Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์
ราศีเมษ Aries (13 เมย.-13 พค.) ไพ่ใบแรกของคุณสัปดาห์นี้ ราชินีถ้วยค่ะ อาทิตย์นี้ คุณคงจะมีเรื่องเหงาๆ เศร้าๆ คิดอยู่ตามลำพังค่ะ มีความกังวลที่ไม่เปิดเผยกับคนอื่นล่ะ เอ เรื่องอะไรหนอ ธุรกิจ การงาน 4 คทา มีความมั่นคงดีค่ะ ไม่มีปัญหาอะไร หรือหากคุณเริ่มต้นทำงานใดในช่วงนี้ ก็จะยืนยาวต่อไปในอนาคตค่ะ รวมถึงความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานด้วยค่ะ จะมีการร่วมแรงร่วมใจ รวมตัวกันเพื่อวางรากฐานในอนาคตสถานการณ์การเงิน Strength ยับยั้งชั่งใจหน่อยนะคะ ในช่วงนี้ คุณน่าจะมีทุนมากกว่าคนอื่น แต่ก็ทำให้เกิดความชะล่าใจมากกว่าคนอื่นด้วย ไพ่ขึ้นมาเตือนค่ะ อย่าไว้ใจสถานการณ์ใดๆ ค่ะ ใช้ทุนของคุณให้มีประโยชน์สูงสุดนะคะความรัก ความสัมพันธ์ The Lovers มีเรื่องให้ต้องเลือกไหมคะ ในช่วงนี้ หรือเหตุการณ์ที่เหมือนคุณมายืนบนทางสองแพร่ง และถึงเวลาต้องไป จะซ้ายหรือขวา มันก็ดีพอๆ กันทั้งสองฝ่าย และยังหมายถึงการพบคู่ พบรัก พบคนสำคัญในชีวิต แต่มันอาจเป็นการพบเพื่อไปต่อหรือจบกัน นั่นสินะคำเตือนหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้น 2 ดาบ การสื่อสารที่ขัดข้อง การปกป้องตัวเองจนกลายเป็นการปะทะต่อสู้อย่างไม่จำเป็นคำแนะนำพิเศษ The Star ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น คุณจะได้รับความสมหวัง โอกาสดีจะมาเยือน จะมีช่วงเวลาที่ดีและสงบใจ มิตรภาพและสันติภาพเป็นสิ่งสำคัญมากด้วย สำหรับคุณในเวลานี้
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน ตารางการรัฐประหารที่สำเร็จในประเทศไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 - ปัจจุบันวัน เดือน ปีผู้นำการรัฐประหารผู้ถูกทำรัฐประหาร1 เมษายน 2476พระยามโนปกรณ์นิติธาดารัฐประหารตัวเองโดยงดใช้รัฐธรรมนูญ20 มิถุนายน 2476พระยาพหลพลพยุหเสนาพระยามโนปกรณ์นิติธาดา8 พฤศจิกายน 2490จอมพลผิน ชุณหวัณพลเรือเอก ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ 29 พฤศจิกายน 2494จอมพล ป. พิบูลสงครามรัฐประหารตัวเอง16 กันยายน 2500จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จอมพลป. พิบูลสงคราม20 ตุลาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จอมพลถนอม กิตติขจร17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจรรัฐประหารตัวเอง 6 ตุลาคม 2519พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช20 ตุลาคม 2520พลเรือเอกสงัด ชลออยู่นายธานินทร์ กรัยวิเชียร23 กุมภาพันธ์ 2534พลเอกสุนทร คงสมพงษ์พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ 19 กันยายน 2549พลเอกสนธิ บุณยรัตกลินพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หมายเหตุ: แก้ไข 7 มิ.ย. 51 -- 17.34น. ตามการท้วงติงของธนาพล อิ๋วสกุล บางที การเว้นช่วงครั้งหลังสุดที่ยาวนานกระทั่งทำให้สังคมไทยตายใจว่า ทหารกลับเข้ากรมกรองไปทำหน้าที่ ทหารอาชีพ แล้วนั้น อาจจะเป็นเพียงข้อยกเว้นอย่างไรก็ตาม การรัฐประหารที่ผ่านก็ยังได้รับการยอมรับกันว่าเป็นไปโดยสงบไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และซ้ำคณะทหารที่ขึ้นมาคุ้มครองประเทศก็ยังมีสายใยและความร่วมมืออันดีกับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักเคลื่อนไหวภาคประชานเป็นอย่างดี นับเป็นสิ่งที่ต่างออกไปจากการรัฐประหารที่เคยมีมาครั้งใดๆ ในประเทศนี้แน่นอนว่าปัจจัยส่วนหนึ่งคือ ทหารเรียนรู้มากขึ้นที่จะอยู่ร่วมกับประชาสังคมไทย แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่วนที่เข้มแข็งและไม่เปิดโอกาสให้คณะรัฐประหารได้ควบคุมความรับรู้ทุกอย่างในสังคมนี้ก็คือโลกไซเบอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ใหม่ที่อำนาจรัฐและคณะรัฐประหารใดๆ ไม่เคยเผชิญมาก่อนการควบคุมความรับรู้หรือการแสดงออกของประชาชนภายหลังการรัฐประหารนั้น เป็นสูตรสำเร็จที่จะต้องทำทันทีเมื่อมีการยึดอำนาจ ทั้งนี้ เนื่องจากข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นตัวกำหนดความรับรู้และท่าทีของประชาชน ดังจะเห็นได้ว่า ในการรัฐประหารใดๆ ก็ตาม ผู้ทำรัฐประหารต้องเข้ายึดพื้นที่ที่นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ซึ่งสมัยก่อนได้แก่ สถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุ ทั้งการควบคุมการแสดงออกของประชาชนก็อาจทำได้โดยการออกกประกาศและใช้กองกำลัง แต่ สำหรับโลกไซเบอร์แล้ว นั่นอีกเรื่องที่ต่างออกไป มันหมายถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ต้องไล่กวดกันเหมือนแมวไล่จับหนูภายหลังการรัฐประหารเมื่อ 24 ก.พ. 2534 และหลังเกิดเหตุการณ์ พฤษภาคม 2535 สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทองได้จับพิมพ์หนังสือ ‘ต้านรัฐประหาร' ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของภาคประชาชนในการต่อสู้กับการต้านรัฐประหารโดยผู้เขียนคือนักสันติวิธีนาม จีน ชาร์ป แน่นอนว่าหนังสือเล่มนั้นพูดถึงเรื่องการปฏิบัติในโลกจริงซึ่งอาจจะเชยไปสักหน่อยสำหรับมนุษย์ยุคไซเบอร์ แต่หากใครสนใจก็ยังหาซื้ออ่านได้ นั่นเป็นแนวทางการต้านรัฐประหารโดยประชาชนซึ่งขณะนี้ คงจะต้องเพิ่มเติมวิธีการสำหรับประชากรไซเบอร์เข้าไปด้วย ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยทันที มีเว็บไซต์อย่างน้อย 2 แห่งกำเนิดขึ้นในโลกไซเบอร์นั่นก็คือ http://www.19sep.org/ และ http://www.dcode.net/ ทั้งสองเว็บเป็นต่อต้านการรัฐประหารแต่เห็นต่างในรายละเอียด โดยเว็บไซต์หลังนั้นเป็นกลุ่มนักเล่นเน็ต ที่ชื่นชมในนโยบายของพรรคไทยรักไทยและทักษิณ ชินวัตร แต่เว็บแรกนั้นไม่ใช่ อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 เว็บไซต์ได้พัฒนามาสู่การจัดตั้งมวลชนผ่านโลกไซเบอร์และได้เคลื่อนตัวจากพื้นที่ในโลกไซเบอร์สู่สนามหลวง ในชื่อของ กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ และกลุ่มประชาชนต้านรัฐประหารในที่สุดผลพวงอันเนื่องจากรัฐประหาร 19 กันยายน ต่อความตื่นตัวของประชาชนที่เข้าถึงเว็บไซต์ ยังได้ก่อให้เกิดเว็บไซต์และบล็อกเกอร์อีกจำนวนมากในการติดต่อสื่อสารกัน ทั้งในฐานะผู้รับและส่งสาร กระทั่งทำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ใหม่ในการแย่งชิงความรับรู้ แต่ก็ยังคงเป็นสิ่งยากสำหรับภาครัฐ แม้จะมีกฎหมายอา๙ญากรรมว่าด้วยการกระทำความผิดด้วยคอมพิวเตอร์ออกมาก็ตาม เพราะ....ย้ำ...นี่คือเรื่องของเทคโนโลยีที่รัฐต้องคอยวิ่งไล่จับให้ทัน ‘ผมคิดว่าอินเทอร์เน็ตมันจะทำให้ความคิดของคนมันวิ่งไปมาหากันได้เร็วขึ้น ทำให้เกิดการสทนาแลกเปลี่ยนได้อย่างกว้างขว้างขึ้น มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากขึ้น และเหล่านี้อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคมก็เป็นได้. ซึ่งรัฐอาจจะกลัวตรงนี้ ก็เลยต้องการเข้ามาควบคุมจัดระเบียบ. พวกเราพลเมืองและพลเมืองอินเทอร์เน็ตทุกคน ก็ต้องพยายามรักษาพื้นที่ของเราตรงนี้ไว้ให้ปลอดจากการแทรกแซงโดยอำนาจรัฐและอำนาจอื่น ๆ. ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ พื้นที่สื่อพวกนั้นเราพลเมืองธรรมดาเข้าถึงได้ยากมาก. พวกเราพลเมืองจึงต้องรักษาพื้นที่ที่เรามีอยู่ไม่มากนักในอินเทอร์เน็ตเอาไว้. ไม่ใช่เพื่อตัวอินเทอร์เน็ตหรือตัวผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเอง แต่เพื่อสังคมทั้งหมด' อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล นักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์จากสถาบันเทคโนโลยี SIIT มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เขียนไว้ให้สัมภาษณ์วาวสร ‘ปฏิรูปสื่อ' เมื่อปลายปีที่แล้ว เขาตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่รัฐพยายามทำกับพื้นที่อินเตอร์เน็ตปัจจุบันนี้คือ 1) สั่งปิดเว็บไซต์ โดยติดต่อไปที่เว็บโฮสติ้ง (ผู้ให้บริการเช่าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตสำหรับสร้างเว็บไซต์) ขอหรือสั่งให้ปิดเว็บไซต์นั้นลง หรือหาทางเจาะระบบเข้าไปทำลายเว็บไซต์ลง ผลก็คือเว็บไซต์นั้นก็จะหายไปจากอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ไม่ว่าจากประเทศไหนก็จะเข้าไม่ได้อีกแล้ว.2) ปิดกั้นเว็บไซต์ หรือที่เรียกว่าการบล็อค (block) ซึ่งก็ทำกันได้หลายระดับ ทั้งที่ระดับเกตเวย์ (gateway - เป็นประตูเชื่อมเครือข่ายภายในประเทศออกสู่อินเทอร์เน็ต) ที่ระดับไอเอสพี หรือที่ระดับองค์กรอย่างสถานศึกษาหรือบริษัทบางแห่งก็พบว่ามี. ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการหรือองค์กรนั้น ๆ ไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ที่ถูกบล็อคได้. หรือถ้าเป็นการบล็อคที่เกตเวย์ระดับประเทศ ก็จะมีผลทำให้ผู้ใช้ในประเทศทั้งประเทศไม่สามารถเข้าเว็บไซต์เหล่านั้นได้ - อย่างไรก็ตามผู้ใช้อื่น ๆ ก็จะยังเข้าได้อยู่. วิธีนี้เป็นวิธีที่ช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐของไทยใช้กันมาก เพราะสะดวกไม่ต้องขอความร่วมมือจากใคร ทำได้เองเลย หรือว่าสามารถกดดันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้ทำได้ไม่ยาก, ซึ่งก็อาจจะเกี่ยวกับเรื่องใบอนุญาตประกอบธุรกิจผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วย.3) ระดมโจมตีก่อกวนเว็บไซต์ 3.1 ให้ทำงานช้าลงมาก ๆ จนใช้งานไม่ได้ หรือที่เรียกว่า DoS (Denial of Service). หรือ3.2 คัดกรองเนื้อหา วิธีนี้จะเนียนกว่า คือยังเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ตามปกติอยู่ แต่เนื้อหาบางส่วนในเว็บไซต์จะหายไป ซึ่งแบบนี้จะทำให้สังเกตได้ยากกว่าวิธีแรก.ตัวอย่างเช่นในประเทศจีนที่เสิร์ชเอนจิ้นหลายเจ้า ยอมกรองเว็บไซต์บางอย่างออกจากผลลัพธ์การค้นหา. คือถ้าเรารู้ที่อยู่ของเว็บไซต์นั้น ก็ยังอาจจะพิมพ์เข้าไปได้เอง แต่มันจะไม่ปรากฎอยู่ในรายการผลลัพธ์ของเสิร์ชเอนจิ้นเลยถ้าค้นหาจากประเทศจีน. ซึ่งถ้าพิจารณาว่าปริมาณการจราจรส่วนใหญ่ของเว็บนั้น วิ่งผ่านเสิร์ชเอนจิ้น, วิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ได้ผลดีมาก อีกทั้งสังเกตได้ยากกว่าการทำให้เข้าเว็บไซต์ไม่ได้หรือกรณีประเทศไทย ที่ขอความร่วมมือจากกูเกิ้ลให้บล็อคคลิปบางคลิปใน YouTube ไม่ให้ผู้ใช้จากประเทศไทยเห็น ก็เข้าข่ายนี้3.3 บิดเบือนเนื้อหา ปล่อยข่าว หรือก่อกวนสร้างความปั่นป่วนในกระดานสนทนาออนไลน์ เว็บไซต์บางแห่งถูกก่อกวนด้วยโปรแกรมหรือคนที่ถูกจ้างมาโพสต์ข้อความไร้สาระซ้ำ ๆ กัน หรือโพสต์ข้อความบิดเบือนเบี่ยงประเด็นต่าง ๆ หรือล่อให้เกิดการทะเลาะกัน ที่เรียกว่า "ล่อเป้า" ทำให้คุณภาพของข้อมูลข่าวสารโดยรวมในอินเทอร์เน็ตลดลง4 วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือการสร้างความเชื่อ หรือความกลัว เพื่อทำให้เกิด "การเซ็นเซอร์ตัวเอง". ทำหผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ไม่อยาก/ไม่กล้าโพสต์ไม่อยาก/ไม่กล้าเปิดดู ไม่อยาก/ไม่กล้าพูดถึง. ผมคิดว่าอันนี้น่ากลัวที่สุด และมีผลกว้างขวางมากกว่าแค่ในอินเทอร์เน็ต แต่รวมถึงทั้งสังคมเลยการสร้างความกลัวนี่ รวมถึงการใส่มาตราบางมาตราลงมาใน พ.ร.บ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นี่ด้วย ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเนื้อหาในคอมพิวเตอร์ในอินเทอร์เน็ต. มาตรา 14, 15, 16. ซึ่งกว้างมาก แล้วแต่เจ้าหน้าที่รัฐจะตีความอย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ในปี 2550 นอกเหนือจากลุ่มต้านรัฐประหารและรัฐบาลที่ไม่ได้มาตามิถีทางประชาธิปไตย จะสร้างข่ายใยเติบโตขึ้นในพื้นที่อินเตอร์เน็ตของไทยแล้ว กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ต่อสู้เรื่องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ตก็ทำงานไปพร้อมๆ กันด้วย กลุ่มเล็กๆ ที่ชื่อว่า FACT ได้ทำหน้าที่นี้อย่างแข็งขันในช่วงกว่าขวบปีที่ผ่านมา ทั้งในแง่การพยายามเผยแพร่เรื่องราวการถูกปิดกั้นข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ต และรวมถึงการแจกจ่ายแปรแกรม ‘มุด' เพื่อให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูก ‘บล็อก'ในเรื่องร้ายมีเรื่องให้เรียนรู้ และก็คงต้องจับตากันต่อไปว่า พัฒนาการของประชากรในโลกไซเบอร์ของไทยจะถูกเร่งให้เติบโตขึ้นอีกหรือไม่.... แต่หากพื้นที่ในโลกไซเบอร์ของไทยได้เติบโตไปแบบไม่ต้องมีตัวเร่ง และแรงเสียดทานแบบเอาประเทศเป็นตัวประกัน...นั่น น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
ก.ศ.
กรกฎาคม 2550กาดงัวสันป่าตองฉันหยุดยืนหน้าแผงขายสมุนไพรเจ้านึง คนขายเป็นชายวัยเกินกลางคน หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ส่งเสียงดังฟังชัดว่า“เอาเลย ถ่ายเลย ตามสบาย” พลางทำหน้าอย่างหนึ่ง จะว่ากะลิ้มกะเหลี่ยก็คงไม่ใช่ คาดคะเนอะไรก็เดาไม่ออก ดูท่าทีแล้ว น่าจะเป็นคน “อารมณ์ดี๊ดี” เสียละมากกว่า“ชอบมั้ยๆ ชื่อดีเน้อ” นั่น ว่าแล้วไง แต่แหม จะให้ฉันทำหน้าตาแบบเฉยเมยได้กระไร เดี๋ยวคนแก่จะผิดหวังสาวผมสั้นสวมกางเกงแมนๆ เลยทำหน้าเขินเสียหน่อย“เอ่อ...ค่ะ” พลางหลบตาคุณลุง (แก่ขึ้นเรื่อยๆ ในสายตา อีตานี่) พอให้หัวใจชราเต้นกระดึบๆ ด้วยความยินดีแหม รู้ทันน่าลุง ไม่ต้องอ่านออกเสียง ไม่ต้องอ่านออกเสียงกดชัตเตอร์อีกสองสามครั้งกันพลาด แล้วก็เบ่งแก้มแดง (หวังว่ามันจะแดง) อีกอึดใจหนึ่งถึงเดินออกมาเสียงหัวเราะลั่น ชัดไปสักเจ็ดแผง“โอ้ย...สาวๆ เขาเขิน”เฮ้อ นานๆ ทีได้หลอกคนแก่เล่น ก็เป็นเรื่องเพลินๆ ดีนะ :-)
ปรเมศวร์ กาแก้ว
สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน” นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในหลายร้อยหลายพันตัวอย่างของผู้คนที่ต้องอพยพภายหลังการสร้างเขื่อน องอาจ โพนทอง ผู้ได้รับบทเป็นทองปานจากภาพยนต์สารคดี ๑๖ มม. เรื่อง ‘ทองปาน’ เมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน (จัดสร้างโดย lsan film : mike morrow กำกับการแสดงโดยไพจง ไหลสกุล สุรชัย จันทิมาธร ยุทธนา มุกดาสนิท รัศมี เผ่าเหลืองทอง) เขาได้พูดบอกนักศึกษาคนหนึ่งที่เดินทางไปจังหวัดเลย เพื่อชวนชาวบ้านมาร่วมงานสัมมนาเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนผามองที่จะสร้างเพื่อกั้นแม่น้ำโขงไว้ว่า เขาอพยพมาจากพื้นที่สร้างเขื่อนลำปาวในจังหวัดกาฬสินธุ์ หากจับใจความคำพูดของทองปานในเรื่องการอพยพของเขา พอจะบอกเป็นนัยๆ ได้ว่า ในยุคสมัยก่อนเมื่อประเทศไทยเริ่มลงมือก่อสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และปั่นเป็นไฟฟ้า รวมทั้งในการชลประทาน ชาวบ้านผู้อยู่ในพื้นที่ของการก่อสร้างไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐเลยแม้แต่น้อย
สวนหนังสือ
นายยืนยง"ความรู้รสในกวีนิพนธ์เป็นเรื่องเฉพาะตัว ตัวใครก็ตัวใคร จะมาเกณฑ์ให้มีความรู้สึกเรื่องรสของศิลปะเหมือนกันทีเดียวไม่ได้  ถ้าทุกคนรู้รสของศิลปะแห่งสิ่งใดเหมือนกันไปหมด สิ่งนั้นก็เป็นสามัญไม่ใช่มีค่าแห่งศิลปะที่สูง” ท่านเสฐียรโกเศศเขียนไว้ในหนังสือ รสวรรณคดี (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๐๓) ครั้นแล้วความซาบซึ้งในรสของกวีนิพนธ์อันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคุณผู้อ่านเล่าเป็นอย่างไรหนอ ในสถานการณ์ที่กระแสข่าวเน้นนำเสนอทางด้านเศรษฐกิจการเมือง ความเป็นอยู่ของกวีนิพนธ์จึงดูเหมือนจะซบเซาเหงาเงียบไป ทั้งที่เราต่างก็เติบโตมาท่ามกลางเบ้าหลอมแห่งศิลปะของกวีนิพนธ์ด้วยกัน ทั้งจากเพลงกล่อมเด็ก คำสอนของผู้หลักผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ ... นอกจากว่า บางขณะเราอาจเผลอลืมไปเท่านั้น หากเมื่อกระแสสำนึกถูกปลุกกระตุ้น เราอาจนึกถึงขึ้นมาได้  
รวิวาร
ฤดูกาลแห่งดอกผล .............ก่อนหน้านี้ความไม่รู้พาเราไปอยู่ไหน  ที่เราเห็นคือกิ่งแห้ง ๆ ใบจุด ๆ สีดำ  ทว่า เวลานี้ หลังจากที่ฤดูฝนพ้นผ่าน หนาวจากจาง  ใบใหม่สีเขียวอ่อนงอกแซมตามกิ่งเก่า  สัปดาห์ เดือนผ่าน กระทั่งเข้ม เขียวขลับ  พร้อมกันกับช่อดอกเล็ก ๆ สีเหลืองอ่อน หอมละมุนขจรขจาย  และกำลังจะกลายเป็นผล ...ต้นลำไยที่เคยทอดอาลัย   โมกสองต้นหน้าระเบียงผลิใบใหม่เขียวขจี รายเรียงตามกิ่งก้านคล้ำเข้ม...พี่ชาย ‘ชนกลุ่มน้อย’ มาถึงบ้านพร้อมด้วยเมล็ดกาแฟคั่วบด และค่าเรื่อง  รอยยิ้มอบอุ่นบอกกล่าวถ้อยคำมากมาย  .............
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทันทีที่ออกจากด่านลาวบาว รถทัวร์ปุเรงมาบนถนนหมายเลข1 นักท่องเที่ยวจะต้องนั่งรถเพื่อเข้าไปยังมหานครเว้อีกราวๆ 160 กิโลเมตร (หลังจากที่ตื่นๆ หลับๆ มาแล้วราว 250 กม. บนทางหลวงหมายเลข9) รวมระยะทางจากมุกดาหาร-เว้ ประมาณ 410 กิโลเมตรนักท่องเที่ยวบางคนพักที่ด่าน ซึ่งมีเกสต์เฮาส์เล็กๆ สบายๆ และเป็นที่ขึ้นชื่อว่า ตลาดเช้าลาวบาวช่างน่ารักน่าชังนักเรื่องของเรื่อง คือ เราควรจะถึงเว้ไม่เกิน 18.00 น. ตามเวลาในตั๋วระหว่างเส้นทางจะต้องผ่านเมืองใหญ่ 2 เมือง คือ เมืองเคเซนและเมืองดองฮา ทั้ง 2 เมือง คือ จุดยุทธศาสตร์ที่ถูกโจมตีอย่างหนักในสงครามเวียดนาม โดยเฉพาะเมืองดองฮาหรือเรียกชื่อย่อว่า DMZ นั้น เป็นแหล่งหลักฐานแห่งอดีตอันแสนเศร้า
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
นาฏกรรมชีวิตและเรื่องราวแห่งการกินของผู้คนที่ ‘นครปฐม’ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่น่าเชื่อว่าภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ติดๆ กัน ผมจะมีโอกาสแวะเที่ยวชมและเที่ยวชิมขนม ข้าวปลาอาหารและเมียงมองชีวิตของผู้คนในเมืองส้มโอหวาน ข้าวสารขาวถึงสองครั้งสองครา ซึ่งแต่ละครั้งคราเป็นต้องอดสงสัยไม่ได้ว่าในเมืองแห่งนี้ทำไมจึงมีการขายอาหารกันเป็นล่ำเป็นสัน ที่สำคัญยังมีรสชาติดีถูกปากถูกใจคนบ้านใกล้บ้านไกล ชนิดที่ว่าไม่ต้องรู้จักชื่อเสียงหรือมีป้ายโฆษณาชวนเชื่อ แค่ลองแวะชิมอาหารรถเข็นหรือตามสองข้างทางสักร้านในเมืองนครปฐมเป็นต้องอร่อยติดใจเกือบจะทุกรายไปหลายครั้งก่อนที่ได้แวะไปชิมข้าวหมูแดงกลางเมืองนครปฐม (เมืองนี้ยังมีชื่อเรื่องการเลี้ยงหมูเป็นล่ำเป็นสัน) ตรงข้างๆ คลองที่มีร้านอาหารและขนมขายเรียงรายกันอยู่หลายเจ้าก็ทำให้ติดอกติดใจอยากหาโอกาสกลับไปลิ้มรสอีกครั้ง ที่ร้านแห่งนั้นนอกจากจะเสิร์ฟข้าวหมูแดงรสดีแล้วยังมีน้ำส้มคั้นสดราคาถูก แค่ขวดละ 10 บาทเอาไว้ให้แก้รสเลี่ยนมันของอาหารคาวได้ดี เมื่อกินข้าวหมูแดงเสร็จแล้วเดินต่อลงมาอีกสักหน่อยก็จะถึงร้านลอดช่องใบเตย รสกะทิหวานหอมมัน กินแล้วชื่นใจคลายร้อน ขายแค่ถ้วยละ 12 บาท (แต่ตอนนี้ปรับราคาขึ้นเป็น 14 บาทแล้ว) อีกครั้งหนึ่งต่อมาเมื่อได้กลับไปเยือนถนนสายอาหารริมคลองตรงข้ามองค์พระปฐมเจดีย์แห่งนี้อีกครั้งก็พบว่าอาหารอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ ก๋วยเตี๋ยวไก่ หรือแผงขายส้มตำ ลาบหมู ไก่ย่าง ที่อยู่ถัดๆไปก็ล้วนมีรสชาติดีและขายดิบขายดีเช่นกัน โดยเฉพาะร้านส้มตำแห่งนี้ยังมี ‘ตำหลดบัว’ ซึ่งเป็นสายบัวอ่อนกรอบตำปูให้ลองชิมอีกด้วย ตำหลดบัวที่ว่านี้ยังมีขายกันอีกหลายร้านในนครปฐมและผมก็เพิ่งจะได้ชิมเป็นครั้งแรกที่นี่เองตำหลดบัว
แสงพูไช อินทะวีคำ
ตะวันรอน ย่อนแสงริมฝั่งของ (โขง)สายตาเธอเหม่อมองอยู่รำไรมองฟากฟ้าที่ไกลแสนไกลเธอร้องไห้โทมนัสโศกระทมมีใครรู้ บ้างหรือเปล่า กันมั้ยหนอ?ใครผู้ก่อ สร้างกรรม ทำเธอหมองเสียงร้องไห้ เธอนั้น น่าขนพองดุดดังเธอ ร่ำร้อง โศกาดูรสายตาเธอ เอ๋ยกล่าว เมื่อเราพบว่าก่อนนี้ เธอคบ กับคนพาลเขาสัญญา กับเธอ ไม่ระรานไม่มีวัน ทำให้เธอ กล้ำกลืนทนความเป็นจริง กับสัญญา ที่มีนั้นไม่สัมพันธ์ มันต่างมุม ต่างภาษาต่างความคิด ต่างกระทำ ต่างเวลาเพราะสัญญา ภาษาคน บนใจมารเธอมายืน ร่ำร้อง บนริมฝั่งเผื่อความหวัง ให้นาคา ได้รับรู้บ่นเจ้ากรรม นายเวร ให้ช่วยกู้ให้รับรู้ สิทธิเธอ ถูกรุกรานใครจะให้ ความเป็นธรรม เธอบ้างหนอพอช่วยก่อ ถนนคน บนทางธรรมช่วยให้เธอ มีรัก มีความหวังให้โลกา มีธรรม มีชีวี 
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ หลายวันที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆ หลายคน ที่ติดตามข่าวเรื่องการชุมนุมของ “พันธมิตร” ต่างใจจดใจจ่ออยู่กับจุดมุ่งหมายท้ายสุดที่จะเดินไปถึง พร้อมๆ กับกระแสข่าวการ “ปฏิวัติ” ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็เชื่อมั่นว่าการชุมนุมโดย “สันติ” อย่างมี “สติ” เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนที่สามารถดำเนินการได้ แต่การสลายการชุมนุมโดยการใช้ “ความรุนแรง” ที่ “ไร้สติ” นั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์และปรารถนายิ่งนัก
กวีประชาไท

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม