Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

หัวไม้ story
กลายเป็นภาพที่คุ้นตา เรื่องที่คุ้นหูไปแล้ว สำหรับการออกมาเดินขบวนยื่นข้อเรียกร้องของแรงงานกลุ่มต่างๆ ในวันกรรมกรสากล (หรือวันแรงงานแห่งชาติ หรือวันเมย์เดย์) จนบางคนอาจชาชินกับสิ่งที่เกิดขึ้น "ก็เห็นเดินกันทุกปี" "เรียกร้องกันทุกปี" อย่างไรก็ตาม ปฎิเสธไม่ได้ว่าการที่มีข้อเรียกร้องอยู่ทุกปีนั้น สะท้อนถึงการคงอยู่ของ ‘ปัญหาที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข' ไม่ว่าจะเป็นข้อเรียกร้องของแรงงานกลุ่มไหน เมื่อลองกลับไปดูข้อเสนอของปีที่แล้ว เทียบกับปีก่อน และปีก่อนๆ ก็จะเห็นว่า ไม่สู้จะต่างกันสักเท่าใด ดัน พ.ร.บ.ความปลอดภัยในการทำงานการจะทำงานให้เป็นไปด้วยความราบรื่นนั้น นอกจากตัวงานและผู้ร่วมงานแล้ว ความปลอดภัยในการทำงานก็คงเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเองกลับยังไม่มีองค์กรอิสระที่จะคอยดูแลเรื่องการป้องกันความปลอดภัยโดยตรง จะมีก็เพียงการตามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไปแล้ว เช่น กองทุนเงินทดแทน ซึ่งเป็นที่วิจารณ์กันถึงอำนาจที่ทับซ้อนกันอยู่ในที คือ เป็นทั้งผู้วินิจฉัยโรค และเป็นทั้งผู้จ่ายเงินเสียเองสภาเครือข่ายฯได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบจัดทำร่างนโยบายด้านสุขภาพความปลอดภัยของแรงงาน เห็นว่าระบบบ้านเรายังล้าหลังมาก ซ้ำยังไม่มีนโยบายทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม แพทย์ทั่วไปไม่ทำการวินิจฉัยโรค คนป่วยจากงานจึงไม่ได้รับสิทธิ์ เพราะการวินิจฉัยโรคไปอยู่ในกองทุนเงินทดแทน ซึ่งเป็นทั้งผู้วินิจฉัยโรค และจ่ายเงินในองค์กรเดียวกัน เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะลักษณะการผูกขาดอำนาจในการจัดการดูแลปัญหาอยู่ในมือรัฐ เมืองไทยขาดแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนี้ เนื่องจากไม่มีนโยบาย หน่วยงานทำงานซ้ำซ้อนแต่ขาดประสิทธิภาพ ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างกรมกองกระทรวง เจ้าหน้าที่น้อย ยังขาดทัศนคติความรับผิดชอบรู้ไม่เท่าทันนายจ้างหรือสถานประกอบการ ระบบที่มีอยู่ไม่ได้เอื้อประโยชน์มากนัก แก่ผู้ใช้แรงงาน รวมถึงขาดการมีส่วนร่วมของคนงานอย่างแท้จริง ฉะนั้นการบริหารจัดการเรื่องนี้ของรัฐมีลักษณะอนุรักษ์นิยมเข้าใจว่าตนเองเป็นผู้รู้ดีที่สุดคิดว่ากองทุนใหญ่โตคือผลสำเร็จ ไม่คำนึงถึงชีวิตคนงานที่มีความเสี่ยงต่อเครื่องจักรและสารพิษจากการทำงานทุกเสี้ยววินาที ด้วยระบบที่มีอยู่ยังล้าหลัง เน้นแต่การจ่ายเงินทดแทนแถมยังสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ตั้งมากมาย เพราะเป็นการลดสถิติการเจ็บป่วย คนงานไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์ ต้องเกิดความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดเวลา 10 กว่าปี จึงมีการผลักดันองค์กรอิสระในด้านการบริการความปลอดภัยมาร่วม 7 ปีแล้วกับรัฐบาลชุดนี้ (ชุด พล.อ.สุรยุทธ์) ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งสถาบันฯ ผ่านการพิจารณาสำนักกฤษฎีกา กลับกลายเป็นร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยเฉยๆ ที่ไม่เป็นอิสระในการบริหารงานจากภาครัฐ แบบเบญจภาคี คือมีฝ่าย ลูกจ้าง นายจ้าง ภาครัฐ ผู้ถูกผลกระทบ และนักวิชาการผู้เชี่ยว ไม่มีระบบทำงานที่ครบวงจร ป้องกันดูแลรักษา ฟื้นฟู ทดแทน ขาดอำนาจการตรวจสอบสถานประกอบการและขาดการโอนเงินกองทุนทดแทนมาอยู่ในสถาบันใหม่ตามข้อเสนอฉบับขบวนการแรงงานและภาคประชาชน  สมบุญ สีคำดอกแค อดีตผู้นำสหภาพแรงงานโรงงานทอผ้ากรุงเทพ ทั้งยังเป็นผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้าย และประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของคนงานที่เจ็บป่วยอีกจำนวนหนึ่งในราวปี 2536 ที่หวังจะรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน ในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล การต่อสู้ทางคดี และการดำรงชีวิต บอกเล่าถึงความสำคัญของคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงานตามกลไกของ "สถาบันคุ้มครองสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ" กับสำนักข่าวประชาธรรม ที่มา: สมบุญ สีคำดอกแค : เปิดโลกกฎหมาย ‘โรคจากการทำงาน' อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ผู้ใช้แรงงานได้ร่วมกันผลักดัน ร่าง พ.ร.บ. สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ... ซึ่งร่วมกันร่างขึ้นอีกครั้ง เพื่อหวังว่า จะก่อตั้ง "สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน" ซึ่งมีสถานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การกำกับการดูแลของกระทรวงแรงงาน โดยมีผู้ใช้แรงงานร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย โดยที่สถาบันนี้จะมีหน้าที่พัฒนาการจัดทำมาตรฐานเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย จัดการทางการแพทย์เกี่ยวกับการรักษาวินิจฉัยโรค และพิจารณาการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย โดยขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อประชาชน ให้ครบ 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอ ร่าง พ.ร.บ. สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ... นี้ (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม เพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมาย)ผ่าโครงสร้างประกันสังคมกองทุนประกันสังคมนั้น นับเป็นกองทุนขนาดใหญ่ โดยขณะนี้มีเม็ดเงิน 522,868 ล้านบาท [1] ผู้ประกันตนกว่า 9 ล้านคน และคาดกันว่าจะเพิ่มมากขึ้นอีก เมื่อมีการขยายไปยังบุคคลกลุ่มต่างๆ อย่างไรก็ตาม มักมีข้อเสนอให้ "ผ่าโครงสร้างประกันสังคม" อยู่เนืองๆ ด้วยสัดส่วนการจ่ายเงิน นายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละ 5% ของค่าจ้าง ขณะที่รัฐจ่าย 2.75% แต่ผู้ประกันตนกลับไม่ค่อยจะมีส่วนร่วมกับกองทุนสักเท่าใด ทั้งในด้านนโยบายและการตัดสินใจว่า เงินในกองทุนถูกนำไปใช้อย่างไร และส่วนใดบ้าง ขณะที่รัฐบาลซึ่งร่วมสมทบเพียงเล็กน้อยกลับมีสัดส่วนอยู่ในบอร์ดมากกว่า (ดูสัดส่วนคณะกรรมการประกันสังคม[2])ในเรื่องนี้ วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้เสนอให้กรรมการไตรภาคีมาจากการเลือกตั้ง โดยใช้อัตราส่วนสมาชิกสหภาพแรงงาน 50 คน ต่อ 1 เสียง และต้องเปิดโอกาสให้กรรมการของสหภาพแรงงานทุกแห่งมีสิทธิสมัครเข้ารับการเลือกตั้งแรงงานข้ามชาติ ข้ามอคติเมื่อปลายปีที่แล้ว องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้เปิดตัวรายงานฉบับใหม่ เรื่อง คุณูปการของแรงงานย้ายถิ่นต่อประเทศไทย ของ ดร.ฟิลิป มาร์ติน สำนักงานองค์การแรงงานระหว่างประเทศประจำอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยผลการศึกษาระบุว่า ในปี 2550 ประเทศไทยมีแรงงานรวมประมาณ 36 ล้านคน ในจำนวนนี้มีแรงงานข้ามชาติอยู่ราว 1.8 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5% โดยกลุ่มแรงงานข้ามชาติส่วนมากจะทำงานประเภทที่ใช้ทักษะต่ำในสาขาเกษตร ประมง ก่อสร้าง อุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงภาคบริการ อาทิ คนทำงานบ้าน ทั้งนี้ จากสมมติฐานว่าผู้อพยพมีจำนวน 1.8 ล้านคน ซึ่งคาดการณ์ว่ามีรายได้ 2 พันล้านดอลลาร์ ต่อปี หรือ 70,000 พันล้านบาท (1 ดอลลาร์ต่อ 35 บาท) จากการคำนวณรายได้เฉลี่ย 1,125 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี (40,000 บาทต่อปี) หากแรงงานดังกล่าวใช้จ่ายเงินครึ่งหนึ่งของรายได้ คือ 1 พันล้านดอลลาร์ จะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ GDP จำนวน 2 พันล้านดอลลาร์ จากการเพิ่มในการหมุนเวียนของค่าเงินทีเดียว โดยที่แรงงานข้ามชาติได้รับค่าแรงเพียงครึ่งหนึ่งของค่าแรงขั้นต่ำเท่านั้น [3] แรงงานข้ามชาติคือผู้มีส่วนร่วมสร้างจีดีพี 2% คิดเป็นเงินประมาณหมื่นล้านบาทขึ้นไป นี่ยังไม่รวมรายได้ของแรงงานข้ามชาติที่ใช้ในประเทศไทย โดยคิดเป็น 75% ของรายได้ของแรงงานข้ามชาติใช้ในประเทศไทย พวกเขาส่งเงินกลับน้อยเพราะช่องทางส่งกลับน้อย ข้อมูลจาก: สารคดีเรื่อง "สถานการณ์แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย"จัดทำโดยมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ทจากตัวเลขข้างต้น จะพบว่า แม้เศรษฐกิจจะต้องการน้ำพักน้ำแรงจากแรงงานข้ามชาติ แต่ก็ดูเหมือนนโยบายของรัฐจะไม่นำพาต่อการเข้ามาทำงานอย่าง "ถูกกฎหมาย" ของแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ โดยจะเห็นว่า แม้ว่ารัฐบาลมีนโยบายเปิดให้แรงงานข้ามชาติจดทะเบียนแรงงานเพื่อขออนุญาตทำงาน เรียกว่า ทร.38/1 โดยในปี 2551 นี้เปิดให้คนที่เคยมี ทร.38/1 แล้วแต่ไม่ได้ต่ออายุ มายื่นจดทะเบียนใหม่ ช่วง 21 ม.ค.-19 ก.พ. ปีนี้ แต่แรงงานข้ามชาติก็ไปจดทะเบียนน้อยมาก แค่ราว 5,000 คน เพราะแรงงานข้ามชาติ 1.ส่วนใหญ่ไม่รับรู้ข้อมูล 2.เอกสารที่ใช้ประกอบการขอรับ ทร.38/1 ยังไม่มีความชัดเจน บัตรเดิมก็ถูกนายจ้างริบไว้ จำข้อมูลไม่ได้ 3.การขอใช้เวลานาน ต้องทำหลายรอบ 4.หลายพื้นที่มีขบวนการนายหน้าช่วยประสานงานดำเนินการคิดค่าใช้จ่ายสูง 6,000 - 15,000 บาท แรงงานไม่สามารถแบกรับภาระการค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ 5.ระยะเวลาสั้นเกินไป อดิศร เกิดมงคล International Rescue Committee (IRC) กล่าวว่า จริงๆ แล้วกลไกรัฐไม่เคยมีกลไกจัดการเรื่องการย้ายถิ่น มีแต่เรื่องหาแรงงานมาทดแทน ชี้ให้เห็นว่าเราไม่มีมิติการย้ายถิ่นมาจัดการแรงงานข้ามชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก แต่ก็มีนโยบายกีดกันเขา โดยรัฐไทยมองเรื่องนโยบายนี้สองแง่ แง่หนึ่งมองว่าเป็นปัญหาเรื่องคนหลบหนีเข้าเมือง ไม่ให้ออกนอกเขต หรือเปลี่ยนนายจ้าง มองว่าไม่ใช่แรงงานทั่วไปอย่างที่เข้าใจกัน ต้องอยู่ในการกักกัน แต่ให้ทำงานได้ชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับ สอง อยากได้แรงงานราคาถูก พอเศรษฐกิจไทยพยายามเป็นประเทศอุตสาหกรรม ก็มีการดึงเอาแรงงานภาคเกษตรไปเยอะมาก ทำให้ความต้องการแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้น สองแนวคิดดังกล่าวไปด้วยกันได้ จึงมีการใช้แรงงานราคาถูก ภายใต้การควบคุม โดยอ้างความมั่นคง จะเห็นว่านโยบายที่เกิดขึ้นไม่ได้พูดถึงการคุ้มครองแรงงานเลย อดิศร กล่าวว่า สิ่งที่รัฐสร้างขึ้นเรื่องความมั่นคงเป็นการสร้างพรมแดนในตัวคน เราถูกทำให้เชื่อว่าแรงงานข้ามชาติไม่ใช่พวกเรา หรือเหมือนไม่ใช่มนุษย์ เหมือนเครื่องจักรที่พังแล้วโยนทิ้ง เห็นได้ชัดในกรณีประกาศสมุทรสาคร เพราะสิ่งที่ทำให้ความเป็นมนุษย์เกิดขึ้นคือ วัฒนธรรม การมีตัวตนของตัวเองในการดำรงชีวิต หรือเช่นกรณีที่บอกว่า ไม่รับแรงงานหญิงที่ตั้งครรภ์แล้ว  เขาแสดงความเห็นว่า เคยคิดว่าเรื่องความมั่นคงจะซาไป แต่รัฐกลับใช้แนวคิดแบบนี้ส่งผ่านสื่อ ย้ำว่าแรงงานข้ามชาติเป็นปัญหานำโรคติดต่อเข้ามาก่ออาชญากรรม สร้างมายาคติขึ้น ทั้งนี้มีงานวิจัยเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหา ในช่วงปี 45-46 เปรียบเทียบการก่ออาชญากรรม พบว่า คนไทยในพื้นที่ก่ออาชญากรรมมากกว่าแรงงานข้ามชาติ เกือบ 60% และคดีส่วนใหญ่ของแรงงานข้ามชาติ คือ หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย สำหรับข้อเสนอในการแก้ปัญหา อดิศร เสนอว่า ในแง่นโยบาย รัฐต้องมิติการย้ายถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะที่ผ่านมาไม่มีเลย ที่สำคัญคือต้องหาความสมดุลของสิทธิ ความมั่นคงและเศรษฐกิจให้สมดุลกัน และที่เสนอมานานก็คือ นิยามคำว่าความมั่นคง องค์กรที่จัดการเรื่องนี้กระจายเกินไป เพราะเรื่องคุ้มครองแรงงานควรคุ้มครองแรงงานทุกคน แต่แรงงานข้ามชาติไปติดที่ ตม. ยังไม่มีการสร้างกลไกให้ทำงานร่วมกัน อาจเป็นกรรมการระดับชาติอิสระเพื่อจัดการบริหารได้เป็นระบบ และเข้าใจปัญหาแรงงานข้ามชาติอย่างแท้จริง เช่น การเตรียมล่าม สอง ปรับความเข้าใจ การศึกษาของเรากับแรงงานข้ามชาติให้เข้าใจกันมากขึ้น เพราะทุกวันนี้ นโยบายหลายอย่างกันคนออกจากกัน ไม่มีใครรู้ว่าแต่ละคนเป็นอย่างไร หรือต้องการอะไรกันแน่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญคือ การสร้างพื้นที่สนทนา ทำงานร่วมกัน ซึ่งกลไกสำคัญคือสหภาพแรงงาน เพราะมีผู้ใช้แรงงานเป็นตัวหลัก จะเห็นปัญหาร่วมกันคล้ายกัน และถ้าสร้างได้จะขยายไปสู่กระบวนการอื่นในสังคมไทยได้ที่มา: ‘แรงงานนอกระบบ' และ ‘แรงงานข้ามชาติ': เรารู้จักกันแค่ไหนเสริมทักษะแรงงานไทยในต่างแดนขณะที่แรงงานข้ามชาติเข้ามาทดแทนแรงงานบางประเภทที่แรงงานไทยไม่ทำ แรงงานไทยบางส่วนก็เข้าไปทำงานทดแทนในส่วนที่ประเทศอื่นๆ ขาดแคลนเช่นกัน แรงงานประเทศอื่นไม่ทำเช่นกัน ทั้งนี้ กลุ่มแรงงานหญิง ซึ่งไปทำงานแม่บ้านที่ฮ่องกง ได้เสนอว่า แม้พวกเขาจะเดินทางไปทำงานที่ฮ่องกง แต่ก็ต้องการกลับเข้ามาในประเทศ ดังนั้น พวกเขาจึงอยากให้ภาครัฐจัดให้มีอาชีพรองรับแรงงานที่กลับมาทำงานที่ประเทศไทย โดยจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ด้านการวางแผนงานการประกอบอาชีพในอนาคต ไปอบรมให้กับแรงงานในต่างประเทศ จัดศูนย์ข้อมูลอาชีพและตำแหน่งงานที่เอื้อต่อทักษะของแรงงาน เพื่อให้แรงงานมีทางเลือกที่จะได้ทำงานอยู่ใกล้ครอบครัว รวมทั้งทำให้อาชีพแม่บ้านในเมืองไทย มีสัญญาการจ้างงานที่ถูกกฎหมาย และมีกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังเสนอให้รัฐหาแนวทางให้แรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ ได้มีส่วนร่วมในโครงการกองทุนประกันสังคม โดยให้เหตุผลว่า ที่สุดแล้วแรงงานทุกคนต้องกลับมาประเทศไทย รวมทั้งจัดตั้งองค์กรช่วยเหลือครอบครัวของแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของแรงงานในการตั้งใจทำงาน โดยไม่ต้องกังวลเรื่องบุตรของตน รวมทั้งเสนอให้ภาครัฐต้องกำหนดอัตราจัดเก็บค่าบริการของบริษัทจัดหางานในประเทศไทยให้ชัดเจน และควบคุมการเก็บค่าบริการอย่างเข้มงวด มีกฎหมายลงโทษอย่างจริงจัง และจัดสรรงบประมาณประจำปี ให้กับกลุ่มองค์กรที่ทำงานให้กับแรงงานไทยในฮ่องกง เพื่อส่งเสริมโอกาสให้แรงงานได้ช่วยเหลือแรงงานด้วยกัน และสร้างเครือข่ายภาครัฐที่เข้มแข็ง รวมถึงมีนโยบายที่ชัดเจน ที่จะสนับสนุนแรงงานที่ออกไปทำงานยังต่างประเทศ และให้ความสำคัญในการส่งเสริมการนำเงินตราเข้าประเทศจากแรงงานเหล่านั้น เพิ่มความมั่นคงให้แรงงานนอกระบบสารคดีเรื่อง "สถานการณ์แรงงานนอกระบบในประเทศไทย" จัดทำโดยมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ให้ข้อมูลว่า แรงงานนอกระบบจำนวน 22.5 ล้านคน จากแรงงานทั้งสิ้น 36.3 ล้านคนนั้น เป็นผู้ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 2 ล้าน ล้านบาท หรือราวร้อยละ 43 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ อย่างไรก็ตาม พวกเขากลับทำงานที่ขาดความมั่นคง ไม่ได้รับค่าตอบแทนแรงงานที่เป็นธรรม งานที่ทำมีความเสี่ยงและมีอันตรายต่อสุขภาพ เข้าไม่ถึงกองทุนประกันสังคมและบริการอื่นๆ ของรัฐ และไม่สามารถใช้สิทธิในการรวมตัวต่อรองได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่ได้ให้ความคุ้มครองครอบคลุมแรงงานนอกระบบเอาไว้ และในขณะเดียวกันก็ไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะคุ้มครองแรงงานนอกระบบได้ จึงมีการร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ...ขึ้น ขณะที่กระทรวงแรงงานก็ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ...ขึ้นมาประกบ โดยที่ผ่านมา มีการแก้ไขปรับปรุงร่างทั้งสองแล้วหลายครั้ง แต่จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่แล้วเสร็จ [4]โดยนางสุจิน รุ่งสว่าง ตัวแทนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ แสดงความกังวลว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ผลักดันกันมานานแล้ว แต่ก็ยังไม่ผ่าน โดยที่ผ่านมา ได้ปรับให้เข้ากับของกระทรวงแรงงาน แต่ก็มีความแตกต่าง เช่น ประเด็นค่าแรงที่เป็นธรรม การดูแลเรื่องอาชีวอนามัย นางสุจิน เล่าว่า ที่ผ่านมาแรงงานนอกระบบ เข้าถึงหลักประกันสังคมอย่างเดียวคือ 30 บาทฯ แต่ 30 บาทฯ ไม่มีมิติเรื่องอาชีวอนามัยในหลักประกันสุขภาพ จึงควรส่งเสริมและดูแลสุขภาพเกี่ยวกับอาชีวอนามัยของคนทำงาน โดยออกกฎระเบียบในระดับท้องถิ่น ว่าต้องดูแลเรื่องอาชีวอนามัยกับแรงงานนอกระบบด้วย นอกจากนี้ อยากได้สิทธิประโยชน์เหมือนแรงงานในระบบ เพราะงานที่รับไปทำที่บ้านก็คืองานเช่นเดียวกับที่ในระบบทำ แต่พอออกไปถึงชุมชนแล้ว กลับไม่ได้รับการคุ้มครอง ทั้งค่าแรง สิทธิประโยชน์ จึงอยากให้รัฐบาลดูแลแรงงานนอกระบบเสมอภาคกับแรงงานในระบบ ข้อเรียกร้องวันกรรมกร2550คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ให้รัฐบาล คือ 1.ให้รัฐบาลประกาศบังคับใช้พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ (ฉบับผู้ใช้แรงงาน) 2.ให้รัฐบาลประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมคุ้มครองสุขภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ (ฉบับผู้ใช้แรงงาน) 3.ให้รัฐบาลประกาศยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในทุกรูปแบบ และยกเลิก พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542กลุ่มผู้ใช้แรงงานจำนวนแปดพันคนจากสภาองค์การลูกจ้างต่างๆ และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจประเทศไทย ยื่นข้อเรียกร้อง 9 ข้อ1.ขอให้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในมาตรา 5(3) จ้างเหมาค่าแรงโดยลูกจ้างเหมาค่าแรงจะต้องได้ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์เท่ากับลูกจ้างในระบบจ้างปกติของสถานประกอบการนั้นๆ 2.ขอให้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยเพิ่มมาตรา 52 เรื่องการจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน เป็นองค์กรทางวิชาชีพ 3.ขอให้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 4.ขอให้ปรับอัตราค่าจ้างให้กับลูกจ้างตามอัตราเงินเฟ้อและให้ปรับเงินในอัตราเดียวทั้งประเทศ และให้ควบคุมสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ5.ขอให้ประกาศยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 6.ขอให้ประกาศกฎหมายที่ให้ผู้ใช้แรงงานและประชาชนที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่นอกทะเบียนบ้านสามารถใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.ในเขตพื้นที่ซึ่งตนอาศัยหรือทำงานอยู่ได้ 7.ขอให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จัดตั้งโรงพยาบาลของตนเอง เพื่อบริการการรักษาแก่ผู้ประกันตน 8.ในกรณีที่ผู้ประกันตนเกษียณอายุไม่ว่าจะรับบำเหน็จหรือบำนาญ ขอให้ สปส.รักษาพยาบาลแก่ผู้ประกันตนฟรี ไม่ต้องไปใช้โครงการ 30 บาท และ 9.ขอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการฝ่ายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ร่วมกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างทั้ง 11 สภาฯ กับ 1 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ติดตามข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานที่ยื่นในวันนี้ พร้อมทั้งให้แต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานสัมพันธ์ เป็นเลขานุการ2549คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) พร้อมด้วยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล 10 ข้อ คือ 1.ให้รัฐบาลควบคุมราคาน้ำมันและราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมัน 2.ให้รัฐบาลปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เป็นธรรม โดยยึดหลักมาตรฐานสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่กำหนดไว้วันละ 233 บาท  3.รัฐบาลต้องเร่งออกพ.ร.บ.จัดตั้งสถาบันคุ้มครองสุขภาพความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ ฉบับของขบวนการแรงงานที่เป็นองค์กรอิสระ 4.ให้รัฐบาลประกาศรับรองอนุสัญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นอนุสัญญาขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลเกือบทั่วโลกให้การรับรอง ยกเว้นประเทศไทย เพื่อเป็นหลักประกันกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ในการคุ้มครองสิทธิคนงานทุกประเภทในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน  5.รัฐบาลต้องเร่งถอนพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับรัฐบาลออกจากกฤษฎีกา 6.ให้รัฐบาลนำร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับผู้ใช้แรงงานเข้าสู่การพิจารณาเพื่อออกเป็นกฎหมาย 7.ให้รัฐบาลและสำนักงานประกันสังคมเร่งแก้ไขกฎหมายประกันสังคมที่มีปัญหาทั้งฉบับ เช่น มาตรา 39 ให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเพียงส่วนเดียวเท่านั้น ให้ขยายความคุ้มครองไปยังแรงงานนอกระบบ ภาคเกษตร และผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอชไอวี 8.การทำสัญญาข้อตกลงเขตการค้าเสรีในระดับทวิภาคี พหุภาคี และนานาชาติ ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชน สังคม ประเทศชาติ ซึ่งรัฐบาลต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยทำตามประชามติตามรัฐธรรมนูญ 9.ให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาลูกจ้างที่ประสบภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิ โดยให้กองทุนประกันสังคมอนุมัติงบประมาณเพื่อให้ปล่อยกู้แก่ลูกจ้างที่ประสบภัยดังกล่าว และ 10.ให้รัฐบาลส่งเสริมสนับสนุนจัดสรรงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กประถมวัยในย่านอุตสาหกรรม ชุมชน โดยออกเป็นกฎหมายพร้อมจัดสรรงบประมาณให้และให้องค์กรแรงงาน ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ2548สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ร่วมกับเครือข่ายประชาธิปไตย 42 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้อง 11 ข้อ คือ 1. ให้รัฐบาลหยุดขาย หรือแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 2. ให้รัฐบาลควบคุมสินค้าอุปโภคบริโภค 3. ให้รัฐบาลผลักดันค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 233 บาท 4. ให้รัฐบาลเร่งออก พ.ร.บ. จัดตั้งสถาบันคุ้มครองสุขภาพความปลอดภัยของแรงงานในสถานประกอบการทุกแห่ง 5. ให้รัฐบาลประกาศรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO) ซึ่งประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้การรับรองแล้ว ยกเว้นประเทศไทย 6. ให้รัฐบาลยกเลิกการจ้างงานเหมาช่วง หรือเหมาค่าแรงในสถานประกอบการ 7. ให้รัฐบาลเร่งนำร่าง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฉบับผู้ใช้แรงงานเข้าสู่สภา 8. ให้รัฐบาลและสำนักงานประกันสังคม เร่งแก้ไขกฎหมายประกันสังคมที่มีปัญหาทั้งฉบับ 9. ทบทวนการทำสัญญาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีผลกระทบต่อแรงงาน 10. ให้รัฐบาลแก้ปัญหาลูกจ้างที่ประสบปัญหาจากคลื่นยักษ์สึนามิ และ11. ให้รัฐบาลส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ ในการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กปฐมวัย  000000 อ้างอิง[1] ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2551 จากสรุปผลการบริหารกองทุนประกันสังคมประจำไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2551[2] มาตรา 8 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการประกันสังคม" ประกอบด้วยปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวง การคลัง ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนสำนักงบประมาณเป็นกรรมการ กับผู้แทนฝ่าย นายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละห้าคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ และเลขาธิการเป็น กรรมการและเลขานุการพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533[3] ชี้แรงงานข้ามชาติสร้าง ศก.ไทย แต่ไม่ได้รับการดูแล ซ้ำนโยบายด้านความมั่นคงจำกัดการแสดงออกทางวัฒนธรรม[4] พลวัตแรงงานนอกระบบ: การผลักดันการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน 
การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์
ราศีเมษ Aries (13 เมย.-13 พค.)        ไพ่ใบแรกของคุณสัปดาห์นี้ 2 ถ้วยค่ะ น่าจะเป็นอาทิตย์แห่งความสุข ความรื่นรมย์ มีเรื่องรักที่สมหวัง หรือได้สิ่งของต้องประสงค์ เอ อะไรหนอ :-)ธุรกิจ การงาน มหาดเล็กถ้วย ใส่ใจลูกน้อง บริวาร หรือเพื่อนร่วมงานอายุน้อยกว่าสักนิดนะคะ อาจจะมีเรื่องที่เก็บความรู้สึกต่อกันในที หรือคุณอาจมีโอกาสสอนงานเด็กๆ หรือหากคุณอายุน้อยเสียเอง หรือเพิ่งเข้าเริ่มงานใหม่ที่ไหน ให้ยอมรับในความอ่อนด้อยประสบการณ์ของตัวเองค่ะ เรียนรู้ให้มากที่สุด และมีอะไรในใจก็เปิดเผยออกมาจะดีกว่าสถานการณ์การเงิน ราชาคทา ไม่มีอะไรน่าห่วงค่ะ เจ้านายหรือผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่เหนือคุณพร้อมให้การสนับสนุนทุกอย่าง และยังถือว่าขึ้นมากสำหรับคนที่มีกิจการส่วนตัวค่ะ แต่ไพ่ใบนี้ ไม่แสดงถึงจำนวนเงินโดยตรงนะคะ มักจะบอกถึงอนาคตทางการเงินที่สดใส ผ่านทางการงานที่คุณจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองค่ะความรัก ความสัมพันธ์   The Emperor หากจะถามถึงความมั่นคง ไพ่ใบนี้จะแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นเช่นนั้นค่ะ สถานการณ์ออกจะเปิดเผย ชัดเจน ตรงไปตรงมาเสียด้วย บางคนหมายถึงการจัดการความสัมพันธ์ในระดับสูงขึ้นไป ไม่ใช่แค่รักๆ จีบๆ หรือว่าคบหาดูใจกันแค่นั้น อย่างไรก็ตาม หลายครั้งไพ่จะแสดงถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ การปกครอง การตัดสิน การเข้มงวดกวดขัน ซึ่งอาจเป็นด้วยกันทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ได้ค่ะคำเตือนหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้น  The Empress ไพ่ใบนี้ ถือว่าเป็นไพ่แห่งความสมบูรณ์พูนสุข บางครั้งหมายถึงคู่ครองอุปถัมภ์ หรือการมีคนสนับสนุนแบบพ่อยกแม่ยก แต่ในเวลาเดียวกันก็จะแสดงถึงจังหวะชีวิตในช่วงหว่านพืช (เพื่อหวังผล) และฤดูการเก็บเกี่ยว ช่วงนี้ ถ้าตัวคุณเองมีแนวโน้มต้องช่วยเหลือใครเป็นพิเศษก็รอบคอบสักนิดค่ะคำแนะนำพิเศษ  7 เหรียญ หมั่นเก็บออมสิ่งต่างๆ ไว้ให้ดี โดยเฉพาะการเงินของคุณค่ะ ทำพื้นฐานให้มั่นคง แข็งแรง แล้วสิ่งที่คุณหวังไว้จะเป็นจริงในที่สุด
รวิวาร
“ตื่นมาทุกเช้า อย่าลืมทำดีให้ตัวเอง”  ประโยคนี้นึกขึ้นเมื่อสาย  ยังดีเป็นสายที่มีแดดส่อง  ไม่ใช่สายเกินไป  สายเกินการณ์......“เขียนหนังสือ”  เขียนทุกวันไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ใช่เรื่องง่าย  ไม่ยากเนื่องจากเรารู้ และคิดหัวข้อเรื่องไว้มากมาย  แต่ที่ไม่ง่ายคือ  แรงบันดาลใจสดใหม่ขณะเขียนสำหรับฉันแล้ว “แรงบันดาลใจ”  คือความรู้สึกล้นปรี่ที่ขับความปรารถนา  ความสุข และความกระหายภายในพรั่งพรูออกมาเป็นตัวอักษร  ความรู้สึกเช่นนั้นเป็นความรู้สึกของความสุขหรรษา และการสร้างสรรค์อันเบิกบาน  วันใดที่เริ่มต้นยามเช้าด้วยความขุ่นข้องหมองจิต  ไม่อาจสรรหาแรงบันดาลใจ-  แรงดลล้นปรี่แห่งความสุขภายใน.............................................
นาโก๊ะลี
อยู่บนโลกใบนี้สักกี่นานที่ประสบพบผ่านบนยุคสมัยกี่คลื่นลมทะเลคลั่งเป็นอย่างไรกี่ขอบฟ้าภูไพรเคยผ่านมาเพื่อจะได้บอกกล่าวเล่าความเพื่อจะนำเสนอนิยามแห่งคุณค่าเพื่อจะเขียนชีวิตธรรมดาเป็นหนทางแห่งกาลเวลาที่ทอดทอความจะคมเป็นคำโครงคอยขับเคลื่อนกระบวนการอันตอกเตือนเป็นทางต่อพบอยู่ใช่ไหมบางถ้อยที่คอยรอเป็นคำที่ชูช่อต่อยอดความลึกตื้นก็ตื่นตาเต็มรู้สึกหรือก่อร่างตกผลึกครุ่นไถ่ถามเรียนรู้เรียบเรียงต่อติดตามทั้งหมดในการพยายามของชีวิต………………………..ดิ่งด่ำสู่ผลึกรู้สึกเมื่อนั่งอยู่ตรงหน้าบทกวีมากมาย  ทั้งกวีรุ่นใหม่ กวีรุ่นเก่า  เห็นอะไรอยู่บ้างเล่าในบทกวีเหล่านั้น  ว่าไปก็เหมือนกับเห็นรอบทางของเส้นทางของกวีทั้งหลาย  ยิ่งเดินอยู่ในหนทางนี้นานเพียงใด ความล้ำลึกคมคายก็มีมากขึ้นเท่านั้น  ผู้ที่เดินมายังไม่นานนักนั้นเล่า ก็ใช่ว่าจะไม่มีคำอันเข้มคม  แต่มันก็คือคำในวาระของพวกเขาทั้งหลาย พวกท่านทั้งหลายดอกไม้หลากพันธุ์ และสีสัน  แต่ดอกไม้ทั้งหมดงดงามตามวาระของตัวเอง  ผีเสื้อหลากหลายร้อยพันธ์ แต่ผีเสื้อก็งดงามตามวาระของตัวเองบทกวีนั้นเล่า  ยังหลากหลายร้อยวิถี  แต่บทกวีก็งดงามตามวาระของตัวเอง 
พันธกุมภา
มีนาถึง...ลูกปัดไข่มุกและพันธกุมภาความระลึกถึงวัยเยาว์เมื่อครั้งยังเป็นเด็กสาวสดใสอย่างลูกปัดไข่มุก อดรู้สึกไม่ได้ว่าน้องช่างมี “ทาง” ที่ดีเสียจริง น้องได้เติบโตจากครอบครัวที่หล่อหลอมสิ่งที่ดีงามให้ ทั้งการทำบุญ ทาน และเสริมให้สร้างบารมี ต้องขอบคุณแม่และพ่อที่ปูทางที่ดีให้กับลูก หากมีธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวเลยว่าเด็กสาวและคนรุ่นใหม่จะไม่เติบโตอย่างมีรากเหง้า รู้คิด เพราะกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ไม่ใช่แค่ได้ “ความรู้” หากยังได้ “สติ” และ “ปัญญา” ซึ่งความรู้สมัยใหม่ไม่มีความลึกซึ้งพอเมื่อเราปฏิบัติหรือยังไม่ปฏิบัติก็ตาม เรามักยึดติดกับตัวตน (Ego) และเราไม่ได้พยายามลดมัน ที่เราไม่ลดเพราะเราไม่ค่อยรู้ จนกว่าจะมีคนบอกหรือประสบกับมันเอง แม้คนจะปฏิบัติธรรมมามากมายเพียงใดก็ตาม หากรู้ไม่เท่าทันมันแล้ว เมื่อพบ...ก็อาจจะได้รู้ว่า อืม! เรานี่ไม่ได้ก้าวหน้าจริงๆ เพราะการลดความเป็นตัวตนก็เป็นทางเลือกทางแรกที่เจ้าชายสิทธัตถะเลือก
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
ชาน่า
“กลัวติดโรคจัง กังวลอย่างบอกไม่ถูกจะทำยังไงดี”  “อยากไปตรวจเลือด แต่ไม่กล้ากลัวคนรู้จัก กลัวคนอื่นรู้”“จะไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาลไหน ค่าใช้จ่ายไม่แพง เพราะเผลอเสี่ยงร่วมรักกับชายแปลกหน้า”อาจจะเป็นคำถามของใครบางคนที่ครุ่นคิดอยู่นานกว่าจะตัดสินใจ วัดน้ำหนักช่างกล้าไปตรวจเลือดเพื่อไขปัญหาข้องใจว่าตัวเองบริสุทธิ์หรือรับเชื้อร้ายเข้าไปในร่างกายประชากรชาวเกย์หลายคนรู้จักกันดี  “คลินิกนิรนาม” ที่เปิดให้บริการสำหรับกลุ่มชายรักชาย ชายร่วมเพศกับชายเท่านั้น (งานนี้ไม่มีชะนีปะปนแม้แต่นิด)   แต่สมาชิกเกย์น้องใหม่ใครหลายคนที่ยังไม่รู้จัก สัปดาห์นี้ชาน่าอยากพาน้องใหม่หลายคนเพื่อให้รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม  “ใครจะรู้ว่า สักวันคุณอาจจำเป็นต้องหาสถานที่แห่งหนึ่งที่ตรวจและบ่งบอกว่าคุณไม่มีเชื้อก็เป็นได้”คลินิกแห่งนี้เรียกว่า  “คลินิกชุมชนสีลม”  ซึ่งเป็นการร่วมมือของไทยและสหรัฐฯ ทางด้านสาธารณสุข ของสภากาชาดไทยและสมาคมฟ้าสีรุ้งเพื่อสนับสนุนการวิจัยและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีและกามโรค เปิดให้บริการสำหรับกลุ่มชายรักร่วมเพศเท่านั้น สำหรับใครที่ต้องการได้รับการรักษาดูแลพิเศษ ทางคลินิกก็จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่นที่มีความพร้อมมากกว่า เรียกได้ว่าคลินิกชุมชนสีลมแห่งนี้เป็นสถานแห่งแรกที่คอยตรวจเช็คขั้นพื่นฐาน คอยบริการให้กับชาวเราโดยเฉพาะ  และที่สำคัญ ...“ฟรี” ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่คุณกล้าที่จะเข้าไปเพื่อปรึกษา ทางคลินิกจะมีเจ้าหน้าที่ คอยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ ผู้ซึ่งมีประสบการณ์และเข้าใจในรูปแบบชีวิตของชาวเราส่วนขั้นตอนการตรวจนั้นง่ายนิดเดียว โดยที่คุณแทบไม่ต้องกังวลอะไรมากมายสำหรับการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอชไอวี ผู้ใช้บริการสามารถเลือกการเจาะเลือดจากปลายนิ้วหรือจากข้อพับแขน ทั้งสองวิธีจะให้ผลการตรวจภายใน 30 นาที การเจาะเลือดจากปลายนิ้วจะใช้เลือดเพียง 1 หยด ในขณะที่การเจาะเลือดจากข้อพับแขนจะเจาะเอาเลือด 7 ซีซี หากแต่จะได้ตัวอย่างเลือดมากพอที่จะให้คุณเลือกการตรวจเพิ่มเติมได้ ได้แก่ กามโรค ไวรัสตับอักเสบเอ และไวรัสตับอักเสบบี (ร่วมกับการเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมจากการตรวจลำคอ ปัสสาวะ และทวารหนัก) การสรุปผลการติดเชื้อเอชไอวีจะต้องผ่านการตรวจโดยชุดทดสอบ 3 ชุดที่มีวิธีการแตกต่างกัน ที่ให้ผล "บวก" เหมือนกันทั้ง 3 ชุด ในกรณีที่สรุปผลว่ามีการติดเชื้อเอชไอวี ทางคลินิกจะเสนอให้ทำการตรวจสมรรถภาพของร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อโรค (ตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิดซีดี 4)
ชนกลุ่มน้อย
อย่างหนึ่งต้องทำ  นั่นคือผมต้องไปสวนยาง เดินทางมากว่าหนึ่งพันกิโลเมตร  เดินต่อไปอีกสองสามกิโลเมตร  ไม่ใช่เรื่องยากเลย  พลันไปยืนอยู่ท่ามกลางต้นยาง  ความโปร่งโล่งก็ปรากฏ  จับจิตจับใจ  แน่นอนว่า ไม่ใช่ความรู้สึกของการงานคนกรีดยาง (ตัดยาง) แน่ๆ  เพราะธรรมชาติของการตัดยางนั้น  เป็นงานที่เหนื่อยหนักเอาการ (ออกอาการ) ทีเดียวแต่ผมไปในชั่วโมงนี้แบบตากอากาศ ลมพัดแรง ไม่ได้ยินเสียงอย่างอื่น นอกจากเสียงใบยางดังลั่นสนั่นป่า เปลี่ยว ลิบๆ ว่างเวิ้งโหวงเหวง ต้นยางต่อต้นเป็นแถวเป็นแนวสุดตา ไม่มีใครอยากมาเดินดูชมอะไรตามลำพังเช่นนี้หรอก        เว้นแต่จะเข้ามาเก็บขี้ยาง ใส่ปุ๋ย หรืออะไรก็ตามที่ข้องเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยว  และเพิ่มพูนเพิ่มเติมให้ต้นยางพูดง่ายๆ ว่าไม่มีใครมีเวลาว่างให้เดินลอยหน้าลอยตาในสวนยาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ไม่มีของฟรีในโลก ออกจะเป็นวลีที่คุ้นเคยสำหรับคนในโลกยุคนี้ ยิ่งสถานการณ์ราคาน้ำมันแตะเพดานที่ 35 บาท (คาดการณ์ว่าน่าจะเร็วๆ นี้) ทำให้ผู้ประกอบการแท็กซี่ ขสมก. เรือคลองแสนแสบ เรียกว่า ขนส่งมวลชนแทบทุกประเภท ขยับแข้งขาขอขึ้นราคาค่าตัวกันถ้วนหน้ายุคข้าวยากหมากแพง คงไม่ต้องพูดถึงเรื่องการให้งานการให้ในสวน สวนกระแสคำพูดข้างต้น .....ดอกไม้งามในสวนแห่งการให้ถูกจัดขึ้นบริเวณอุทยานเบญจสิริ ภายใต้นิยามที่ว่า “แล้วงานศิลปะแห่งการให้จะกลายเป็นดอกไม้ในสวน” ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์-14 มีนาคม 2551 (mormor.org) เน้นการสร้างสรรค์แนวงานผ่านวิธีคิดของบุคคลในแวดวงแห่งการให้และศิลปินอาสา มากกว่า 100 คนที่รู้จักกันดี คือ ติช นัท ฮันห์ พระชาวเวียดนามแห่งหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส พระไพศาล วิสาโล แห่งวัดป่าสุคะโต ศาสตราจารย์ระพี สาคริก อาจารย์แห่งวงการเกษตรธรรมชาติวันเปิดตัว 14 กุมภาพันธ์ คล้ายกับมีความหมายในฐานะของวันวาเลนไทน์ เน้นถึง การให้ อันหมายถึงความรักที่แท้ (true love) อย่างที่ภิษุณีนิรามิสา จากหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส เขียนถึงการให้ในชื่อ การให้ทำไมมีว่า เราต้องลบความรู้สึกที่ต้องมีผู้ให้กับผู้รับ ถ้าเราไม่ลบตรงนี้ออก ยังมีความรู้สึกว่า “ฉันเป็นผู้ให้ เธอเป็นผู้รับ” มันจะไปสู่หนทางที่ทำให้เรามีอีโก้มากขึ้น มีอัตตามากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเราทำไปนานๆ เราจะเสียความอ่อนน้อมถ่อมตน จะกลายเป็นคิดว่าตัวเองเป็นผู้มาช่วยปลดความทุกข์ ช่วยชีวิตคน เราเป็นผู้ให้แล้วก็มีคนที่เป็นผู้รับ...หมิง ปุณปิยาภา ปานนพธารา ทำงานแห่งการให้ของเธออย่างขมักขเม้น จากโจทย์หลักที่ต้องพูดถึงการให้อย่างไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งเป็นโจทย์ที่กว้างและเป็นนามธรรมอย่างสิ้นเชิง เธอคิดถึงนิทานเรื่องหนึ่งชื่อบิ๊ก ทรี เป็นเรื่องของต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งกับเด็กชายคนหนึ่ง ทุกครั้งที่เด็กชายไปหาต้นไม้ เขาจะขอบางส่วนของต้นไม้ วัยเด็กขอผลไม้ วัยรุ่นขอดอก ขอใบ ขอกิ่ง ขอก้าน วัยหนุ่มขอลำต้นเพื่อไปสร้างบ้านหมิง คิดมันออกมาเป็นภาพ 3 ภาพ ..ต้นอ่อนต้นโต    ตอไม้เธอบอกว่า ต้นไม้ ให้(โลก)โดยไม่หวังผลตอบแทน...ใครบอกว่าขอฟรีไม่มีในโลก ตะโกนมันออกไปให้เต็มหัวใจไร้ซึ่งการให้ ไร้ซึ่งการรับ
วาดวลี
“เขาขนทรายกันตรงไหนคะ”ฉันเอ่ยถามเสียงเบาๆ หากจะให้เดาก็คงเป็นที่วัด แต่วัดในบริเวณนี้มีตั้งหลายแห่ง และก็ไม่ได้อยู่ติดกับแม่น้ำแบบวัดใหญ่ของอีกฝั่งฟากถนน วัดใหญ่นั้น ตีเขตไปเป็นอีกตำบล อีกอำเภอหนึ่ง ซึ่งเดาได้ว่า คนในหมู่บ้านฉัน คงไม่ได้ไปทำบุญกันที่นั่น พี่สาวใจดีข้างบ้าน บอกฉันทุกเรื่อง ในสิ่งที่ฉันสงสัย จะว่าไป มีเพียงครอบครัวเดียวที่ฉันรู้จักมักคุ้น แม้จะย้ายบ้านมาได้หลายเดือนแล้ว คนอื่นๆ ส่วนใหญ่ ออกไปใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน เราเจอกันยามค่ำ ก็ยิ้มให้กันไปมา แล้วต่างแยกย้ายกันไป แค่เวลา 2 ทุ่มกว่า ทั้งหมู่บ้านก็เงียบสนิท มีเพียงฉันที่เปิดไฟทำงานจนถึงดึกดื่นจะสงกรานต์แล้ว ฉันตั้งใจนักหนาว่า จะออกไปทำบุญ ดำเนินตามประเพณีที่สืบกันมา แบบที่เราไม่ค่อยได้ทำ ไปขนทรายที่วัด ปักตุงมงคล ตักบาตร สรงน้ำพระ และการทำความสะอาดบ้านในวันสังขารล่อง ทานแกงขนุนในวันปากปี หรือช่วยบริจาคในการแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ส่วนเรื่องการเล่นน้ำนั้นฉันไม่ถนัด เพราะแพ้สิ่งที่มากับน้ำ เคยโดนสาดแล้วก็ผื่นขึ้น ลำบากคนไปด้วย แล้วก็พาลทำให้คนอื่นไม่สนุก “ปีนี้ เราก็ออกไปเล่นสงกรานต์กันแถวนี้ก็ได้ เพราะเป็นเขตชุมชน คงจะน่ารัก ไม่เหมือนในเมือง”คนข้างตัวของฉันชวนไว้ ฉันพยักหน้า จะเป็นไรไป ถ้าจะเปียกบ้าง ภูมิต้านทานร่างกายจะได้ฟื้นฟู อีกอย่าง น้ำแถวนี้ เป็นน้ำบาดาล แบบเดียวกับที่ใช้กิน ใช้อาบ ไม่น่ามีปัญหา ยังไม่ถึงวันสงกรานต์ เด็กๆ เอาน้ำใส่กระป๋องน้อยๆ ไล่สาดกันไปมา เป็นภาพที่น่ารัก เหมือนตอนเด็กๆ ที่ตื่นเต้นกับสงกรานต์ และมีแต่เสียงหัวเราะหมายมั่นปั้นมือเอาไว้อย่างนั้น พี่ข้างบ้านเดินมาบอกด้วยแววตาสดใส พร้อมทรงผมใหม่ ขณะที่บ้านของเขากำลังฉลองการซื้อรถกระบะคันใหญ่ “เขาไปขนทรายมาจากแม่น้ำปิงน้อย” “หือ ที่อยู่ใกล้ชลประทานเหรอคะ”ฉันทำตาโต คำนวณระยะทางจากน้ำปิงน้อยไปยังวัดของหมู่บ้านแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 กิโลเมตร จำได้ว่าตอนเด็กๆ ฉันขนทรายไม่ต่ำกว่า 5 รอบ เพราะมันไม่พอจะใส่ให้ครบกอง แต่นี่ นับว่าเป็นระยะที่ไกลพอสมควร“อ๋อ ไม่มีใครไปขนตรงโน้นแล้ว เดี๋ยวนี้เขามีรถไปขุดมา แล้วเราก็เอาเงินไปจ่ายเท่านั้นเอง”“อ้อ..” ฉันรับทราบ จากนั้น พี่คนนี้ก็ชักชวนอย่างเป็นทางการ ถึงงานบุญประเพณีของหมู่บ้านเรา“เดี๋ยวจะมีแห่ขบวนไม้ค้ำโพธิ์นะ ตั้งขบวนตรงหน้าบ้านเราเลย รวมตัวกันแล้วเดินทางไปสมทบกับหมู่อื่น เพื่อไปยังวัด”“เอ่อ ค่ะ...”ฉันอ้ำอึ้ง สองจิตสองใจระหว่างการเคลียร์งานให้ลงตัว กับการไปร่วมขบวนศรัทธา วันนั้น ฉันได้ยินเสียงพ่อหลวงประกาศ ขบวนจะไม่เป็นขบวน หากไม่มีการร่วมใจ ฉันอมยิ้มให้กับความสามัคคีของที่นี่ คงต้องเร่งทำงานให้เสร็จ ด้วยหวังว่าเผื่อว่าจะได้ทำตัวให้เป็นประโยชน์เสียบ้าง แต่แล้วเมื่อถึงเช้าวันรุ่งขึ้น คนนอนดึกอย่างฉันก็มีอันต้องสะดุ้งตื่น เมื่อยังไม่ 8 โมงเช้าดีนัก แต่เสียงเพลงก็ดังแว่วมา บ้านตรงข้ามจัดแจงทำเวทีเล็กๆ พร้อมติดตั้งลำโพงขนาดใหญ่มหึมา เพลงที่เขาเปิดมีทั้งเพลงลูกทุ่ง สลับกับเพื่อชีวิตในภาคเช้า พอเที่ยงหน่อยก็เดินเครื่องด้วยเพลงจังหวะเร็ว แล้วปิดท้ายด้วยเพลงเทคโนแดนซ์แบบที่ได้ยินกับตามผับ และมันก็ดังมากเสียจนแก้วหูแทบจะระเบิดหนุ่มสาวมาชุมนุมกัน ใครอยากสาดน้ำก็สาด ถอดเสื้อออก เหลือแต่กางเกง เหล่าผู้ชายโชว์รอยสักเต็มแผ่นหลัง กอดขวดเบียร์ไว้แนบอก ยิ่งนานเข้า คนก็ยิ่งมากขึ้น เสียงโห่ฮิ้วมาเป็นจังหวะฉันเปลี่ยนความคิดที่จะไปร่วมขบวน เขาเริ่มฟ้อนกันแล้ว กล้าๆ กลัวๆ หยิบเงินในซองกระดาษสีขาว ปิดผนึก แล้วย่องแย่งออกมาจากบ้าน ฝ่าวงล้อมเข้าไป ทั้งน้ำ ทั้งดนตรี ทั้งเสียงโห่และอาการมึนเมาของผู้คนทั้งหลาย ฉันยื่นซองให้อย่างเงียบๆ“ร่วมทำบุญค่ะ”“สาธุ” คนรับยิ้มกว้าง ยกมือไหว้ ฉันไหว้กลับแทบไม่ทัน เขายื่นปากกาเคมีสีน้ำเงินให้“เขียนชื่อใส่ไม้ไว้ด้วย”“อ๋อ ค่ะๆ” เปิดหัวปากกาค่อยๆ ลากเส้นเข้าไป จะเขียนอะไรดี ชื่อเราหรือ วาดรูปได้ไหม แล้วทำไมต้องเขียน ความคิดไร้สาระมากมายแล่นอยู่ในสมอง แล้วก็จบด้วยการเขียนชื่อเล่นเอาไว้สั้นๆ“ไม่ออกไปเที่ยวหรือ” เขาถาม ฉันเงี่ยหูฟังเสียงที่ตะโกนแข่งกับเพลง แล้วก็พยักหน้าหงึกหงัก“ค่ะ ก็ว่าจะไป”“ไปหน้าวัดเลย สนุก มันส์มาก เขาต่อน้ำสายยางใหญ่ยักษ์ ม่อล่อกม่อแลก สะใจสุดๆ”“เอ่อ..”“แล้วเดี๋ยวคืนนี้จะมีดนตรี ไปรำวงกัน” หนุ่มวัยรุ่นชวน ไม่มีใครอยากใส่เสื้อเอาเสียเลย เสื้อผ้าคงเปียกกันหมด เขาอาจจะถอดแล้วผึ่งที่ไหนสักแห่งฉันได้แต่ยิ้ม แล้วค่อยๆ ย่องจากมา ผลุบหายเข้าไปในบ้าน คนข้างกายแต่งตัวเสร็จแล้ว เรามองหน้ากัน “หาอะไรกินกันที่เซเว่นไหม” เขาหัวเราะเบาๆ ฉันจึงบอกว่า“เธอลงจากรถแล้ววิ่งไปซื้อนะ เราไม่อยากเปียก...เราเป็นวันนั้นของเดือน”“หา!”เขาอุทาน แล้วก็หัวเราะเบาๆ“กะว่าจะให้เป็นคนลงไปนะเนี่ย เราน่ะเปียกได้ แต่ไม่ใช่ตั้งแต่หัวจรดเท้าแบบคนข้างนอก”มองหน้ากันไปมา ฟ้าข้างนอกก็ดูสว่างดี เราไม่ได้ไปไหนหรอก ขนทราย สรงน้ำพระ หรือว่าปักตุงมงคล พากันต้มมาม่าต้อนรับวันสงกรานต์ แล้วก็นั่งฟังเสียงเพลงจากลำโพงมหึมาเหล่านั้นจนหมดอัลบั้ม มองไปยังขบวนแห่ที่ยังไม่เคลื่อนไปสักทีแม้ว่าฟ้าจะเริ่มมืดแล้ว“สงสัยเขาจะไปวันอื่น” ฉันตอบงงๆ และสงสัยว่าตัวเองจะจำวันผิด จึงได้แต่พากันสรงน้ำให้พระองค์น้อยๆ ในบ้าน ทำความสะอาด แล้วก็ทาแป้งตรางูนั่งอยู่กับพัดลม “ตกลงสงกรานต์ในฝันของเรามันไม่มีแล้วใช่ไหม?” ฉันถามเบาๆ โดยไม่มีเสียงตอบใดๆ ให้ได้ยินเลยแม้สักนิด.         
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
หน้าร้อนกับการไปทะเลเป็นของคู่กัน เปรียบแล้วก็เหมือนข้าวเหนียวมูลกับมะม่วงสุกรสอร่อยที่กำลังนิยมในช่วงยามนี้ แต่การนั่งอยู่กับบ้านวันดีคืนดีก็ยังอาจจะมีผู้หวังดีหิ้วเอาข้าวเหนียมมะม่วงมาฝากเราได้ ไม่เหมือนกับการออกไปค้นหาหรือเดินทางไปหา “ทะเลดีๆ” ที่จะช่วยคลายร้อนทั้งกายและใจ ซึ่งแน่นอนว่าเราจะต้องพาตัวเองฝ่าความร้อนของสภาพอากาศออกไปจนกว่าจะถึงจุดหมาย 
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น แต่เรื่องราวที่ทำให้แม่น้ำสายนี้เป็นที่สนใจของผู้คนทั่วไปคงหนีไม่พ้นเรื่องของการสร้างเขื่อน

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม