Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

แสงดาว ศรัทธามั่น
*** "มองดูความจริงซีพี่ น้องผองเพื่อน"มองดูแล้วย้ำเตือนคนหนุ่มสาวโลกร้อนแล้งเลวร้ายเนิ่นนานยาวทั้งเหน็บหนาวปวดร้าวทุกคราวครั้ง
วาดวลี
๑.นอนพักเถิด มวลมิตร ที่ชิดใกล้เก็บแรงไว้คุ้ยหาเศษอาหารฟ้าสวยสวย พื้นที่กว้าง ที่กลางลานคือสวรรค์สถาน ของผองเราอย่าไปเครียด จริงจัง เลยวันพรุ่งเดี๋ยวก็รุ่ง เดี๋ยวก็ค่ำ เหมือนวันเก่ารู้วิถี ตัวตน บนทางเราอย่าเกะกะใครเขาก็เท่านั้นเราเป็นชนกลุ่มน้อยด้อยในโลกจะส่งซึ่ง ภาษาโศก ภาษาขันก็หามีใครฟังเจ้าทั้งนั้นคนอื่นล้วน สื่อสารกัน ภาษาเขา
เมธัส บัวชุม
เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร การกลายเป็นตัวตลกของ “มือสกปรกที่มองไม่เห็น” การเล่นจำอวดของตุลาการรัฐธรรมนูญในกรณียุบพรรค  การเดินขบวนไปบ้านสี่เสาเทเวศน์ ฯลฯและประเด็นที่กำลังจะกล่าวถึงในบทความนี้ก็คือ กระบวนการสร้างข่าวลวง ข่าวลือ การ ”ปั้นน้ำเป็นตัว” อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของสื่อที่เรียกตัวเองว่าเป็น “สื่อแท้” อย่างสื่อในเครือของผู้จัดการ  
เงาศิลป์
เสียงลมอื้ออึง ปลุกฉันจากความหลับใหลที่เนื่องมาจากความอ่อนล้าโรยแรงฉันตื่นกลัวจนกระทั่งเผลอกลั้นลมหายใจ ผุดนั่งอย่างลืมตัวผืนผ้าใบที่ชายคาเสียงดังพึ่บ มันสะบัดปลายจนเรือนไม้หลังน้อยสะเทือนไหว เงี่ยหูฟังเสียงลมที่กำลังมุ่งหน้ามามันมีกำลังแรงขึ้นและแรงขึ้นอย่างรวดเร็วแสงสว่างวาบลอดเข้ามาตามช่องฝาผนัง  ฉันกอดอกด้วยความหวาดกลัว  และแล้ว ..เสียงฟ้าผ่าเปรี้ยงลงมาใกล้ๆ “ฉันมาทำอะไรที่นี่” เสียงครางอยู่ข้างในถามไถ่ตัวเองอย่างน่าสงสารน้อยครั้งนักที่ฉันจะหวาดกลัวอะไร หรือจะคิดจินตนาการอะไรๆ ที่เป็นเรื่องร้ายๆ ต่อชีวิต แม้ในท่ามกลางวิกฤติ เพราะฉันมีความเชื่อว่าพระจะต้องคุ้มครองฉันเสมอ  ครั้งนี้ก็เช่นกัน คำว่าพายุฤดูร้อนจะต้องผ่านไปด้วยดีเหมือนที่เคยเป็นมา เพียงแต่ฉันยังไม่ชินกับเสียงฟ้าผ่าในยามดึก ไม่คุ้นกับสายฝนอารมณ์ร้ายที่สาดสายเข้ามาอย่างบ้าคลั่งจนเปียกปอนไปทุกซอกมุม ไม่เว้นแม้แต่ในห้องนอนฉันไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากความอดทน ยิ่งอดทนยิ่งหวาดกลัว เพราะรู้ดีว่าบ้านไม้หลังนี้ไม่มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะต้านแรงพายุ สวดมนต์อยู่ในใจ ขอให้ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดีด้วยเถิด
กิตติพันธ์ กันจินะ
ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมต้องคิดหนักและเหนื่อยกับการใช้พลังในการพัฒนาโครงการ “กล้าเลือก กล้ารับผิดชอบ” ของเครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย โครงการนี้เป็นโครงการที่จะสร้างกลไกระดับพื้นที่เพื่อรณรงค์ สร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์ เพศศึกษาอย่างรอบด้าน และสนับสนุนให้เยาวชน ตระหนักและมีทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้เรื่องการป้องกันเอดส์ รู้จักประเมินความเสี่ยงของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัยผ่านการดำเนินการกับกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ 8 กลุ่ม ใน 20 จังหวัดกระจายไปในภาคต่างๆ ซึ่งจะต้องดำเนินการตลอดระยะเวลา 12 เดือน ทั้งนี้ปัจจุบันโครงการได้ผ่านการอนุมัติแล้วจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข  ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการกำกับการขับเคลื่อนการปฏิบัติการป้องกันโรคเอดส์
นาลกะ
 อนาโตล ฟรองซ์  เขียนไกรวรรณ  สีดาฟอง แปลอนาโตล ฟรองซ์ นักเขียนชาวฝรั่งเศสได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี 1921 เขาเป็นชาวปารีส กำเนิดมาท่ามกลางกองหนังสือเก่าของบิดา เขากลายเป็นนักเขียนแถวหน้าด้วยผลงานเรื่อง “ซิลเวอร์แตร์ บงนาร์ด” (1881)  หลังจากนั้นก็สร้างสรรค์นวนิยายออกมาหลายชิ้นที่โด่งดังมากก็คือ “หมู่เกาะนกเพ็นกวิน” (1908) นวนิยายเชิงเสียดสีที่มีฉากหลังเป็นการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของศตวรรษ 20ผลงานเรื่อง “หมู่เด็กแห่งทุ่งดอกไม้”  เขียนขึ้นตอนบั้นปลายของชีวิตของเขา น่าสังเกตว่าหลังจากเขียนงานวรรณกรรมประเภท “สร้างสรรค์” มามากมายแล้วเขาก็กลับไปเขียนเรื่อง “เด็ก” ที่ดูเหมือนว่าแสนจะธรรมดา
แสงพูไช อินทะวีคำ
เรื่องสั้นเรื่องนี้ ผมเขียนขื้นเมื่อปี คศ. ๑๙๙๕ ในขณะที่ผมเดินทางไปรอบๆ เมืองปากเช แขวงจำปาสัก เป็นระยะแห่งการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ ลงพิมพ์ที่วารสารวัณนศิล เมื่อปี คศ. ๑๙๙๕ และลงพิมพ์ที่หนังสือพิมพ์เวียงจันท์ใหม่เมื่อปี คศ. ๒๐๐๐ แปลโดย ทองคร้าม ทองขาว เรื่องสั้นเรื่องนี้จะรวมเล่มเรื่องสั้นที่มีภาษาไทย ลาว และภาษาอังกฤษด้วย โดย Mekong Post
กวีประชาไท
ฉันดื่มตัวฉัน  รินตัวเอง  เติมลงในจอกว่างเปล่าเช้า ตะวันเริงฉันตื่นขึ้น ระบำใจฝนที่ตกมาเมื่อวานปลุกดอกไม้ตื่นฝนฝักบัวเสื่อมมนตร์นกน้อยเสียงใส ร้องเพลงแต่ไกล  กึกก้องกังวานทรวงค่ำคืน  แสงดาวไม่ส่องฉายเพียงห้วงหาวมืดสนิทดวงตะวันสาดแสงในอกนกขับขานลำนำสายฝนกระหน่ำหนักภายในเทจอกของฉันออกแล้วเติมใหม่สับสน สิ้นไร้ใดชีวิตเติมถ้วยใหม่  ระบำจักรวาลรวิวาร
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  จริงหรือที่เขาพูดกันว่าเราหว่านเมล็ดใดลงไปในท้องทุ่งถ้าหากเมล็ดนั้นมิได้เน่าเปื่อยตายด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งมันย่อมจะงอกงามเติบโตให้พืชผลแก่เราตามชนิดของเมล็ดพืชพันธุ์นั้นดังเช่นชาวนาหว่านเมล็ดข้าวลงไปในท้องทุ่งเขาก็ย่อมได้ต้นข้าวและเมล็ดข้าวเป็นผลของการหว่านเมล็ดลงไปในท้องทุ่งเมื่อถึงวาระแห่งการงอกงามเติบโตและแตกดอกออกผลจริงหรือที่เขาพูดกันว่าการกระทำทุกอย่างทางกาย วาจา และ ใจของคนเราที่เราได้กระทำต่อสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้คน โลก และสังคมถ้าหากการกระทำนั้นมิได้เป็นโมฆะเหมือนเมล็ดพืชพันธุ์ที่เน่าเปื่อยเราย่อมได้รับผลแห่งการกระทำที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับคนหว่านเมล็ดพืชพันธุ์ลงไปในท้องทุ่งนั่นคือกระทำเหตุเช่นใดย่อมได้ผลแห่งการกระทำตามเหตุนั้นจริงหรือที่เขาพูดกันว่าผลแห่งการกระทำทุกการกระทำที่เราได้กระทำลงไปแล้วบางสิ่งบางอย่างจะปรากฏผลแก่ตัวเรา-ในทันทีทันใดบางสิ่งบางอย่างต้องรอคอยเป็นเวลานานบางสิ่งบางอย่างเวลาผ่านไปเนิ่นนานจนเราหลงลืมจึงจักก่อเกิดผล…และเราต้องได้รับผลแห่งการกระทำนั้นตามเหตุที่เราได้กระทำเอาไว้…โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีงามหรือเลวร้าย-หนักหรือว่าเบาจริงหรือที่เขาพูดกันว่าความเชื่อที่เด็กอมมือก็สามารถเข้าใจได้ง่ายๆนี้เป็นความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมนุษย์และคนทุกคนควรจะเชื่อและยึดถือเป็นหลักปฏิบัติเพื่อที่เขาจะได้ดำเนินชีวิตไปโดยราบรื่นและปลอดภัยในสันติสุขของชีวิตทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น…จริงหรือที่ความเชื่ออันเก่าแก่โบราณผ่านกาลเวลามาถึง 2500 กว่าปีนี้เป็นความจริง…จริงหรือจริงหรือจริงหรือกระทำเหตุเช่นใดย่อมได้รับผลแห่งการกระทำเช่นนั้นเราลองมาท้าทาย…เพื่อพิสูจน์และตรวจสอบความเชื่อนี้กันดีไหมว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” เป็นสัจธรรมอันเที่ยงแท้หรือไม่สาธุชนท่านใด-คับข้องใจและสงสัยเชิญเร่เข้ามาร่วมกันลองของโดยไวสวัสดี. 19 เมษายน 2551กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่ 
Carousal
คุณมีนักร้องหรือนักดนตรีในดวงใจ ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ก็ยังคงร้องเพลงของเขาได้อยู่บ้างไหมคะ?แทบจะเรียกได้ว่าเป็นความฝันอันเหลือเชื่อ เมื่อ X-Japan วง J-Rock ในตำนาน ซึ่งประกาศแยกวงไปตั้งแต่ปี 1997 ได้ตัดสินใจกลับมารวมวงกันใหม่ และเปิดคอนเสิร์ต X Japan to Resume its Attach in 2008 I.V. ต้อนรับการกลับมาของตัวเองอย่างยิ่งใหญ่ไปเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมางานนี้ เหล่าแฟนพันธุ์แท้ (ซึ่งเป็นเด็กวัยรุ่นในสมัยนั้น แต่มิวเตชั่นเป็นป้าแก่ ๆ ไปเรียบร้อยแล้วในสมัยนี้) ที่ลงทุนถึงกับจับเครื่องบินไปญี่ปุ่นเพื่อช่วยกันปลงสังขารลุง ๆ ที่แก่แล้ว แต่ก็ยังอุตสาหะเล่นดนตรี Rock จนเป็นลมเป็นแล้งคาเวทีกันก็หลายคนแม้ว่าบนเวทีจะไม่มีตัวเป็น ๆ ของ hide มือกีตาร์คู่บุญของ X-Japan มาร่วมด้วย เพราะเขาได้เสียชีวิตไปแล้วตั้งแต่ปี 1998 แต่เสียงกีตาร์ของ hide ก็ยังคงดังกระหึ่มก้องฮอลล์ในวันนั้น เพราะ X ไม่ได้หาสมาชิกคนอื่นมาแทนที่ hide แต่นำเสียงกีตาร์ที่เขาเคยเล่นเอาไว้ตั้งแต่ก่อนตายมาประกอบคอนเสิร์ต มีการฉายภาพโฮโลแกรมของ hide และใช้ตุ๊กตาของเขามาตั้งแทนตัวบนเวทีอีกด้วยอ่าน Review และดูรูปถ่ายจากคอนเสิร์ตครั้งนี้แล้ว ทำให้ฉันต้องกลับไปค้นการ์ตูนเรื่องนี้กลับมาอ่านอีกครั้ง Ghost Rhapsody
Cinemania
   ปิติ-ชูใจท่ามกลาง ‘หนังซัมเมอร์' ที่ดาหน้ากันมาถมจนเต็มพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ช่วงฤดูร้อน ทางเลือกของคนดูหนังใน ‘โรงหนังชั้นนำใกล้บ้านคุณ' ก็ยังไม่ได้หลากหลายอะไรนัก เพราะแนวทางหลักๆ ของหนังซัมเมอร์ที่เห็นอยู่ตอนนี้ก็มีแค่ แอ๊กชั่น, ตลก, สยองขวัญ และอนิเมชั่น กรณีที่อยากดูหนังนอกกระแส ก็ต้อง ‘เข้าเมือง' กันอย่างเดียว เพราะที่ทางของหนังเหล่านี้ยังกระจุกตัวอยู่ที่สยามหรือไม่ก็สุขุมวิทแค่นั้น (ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ในยุคที่หนังถูกจำกัดความหมายให้เป็นแค่เครื่องมือผ่อนคลายและสร้างความบันเทิง) แต่อย่างน้อยที่สุด หน้าร้อนปีนี้ยังมีหนังไทยน่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง ที่พอจะแหวกกระแสเดิมๆ ออกไปได้บ้าง เรื่องแรกคือ ‘อรหันต์ซัมเมอร์' ที่ชูประเด็น ‘การบวชสามเณรภาคฤดูร้อน' มาเป็นจุดขาย กับอีกเรื่องคือ ‘ดรีมทีม' ของผู้กำกับจอมเสียดสี (เรียว กิติกร) ที่ปีนี้มาพร้อมกับการขายความน่ารักของเด็กๆ อนุบาล วัยกำลังซน ทั้งสองเรื่องมีความพ้องต้องกันประการหนึ่ง คือ เป็นหนังที่ผู้ปกครองสามารถพาเด็กๆ ไปดูได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีคำหยาบคายประเภท ‘เหี้ย-ห่า และสารพัดสัตว์' หลุดออกมาให้เด็กๆ ได้ยิน...(ซึ่งประเด็นนี้กลายเป็นจุดขายที่แข็งแรงของหนังไปได้ยังไง--ก็ยังงงๆ อยู่เหมือนกัน)ทั้งสองเรื่องเป็นหนังที่ดูเพื่อเน้นขำ เน้นฮา อย่างเดียวก็ได้ หรือจะดูเพื่อให้เห็นภาพสะท้อนความเป็นไปของสังคมไทยก็ยังได้ เพราะเรื่องใหญ่ใจความของทั้งอรหันต์ฯ และดรีมทีม คือการมองจากมุมของเด็กๆ ที่ถูกวางภาระแห่งการเป็น ‘อนาคตของชาติ' ไว้บนบ่าใน ‘อรหันต์ซัมเมอร์' เรื่องราวเริ่มต้นที่บรรดาพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ส่งตัวลูกหลานไปบวชเณรด้วยเหตุผลต่างๆ กันไป บางรายต้องการดัดนิสัยและสร้างวิันัยให้ลูก ส่วนบางรายหวังจะเกาะชายผ้าเหลืองลูกขึ้นสวรรค์ ในขณะที่ผู้ปกครองอีกบางคนจำต้องส่งลูกหลานไปสู่สถาบันศาสนาด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ แต่โดยรวมแล้วก็คือ ผู้ปกครองส่วนใหญ่หวังว่า ‘ศาสนา' จะช่วยกล่อมเกลาและสั่งสอนให้ลูกหลานของตัวเองเป็น ‘คนดี' ต่อไปในอนาคต ส่วนเรื่อง ‘ดรีมทีม' ที่ผู้กำกับบอกว่า ‘ไม่มีนัยยะทางการเมืองแอบแฝง' ก็พุ่งประเด็นไปที่การแข่งขันชักเย่อของเด็กอนุบาลที่มุ่งสู่สนามระดับชาติ โดยมีผู้ปกครองหลากหลายประเภทคอยสนับสนุน ชี้นำ หรือไม่ก็คอยสร้างความวุ่นวายปั่นป่วนไม่แพ้เด็กๆ ที่ยังไม่รู้เดียงสาในเรื่องเรื่องราวของสามเณรแสนซนอย่าง ข้าวปั้น, นะโม, น้ำซุป, บู๊ ฯลฯ และเรื่องราวของน้องหัวแก้ว, เป๊ะ, เซน 1, เซน 2, อะตอม, ภูมิ ฯลฯ จึงเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่พวกเขาเหล่านั้นได้เผชิญร่วมกันในฤดูร้อนหนึ่งซึ่งจะส่งผลกับทิศทางชีวิตของพวกเขาในทางใดทางหนึ่งในอนาคต และประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือว่า พวกเขาจะรับมืออย่างไรกับความคาดหวังของผู้คนรอบข้างการเรียนรู้ร่วมกันของเหล่าสามเณรใน ‘อรหันต์ซัมเมอร์' ทำให้พวกเขามีศัตรูร่วมกัน (ในตอนแรก) คือความเข้มงวดกวดขันของหลวงพี่และหลวงพ่อในเรื่อง การรวมตัวกันโดยอัตโนมัติของเหล่าสามเณรภาคฤดูร้อนจึงเกิดขึ้น เพื่อแข็งขืนต่อข้อปฏิบัติอันเคร่งครัดและเพื่อทำตามที่ธรรมชาติเรียกร้อง เช่น ร้องเพลงเมื่ออยากร้อง หรือต้มมาม่ากินเมื่อหิว แน่นอนว่า การกระทำเหล่านี้ไม่ใช่การกระทำในฐานะสามเณร แต่เป็นการกระทำตามประสาเด็กทั่วไป แต่เมื่อพวกเขาอยู่ในสถานะซึ่งต้องดำรงไว้ซึ่ง ‘คุณงามความดีในฐานะผู้สืบทอดศาสนา' (และอนาคตของชาติ) การฝืนธรรมชาติของเด็กทำให้เกิดการเรียนรู้ว่า พวกเขาควรจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรต่อกฎอันเคร่งครัดและความคาดหวังของพ่อแม่พี่น้องลุงป้าน้าอาที่คิดกันง่ายๆ ว่า ‘ผ้าเหลือง' จะเป็นเครื่องมือบ่มนิสัยอันดีงามของเด็กได้ ทั้งที่ในความเป็นจริง ใต้ร่มเงาของศาสนา ก็ยังมีปัญหาที่แก้ไม่ตกอยู่หลายเรื่อง เห็นได้จาก ‘พุทธศาสนิกชน' ในเรื่องอรหันต์ซัมเมอร์ ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในทางวัยวุฒิกันแล้ว แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับพระธรรมคำสอนยังไม่ไปถึงไหน และคนส่วนใหญ่ยังติดอยู่แค่เปลือกของพิธีกรรมเท่านั้นฉากที่สามเณรเจ้าปัญญาพยายามรักษาอาการคลุ้มคลั่งของ ‘ผี' ในจิตใจผู้ใหญ่ ด้วยการมุ่งชี้ไปที่ต้นเหตุของปัญหา ซึ่งผู้กำลังมีทุกข์เท่านั้นจะรู้ว่า ต้นตอแห่งความทุกข์ของตัวเองคืออะไร แต่ ‘หลวงพี่ใบบุญ' (ตูน เอเอฟ 3) ผู้อบรมสั่งสอนสามเณร กลับต้องไปเตรียมน้ำมนต์เพื่อมา ‘ปราบผี' อย่างไม่เต็มใจนัก หลังจากถูกบรรดาญาติโยมกดดันอยู่พักใหญ่ ถ้าดูแบบไม่คิดอะไร...มันก็คงไม่มีอะไร แต่เมื่อคิดไปแล้ว ก็จะเห็นได้เองว่า ในขณะที่บรรดาพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่พร่ำภาวนาถึงความดีงามของศาสนา และทะนงตนว่าตัวเองเป็นชาวพุทธที่ดี แต่เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ ‘ปัญหา' พวกเขากลับคิดถึงแต่วิธีที่เป็นไสยศาสตร์มากกว่าจะคำนึงถึงหลักธรรมคำสอนซึ่งเป็น ‘แก่นแท้' ของศาสนา และหวาดกลัวเสียจนหลงลืมไปว่าความรัก โลภ โกรธ หลง เกลียดแค้น ชิงชัง เป็นอารมณ์ปกติของมนุษย์ ซึ่งแน่เสียยิ่งกว่าแน่ว่า ‘มันซุกซ่อนอยู่ในตัวเราทุกคน'แทนที่จะมุ่งสู่การดับทุกข์และพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้น พุทธศาสนิกชนจำนวนมากนี่แหละ ที่มุ่งหน้าเข้าสู่ตรรกะที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับเรื่องของการบำบัดทุกข์ในใจตน กลับมองว่าบุคคลอื่นๆ ต่างหากที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์และพยายาม ‘กำจัด' ทิ้ง มันถึงได้เกิดเป็นปัญหาตามมาเรื่อยๆ ไม่รู้จบ‘ความงดงาม' ของศาสนาที่ถูกถ่ายทอดออกมาให้เห็นในอรหันต์ซัมเมอร์จึงไม่ได้อยู่ที่ ‘ความดีงาม' แต่ไปตกอยู่ที่การ ‘ตระหนักรู้' ถึงธรรมชาติของสรรพสิ่งว่ามีความงดงามเฉพาะตัวของมันอย่างไรมากกว่าชั้นเชิงในการนำเสนอภาพของศาสนาของหนังเรื่องนี้จึงไม่ได้แบนราบ และพร่ำสอนถึงการทำความดีเพียงอย่างเดียว แต่มีทั้งการเรียนรู้จากความจำยอม, ความผิดพลาด, ความโง่เขลา หรือความถือดี สามเณรที่ดูเหมือนจะมีอนาคตไกล หากไม่ได้เรียนรู้หรือทำความเข้าใจในภาวะต่อมาของชีวิต ก็มีสิทธิ์หลงผิดได้พอๆ กับเด็กทั่วไปที่ไม่เคยเฉียดใกล้ชายผ้าเหลือง หรือผู้ยากไร้ที่ต้องเลือกอะไรบางอย่างด้วยภาวะแห่งความจำยอม อาจแปรเปลี่ยนให้มันเป็นโอกาสทองของชีวิตก็ย่อมได้มันจึงไม่เกี่ยวกับว่า เรามี ‘โอกาส' ในการเลือกหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสร้างโอกาสอย่างไรจากสิ่งที่ได้เลือก (หรือ ‘ต้อง' เลือก) ไปแล้วส่วนความตั้งใจของกลุ่มเด็กอนุบาลใน ‘ดรีมทีม' แรกเริ่มมีแค่ว่า พวกเขาอยากเล่นเกมชักเย่อ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงว่า ‘ชัก-เย่อ' หรือ ‘ชัก-กะ-เย่อ' มันก็คือเกมที่ผู้แข่งขันทั้งสองฝ่ายยืนอยู่คนละด้านของปลายเชือก และใครที่มีแรงสาวได้มากกว่า ฝ่ายนั้นก็คือ ‘ผู้ชนะ'เกมชักเย่อกลายเป็นเรื่องใหญ่โตเมื่อคำว่า ‘ชัยชนะ' เข้ามาเกี่ยวพัน จากความสนุกสนานธรรมดาๆ กลายเป็นภารกิจยิ่งใหญ่ที่ต้องอาศัยโค้ช (ฟุตบอล) ทีมชาติมาเป็นตัวช่วย และความคาดหวังว่า ‘เด็กๆ ต้องชนะ' ก็เป็นภาระที่ต้องแบกรับเพิ่มมาอีกหนึ่งเรื่องแม้ผู้กำกับกิตติกรจะบอกว่าหนังดรีมทีมไม่มีประเด็นแอบแฝง แต่มันก็ยังตีความได้อยู่ดีว่า ในสังคมไทยนี้ไซร้...มีผู้ใหญ่มากมายคอยอยู่เบื้องหลังเด็กๆ เต็มไปหมดผู้ใหญ่บางคนอาจจะทำตัวน่ารักน่าเอ็นดูด้วยการวิ่งเข้าหาผู้ใหญ่อีกคน เพื่อให้สมผลประโยชน์ของตัวเองและเด็กในความดูแล เช่น ‘แม่ของน้องเซน 1' (เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์) ซึ่งพยายามล็อบบี้โค้ชทีมชักเย่อในทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อให้ลูกชายของตัวเองได้อยู่ในตำแหน่งหัวหน้าทีม หรือไม่อย่างนั้นก็จะมีคนอย่าง ‘พ่อของน้องเซน 2' (คมสัน นันทจิต) ซึ่งพยายามปลูกฝังเข้าสู่หัวลูกอยู่ทุกบ่อยว่า ‘ที่หนึ่งคือผู้ชนะ' และ ‘ต้องชนะเท่านั้นถึงจะดี'จะว่าไปแล้ว การกระทำของผู้ใหญ่ในหนังดรีมทีม ไม่ได้น่าเกลียดโฉ่งฉ่างอะไร และค่อนไปในทางฉันทาคติที่เกิดจากความ ‘ลำเอียงเพราะรัก' โดยแท้ ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนทั่วไป แต่ถ้ามองในอีกแง่หนึ่ง ก็คงจะซึ้งว่า ด้วยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ น่ารักน่าเอ็นดูแบบนี้แหละ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นเงาตามตัว ตามวันและวัยของผู้ที่เติบใหญ่ในสังคมแห่งการแข่งขันวัฒนธรรม ตัวกู-ของกู-พวกพ้องกู ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ชั่วเวลาข้ามวัน แต่มันต้องสั่งสมกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งบางทีมันอาจจะเริ่มต้นด้วยเรื่องขี้ปะติ๋วแบบนี้แหละ และเราก็มักจะมองข้าม หลงลืม หรือเพกเฉยกับความอคติของตัวเอง (แล้วไปเข้มงวดกวดขันกับการสร้างมาตรฐานให้คนอื่นปฏิบัติตามแทน)ในโลกที่ไม่ต้องการความพ่ายแพ้ ที่อยู่ที่ยืนของคนแพ้จึงมีน้อย แม้แต่ในหนังดรีมทีมเอง ก็มีที่ทางให้กับการพ่ายแพ้เพียงเล็กน้อย ทั้งที่ผู้กำกับพยายามเสนอว่า ‘ที่หนึ่งไม่ใช่ทุกอย่าง' แต่ก็ยังไม่ชัดเจนฟันธงพอที่จะทำให้เห็นว่า ‘การเป็นที่สอง' หรือ ‘การเป็นผู้แพ้' มีรสชาติอย่างไร ซึ่งอันที่จริง (ความคิดเห็นส่วนตัว) มันน่าสนใจกว่าเป็นผู้ชนะเสียอีกถึงกระนั้นก็เถอะ...รอยยิ้มของเด็กๆ ในเรื่องดรีมทีมก็เป็นสิ่งที่คนดูปรารถนาจะได้เห็นมากกว่ารอยน้ำตา และเตือนให้คนดูอย่างเราได้รู้ว่า ที่แท้แล้วเราก็เสพติดในชัยชนะไม่แพ้คนอื่นๆ ในสังคมหรอก...(-__-")  
Hit & Run
  [^_^]/ระเบิด (bomb) [n.] คือวัตถุที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' จะบรรจุ ‘วัตถุระเบิด' หรือสารที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' ไว้ภายใน00025 เมษายน 2551 เวลา 6.30 น.วัดแสนฝาง ถนนท่าแพ จ.เชียงใหม่นายนที อนันทปัญญสุทธิ์ อายุ 45 ปี พ่อค้าขายเสื้อผ้า กำลังรถไปจอดภายในบริเวณวัดแสนฝาง เขาพบกล่องพัสดุสีขาวไม่ระบุชื่อผู้รับ วางอยู่หน้าทางขึ้นศาลาวัด  นายนทีหยิบกล่องนั้นขึ้นมารู้ว่ามีน้ำหนัก คิดว่าเป็นของมีค่าอยู่ภายในจึงได้แกะดูพร้อมกับเดินไปตามถนนเพื่อเข้ามาเปิดร้านขายเสื้อผ้าที่ตลาดวโรรสหรือที่คนเชียงใหม่เรียกว่า ‘กาดหลวง'แต่พอใกล้ถึงร้านเขาเปิดฝากล่องออกมาดูพบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องจริงๆ มีสายพันและแบตเตอรี่ขนาด 9 โวลต์พ่วงสายออกมา เขาตกใจมาก โยนกล่องนั้นทิ้งลงถังขยะที่ตรงมุมถนนท่าแพ ปากทางเข้ากาดหลวงด้านตรอกเล่าโจ๊ว เยื้องกับห้างตันตราภัณฑ์เก่า และรีบไปแจ้งตำรวจสายตรวจที่ผ่านมาพอดีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรแจ้งกับ พ.ต.ต.วิสูตร วงศ์ใหญ่ สารวัตรเวร สภ.เมืองเชียงใหม่ ให้เดินทางมาทำการตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยดังกล่ว เมื่อถึงที่เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้กันผู้คนที่อยู่ใกล้บริเวณดังกล่าวออกนอกพื้นที่เกรงจะระเบิดจนได้รับความเสียหายจากนั้นจึงได้ประสานไปยังชุดเก็บกู้ระเบิดจาก ตชด.ที่ 33 อ.สันทราย จ.เชียงใหม่เบื้องต้น เจ้าหน้าที่พบว่า วัตถุต้องสงสัยดังกล่าวเป็นกระป๋องสีสเปรย์สีขาวน้ำเงินขูดยี่ห้อข้างกระป๋องออกจนหมด และตัดหัวออก มีการต่อสายวงจรไฟฟ้าและใช้แบตเตอรี่เป็นตัวจุดชนวน25 เมษายน 2551 เวลา 9.00 น.ถนนท่าแพ ปากทางตรอกเล่าโจ๊ว จ.เชียงใหม่เวลานี้รถติดไปทั้งเมือง เพราะถนนท่าแพซึ่งเป็นถนนสายหลักเข้าสู่กลางเมืองเชียงใหม่และย่านธุรกิจ ย่านพาณิชยกรรมเป็นอัมพาต มีเจ้าหน้าที่ตำรวจปิดหัวปิดท้ายถนนสายนี้เกือบทั้งสาย ใครที่ข้ามสะพานนวรัฐเพื่อจะเข้าเมือง แทนที่จะตรงไปเหมือนเคย ก็ต้องเลี่ยงเลี้ยวซ้ายไปทางถนนช้างคลาน แถวไนท์บาร์ซาร์อันเป็นย่านการค้าสำคัญของเมืองแทนร้านรวงพากันปิดไปหมดช่วงที่มีการกู้ระเบิด ธุรกิจในย่านนั้นหยุดชะงักไปหมดราวกับฝากผลประกอบการไว้กับระเบิด และเจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด ที่ต่างแข่งกันว่าใครจะทำงานสำเร็จก่อนกัน ระเบิด หรือ เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิดหากอย่างแรกทำงานสำเร็จ ไม่ต้องนึกถึงความสูญเสียชีวิต ความเสียหายทางเศรษฐกิจ ความมั่นใจต่อการลงทุนและบรรยากาศท่องเที่ยวใน จ.เชียงใหม่ คงจะพังพาบไปพร้อมกับความสำเร็จของระเบิดลูกนั้นระหว่างที่รอว่าใครจะทำงานสำเร็จก่อนกันอย่างใจจดจ่อประกอบกับแดดระอุบนถนน ทำให้ผมนึกถึงหนังสือบางเล่ม ... ซึ่งแม้จะไม่เกี่ยวกัน แต่ก็พอจะเทียบเคียงกัน... เมื่อกลับไปพลิกอ่านรีวิวของ ประจักษ์ ก้องกีรติ กับหนังสือที่มีชื่อว่า ยานยนต์ของนายบุดา: ประวัติศาสตร์ย่อของคาร์บอมบ์ (Buda's Wagon: A Brief History of the Car Bomb) เขียนโดย ไมค์ เดวิส (Mike Davis) ศาสตราจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังแห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, เออร์วิน ตีพิมพ์ในปี 2550 ไมค์ สรุปคุณลักษณะพื้นฐานของคาร์บอมบ์คือ มันเป็นอาวุธในการก่อร้ายในพื้นที่เขตเมือง วัตถุประสงค์หลักๆ ของการใช้คาร์บอมบ์มีอยู่สี่ประการ คือ การสังหารชีวิตศัตรู การทำลายวิถีชีวิตประจำวันอันเป็นปรกติสุขของผู้คนในสังคม สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ และสุดท้ายเพื่อโฆษณาหลักการหรือข้อเรียกร้องของขบวนการให้สาธารณชนรับรู้ในวงกว้างในฐานะการเป็นอาวุธในการก่อการร้าย คาร์บอมบ์มีคุณลักษณะพิเศษอยู่ 7 ประการที่ทำให้มันแตกต่างจากยุทธวิธีอื่นๆ บางประการจาก 7 ข้อนั้น เช่น ต้นทุนของมันถูกอย่างน่าใจหายเมื่อเทียบกับความเสียหายที่มันสร้างขึ้น มันทำงานดุจเครื่องบินทิ้งระเบิดเพราะเป็นอาวุธที่ไม่แยกแยะเป้าการสังหารระหว่างศัตรูกับพลเรือนผู้บริสุทธิ์ทั่วไป จึงมักถูกใช้เป็นเครื่องมือในกรณีที่กลุ่มก่อการเล็งพลเรือนเป็นเป้าหมาย ต้องการสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นในวงกว้าง และทำให้สังคมที่ตกเป็นเหยื่อของการระเบิดเกิดอาการขวัญเสียและคาร์บอมยังเป็นอาวุธที่เพิ่มอำนาจการต่อรองให้กับขบวนการต่อสู้ทางการเมืองที่ด้อยอำนาจทั้งหลาย เพราะแม้แต่กลุ่มที่สมาชิกเพียงไม่กี่คน มีงบประมาณจำกัด หรือขาดฐานมวลชนอันกว้างขวางสนับสนุนก็สามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจการเมืองอันมหาศาลในสังคมหนึ่งๆ ได้ องค์กรที่กระจัดกระจายไร้ฐานมวลชนของกลุ่มเซลล์ย่อยๆ ทั้งหลาย ที่มีคาร์บอมบ์โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เนทเป็นโครงสร้างพื้นฐาน จึงไม่จำเป็นต้องการมีการจัดตั้งองค์กรอย่างเข้มแข็งหรือมีโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ชัดเจนอีกต่อไปแบบยุคปฏิวัติมวลชน เป็นต้น25 เมษายน 2551 เวลา 11.00 น.ถนนท่าแพ ปากทางตรอกเล่าโจ๊ว จ.เชียงใหม่ผ่านแนวรั้วกันรถราของตำรวจมาที่ถนนท่าแพ บัดนี้กลายเป็นถนนปลอดยานยนต์ไปเกือบทั้งเส้น มีคนที่ทำงานในย่านเศรษฐกิจนั้นออกมามุงบริเวณที่มีวัตถุต้องสงสัยเป็นจำนวนมาก บ้างเอากล้องถ่ายรูป กล้องติดโทรศัพท์มือถือบันทึกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นที่สนุกสนาน ระคนไปกับความไม่มั่นใจว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าหากเป็นระเบิดและระเบิดขึ้นมาขณะนั้นจะเกิดความสูญเสียอย่างไรเวลายิ่งผ่านไปนานเข้าคนที่รู้ข่าวกู้ระเบิดกลางเมืองยิ่งมากันมากเข้าๆต่อมา ร.ต.อ.สมศักดิ์ ศิริเวช หัวหน้ากลุ่มงานเก็บกู้วัตถุระเบิด กก.ตชด.33 ตัดสินใจนำหุ่นยนต์เข้าเก็บกู้วัตถุต้องสงสัย แต่เนื่องจากจุดทำลายตั้งอยู่ในย่านชุมชนและร้านค้า หากยิงทำลายในที่ดังกล่าวเกรงว่าบ้านเรือน และทรัพย์สินของประชาชนจะได้รับความเสียหาย ดังนั้นตำรวจชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดจึงตัดสินใจใช้วิธียิงตัดสายชนวนระเบิดออก แล้วนำระเบิดไปกำจัดที่อื่นตำรวจเริ่มไล่ไทยมุงให้ออกห่าง ตามมาด้วยการประกาศ"ยิงทำลายวัตถุระเบิด เข้าที่กำบัง สาม... สอง... หนึ่ง...""ปุ๋ง"...... เสียงอัดอากาศดัง ‘ปุ๋ง' เล็กๆ ทำเอาคนที่มุงแถวนั้นตื่นเต้นกันใหญ่ ตอนนี้ยังไม่มีการระเบิดใดๆ เป็นเพียงการปลดชนวนระเบิด แต่ตำรวจ ตชด. ในชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดสภาพคล้ายมนุษย์ต่างดาว ยังก้มๆ เงยๆ อยู่ตรงจุดเกิดเหตุ โดยเขาหยิบกระป๋องเหล็กที่คาดว่าจะเป็นวัตถุระเบิดขึ้นรถย้ายไปทำลายที่ข่วงประตูท่าแพ ซึ่งห่างจากบริเวณเก็บกู้ 500 เมตรการยิงทำลายวัตถุต้องสงสัยเกิดขึ้นที่ประตูท่าแพ ซึ่งมีบริเวณกว้างและปลอดคนกว่าย่านเศรษฐกิจอย่าง ถ.ท่าแพ คราวนี้เสียง ‘ตูม' จริงๆ แน่นๆ ก็ดังขึ้น แต่ไม่มีใครเป็นอะไร เพราะนี่เป็นขั้นตอนกำจัดวัตถุระเบิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบก็พบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่อง วัตถุระเบิดหนัก 500 กรัม อยู่ในกระป๋องดีดีที ภายในบรรจุดินเทา มีเศษขวดแก้วเป็นสะเก็ดระเบิด และใช้ใส้ในของหลอดไฟ 2 ตัวสำหรับเป็นตัวจุดชนวนโดยระเบิดดังกล่าวแม้มีอำนาจทำลายล้างต่ำ (Low - Explosive) มีคลื่นกระแทก (shock wave) ที่เกิดจากการระเบิด มีความเร็วในการแล่นผ่านตัววัตถุระเบิดน้อยกว่า 1,000 เมตรต่อวินาที แต่ถ้าหากเกิดระเบิดขึ้นจริงจะมีรัศมีทำลายล้างโดยรอบในวงกว้างไม่ต่ำกว่า 300 เมตร!ร.ต.อ.สมศักดิ์ ศิริเวช หัวหน้ากลุ่มงานเก็บกู้วัตถุระเบิด กก.ตชด.33 เปิดเผยว่า ระเบิดที่พบครั้งนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับที่คนร้ายนำมาวางไว้สำหรับปล้นแบงก์ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยถนนราชดำเนินเมื่อเดือนก่อน แต่ครั้งนี้มีความซับซ้อนกว่า และเป็นระบบไฟฟ้า หากกดรีโมทก็จะทำงานทันที เชื่อว่าจะเป็นฝีมือของมืออาชีพที่มีความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดีระเบิดดังกล่าวนับเป็นลูกที่ 2 ในรอบเดือนนี้ของเชียงใหม่โดยเมื่อวันที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา มีเหตุชายสวมแว่นดำ สวมเสื้อยีนส์และกางเกงยีนส์ คล้องกระเป๋าเป้สะพายสีดำ บุกปล้นธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยท่าแพ ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ โดยใช้ปืนจี้และขู่พนักงานธนาคารว่าในกระเป๋ามีระเบิด ให้พนักงานส่งเงินให้รวม 1.5 แสนบาท ก่อนทิ้งกระเป๋าเป้และหลบหนีไป เมื่อเจ้าหน้าที่นำกระเป๋าออกมาทำลายด้านนอกโดยใช้ปืนแรงดันน้ำยิงทำลาย ซึ่งเกิดระเบิดเสียงดังสนั่น โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจพบเป็นระเบิดแสวงเครื่อง รัศมีทำลาย 15 เมตรส่วนคนร้ายก็ขับจักรยานยนต์หลบหนีไป และจนบัดนี้มีการตั้งรางวัลนำจับ 50,000 บาท แต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้ตัวคนร้ายเช่นเดียวกับที่หามือระเบิดลูกล่าสุดยังไม่พบ!000แม้เหตุวางระเบิดที่เชียงใหม่จะไม่เกิดขึ้นบ่อย แต่ก็เป็นภาพจำลองเหตุการณ์ระเบิดแทบจะรายวันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดีคงทำให้คนที่อยู่ทางเหนือ นึกถึงหัวอกคนทางใต้ที่ต้องใช้ชีวิตประจำวันแบบไม่รู้ชะตากรรมชีวิตของตัวเองเป็นอย่างดี คงนึกถึงสิ่งที่รบกวนปรกติสุขของชีวิตที่ชื่อว่า ‘ความกลัว' ภายใต้เคอร์ฟิวส์ ภายใต้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านั้นและคงพอนึกถึงหัวอกคนอิรัก ที่ต้องเผชิญสงครามอันเนื่องมาจากการเข้าไปทำในสิ่งที่สหรัฐอเมริกาเรียกว่าเป็นการ ‘ปลดปล่อย' และ ‘คาร์บอม' รายวันในประเทศของตนเอง ได้บ้าง!ย้อนกลับไปที่งานรีวิวประวัติศาสตร์คาร์บอมของประจักษ์ ซึ่งตบท้ายการสู้กับคาร์บอมไว้ว่า ... "เจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโสในไอร์แลนด์เหนือคนหนึ่งซึ่งรับมือกับคาร์บอมบ์มาอย่างหนักหน่วงโชกโชนมากกว่าใครๆ  ตอบคำถามนี้ไว้อย่างน่าสนใจตั้งแต่ 12 ปีที่แล้วว่า คาร์บอมบ์ "ไม่ใช่ประเด็นทางการทหาร มันเป็นประเด็นทางการเมือง ความเสียหายและความตายส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น... มาจากระเบิดซึ่งคนที่มีความรู้ทางเคมีแค่ระดับประถมก็สามารถผลิตได้ คนสองคนกับเครื่องมือง่ายๆ ก็สามารถผลิตระเบิดขนาด 500 กิโลกรัมได้สบายๆ... เราไม่มีความสามารถที่จะไปสู้กับอาวุธแบบนี้ได้หรอก การปลดชนวนความคิดและจิตใจของผู้ก่อการต่างหากที่ควรเป็นเป้าหมายของเรา"  หากจะเอาชนะกับการก่อการร้ายที่มีคาร์บอมบ์เป็นอาวุธ หนทางทางการทหารจึงไม่ใช่คำตอบ มีแต่การปฏิรูปทางสังคมและเศรษฐกิจ บวกกับจินตนาการใหม่เกี่ยวกับโครงสร้างสถาบันทางการเมืองเท่านั้นที่จะหยุดยั้งอาวุธมีชีวิตที่ไร้หัวใจนี้ได้"ก็ไม่รู้ว่าเชียงใหม่ ภาคใต้ หรือที่ไหนก็ตามในโลกจะพบกับระเบิด คาร์บอม ลูกสุดท้ายเมื่อไหร่ คำถามนี้ราวค้นหาแสงสว่างในปลายอุโมงค์อ่านประกอบประจักษ์ ก้องกีรติ, รีวิวหนังสือโดย ประจักษ์ ก้องกีรติ : ว่าด้วย ‘คาร์บอมบ์': อาวุธมีชีวิต, ประชาไท, 21/3/2551  

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม