Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

มาลำ
วันนี้แล้วที่ฉันต้องจากพ่อไป ไม่รู้อีกนานเท่าไหร่ กว่าเราจะได้พบกัน ความเป็นห่วงพ่อยังอัดแน่นอยู่เต็มหัวใจฉัน ถึงเวลาที่ฉันต้องกลับไปแล้ว เช้านี้ฉันเดินอยู่บนเส้นทางเดิมของโรงพยาบาล จากประตูห้องพ่อ เดินตรงไป ถึงบันได ลงไปชั้นล่างสุด เลี้ยวขวาถึงร้านกาแฟร้านแรก ฉันซื้อกาแฟสดหนึ่งถ้วย เดินออกมาจากร้านแล้วไปร้านขายตั๋วรถที่อยู่ทางขวามือ ตรงข้ามกับร้านกาแฟ เป็นร้านเดียวในโรงพยาบาลที่ขายตั๋วเดินทางทั้งรถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน คนขายถามฉัน เดินทางวันไหน ฉันตอบแล้วใจหาย พ่อนั่งมองฉันเก็บข้าวของสองสามอย่างใส่กระเป๋า อย่าลืมอะไรไว้นะลูก เก็บของให้หมดไม่ต้องรีบร้อนหรอก เหลือเวลาอีกตั้งนานกว่ารถจะออก
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) ทางด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศ โดยมีสาระสำคัญคือ การผลักดันให้ทุกประเทศสมาชิก พัฒนา ICT เพื่อใช้เป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
วันหนึ่งปลายฤดูหนาวของลอนดอน ณ Natural History Museum ย่าน South Kensington เมื่อหลายปีมาแล้ว ผมมีโอกาสได้ไปเดินชมนิทรรศการภาพถ่ายทางอากาศนิทรรศการหนึ่ง จำความรู้สึกของตัวเองขณะนั่งรถไฟใต้ดินไปที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ว่าตื่นเต้นอยู่ไม่น้อยที่กำลังจะได้ชมภาพถ่ายเหล่านี้ที่กำลังแสดงอยู่อย่างใกล้ชิด “Earth From Above” By Yann Arthus-Bertrand…สาเหตุก็คือเมื่อหลายปีก่อนหน้านั้นไปอีก ผมได้เห็นหนังสือชื่อเดียวกันนี้เป็นหนังสือปกแข็งขนาดเขื่องวางขายอยู่ในร้านหนังสือต่างประเทศในกรุงเทพฯ ภาพปกเป็นภาพสีเขียวขจีของดินแดนหนึ่งที่มีรอยโค้งเว้าของแผ่นดินซึ่งเมื่อมองลงมาเบื้องบนกลับดินแดนนั้นมีลักษณะเหมือนรูปหัวใจ เมื่อได้เปิดชมภาพงามๆ แสนจะน่ากังขาว่าช่างภาพสามารถเก็บภาพเหล่านี้มาได้อย่างไร ก็ทำให้ตกหลุมรักภาพถ่ายทางอากาศฝีมือช่างภาพหนุ่มใหญ่ชาวฝรั่งเศสคนนี้จนต้องรีบจดจำชื่อเสียงเรียงนามเขาเอาไว้ กระทั่งมีโอกาสได้ชมภาพเหล่านี้ที่ลอนดอนในอีกไม่นานปีต่อมา
แสงพูไช อินทะวีคำ
  มองฟากฟ้า นพาแจ่ม กระจ่าง ทางเบื้องบนเหมือนดั่งคน พ้นเคราะช้ำ ในกรรมเก่าพ้นจากทุกข์ พ้นจากเวร พ้นจากความเหงาทำให้เรา และท่าน เบีกบานใจ วันนี้แจ่ม วันหน้าหมอง ครองคู่กันผ่านคืนวัน ที่เศร้าหมอง แล้วสุขใจสลับเปรียน หมูนเวียน เช่นนี้ไปพอทนได้ เพราะคู่กัน ดังฉันและเธอ แต่ฟ้าแจ่ม เพียงหน้อยนิด ซิคิดมากทนลำบาก เพราะฟ้าครื้ม กระหื่มฝนขู่คำราม แผดเสียง อยู่เบื้องบนทำเอาคน ใต้ล้า หน้าเศร้าหมอง หลายคนแล ดูฟ้า นพาสลับนอนนั่งนับ เดือนปี ให้เปรียนผลเปรียนจากฟ้า คะนองกระหื่ม อยู่เบื้องบนให้เป็นผล งอกงาม ตามกฎเกณท์ วันใดหนอ ฟากฟ้า จะสดใสพอให้มวล พืชไม้ ได้เกีดผลเกีดไปตาม กฎเกณท์ ของความเป็นคนให้หลุดพ้น จากกงกรรม และกงเกวียน
สุมาตร ภูลายยาว
‘นายน้ำ’ เป็นคำเรียกคนขับเรือที่คนลาวใช้เรียกกัน กี่ชั่วอายุคนมาแล้วก่อนที่เราจะมีถนนใช้ แม่น้ำคือถนนชนิดหนึ่งในระหว่างทางที่เรือล่องขึ้น-ลงในแม่น้ำ ยากจะคาดเดาได้ว่า บรรพบุรุษของนายน้ำคนแรกเป็นใคร บนนาวาชีวิตที่ล่องไปบนสายน้ำกว้างใหญ่ และไหลเชี่ยว ชีวิตของพวกเขาล้วนฝากไว้กับบางสิ่งบางอยางที่บางคนเรียกมันว่าชะตากรรมบ่อยครั้งที่ล่องเรือไปบนสายน้ำ เราล้วนแต่ต้องค้อมคารวะหัวใจอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา เมื่อเดินทางสู่ฝั่ง หากมองทะลุลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ อะไรคือหมุดหมายที่ฉุดรั้งพวกเขาให้มุ่งหน้าสู่เส้นทางที่มองทางไม่เห็นทางเช่นนี้ในบรรดานายน้ำที่มีอยู่มากมาย พวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นนายของน้ำ เพราะแม่น้ำในบางช่วงของบางวันมีสิ่งที่ไมคาดคิดเกิดขึ้นเสมอ แต่เพราะสิ่งที่เป็นอยู่บวกกับประสบการณ์ที่สั่งสมมาครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้พวกเขาได้รับการเรียกขานเช่นนั้น
ชนกลุ่มน้อย
ภาพขาวดำที่มีอายุยืนยาว  เหมือนแสงส่องเข้าไปไม่ถึง  ตรึงอยู่ในเบื้องลึกของก้นบึ้งความทรงจำ  มันแตกพร่ามาสั่นไหวดวงใจทุกครั้งที่นึกรำลึก  จริงเหมือนไม่เคยมีจริง   ภาพเบลอมัวหม่นเต็มไปด้วยความรู้สึกดีเหลือเกิน  ปลอดภัย  เป็นสุข สงบ  ไม่ร้อน  ไม่รน  สีของความเก่าแก่  สีของนักบวช  เพียงไม่นึกถึงมันก็ถอยร่นไปอยู่ลึก  ราวกับถูกลืมเลือนหายไปสิ้นผมกลับไปเดินบนทางดินสายนั้น  ทางเลียบลำคลองที่ออกไปสู่ทะเลสาบสงขลา  ทำให้นึกถึงครั้งหนึ่ง  เคยเดินตามหลังแม่ชีทุกเช้า  กลิ่นแม่ชีเป็นกลิ่นนักบวช  โชยเข้าจมูกมาจนถึงปัจจุบัน  เป็นกลิ่นที่ราวกับมัดผูกไว้กับต้นไม้ภายใน  ที่ไม่เคยผลัดใบเปลี่ยนสีกลิ่นเป็นอื่นแม่ชีเดินอุ้มบาตร  เด็กชายวัยสิบสองสิบสามปีเดินถือปิ่นโต  ทางเดินของแม่ชีไม่ต่างไปจากวันก่อน  เริ่มต้นจากกุฏิไม้หลังคามุงจาก  ทุกอย่างวางตั้งอยู่ในนั้น  แม่ชีมีสิ่งของเครื่องใช้ไม่กี่อย่าง  ชามช้อนแค่จำนวนนิ้วมือข้างเดียว  ไม่มีหม้อ  มีแต่กาน้ำกับไม้ฟืน  มีกระติกน้ำร้อน  แก้วน้ำสองสามใบ  ไม่มีตู้ใส่เสื้อผ้า  เสื้อแม่ชีสองสามชุดเก่าๆทั้งนั้น  พาดอยู่ตามฝา  ซ้อนทับอยุ่บนพื้นไม้เก่าๆ  มีกลิ่นธูปเทียนโชยอยู่ตลอดเวลา  ทางดินเท่าฝ่าเท้า  เดินกันจนเป็นร่องลึก  เด็กชายเดินเงียบตามหลัง  ได้ยินเสียงลมพัดใบมะพร้าว  เสียงนกร้องชัดเจนมาก  ทางดินตัดผ่านเขตแดนที่ไม่มีรั้วบ้าน  ตัดผ่านสวนผลไม้จำพวกมังคุด  ละมุด(สะหวา)  ฝรั่ง  ชมพู่มะเหมี่ยว  ลางสาด  น้อยหน่า  มะปริง  มะปราง  มะไฟ  มะม่วง หมาก  มะพร้าว ฯลฯ  เป็นสวนผลไม้ที่ต่อเนื่องกันไม่มีที่สิ้นสุด  เหมือนแม่ชีเดินวนๆอยู่ในสวนผลไม้  แม่ชีเดินไปทางไหน  เด็กชายเดินตามหลัง  ไม่น่าเชื่อว่าจะมีบ้านไม้เก่าๆซุกซ่อนตัวอยู่ในสวนผลไม้  เต็มไปด้วยใบหน้าคนจีนแก่ๆ  บ้านทุกหลังรู้จักกันหมด  รู้ว่าใครเป็นลูกใคร
โอ ไม้จัตวา
หลวงน้ำทา เป็นเมืองเล็ก ๆ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว อยู่ในเขตแขวงบ่อแก้ว มีพื้นที่ติดประเทศจีน ผู้คนพูดภาษาลาว   มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสและเป็นมิตร ฉันรู้สึกสบายใจเมื่อออกจากแผ่นดินไทยมาได้ ทิวทัศน์สองข้างทางมีทัศนียภาพที่อาจไม่แปลกตา แต่ก็ให้ความรู้สึกแปลกถิ่นทำให้ลืมความวุ่นวายในชีวิต และบ้านเมืองเราไปได้  โดยเฉพาะแววตาและรอยยิ้มอันบริสุทธิ์ของผู้คนนั้น ราวกับเป็นสิ่งชำระล้างความยุ่งเหยิงของเชือกที่พันอยู่ในหัวใจ คลายมันออก จนกลายเป็นหัวใจที่ว่างเปล่า คุยกับพี่ที่ไปด้วยกันว่าเราย้ายมาอยู่ลาวกันไหม ทำไมเรารู้สึกมีความสุขแบบนี้ เป็นความโล่ง แม้ว่าจะมีข่าวสารส่งมาทาง sms บ้าง เพราะโลกวันนี้ระยะทางไม่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารอีกต่อไป ฉันซื้อเบอร์โทรศัพท์อีกเบอร์หนึ่งมาใช้ เพื่อจำกัดเบอร์โทรเข้า เนื่องจากค่ารับสายนาทีละ 33 บาท มีเศษอีกนิดหน่อย miss call ก็ถือว่าเป็นการรับสาย มนุษย์ผู้ประสานสิบทิศอย่างข้อยคงต้องจ่ายเงินอื้อหากยังใช้หมายเลขเดิม น้องผู้เดินทางไปต่างประเทศบ่อย แนะนำให้ใช้วิธีนี้ คือซื้อเบอร์ใหม่แล้วบอกแต่คนที่จำเป็นต้องบอกเท่านั้น เผื่อมีเรื่องฉุกเฉิน ค่าโทรกลับเมืองไทยนาทีละ 24 บาท ส่ง sms ครั้งละ 12 บาท (อันนี้ Dtac เจ้า) ส่วนระบบ One 2 Call นั้น รับ sms ได้อย่างเดียว True ก็ใช้ได้เช่นกัน
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวส่งถึงนายพลเต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพพม่า ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่ผู้เขียนมีโอกาสอ่านข้อความในสาส์นแสดงความเสียใจ ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ ก็รู้สึกซึ้งใจที่รัฐบาลลาวไม่ได้มองข้ามการมีอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในพื้นที่ที่ประสบภัยจากการที่รายงานข่าวว่า “พายุไซโคลนถล่มพม่า” ทำให้คนทั่วไปมักจะนึกถึงชาวพม่าโดยรวมๆ แต่อันที่จริง ลึกลงไปในคำว่า “พม่า” ก็ยังมี มอญ กะเหรี่ยง และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อีกด้วยดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวกับผู้เขียนว่า พื้นที่ที่ได้รับภัยพิบัติมากที่สุดคือบริเวณ Delta (ปากแม่น้ำ) ซึ่งเดิมเป็นที่อยู่ของชาวมอญ โดยมากหัวเมืองมอญจะอยู่ริมทะเล แต่ภายหลังพื้นที่ในบริเวณนั้นมีชาวกะเหรี่ยงเข้าไปอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก นั่นก็เป็นไปได้ว่า ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ก็จะมีทั้งพม่า มอญ กะเหรี่ยง ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ในพื้นที่ นอกจากนี้ผู้เขียนได้ดูแผนที่ของบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุ ก็พบว่าบริเวณตอนเหนือของรัฐมอญก็ได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งนั่นก็ทำให้ผู้เขียนแทบจะนั่งไม่ติดเก้าอี้ คิดแต่ว่าต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยเหลือชาวมอญในพม่าที่อาจจะโดนละเลยในการส่งความช่วยเหลือเพราะว่าเป็นคนของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต่อต้านรัฐบาล (อย่าหาว่าลำเอียงห่วงแต่มอญเลย ก็เพราะเราเป็นสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพนี่นา)แผนที่ประเทศพม่า แสดงพื้นที่บริเวณปากน้ำอิรวดี (Delta) ด้านซ้ายและรัญมอญด้านขวา
เงาศิลป์
“เมื่อวานนี้คนในหมู่บ้านถูกหวยกันหลายคน”ยายแดงเริ่มเรื่อง ขณะที่นั่งจุมปุ๊กบนพื้นหญ้าหน้าบ้าน พลางเอาเสียมปากแบนแซะหญ้าเล่น ใบหน้ายังแดงก่ำ หยาดเหงื่อยังเปียกชื้นที่ไรผม เพราะงานดายหญ้า“แล้วยายแดงไม่ถูกกะเขาด้วยเหรอ” ฉันนั่งบนที่พักเชิงบันได หลังจากจัดเรียงกล้าไม้ใกล้โอ่งน้ำเสร็จไปแล้วหนึ่งชุด“ไม่ได้ซื้อกับเขาหรอก ไม่ค่อยได้ซื้อหวย” นับว่าเป็นบุคคลที่น่ายกย่อง ฉันชื่นชมในใจ“แล้วชาวบ้านได้เลขมาจากไหนกันละยายแดง”“เขาว่าเป็นเลขผีบอก ผีจากวัดป่าบอกผ่านเจ้าอาวาสอีกที”“อืม....ไม่เลวแฮะ แสดงว่าผีมีจริง”....ฉันนึกถึงกุศโลบายของตัวเอง ที่บอกกับใครๆว่าทุกวันนี้อาศัยอยู่กับ “ผีโนนบ้านคึม”........................
ฐาปนา
(มะพร้าวกะทิ)ตอนอายุสิบขวบ ผมค้นพบว่าโลกนี้มีผลไม้ประหลาดที่เรียกว่า “มะพร้าวกะทิ” เมื่อพ่อซื้อมันมาจากตลาดฟังดูน่าหัวเราะ เหมือนชาวเมืองมาคอนโดค้นพบว่าโลกนี้มีน้ำแข็ง ในนวนิยายมหัศจรรย์เรื่องหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวแต่นี่คือเรื่องจริงในวัยเด็กของผมอาจเป็นเพราะมันไม่ใช่ของที่หาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่นที่ผมอยู่ ไม่ใช่ของที่หากินได้ทั่วไป จึงได้มีราคาสูงถึงลูกละ 50 บาท ซึ่งแน่ละ สำหรับยี่สิบปีก่อน ถือว่า แพงมาก แล้วเมื่อแพงขนาดนี้ ก็ย่อมไม่ใช่ของที่จะซื้อกันบ่อยๆผมจำความตื่นเต้นในการเจอหน้าครั้งแรกได้ดี มะพร้าวอะไรกัน มีเนื้อเต็มลูก ไม่แข็งแต่นิ่มๆ หยุ่นๆ รสชาติก็ลื่นๆ มันๆ ราวกับกำลังเคี้ยวเนยก้อน จะว่าอร่อยก็ไม่เชิง จะว่าไม่อร่อยก็ไม่ใช่ เมื่อกินพร้อมกับน้ำตาลทราย กลับหวานมันเพลินปากตอนนั้นผมคิดตามประสาเด็กว่า ทำไมจึงเรียกว่ามะพร้าวกะทิ น่าจะเรียกว่า มะพร้าวเนยมากกว่าหลายปีต่อมา ผมได้พบเจอกับเจ้ามะพร้าวกะทิอีกครั้งสองครั้ง แต่ไม่ค่อยประทับใจนัก เพราะรสชาติ ออกจะมันเลี่ยนเกินบ้าง เก่าจนเหม็นหืนบ้าง ทั้งผมเองก็ไม่ได้ติดอกติดใจเป็นพิเศษ จึงไม่ได้ขวนขวายจนกระทั่ง วันหนึ่ง หลังจากจัดข้าวของเข้าที่เข้าทางแล้ว แม่บ้านของผมไปสอยมะพร้าวข้างบ้านมากองรวมกันไว้ เนื่องจากมีคนมาติดต่อขอซื้อมะพร้าว เธอชี้ให้ผมดูมะพร้าวต้นที่อยู่หน้าบ้านด้านติดกับถนน“ต้นนี้แหละ...มะพร้าวกะทิ”
Carousal
หมู่นี้เดินผ่านร้านหนังสือแล้วเจอหนังสือแนวเจาะเวลาหาอดีตบ่อย ๆคุณชอบอ่านหนังสือ หรือดูหนังที่ตัวละครในเรื่องต้องพลัดมิติเวลาไปสู่โลกในอดีตหรืออนาคตบ้างไหมคะ? ฉันชอบมากเลยละค่ะ เพราะถึงแม้ว่า พลอตนี้จะเป็นพลอตเก่าที่นักจินตนาการทั้งหลายใช้สร้างสรรค์ผลงานกันมากลายสิบปีแล้ว แต่มันก็ยังคงความน่าสนใจอยู่เสมอ เพราะแม้จะเป็นพลอตเรื่องแนวเดียวกัน แต่ความแตกต่างของสถานที่ ยุคสมัย และลักษณะความคิด รวมถึงความสามารถเฉพาะตัวของตัวละคร ก็ทำให้พลอตเรื่องที่มีจุดเริ่มต้นเหมือนกันนี้ สามารถดำเนินไปตามทิศทางของมันเองได้เป็นร้อยเป็นพันแบบด้วยแนวความคิดที่ว่า มนุษย์ควรเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เพื่อนำมาปรับใช้แก้ไขปัจจุบัน ทำให้มีหลายคนสนใจที่จะทำการศึกษาค้นคว้าอดีต ยิ่งค้น ยิ่งคิด ก็ยิ่งพบว่า เหตุการณ์เล็ก ๆ ที่ดูเหมือนไม่มีความสำคัญในอดีตนั่นแหละ ที่เป็นฟันเฟืองก่อร่างสร้างเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้นตามมาในอนาคตถ้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ปฏิเสธการขอเข้าศึกษาของเด็กชาย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว และสงครามโลกครั้งที่สองก็อาจจะไม่เกิด, ถ้าเจ้าหญิงมาเรีย โจเซฟ ไม่สิ้นพระชนม์ด้วยไข้ทรพิษ ผู้ที่ถูกส่งตัวมาเป็นเจ้าสาวแห่งฝรั่งเศสอาจไม่ใช่เจ้าหญิงมาเรีย อันโทเนีย และประวัติศาสตร์การปฏิวัติฝรั่งเศสอาจเปลี่ยนโฉมหน้า, ถ้าในวันนั้น ทาสผิวดำไม่ได้บังเอิญหลบหนีเจ้านายเข้ามาในบ้านของนางแฮเรียต บีชเชอร์ สโตว์ ก็คงไม่มีหนังสือเรื่องกระท่อมน้อยของลุงทอม กว่าประชาชนชาวอเมริกันจะเริ่มตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพและใคร่ครวญเรื่องการเลิกทาส ก็คงช้ากว่านี้อีกหลายสิบปี
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...” ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ผู้ดำเนินรายการกล่าวในตอนท้ายการสัมมนา        

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม