้างนอก และแล้วก็มีน้องแมวดำ และน้องหมาขาวเดินเข้ามาทักทายฉัน ฉันก็ให้ปลาทูแด่เธอทั้งสอง - - -ณ บ้าน - ร้านนี้ เจ้าของร้านและเพื่อนๆ ที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยกัน เจ็ด, แปดคน ... พวกเขาเป็นคนใจบุญ - รักสัตว์... หมา แมว นก หนู กา ไก่ ฯลฯ เ ค ย มีคนเอาแมวมาปล่อย เขารักสัตว์เลี้ยงจริงหรือ ? เจ้าของแมวที่เอามาปล่อยหน่ะ... แต่เจ้าของร้านนี้เขาก็เอ็นดูเลี้ยงไว้หมด
กวีประชาไท
อย่างช้าช้า…ฟองทะเลเขียวฟ้าจากค่ำเช้าค่อยม้วนตัว จากไกล จนใกล้เราพาและพรากหนักเบา วาดทรายนวล… อย่างช้าช้า…ตะวันทอสาดทิวาหอมหวนค่อยปรายแสงสะท้อนทะเลสะท้านอบอวลค่อยกลมค่อยอ้วนเข้าห่มทั่วผืนทราย… แหละชีวิตคงเช่นกันอย่างช้าช้า สามัญ คล้ายคล้ายอย่างตะวัน จันทร์ อย่างหาดทรายช้าช้าในวนว่ายหากนิรันดร์ จึงอีกนิดนะ, ชีวิตผ่านพบเจอรอถูกผิดล้วนจริง ฝันจึงอีกนิดนะ, คืน วันดี – บ้า, สารพันเถอะรับเรื่องราว… เพราะสุดท้ายก่อนท้ายสุดชีวิตย่อมสุข เศร้า วิกล วิกฤต ร้อน หนาวดั่งเกลียวคลื่น หนา บาง สั้น ยาว...และไม่นาน, ฟองพราวพรายก็ซบคืนสู่ทรายอย่างช้าช้า…   ฐากูร บุญสุวรรณ  
โอ ไม้จัตวา
 แทบไม่ต้องเขียนอะไรกับเพลงบทนี้ ขุนเขายะเยือก ชื่อเดียวกับหนังสือเล่มหนึ่ง ผลงานการประพันธ์เพลง และขับร้องโดย นิด ลายสือ หนุ่มอุดร ผู้ขับขานเพลงในท่วงทำนองแปลกหูแต่เนื้อหาต้องหยุดฟัง และบังเอิญมีภาพถ่ายอยู่ชุดหนึ่ง ถ่ายที่แม่น้ำแยงซีเกียง เมื่อคราวไปเยือนเมืองลี่เจียงหลายปีก่อน จุดที่อยู่นี้อยู่ที่ความสูงประมาณ 5 พันเมตรจากระดับน้ำทะเล สูงกว่าดอยอินทนนท์หนึ่งเท่า เป็นแม่น้ำแยงซีเกียงช่วงต้น ๆ
คนไม่มีอะไร
    ชาวปัตตานีไม่คิดต่อต้าน  "ฮาลาล"  แต่...เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้ลงไปสัมผัสพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสภาวะความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัด ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจไม่รู้ว่า "ปัตตานีกำลังจะกลายเป็นครัวอาหารฮาลาลสู่ระดับโลก" ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) และภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล จังหวัดชายแดนภาตใต้ ปี 2552-2555 ครัวฮาลาลแห่งนี้จะกินพื้นที่บริเวณอำเภอสายบุหรี่ และพื้นที่อำเภอปะนะเระ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างโดยประมาณทั้งหมด 933 ไร่ และจะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  รูปที่1 เป็นเครือข่ายที่ส่งออกอาหารไปทั่วโลก                                                                             "ฮาลาล" เป็นสิ่งที่จะเกิดบนพื้นที่ ที่กล่าวมาข้างต้น สำหรับคนมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัด หรือมุสลิมทั่วโลกคงไม่มีใครที่จะปฎิเสธคำว่า "ฮาลาล" ออกไปจากชีวิตของเขาได้ เพราะ "ฮาลาล"เป็นสิ่งที่ดี บริสุทธิ์ ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการผลิต  การให้บริการ หรือการจำนายใดๆ ดังนั้น อาหารฮาลาล  จะต้องเป็นอาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ปรุง ผสม ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนาบัญญัติ เป็นการหลักประกันว่ามุสลิมทั่วโลกบริโภคได้จากโครงการที่จะเกิดขึ้นนี้ชาวบ้านในพื้นที่ไม่คิดต่อต้านแต่ชาวบ้านกำลังจะเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลแห่งชาติ เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับบริษัท ฟาตอนี อินดัสทรีส์ จำกัด  นิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ต้องเกิดขึ้นด้วยกระบวนที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ไม่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินของเขตนิคมฯ การจัดการทางสังคมก็ต้องถูกต้อง สถานการณ์ในชุมชนหรือคนในพื้นที่โดยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอาคารขนาดใหญ่ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะในนี้เป็นสำนักงานของโครงการนี้ ชาวบ้านไม่เคยได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนิคมฯ ชาวไม่เคยรับรู้ว่าโครงการดำเนินการไปถึงไหนแล้ว? ชาวบ้านไม่เคยรับรู้ว่าเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลก่อตั้งบนเนื้อที่กี่ไร่?  ชาวบ้านไม่เคยรับรู้ว่าโครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง? ความเป็นมาของโครงการเมื่อ 29-31 มีนาคม 2545  ณ จังหวัดนราธิวาส  การประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการนอกสถานที่ครั้งที่ 3  ที่ประชุมมีความเห็นว่า  ควรเร่งรัดพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตร  สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล และมอบหมายให้นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น)  รับผิดชอบการทำอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  โดยส่งเสริมให้ภาคใต้เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับผิดชอบในการจัดทำมาตรการและแผนในการแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการสร้างนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลที่ปัตตานี และเมื่อ 24 กันยายน 2545  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนากิจกรรมอาหารฮาลาลครั้งที่ 1/2545  วันที่ 25 เมษายน 2545 (ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้ภาคใต้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล)  มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินและจังหวัดปัตตานี ศึกษาความเหมาะสมและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการพัฒนานิคมในตอนนี้ก็มีชาวบานบางส่วนที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร ชาวบ้านเองก็เริ่มไม่แน่ใจในความเป็น อาหารฮาลาล เพราะว่าข้อมูลทางด้านการจัดการสิงแวดล้อม ข้อมูลในการจัดการทรัพยากรท้องถิ้นไม่แน่ชัดและยังไม่ชัดเจน อาชีพในชุมชน และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนจะเดินไปอย่างไร? เมื่อโครงการนี้เกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลตรงจุดนี้ก็ยังไม่ชัดเจน ทำให้ชาวบ้านเริ่มที่จะเรียนรู้ความเป็นมาของโครงการนี้ ริเริ่มค้นหาความเป็นฮาลาลและปฎิเสธความไม่เป็นฮาลาลในโครงการดังกล่าว และพร้อมที่จะปกป้องสิทธิชุมชน ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ตามมาตราที่ 67 ได้รองรับว่า ถ้ามีโครงการใดที่มีผลกระทบต่อประชาชน หรือชุมชน ประชาชนและชุมชนมีสิทธิ์ที่จะประเมินโครงการนั้นด้วยรูป แสดงอาเขตโดยรอบของเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลรูป บริเวณการก่อสร้างอาคารสำนักงานของเขตนิคมฯรูป การดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงานของนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลรูป อาชีพในชุมชน การต้มปลากะตั๊กรูป การตากปลากะตั๊กรูป การตากปลาเพื่อทำปลาแห้งแดดเดียวรูป แหล่งท่องเที่ยวหาดแฆแฆ ตั้งอยู่ใกล้กับเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลรูป ชายหาดหน้าถนนบริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลรูป ความอุดมสมบูรณ์ของป่าพรุในเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม