Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร) มีการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นมอญ ในวันสำคัญต่างๆไม่ว่าจะเป็นวันสำคัญทางศาสนา หรือ เทศกาลต่างๆ  โดยเฉพาะงานวันชาติมอญ ซึ่งเป็นวันที่แรงงานมอญทุกคนจะพร้อมใจกัน การแต่งกายแบบมอญ หรือ ชุดประจำชาติ ซึ่งเป็นที่รับรู้ว่า ผู้ชายต้องสวมใส่ โสร่งแดง เป็นโสร่งพื้นแดงลายตารางคล้ายคันนามีแถบขาวคาดที่กลางผืน และแถบขาวนี้เองก็กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้โสร่งมอญแตกต่างจากโสร่งของพม่า  ส่วนเสื้อนั้นมีลักษณะสีขาวหรืออาจจะมีลายตารางสีแดงบนพื้นขาว คอกลมแขนยาวผ่าหน้าผูกเชือก  ส่วนผู้หญิงต้องนุ่งผ้าถุงแดง ลักษณะผ้าถุงเป็นลายดอกบนพื้นแดงมีเชิง ส่วนเสื้อมีลักษณะเป็นเสื้อสีขาว หรือ สีชมพูอ่อนแขนยาว คอกลมผ่าหน้าผูกเชือก ชายเสื้อค่อนข้างยาวปิดสะโพกเพื่อให้แตกต่างจากเสื้อผู้หญิงพม่า  คนมอญเชื่อว่าการแต่งกายด้วยชุดประจำชาติมอญนั้นเป็นการแสดงถึงความรักชาติ และแยกตัวออกจากความเป็นพม่า มิอู อายุ ๒๕ ปี คนมอญหมู่บ้านฮะปลาง จังหวัดมะละแหม่ง ประเทศพม่า ทำงานที่สมุทรสาครประมาณ ๑๒ ปี กล่าวว่า"....ถ้ามอญแต่งชุดมอญแสดงว่ารักชาติ ถ้าไม่แต่งชุดแบบนี้เขาก็ดูไม่ออก อันไหนมอญอันไหนพม่า...." (๑)
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศในบ้านเริ่มคึกคักมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีเสียงเตหน่าบรรเลงในบ้านไม่เว้นแต่ละคืน  บางคืนเป็นเสียงเตหน่า ลายเดิมที่ผู้เป็นพ่อเป็นคนถ่ายทอด  แต่บางคืนมีเสียงเตหน่าลายแปลกออกมาจนผู้เป็นพ่ออดไม่ได้จนต้องเงี่ยหูฟัง  นานแล้วที่เจ้าของเสียงเตหน่ากูห่างหายไปจากการร่ำเรียนวิชาจากพ่อ  แต่วันนี้เขากลับมาหาครูผู้สอนเตหน่ากูของเขาอีกครั้ง แน่นอนมันต้องมีอะไรบางอย่างสงสัยจึงต้องมา"พ่อผมจะไปล้มไม้มาทำเตหน่ากู ควรจะหาไม้อย่างไรดี" ประโยคแรกที่เขามาถามพ่อ"จริงๆ แล้วไม้อะไรก็ได้ทั้งนั้น ขอให้เป็นไม้ที่โค้งงอ แต่คนสมัยก่อนเขานิยมใช้ไม้เก่อมา หรือภาษาไทยเรียกว่าไม้ซ้อ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นไม้ที่เหนียวแต่เบา เหมาะสำหรับการมาทำเป็นเตหน่ากูที่สุด" พ่อตอบ"เก่อมาใช่มั้ย? พ่อ ดีล่ะ ที่ขุนห้วยโกะแชแยคีมีเก่อมาหลายต้นพรุ่งนี้ผมจะไปหาต้นดีๆ มาทำเตหน่ากูซักสี่ห้าต้น" เขาบอกกับพ่อ"เฮ้ย!! ล้มมั่วไม่ได้นะ การทำเตหน่านั้นเขามีข้อห้ามอยู่นะ" พ่อทัดทาน"ข้อห้ามอะไรอีกละครับ แค่ล้มไม้มาทำเครื่องดนตรี" เขาไม่เข้าใจในสิ่งที่พ่อบอกเขา
วาดวลี
ทั้งที่แค่เป็นเวลาบ่าย แต่บ้านของเราไม่มีแสงแดด ก้อนเมฆหนาทึบขนาดมหึมาเคลื่อนเร็วเหมือนคลื่นน้ำ แผ่ความเย็นให้วันธรรมดาในฤดูฝนเย็น ให้จับใจขึ้นไปอีก   แน่นอนว่าคนใต้ฟ้าแถวบ้านฉันไม่ได้กลัวเปียก แต่พวกเขากลัวน้ำท่วม แม้ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา คนข้างบ้านฉันยืนยันเป็นมั่นเหมาะว่า “ที่นี่น้ำไม่ท่วม” เขาบอกว่าเราเป็นตำบลที่อยู่ตรงกลางระหว่างน้ำปิงของเชียงใหม่และลำพูน โดยมีจุดชลประทานอยู่เหนือหมู่บ้าน มีประตูน้ำ ดังนั้นหากน้ำมามากเกินไป ก็จะมีการปิดประตูน้ำ ที่บอกว่ากักเก็บน้ำได้มากโข ความจริงฉันเชื่อในระบบชลประทานหมู่บ้าน แต่สิ่งที่ฉันไม่เชื่อมั่นคือปริมาณน้ำฝนและอากาศที่แปรปรวนเกินไปต่างหาก วันที่เทาทึมพาคนมาจุกตัวกันที่แผงขายผัก ต่างสนทนาสารพันเรื่อง วันนี้ฉันแค่แวะซื้อขนมชั้นเพียงห่อเดียวเพื่อรองท้องก่อนออกไปข้างนอก เสียงขี้เมาคนหนึ่งโวยวายอยู่ข้างถนนทำเอาฉันสำลักขนม บางคนทำตาโตมองไปยังชายเฒ่าผู้นั้น เขามีอะไรทุกข์ใจหรือหงุดหงิดก็ไม่มีใครรู้ได้ รู้แต่ว่าฉันกำลังสะอึก และมองหาตู้แช่เพื่อจะซื้อน้ำสักขวด
dinya
เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว (2550) ช่างภาพชาวรัสเซียผู้หนึ่ง อ้างว่าหลังจากไปเดินเล่นที่ท่าเรือในทะเลแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของอเมริกาอยู่ดีๆ เขาก็เห็นแสงส่องลงมาจากฟ้าซึ่งมีก้อนเมฆเคลื่อนตัววนไปมาแปลกๆ จากนั้นไม่นานก็เกิดพายุงวงช้างพุ่งลงทะเล เขาได้นำสองภาพนี้มาแปะไว้ในเวบบล็อก ที่ชื่อ www.englishrussia.com ซึ่งมีผู้ชมมาวิจารณ์กันว่า นี่เป็นเพียงภาพที่ถูกตกแต่งด้วยโปรแกรม Photoshop เท่านั้นเอง ไม่ใช่ภาพที่จะถ่ายได้จริงๆ หากแต่ช่างภาพรัสเซียนั้นอธิบายว่านี่เป็นภาพที่สร้างจำลองขึ้นจากสถานที่จริงและวินาทีที่เขาได้พบจริงๆ ถึงไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า แต่พออ่านเจอเรื่องนี้เลยอดคิดไม่ได้ว่า ก่อน  “พายุ” จะเกิดนี้ จะมีสัญญาณบอกเหตุอะไรบ้างไหมนะ ในเมื่อกระแสลม อากาศ อูณหภูมิที่สัมพันธ์กันทั้งหมด วูบนั้นผู้เขียนนึกถึงตอนเด็กๆ ที่น้ำท่วมบ้านบ่อยจนพ่อวิตกกับฟ้าฝนเป็นพิเศษ จึงมักจะสอนให้สังเกตท้องฟ้าว่า ถ้าท้องฟ้าเป็นสีแดงส้มหรือแดงเพลิง นั่นเป็นลางไม่ดีนัก อาจจะมีพายุเร็วๆ นี้ แม้ไม่มีคำอธิบายมากนัก แต่ก็จำมาโดยตลอด
Music
    ขึ้นหัวไว้ไม่ได้หมายความว่าตัวผมเองกำลังหลบหน้าหลบตาไปอยู่ที่อยุธยาแต่อย่างใด ช่วงที่หายไปเพราะจำต้องไปปฏิบัติภารกิจทั้งส่วนตัวและไม่ส่วนตัว พอได้จังหวะแล้วจึงเข้ามาเขียนงานที่ห่างหายไปนานอีกครั้ง หลายคนคงนึกได้แล้วว่าหมายถึงผลงานใหม่ของมาโนช พุฒตาล ซึ่งผมได้ซีดีผลงานล่าสุดของเขา ทั้งสองชิ้นมาพร้อมกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสได้ฟังเมื่อไม่นานมานี้เอง สิ่งที่ผมหวังจากชื่อมาโนช พุฒตาลคือตัวงานดนตรีหลังจากที่เขาห่างหายจากการออกอัลบั้มเพลงไปพักนึง ("ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย" เหมือนออกมาให้หวังอะไรบางอย่างเล่น ๆ แล้วก็หายไป) เราอาจได้รู้จักเขาในฐานะนักจัดรายการวิทยุในคลื่นที่ปิดตัวลงไปแล้ว ใครหลายคงติดใจในท่วงท่าลีลาการจัดรายการของ "บุตรนายเฉลียวกับนางอำไพ" คนนี้ ขณะที่บางคนอาจคิดถึงเขาในฐานะคนทำดนตรี โดยเฉพาะแนวโปรเกรสซีฟ ร็อค อย่างอัลบั้ม "ในทรรศนะของข้าพเจ้า" ที่คมคายทั้งเนื้อหาและตัวเพลง แล้วเชื่อได้ว่าต้องมีคนที่ชื่นชมตัวเขาในทั้งสองบทบาทผมเปิดแผ่นลำดับที่หนึ่ง "อยู่อยุธยา" เล่นไปในขณะที่ครุ่นคิดถึงเจตนาว่าทำไมมาโนช พุฒตาลที่มีต้นทุนทางสังคมอยู่พอสมควรถึงเลือกทำงานแบบต้นทุนต่ำ ทำแบบ Self-Release ไม่พึงพาค่ายใด หรือเป็นเพราะบริบททางธุรกิจดนตรีในปัจจุบัน ทำให้เลือกเล่นกับพื้นที่ที่ต่างออกไป คิดในแง่ร้ายกว่านี้หน่อยคือนี่เป็นช่องทางเดียวที่เหลือ  (ในครั้งนี้ผู้เขียนเองขออนุญาตใช้รูปแบบถ่ายเองนะครับ เนื่องจากรูปอัลบั้มสองอัลบั้มนี้หายากมากอาจจะดูขัด ๆ ตาหน่อย ) ผลงานลำดับที่หนึ่ง  "อยู่อยุธยา" เป็นงานเดี่ยวที่แบ่งเป็นสองแทร็ก แทร็กแรกเป็นเพลงที่เจ้าตัวบอกว่าเอาเพลง "อยุธยา" (เมืองเก่าของเราแต่ก่อน) มาร้องเล่นจนแปลงเนื้อเป็นของตนเองกลายเป็นเพลงยาวสิบนาที (มีแทรกเล่าเรื่องในช่วงกลางเพลง) ส่วนแทรกที่สองยาวยี่สิบกว่านาที จริง ๆ แล้วตัวเพลงเป็นเพลงเดียวกับแทร็กแรกแต่คราวนี้ตัวอาซัน (มาโนช) เองออกมาพูดอธิบายความเพิ่มเติมในแต่ละท่อนด้วยด้วยความเป็นงานแบบอะคูสติกแบบเรื่อย ๆ ที่ไม่มีการเล่นแบบร็อคที่หนักแน่น หรือการเรียบเรียงที่ซับซ้อนสำหรับผู้ที่หวังจะได้ฟังงานแบบเดียวกับอัลบั้ม ".ในทรรศนะของข้าพเจ้า" คงมีผิดหวังกันไปบ้าง แต่สำหรับคนที่ชอบแกจัดรายการวิทยุ เจอเล่นไปพูดไปแบบนี้คงหายคิดถึงกันไปหลายโยชน์ อย่างไรก็ดี บรรยากาศของเพลงโฟล์คแบบ "มาเดี่ยว" ของแกก็ยังมีเสน่ห์ไปอีกแบบ ไม่นับว่าเนื้อเพลงนี้ฟังก็รู้ว่าเขียนออกมาจากใจ ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่เล่าเรื่องได้เห็นภาพ มีแกมขี้เล่นเสียเล็กน้อย เคร่งขรึมขึ้นบ้างในช่วงหลัง เขาเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงของอยุธยาเมื่อ 20 ปีที่แล้วกับปัจจุบัน แน่นอนว่าตัวเพลงมันต้องสะท้อนและวิพากษ์สภาพในปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็มีอารมณ์แบบโหยหาอดีตกวักมือเชื้อชวนอยู่อย่างเสียมิได้ ผมฟังไปต้องระวังไป เพราะแม้จะไม่ได้อยู่อยุธยาเอง แต่ภาพสวย ๆ ของอยุธยาเมื่อยี่สิบปีที่แล้วจากถ้อยเสียงบอกเล่าของอาซันมันก็ชวนให้ถูกฉุดไปอยู่ในเวลานั้นแล้วปฏิเสธปัจจุบัน ผมชอบเนื้อเพลงที่ฟังดูมาจากใจ แต่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเห็นด้วยเสียหมดอัลบั้มลำดับแรกเป็นเหมือนการทักทายเรียกน้ำย่อยก่อนจะมาถึงอัลบั้มลำดับที่สอง ที่คราวนี้ร่วมทำงานกับ สมพงศ์ ศิวิโรจน์ อดีตมือกีต้าร์วงมาลีฮวนน่า ในชื่อที่ตรงไปตรงมาเอามาก ๆ อย่าง "มาโนช พุฒตาล บุตรของนางเฉลียวกับนางอำไพ & สมพงศ์ ศิวิโรจน์ บุตรของนายเลื่อนกับนางซุ่นลิ่น"ในอัลบั้มนี้มีเพลง 4 เพลง และมีการพูดคุยถึงเบื้องหลังและแรงบันดาลใจในรูปแบบกึ่ง ๆ รายการวิทยุอีก 3 แทร็ก ต่อกัน อย่างเพลง "(กนกพงศ์) คนฟังเสียงฝน" ที่นอกจากจะเป็นเหมือนเพลง Tribute ให้กับกนกพงศ์ สงสมพันธ์ ผู้จากไปแล้ว ทางอาซันเองก็บอกว่ามันแต่งออกมาจากความประทับใจในเวลาได้ฟังเสียงฝนด้วย ดนตรีในเพลงนี้มีท่อนเวิร์สที่ฟังแล้วชวนให้นึกถึงโฟล์คนิ่ง ๆ ของ นิค เดรก แถมยังได้กีต้าร์ติดบลูส์แซมมาอย่างได้อารมณ์ในส่วน "เพลงช้าง" เป็นเพลงที่มาจากแรงบันดาลใจของ สมพงศ์ ศิวิโรจน์ ที่เริ่มมาจากการตั้งคำถามว่าขณะที่มีคนบอกว่าช้างใกล้สูญพันธุ์ แต่กลับเจอช้างอยู่ได้บ่อย ๆ ตามถนนหนทาง เริ่มมาก็เว่ากันซื่อ ๆ และสมพงศ์เองก็เล่นยังคงเล่นบทบาทเว่ากันซื่อ ๆ ตลอดทั้งเพลงจึงให้อารมณ์แบบเพลงพูดขี้เล่น ๆ อยู่อย่างเสียมิได้ หีบเพลงปากกับเสียงคอรัส มีช้าง-มีช้าง-มีช้าง ยิ่งช่วยขับเน้นความขี้เล่นเสียจนอาจทำให้รู้สึกฉงนฉงายว่าต้องการสื่อเรื่องช้างหรือมากกว่านั้น แม้จะได้ฟังเจ้าตัวพูดถึงแรงบันดาลใจเอง ก็ยังไม่ค่อยเชื่ออยู่ดี ดันไปรู้สึกว่าเขาพูดความจริงไม่หมดเสียนี่"บอกดวงจันทร์ฉันเหนื่อย" เป็นเพลงเรียบ ๆ ที่ผมดันฟังแล้วชอบเอามาก ๆ อาซันบอกว่าเนื้อเพลงนี้เริ่มมาจากอารามอยากมีเพลงที่พูดถึงดวงจันทร์อย่างศิลปินอื่น ๆ เขาบ้าง (เช่น Cat Steven มี Moonshadow อะไรแบบนี้เป็นต้น)  เนื้อเพลงที่พูดถึงทั้งความรักและชีวิตในแบบคนที่ผ่านโลกมานาน แม้เพลงจะจบได้แบบยังไม่ถึงฝั่งเท่าไหร่ก็ตาม"อย่าสิ้นหวัง" เป็นโฟล์คมาตรฐานสุด ๆ มีทั้งเนื้อหาและดนตรีที่อาจหาฟังได้เมื่อสัก 10-20 ปีมาแล้ว ไม่รู้ว่าจงใจหรือเป็นเพราะเสียงร้องของสมพงศ์ ด้วยหรือเปล่าที่ทำให้รู้สึกว่าเพลงนี้มันแอบ Lo-fi ทำให้ยิ่งเหมือนกับกำลังฟังจากเทปคาสเซทท์ยังไงอย่างนั้น เหมาะกับคนที่ชอบอะไรแบบโอลดี้วินเทจจ์ดีจริงในอัลบั้มหลังนี้ยังคงเป็นโฟล์คที่มีทั้งความขี้เล่นและลุ่มลึก อาจจะดูมีอะไรเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาหน่อย ช่วงพูดคุยในตอนหลัง (ซึ่งยาวกินเวลาเกินครึ่งแผ่น) ฟังดูธรรมชาติเป็นกันเอง ทั้งมาโนชและคุณสมพงษ์เองยังพอกันตั้งคำถามกลัวว่าการที่ออกมาพูดถึงแรงบันดาลใจในเพลงต่าง ๆ มันจะจำกัดจินตนาการ จำกัดการตีความของคนฟังหรือเปล่า ผมก็แอบตอบให้ตรงนี้เลยว่า สำหรับผมแล้ว ไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่ มันอาจลดเสน่ห์ในความ "กำกวม" ไปบ้าง (แม้แต่เพลงช้างที่สุดจะตรงไปตรงมา...เว้ากันซื่อ ๆ ขนาดไหน ผมเองก็ยังไม่วายสงสัยว่ามันต้องแอบซ่อนอะไรอยู่) แต่ก็ทำให้งานดูกระจ่างแจ่มแจ้งดี อีกนัยหนึ่งก็แสดงความใกล้ชิดระหว่างผู้ผลิตกับผู้เสพงาน ยิ่งแทร็กที่พูดถึงแรงบัลดาลใจใน "อยู่อยุธยา" นี้ ยิ่งทำให้รู้สึกตัวเพลงดูมีพลังขึ้นด้วยซ้ำการเผยถึงแรงบันดาลใจจะไม่เป็นปัญหาตราบใดที่มันไม่ถูกผูกขาดทำให้เป็น "ความจริงหนึ่งเดียว"และผมเป็นคนเชื่อว่า ผลงานนั้นแยกออกมาจากตัวศิลปิน หากมีใครตีความเนื้อหาแย้งไปจากที่ศิลปินออกมาบอกเอง ก็ไม่ใช่เรื่องผิด เผลอ ๆ ความเห็นของเขาอาจจะสะกิดให้ตัวศิลปินเองนึกอะไรบางอย่างเพิ่มเติมออกก็ได้ผมถึงคิดว่า "อยู่อยุธยา" จึงเป็นอัลบั้มที่เหมาะแก่การพักผ่อนสำหรับคนที่เจอเรื่องยุ่งยาก และยังคงรู้สึกยากลำบากกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย (ผมเองก็เป็น) ให้ได้เห็นภาพอดีตหวาน ๆ (ที่ตัวเองไม่ได้เป็นเจ้าของ) ชั่วคราว แล้วก็ตื่นขึ้นมาต่อสู้กับกงล้อของการเวลาที่หมุนต่อไป..ในโลกที่ไม่มี "ความจริงหนึ่งเดียว" ให้ต้องเชื่อตามอีกแล้ว
สร้อยแก้ว
ดาวใจและไพจิตร เป็นชื่อของเด็กหญิงสองพี่น้อง ลูกสาวแม่พร พ่อสน คนดูแลสวน-สถานที่ของศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้าน พ่อสนมีลูกทั้งหมดสิบคน ลูกชายสองคนก่อนหน้าดาวใจ ไพจิตร ชื่อไมโคร และ นูโว นัยว่าพ่อท่าจะชอบเสียงเพลงมากถึงตั้งชื่อลูกเป็นชื่อศิลปินนักร้อง ตอนนี้ลูกๆ ของพ่อสนที่ไม่ได้เอ่ยนามล้วนออกเรือน มีครอบครัว บ้างเสียชีวิต ลูกๆ ที่ยังอยู่กับพ่อสน แม่พร จึงมีสี่คนที่ว่า (ส่วนลูกชายอีกคนหนึ่งของพ่อสนที่เคยโด่งดังในม็อบปากมูนเมื่อหลายปีก่อน จนหนังสือพิมพ์หลายฉบับต่างเขียนถึงและลงบทสัมภาษณ์ คือดาวไฮปาร์คเด็กที่ชื่อ เปาโล ตอนนี้เปาโลโตเป็นหนุ่ม แต่งงานมีลูกแล้ว) ดาวใจกับไพจิตร เป็นเด็กหญิงที่ร่าเริง แจ่มใส และเติบโตในครอบครัวที่อบอุ่นจริงๆ
สุทธิดา มะลิแก้ว
1 ทั้งๆที่มีทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่ที่นนทบุรีมามากกว่า 10 ปี แล้ว และก่อนหน้านั้นก็อยู่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น อุบลฯ ชลบุรี และอื่นๆอีกหลายแห่ง แต่เวลาที่มีใครก็ตามมาถามว่าเป็นคนที่ไหน (ไม่ได้ต้องการคำตอบแบบมุขตลกว่า ที่ไหนๆ ก็เป็นคนนะ) ผู้เขียนก็ตอบว่า “เป็นคนปัตตานี” แม้ว่าจริงๆ แล้วไปปัตตานีไม่เคยเกิน 7 วันต่อปีเลยสักครั้ง และบางปีก็ไม่ได้ไปเลยด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าการใช้ชีวิตอยู่ปัตตานีค่อนข้างน้อย มาถึงวันนี้ที่แม้มีบ้านเป็นของตัวเอง แต่ในยามที่เดินทางไปปัตตานี ก็จะเรียกว่า “กลับบ้าน” อีกเช่นกัน เรื่องการบอกว่าเป็นคนที่ไหนของไทยนั้น เชื่อว่าคนอื่นๆ ก็เช่นกันคงไม่พ้นต้องตอบตามที่เกิดของตนเอง หรือบ้านที่พ่อแม่อยู่ เพื่อนฝูง คนรู้จักส่วนใหญ่ หรือแม้แต่บุคคลสำคัญๆ ที่แม้ว่าจะอยู่กรุงเทพฯ มาตั้งแต่เด็กก็ยังบอกว่าตัวเองเป็นคนจากจังหวัดที่เป็นบ้านเกิด หรือคนกรุงเทพฯ ที่ย้ายไปอยู่ที่อื่นนานหลายสิบปีก็ยังเรียกตัวเองว่าเป็นคนกรุงเทพฯ อยู่นั่นเอง พูดถึงที่ปัตตานีบ้านเกิด ในวันนั้นเผอิญได้แวะไปแบบไม่ได้ตั้งใจกลับบ้าน แล้วบังเอิญอีกเช่นกันว่ามาตรงกับที่รัฐบาลประกาศปรับคณะรัฐมนตรีพอดี นั่งชมข่าวอยู่กับครอบครัว หลังข่าวจบก็มีเสียงระเบิดดังขึ้น 1 ชุด แต่ก็ไม่ได้เหนือความคาดหมายแต่ประการใดจากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมาของคนที่นั่นว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้น คนที่นั่นต่างเดาได้ว่า “นี่เป็นการระเบิดต้อนรับ ครม.ชุดใหม่” หมายถึงว่าหยั่งเชิงอำนาจดูว่า จะทำอะไรได้หรือไม่ (แล้วก็ไม่มีใครทำอะไรได้จริงๆ) 
มาชา
ถนนพระจันทร์ นำความฝันของข้ามาที่นี่ จากทุ่งแล้งแอ่งไร้คนใยดี ฝันริบหรี่ก็ต้องฝันด้นดั้นมา บางกอกกรุงไกรใหญ่กว้าง เคว้งคว้างล้าโรยโหยหา วันพรุ่งนี้เป็นอย่างไรไม่นำพา วันนี้ข้าขอนอนพักก่อนเอย ริมทางเท้าถนนพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ค.๕๑
แสงดาว ศรัทธามั่น
 “นากาแลนด์ --- NAGA LAND”เพื่อดินแดน แห่ง เสรีเริงระบำ บท เพลง ณ วันนี้เพื่อนพ้องน้องพี่อวยพรชัยให้ “NAGA LAND”“ลุกขึ้นสู้” เพื่อสิทธิ + เสรีภาพอิ่ม เอิบ อาบจิตวิญญาณนี้เหลือแสนโอ ... ผองเพื่อนมนุษย์ชาติทั่วด้าวแดนเปล่งขานบทเพลงแนบแน่นกล่อมพลังใจ“NAGA LAND == นากาแลนด์”ดวงใจนี้เหลือแสนสะอาด สด ใสสู้ เพื่อ สิทธิเสรีภาพ อ่า อำไพเพื่อโลกงามเพริศพิไลปลดปล่อยพลัน!=== เถิด ผองเพื่อนมนุษยชาติทั่วทั้งโลกเพลงสายลมโชยโบกพริ้มรังสรรค์โลก เอกภพ จักรวาล รับรู้พร้องใจกันหลอมชีวิตจิตวิญญาณตราบนิรันดร์เพื่อ ...”NAGA LAND” ด้วยรัก + พลังใจอ้าย”แสงดาว ศรัทธามั่น” ฤดูฝน , 27 กรกฎาคม 2551คราพี่น้องเพื่อนร่วมโลกชีวิต.. กวี ศิลปิน นาม “REBEN MASHANGVA”มาเปิด CONCERT “SING & BLUE” ณ บ้าน-ร้าน สุดสะแนน(แสนสนุกสุดเสน่ห์) **หมายเหตุ อ้ายน้อย... “อัคนี มูลเมฆ” อ้าย ..“แซม” เป็นผู้ประสานงานพาพี่น้อง “NAGA LAND” มาร่วมร้องเริงรำรื่น ขับ ลำ นำ เพลง เพื่อสิทธิเสรีภาพแห่งผองเพื่อนพี่น้อง ”NAGA LAND”
สุมาตร ภูลายยาว
๑.แม่น้ำสาละวินและระบบนิเวศแม่น้ำ -บทพูด- -มีคนบรรยายเกิ่นนำเรื่องแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำเนิดจากการละลายของหิมะในธิเบตแล้วไหลผ่านประเทศจีน,ไหลเข้าเขตรัฐฉาน,รัฐคะยาห์ และไหลเรื่อยมาเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่ารวมระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตร ก่อนจะสิ้นสุดพรมแดนไทย-พม่าที่บ้านสบเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินก็จะไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะบริเวณเมืองเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งของรัฐมอญ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๘๐๐ กิโลเมตร แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ ๒๖ ของโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองลงมาจากแม่น้ำโขงเท่านั้น ตลอดระยะการไหลของแม่น้ำสาละวินตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายน้ำ แม่น้ำสาละวินได้ไหลผ่านบริเวณพื้นที่ที่มีกลุ่มคนชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่า ๑๓ ชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เหล่านี้อยู่รวมกันเป็นสังคมทั้งตามที่ราบลุ่มริมแม่น้ำสาละวินและตามที่ราบลุ่มของลำห้วยสาขาของแม่น้ำสาละวิน หากเอ่ยคำว่า “แม่น้ำสาละวิน” บนพรมแดนไทย-พม่า หลายคนคงนึกถึงสงครามระหว่างชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ กับรัฐบาลทหารพม่า แต่เรื่องราวเกี่ยวกับแม่น้ำสาละวินและผู้คนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งน้ำบนพรมแดนไทย-พม่ากลับเป็นเรื่องที่เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ยากเต็มที บ่อยครั้งที่โครงการพัฒนาต่างถา-โถมเข้ามา ชุมชนหรือแม้แต่ผู้คนในชุมชนที่กล่าวมาทั้งหมดกลับได้รับการมองข้าม และละเลยที่จะมีการกล่าวถึง บ่อยครั้งเช่นกันที่ผู้เป็นเจ้าของโครงการพัฒนาต่างๆ ได้บอกกับสังคมภายนอกว่าบริเวณพรมแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำสาละวินนั้นมีคนอยู่จำนวนน้อย แต่หากว่าในความเป็นจริงแล้วมันกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะตามริมน้ำสาละวินและตามลำห้วยสาขาลึกเข้าไปในผืนป่าสาละวินทั้งทางฝั่งไทยและพม่ามีคนอาศัยอยู่จำนวนไม่น้อย
กวีประชาไท
By : http://www.bloggang.com/data/sweetcandy/picture/1138853657.jpg  (โคลงดั้นวิวิธมาลี) ไคลคราบศิลาขุ่นเศร้า           ไศลสงบ กลียุคก่นกลบ                      สมัยตื่น 'คมขลังควรคู่ อ-                  ธิฏฐานไหว้ อาลัยโลกร้างไร้                   แหล่งทิพกุลริษยาใครก่อนสร้าง               ศรัทธา ยืมหินผากอดหนุน                ห่มไข้ช่วงชิงแท่นบูชา                   หลงป่วย เพียงหินเทินซ้อนให้              ทิพย์เนา จรดอคติกั้น สะดวกแยก         เสบยแฮ กบาลแตกอวดเขลา              งั่งบ้า เพียงหิน,ลำบากแบก             ของกู ของกู ประตูใจแง้มอ้า ดั่งเทวดาลัย    กำรู กำมะลอฝัน                                            ชัยวัฒน์ พุ่มประจำ
โอ ไม้จัตวา
สำหรับเพลงนี้ฉันยกย่องประโยคนี้ ...“เขียวระบัดนุ่มราวไหมที่ทอคลุมไหล่ให้เธอ ห่มยามฟ้าเย็น” ชื่อเพลง แนวร้างทางเดิม ประพันธ์โดยคุณจรัล มโนเพ็ชร ขับร้องโดยคุณสุนทรี เวชานนท์ อยู่ในอัลบั้ม แด่หนุ่มสาวผู้ร้าวราน ฉันชอบเวอร์ชันที่เธอร้องปัจจุบันมากกว่าในซีดี เพราะมีความรู้สึกว่าเรื่องราวมากมายผ่านเข้ามาในชีวิตของเธอ หลอมรวม และผ่านการตีความจนทำให้ได้อารมณ์ที่แตกต่าง      ยามตะวันลา เหม่อยืนมองฟ้าเรืองรอง น้ำเปี่ยมฝั่งสอง ใบไผ่ลอยล่องเป็นแพ หอมข้าวใหม่อวดรวงไว้รอเธอมาเกี่ยวดูแล อยู่เต็มท้องทุ่ง

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม